องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) ร่วมกับ 2 ธนาคารรัฐปล่อยกู้ดอกเบี้ย เพื่อปรับเปลี่ยนเครื่องยนต์หรือซื้อรถใหม่ใช้ก๊าซเอ็นจีวี ด้านสมาคมพัฒนารถร่วมเอกชนชี้ทำให้ต้นทุนสูงขึ้น ขณะที่ รก.ผอ.ขสมก. เตรียมเชิญผู้ประกอบการรถร่วมหารือรายละเอียด 1-2 สัปดาห์นี้
พล.อ.ชัยนันท์ เจริญศิริ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม เป็นประธานในพิธีลงนามบันทึกข้อตกลง (เอ็มโอยู) ระหว่างองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) กับธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (เอสเอ็มอีแบงก์) และธนาคารออมสิน เพื่อให้ 2 ธนาคารปล่อยสินเชื่อแก่ผู้ประกอบการรถร่วม ขสมก.ไปปรับเปลี่ยนเครื่องยนต์หรือซื้อรถยนต์ที่ใช้ก๊าซเอ็นจีวีแทนน้ำมัน ซึ่งจะแก้ปัญหาควันดำบนถนนโดยเฉพาะรถมินิบัส ซึ่งจะเปิดโอกาสให้คนขับเป็นเจ้าของรถมากขึ้นด้วยการปล่อยกู้ร้อยละ 90 ของราคารถ อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 5.5 ต่อปี
ด้านนายโอภาส เพชรมุณี รักษาการผู้อำนวยการ ขสมก. กล่าวว่า ในเบื้องต้นมีแนวคิดขยายสัมปทานให้รถที่เข้าร่วมโครงการอย่างน้อย 7 ปี พร้อมจัดทำแผนการเงิน เพื่อให้ผู้ประกอบการรู้ถึงความเสี่ยงและความคุ้ม รวมถึงมาตรการค้ำประกันในการโอนเส้นทางเดินรถให้ธนาคารกรณีผู้ประกอบการไม่จ่ายหนี้เป็นเวลา 3 - 6 เดือน โดยจะเชิญเอกชนมาหารือใน 1 - 2 สัปดาห์นี้
ผู้สื่อข่าวรายงานว่าระหว่างการแถลงข่าวทางสมาคมพัฒนารถร่วมเอกชนได้แสดงความเห็นว่าอัตราดอกเบี้ยดังกล่าวทำให้ผู้ประกอบการมีต้นทุนสูงถึงคันละ 5 ล้านบาท ซึ่งจะทำให้ธุรกิจไปไม่รอดในกรณีเปลี่ยนรถใหม่ ขณะที่การปรับเปลี่ยนเครื่องยนต์ ซึ่งปัจจุบันมีบริษัทรับติดตั้งอยู่นั้น พบว่ามีปัญหาด้านเทคนิค ทำให้รถเสียหาย จึงทำให้ผู้ประกอบการรถร่วมรู้สึกเป็นหนูทดลองยา ทั้งนี้ พล.อ.ชัยนันท์ รับปากจะไปหารือในรายละเอียดเพื่อแก้ปัญหาต่อไป
พล.อ.ชัยนันท์ เจริญศิริ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม เป็นประธานในพิธีลงนามบันทึกข้อตกลง (เอ็มโอยู) ระหว่างองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) กับธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (เอสเอ็มอีแบงก์) และธนาคารออมสิน เพื่อให้ 2 ธนาคารปล่อยสินเชื่อแก่ผู้ประกอบการรถร่วม ขสมก.ไปปรับเปลี่ยนเครื่องยนต์หรือซื้อรถยนต์ที่ใช้ก๊าซเอ็นจีวีแทนน้ำมัน ซึ่งจะแก้ปัญหาควันดำบนถนนโดยเฉพาะรถมินิบัส ซึ่งจะเปิดโอกาสให้คนขับเป็นเจ้าของรถมากขึ้นด้วยการปล่อยกู้ร้อยละ 90 ของราคารถ อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 5.5 ต่อปี
ด้านนายโอภาส เพชรมุณี รักษาการผู้อำนวยการ ขสมก. กล่าวว่า ในเบื้องต้นมีแนวคิดขยายสัมปทานให้รถที่เข้าร่วมโครงการอย่างน้อย 7 ปี พร้อมจัดทำแผนการเงิน เพื่อให้ผู้ประกอบการรู้ถึงความเสี่ยงและความคุ้ม รวมถึงมาตรการค้ำประกันในการโอนเส้นทางเดินรถให้ธนาคารกรณีผู้ประกอบการไม่จ่ายหนี้เป็นเวลา 3 - 6 เดือน โดยจะเชิญเอกชนมาหารือใน 1 - 2 สัปดาห์นี้
ผู้สื่อข่าวรายงานว่าระหว่างการแถลงข่าวทางสมาคมพัฒนารถร่วมเอกชนได้แสดงความเห็นว่าอัตราดอกเบี้ยดังกล่าวทำให้ผู้ประกอบการมีต้นทุนสูงถึงคันละ 5 ล้านบาท ซึ่งจะทำให้ธุรกิจไปไม่รอดในกรณีเปลี่ยนรถใหม่ ขณะที่การปรับเปลี่ยนเครื่องยนต์ ซึ่งปัจจุบันมีบริษัทรับติดตั้งอยู่นั้น พบว่ามีปัญหาด้านเทคนิค ทำให้รถเสียหาย จึงทำให้ผู้ประกอบการรถร่วมรู้สึกเป็นหนูทดลองยา ทั้งนี้ พล.อ.ชัยนันท์ รับปากจะไปหารือในรายละเอียดเพื่อแก้ปัญหาต่อไป