5 หน่วยงานผนึกกำลังปราบปรามน้ำมันเถื่อน พบรูปแบบการขนน้ำมันเปลี่ยนแปลงไป โดยใช้กองทัพมดขนน้ำมันตามแนวชายแดน เนื่องจากราคาน้ำมันในไทยถูกกว่าประเทศเพื่อนบ้าน ชี้โทษลักลอบขนน้ำมันเถื่อนมีความผิดตามกฎหมาย ปปง.
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า 5 หน่วยงานที่เกี่ยวข้องคือ กรมสรรพสามิต กรมศุลกากร สำนักงานตำรวจแห่งชาติ สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) และกรมธุรกิจพลังงาน ประชุมร่วมกันเพื่อหามาตรการในการปราบปรามปัญหาน้ำมันเถื่อน โดย พล.ต.ต.ปริญญา จันทร์สุริยา ผู้บังคับการกองบังคับการปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบในวงราชการ กล่าวว่า มีการจัดกำลังเจ้าหน้าที่ 500 นาย ทั้งทางบก ทางทะเล ในการปราบปรามน้ำมันเถื่อน ซึ่งที่ผ่านมาได้ของกลางมูลค่า 71 ล้านบาท และพบว่าวิธีการลักลอบขนน้ำมันเถื่อนเปลี่ยนแปลงไป จากเดิมจะมีการขนน้ำมันครั้งละ 1 ล้านลิตร ลดปริมาณลงเหลือ 100,000 ลิตร และนิยมใช้กองทัพมดเป็นผู้ขนน้ำมัน โดยเฉพาะตามแนวชายแดน เนื่องจากราคาน้ำมันในไทยยังถือว่าถูกกว่าประเทศเพื่อนบ้าน ยกเว้นมาเลเซีย โดยเมื่อเปรียบเทียบราคาน้ำมันเบนซิน ในประเทศไทยมีราคาลิตรละ 29.79 บาท ลาว 36.18 บาท กัมพูชา 37.12 บาท ขณะที่มาเลเซียลิตรละ 21 บาท ส่วนราคาน้ำมันดีเซล ไทยลิตรละ 27.54 บาท ลาว 29.60 บาท กัมพูชา 29.47 บาท และมาเลเซียลิตรละ 19.80 บาท จึงทำให้มีการขนน้ำมันจากไทยไปขายต่างประเทศ
พล.ต.ต.ปริญญา กล่าวด้วยว่า จากข้อมูลพบว่าจำนวนผู้ลักลอบขนน้ำมันเพิ่มสูงขึ้น โดยในเดือนมกราคม 2548 จับกุมผู้กระทำผิดได้ 218 ราย และเพิ่มขึ้นเป็น 407 ราย ในเดือนมกราคม 2549 แต่ปริมาณของกลางที่จับกุมได้ลดลง โดยตลอดปี 2548 ได้ของกลางทั้งสิ้น 5,568,000 ลิตร และข้อมูลใน 6 เดือนแรกของปี 2549 สามารถจับกุมของกลางได้แล้ว 3,070,000 ลิตร เนื่องจากมาเลเซียมีการคุมเข้มตามแนวชายแดนมากขึ้น และปริมาณการขนน้ำมันในแต่ละครั้งก็มีจำนวนลดลง อย่างไรก็ตาม เจ้าหน้าที่ได้มีการเร่งรัดและเปลี่ยนกลยุทธ์ในการจับกุมอยู่ตลอดเวลา โดยขึ้นอยู่กับสถานการณ์และราคาน้ำมันที่เปลี่ยนแปลงไป
นายเมตตา บันเทิงสุข ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) กล่าวว่า ปัจจุบันยังมีปัญหากองทัพมดลักลอบขนน้ำมันตามแนวชายแดน ซึ่งรัฐบาลต้องปรับมาตรการในการปราบปราม จากการจับกุมมาเป็นการป้องกันมากขึ้น เพราะโอกาสที่ราคาน้ำมันจะลดลงคงไม่มีอีกแล้ว แต่คาดว่าจะทรงตัวและสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง
ด้านนายอุทิศ ธรรมวาทิน อธิบดีกรมสรรพสามิต กล่าวว่า ผู้ลักลอบขนน้ำมันมีความผิดตามมูลฐานของกฎหมาย ปปง.ว่าด้วยการฟอกเงิน ซึ่งหากกระทำความผิดจะต้องถูกลงโทษทั้งจำ ปรับ และยึดทรัพย์ โดยผลการจัดเก็บภาษีน้ำมันในปีงบประมาณ 2549 จัดเก็บได้ลดลงกว่าประมาณการ โดยมียอดจัดเก็บประมาณ 45,000 ล้านบาท เนื่องจากรัฐบาลได้ลดการจัดเก็บภาษีสรรพสามิตน้ำมันดีเซลลงลิตรละ 1 บาท เมื่อวันที่ 1 เมษายน 2549 ซึ่งกระทบการจัดเก็บภาษี 7,200 ล้านบาท นอกจากนี้ ยังได้รับผลกระทบจากมาตรการประหยัดพลังงาน และการใช้พลังงานทดแทน ซึ่งเชื่อว่าตลอดปีนี้การจัดเก็บภาษีสรรพสามิตน้ำมันจะไม่ได้ตามเป้าหมาย
ส่วนเทศกาลฟุตบอลโลกในระหว่างเดือนมิถุนายน-กรกฎาคม ช่วยให้การจัดเก็บภาษีสรรพสามิตเพิ่มขึ้น โดยการจัดเก็บ 1-15 มิถุนายน เพิ่มขึ้นร้อยละ 3-4 ซึ่งเป็นไปตามภาวะปกติในเทศกาลเหมือนในช่วงปีใหม่และสงกรานต์
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า 5 หน่วยงานที่เกี่ยวข้องคือ กรมสรรพสามิต กรมศุลกากร สำนักงานตำรวจแห่งชาติ สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) และกรมธุรกิจพลังงาน ประชุมร่วมกันเพื่อหามาตรการในการปราบปรามปัญหาน้ำมันเถื่อน โดย พล.ต.ต.ปริญญา จันทร์สุริยา ผู้บังคับการกองบังคับการปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบในวงราชการ กล่าวว่า มีการจัดกำลังเจ้าหน้าที่ 500 นาย ทั้งทางบก ทางทะเล ในการปราบปรามน้ำมันเถื่อน ซึ่งที่ผ่านมาได้ของกลางมูลค่า 71 ล้านบาท และพบว่าวิธีการลักลอบขนน้ำมันเถื่อนเปลี่ยนแปลงไป จากเดิมจะมีการขนน้ำมันครั้งละ 1 ล้านลิตร ลดปริมาณลงเหลือ 100,000 ลิตร และนิยมใช้กองทัพมดเป็นผู้ขนน้ำมัน โดยเฉพาะตามแนวชายแดน เนื่องจากราคาน้ำมันในไทยยังถือว่าถูกกว่าประเทศเพื่อนบ้าน ยกเว้นมาเลเซีย โดยเมื่อเปรียบเทียบราคาน้ำมันเบนซิน ในประเทศไทยมีราคาลิตรละ 29.79 บาท ลาว 36.18 บาท กัมพูชา 37.12 บาท ขณะที่มาเลเซียลิตรละ 21 บาท ส่วนราคาน้ำมันดีเซล ไทยลิตรละ 27.54 บาท ลาว 29.60 บาท กัมพูชา 29.47 บาท และมาเลเซียลิตรละ 19.80 บาท จึงทำให้มีการขนน้ำมันจากไทยไปขายต่างประเทศ
พล.ต.ต.ปริญญา กล่าวด้วยว่า จากข้อมูลพบว่าจำนวนผู้ลักลอบขนน้ำมันเพิ่มสูงขึ้น โดยในเดือนมกราคม 2548 จับกุมผู้กระทำผิดได้ 218 ราย และเพิ่มขึ้นเป็น 407 ราย ในเดือนมกราคม 2549 แต่ปริมาณของกลางที่จับกุมได้ลดลง โดยตลอดปี 2548 ได้ของกลางทั้งสิ้น 5,568,000 ลิตร และข้อมูลใน 6 เดือนแรกของปี 2549 สามารถจับกุมของกลางได้แล้ว 3,070,000 ลิตร เนื่องจากมาเลเซียมีการคุมเข้มตามแนวชายแดนมากขึ้น และปริมาณการขนน้ำมันในแต่ละครั้งก็มีจำนวนลดลง อย่างไรก็ตาม เจ้าหน้าที่ได้มีการเร่งรัดและเปลี่ยนกลยุทธ์ในการจับกุมอยู่ตลอดเวลา โดยขึ้นอยู่กับสถานการณ์และราคาน้ำมันที่เปลี่ยนแปลงไป
นายเมตตา บันเทิงสุข ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) กล่าวว่า ปัจจุบันยังมีปัญหากองทัพมดลักลอบขนน้ำมันตามแนวชายแดน ซึ่งรัฐบาลต้องปรับมาตรการในการปราบปราม จากการจับกุมมาเป็นการป้องกันมากขึ้น เพราะโอกาสที่ราคาน้ำมันจะลดลงคงไม่มีอีกแล้ว แต่คาดว่าจะทรงตัวและสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง
ด้านนายอุทิศ ธรรมวาทิน อธิบดีกรมสรรพสามิต กล่าวว่า ผู้ลักลอบขนน้ำมันมีความผิดตามมูลฐานของกฎหมาย ปปง.ว่าด้วยการฟอกเงิน ซึ่งหากกระทำความผิดจะต้องถูกลงโทษทั้งจำ ปรับ และยึดทรัพย์ โดยผลการจัดเก็บภาษีน้ำมันในปีงบประมาณ 2549 จัดเก็บได้ลดลงกว่าประมาณการ โดยมียอดจัดเก็บประมาณ 45,000 ล้านบาท เนื่องจากรัฐบาลได้ลดการจัดเก็บภาษีสรรพสามิตน้ำมันดีเซลลงลิตรละ 1 บาท เมื่อวันที่ 1 เมษายน 2549 ซึ่งกระทบการจัดเก็บภาษี 7,200 ล้านบาท นอกจากนี้ ยังได้รับผลกระทบจากมาตรการประหยัดพลังงาน และการใช้พลังงานทดแทน ซึ่งเชื่อว่าตลอดปีนี้การจัดเก็บภาษีสรรพสามิตน้ำมันจะไม่ได้ตามเป้าหมาย
ส่วนเทศกาลฟุตบอลโลกในระหว่างเดือนมิถุนายน-กรกฎาคม ช่วยให้การจัดเก็บภาษีสรรพสามิตเพิ่มขึ้น โดยการจัดเก็บ 1-15 มิถุนายน เพิ่มขึ้นร้อยละ 3-4 ซึ่งเป็นไปตามภาวะปกติในเทศกาลเหมือนในช่วงปีใหม่และสงกรานต์