กระทรวงอุตสาหกรรมจับมือภาคเอกชนและสถาบันการศึกษาพัฒนาบุคลากรป้อนตลาดแรงงานอุตสาหกรรม ฝึกหลักสูตรเทคนิคกรรมวิธีการผลิตและช่างซ่อมบำรุงเครื่องจักร คัด 16 นักศึกษาภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่มีผลการเรียนดีเด่นแต่ฐานะยากจน เข้าโครงการนำร่องก่อนขยายสู่ทั่วประเทศต่อไป
นายจักรมณฑ์ ผาสุกวนิช ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า จากการสำรวจความต้องการทางด้านบุคลากรของผู้ประกอบการโรงงานอุตสาหกรรมทั่วประเทศ พบว่าผู้ประกอบการส่วนใหญ่มีความต้องการช่างฝีมือแรงงานที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน เพื่อช่วยในการพัฒนาศักยภาพการผลิตของภาคอุตสาหกรรมอีกเป็นจำนวนมาก กระทรวงอุตสาหกรรมจึงได้ร่วมกับภาคเอกชนในพัฒนาบุคลากรเพื่อป้อนสู่ภาคอุตสาหกรรมในสาขาต่างๆ ให้เพียงพอ โดยล่าสุดสถาบันไทย-เยอรมัน บริษัท ไดกิ้น อินดัสทรีส์ (ประเทศไทย) จำกัด และวิทยาลัยเทคนิคชลบุรี ได้ร่วมดำเนินงานโครงการความร่วมมือระหว่างภาคเอกชนและภาครัฐเพื่อฝึกช่างเทคนิคกรรมวิธีการผลิตและช่างซ่อมบำรุงเครื่องจักร โดยคัดเลือกนักเรียน นักศึกษา ระดับอาชีวศึกษาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่มีผลการเรียนดีแต่ฐานะยากจน จำนวน 16 คน เพื่อเข้าร่วมโครงการนำร่องก่อนขยายสู่ภูมิภาคอื่นๆ ทั่วประเทศต่อไป
สำหรับแผนการดำเนินงานด้านการพัฒนาบุคลากรป้อนสู่ภาคอุตสาหกรรมดังกล่าว สถาบันไทย – เยอรมัน และบริษัทไดกิ้นฯ ได้ร่วมกันร่างหลักสูตรงานอุตสาหกรรมการผลิตเพื่อจัดการศึกษาภาคทฤษฎีและการฝึกภาคปฏิบัติโดยใช้สถานที่ของสถาบันไทย-เยอรมัน นิคมอุตสาหกรรมอมตะนคร จังหวัดชลบุรี เป็นห้องปฏิบัติการ เริ่มดำเนินการตั้งแต่วันที่ 5 มิถุนายน 2549 – 31 สิงหาคม 2550 รวมระยะเวลา 15 เดือน ซึ่งหลักสูตรที่ใช้ในการฝึกอบรมนักศึกษาสามารถนำไปเทียบโอนรายวิชาตามหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) พ.ศ. 2546 ประเภทวิชาช่างอุตสาหกรรม สาขาวิชาเทคนิคอุตสาหกรรม สาขางานติดตั้งและบำรุงรักษาได้
“การดำเนินงานโครงการพัฒนาบุคลากรภาคอุตสาหกรรมเป็นสิ่งที่กระทรวงอุตสาหกรรมดำเนินการมาอย่างต่อเนื่อง โดยเน้นในเรื่องของการพัฒนาทักษะและฝีมือแรงงาน การฝึกอบรมวิชาชีพและการจัดหาบุคลากรผู้ฝึกสอนให้แก่สถาบันการศึกษาและสถานประกอบการ ซึ่งโครงการความร่วมมือระหว่างภาครัฐและภาคเอกชนในครั้งนี้ ถือเป็นโอกาสดีที่จะส่งผลให้มีบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านเข้าสู่ตลาดแรงงานมากยิ่งขึ้น” นายจักรมณฑ์ กล่าว
นายจักรมณฑ์ ผาสุกวนิช ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า จากการสำรวจความต้องการทางด้านบุคลากรของผู้ประกอบการโรงงานอุตสาหกรรมทั่วประเทศ พบว่าผู้ประกอบการส่วนใหญ่มีความต้องการช่างฝีมือแรงงานที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน เพื่อช่วยในการพัฒนาศักยภาพการผลิตของภาคอุตสาหกรรมอีกเป็นจำนวนมาก กระทรวงอุตสาหกรรมจึงได้ร่วมกับภาคเอกชนในพัฒนาบุคลากรเพื่อป้อนสู่ภาคอุตสาหกรรมในสาขาต่างๆ ให้เพียงพอ โดยล่าสุดสถาบันไทย-เยอรมัน บริษัท ไดกิ้น อินดัสทรีส์ (ประเทศไทย) จำกัด และวิทยาลัยเทคนิคชลบุรี ได้ร่วมดำเนินงานโครงการความร่วมมือระหว่างภาคเอกชนและภาครัฐเพื่อฝึกช่างเทคนิคกรรมวิธีการผลิตและช่างซ่อมบำรุงเครื่องจักร โดยคัดเลือกนักเรียน นักศึกษา ระดับอาชีวศึกษาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่มีผลการเรียนดีแต่ฐานะยากจน จำนวน 16 คน เพื่อเข้าร่วมโครงการนำร่องก่อนขยายสู่ภูมิภาคอื่นๆ ทั่วประเทศต่อไป
สำหรับแผนการดำเนินงานด้านการพัฒนาบุคลากรป้อนสู่ภาคอุตสาหกรรมดังกล่าว สถาบันไทย – เยอรมัน และบริษัทไดกิ้นฯ ได้ร่วมกันร่างหลักสูตรงานอุตสาหกรรมการผลิตเพื่อจัดการศึกษาภาคทฤษฎีและการฝึกภาคปฏิบัติโดยใช้สถานที่ของสถาบันไทย-เยอรมัน นิคมอุตสาหกรรมอมตะนคร จังหวัดชลบุรี เป็นห้องปฏิบัติการ เริ่มดำเนินการตั้งแต่วันที่ 5 มิถุนายน 2549 – 31 สิงหาคม 2550 รวมระยะเวลา 15 เดือน ซึ่งหลักสูตรที่ใช้ในการฝึกอบรมนักศึกษาสามารถนำไปเทียบโอนรายวิชาตามหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) พ.ศ. 2546 ประเภทวิชาช่างอุตสาหกรรม สาขาวิชาเทคนิคอุตสาหกรรม สาขางานติดตั้งและบำรุงรักษาได้
“การดำเนินงานโครงการพัฒนาบุคลากรภาคอุตสาหกรรมเป็นสิ่งที่กระทรวงอุตสาหกรรมดำเนินการมาอย่างต่อเนื่อง โดยเน้นในเรื่องของการพัฒนาทักษะและฝีมือแรงงาน การฝึกอบรมวิชาชีพและการจัดหาบุคลากรผู้ฝึกสอนให้แก่สถาบันการศึกษาและสถานประกอบการ ซึ่งโครงการความร่วมมือระหว่างภาครัฐและภาคเอกชนในครั้งนี้ ถือเป็นโอกาสดีที่จะส่งผลให้มีบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านเข้าสู่ตลาดแรงงานมากยิ่งขึ้น” นายจักรมณฑ์ กล่าว