กระทรวงอุตสาหกรรมเร่งกำหนดมาตรการป้องกันอุบัติเหตุการระเบิดของถังน้ำมันขณะดำเนินการซ่อมแซม พร้อมจัดทำแผนประชาสัมพันธ์ผ่านอุตสาหกรรมจังหวัดให้ความรู้–เทคนิค ขั้นตอนการซ่อมแซมที่ถูกต้องแก่ผู้ประกอบกิจการ ผู้ปฏิบัติงานทั่วประเทศ เพื่อลดอัตราความเสี่ยงการเกิดอุบัติเหตุในอนาคต
นางสุมลมาลย์ กัลยาศิริ รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรมกรรม เปิดเผยว่า ขณะนี้กระทรวงอุตสาหกรรมได้กำหนดมาตรการป้องกันการระเบิดของถังน้ำมันขณะซ่อมแซมเพื่อป้องกันปัญหาการเกิดอุบัติเหตุที่อาจก่อให้เกิดความเสียหายรุนแรงต่อชีวิตและทรัพย์สินของผู้ประกอบกิจการโรงงาน คนงาน และผู้อยู่อาศัยในพื้นที่ใกล้เคียง พร้อมกำชับสำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัด (สอจ.) ทั่วประเทศเข้าไปดูแลและให้ความรู้แก่ผู้ประกอบกิจการโรงงาน ช่างเชื่อม รวมถึงผู้ปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับการซ่อมแซมและติดตั้งถังน้ำมันหรือภาชนะบรรจุวัตถุไวไฟอื่น ๆ ให้ทราบถึงขึ้นตอนการซ่อมแซมที่ถูกต้อง ปลอดภัยและเป็นไปตามหลักวิชาการ เพื่อลดอัตราความเสี่ยงการเกิดอุบัติเหตุที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต
“ที่ผ่านมากรมโรงงานอุตสาหกรรมได้สำรวจสถิติการเกิดอุบัติเหตุการระเบิดที่เกิดจากการซ่อมแซมถังบรรจุวัตถุไวไฟประเภทต่าง ๆ อาทิ น้ำมันเตา ดีเซล แก๊สโซลีน ประเภท 91 และ 95 แก๊สโซฮอล์ ทินเนอร์ แอลกอฮอล์ เป็นต้น ซึ่งพบว่าอุบัติเหตุส่วนใหญ่เกิดจากความประมาทของผู้ปฏิบัติงานและการขาดเทคนิคความรู้ที่ถูกต้องตามหลักวิชาการ ดังนั้น กระทรวงอุตสาหกรรมจึงได้กำชับให้อุตสาหกรรมจังหวัดเร่งดำเนินการประชาสัมพันธ์ให้โรงงานหรือสถานประกอบการที่ประกอบกิจการซ่อมถังน้ำมันหรือภาชนะบรรจุสารไวไฟประเภทอื่น ๆ ได้ทราบถึงมาตรการความปลอดภัยที่ถูกต้องตามหลักวิชาการ” นางสุมลมาลย์ กล่าว
สำหรับมาตรการเบื้องต้นเพื่อความปลอดภัยในการซ่อมแซมถังน้ำมันทุกครั้งผู้ปฏิบัติงานควรสำรวจถังน้ำมันให้แน่ใจว่าได้ล้างทำความสะอาดสลายคราบน้ำมันและระบายไอระเหยของน้ำมันจนหมดสิ้นแล้ว ตามขั้นตอนที่ถูกต้องตามหลักวิชาการ 3 ขั้นตอน ได้แก่ การทำความสะอาดถังน้ำมัน การระบายไอระเหยของน้ำมันในส่วนต่าง ๆ ที่เชื่อมต่อกันกับถังน้ำมัน ท่อน้ำมัน ท่อระบายไอ และจุดอับต่าง ๆ ทุกจุด รวมทั้งเปิดช่องคนลง และวาล์วต่าง ๆ ทุกตัว
ส่วนขั้นตอนสุดท้ายคือการตรวจวัดไอระเหยของน้ำมันด้วยเครื่องวัดไอระเหยของน้ำมันชนิดพิเศษ 2 เครื่อง ประกอบด้วย เครื่องวัดแก๊ส และเครื่องวัดปริมาณออกซิเจน เพื่อตรวจวัดไอระเหยของน้ำมันที่อาจตกค้างอยู่ภายในถังน้ำมัน ท่อ หรือจุดอับต่าง ๆ โดยค่าที่ตรวจวัดจะต้องได้เท่ากับ 0 เปอร์เซ็นต์ ของระดับความเข้มข้นต่ำสุดที่ทำให้เกิดการระเบิดได้ หรือไม่มีไอระเหยตกค้างอยู่ ซึ่งควรตรวจวัดทุก 4 ชั่วโมง ในระหว่างซ่อมแซมหากพบค่าการระเหยของน้ำมันมากกว่า 0 เปอร์เซ็นต์ ควรกลับไปเริ่มดำเนินการตามขั้นตอนการทำความสะอาดใหม่ตั้งแต่ต้นก่อนปฏิบัติงานซ่อมแซมถังน้ำมันครั้งใหม่ต่อไป ทั้งนี้ ผู้ประกอบการสามารถดูรายละเอียดได้ที่ www2.diw.go.th/safety
นางสุมลมาลย์ กัลยาศิริ รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรมกรรม เปิดเผยว่า ขณะนี้กระทรวงอุตสาหกรรมได้กำหนดมาตรการป้องกันการระเบิดของถังน้ำมันขณะซ่อมแซมเพื่อป้องกันปัญหาการเกิดอุบัติเหตุที่อาจก่อให้เกิดความเสียหายรุนแรงต่อชีวิตและทรัพย์สินของผู้ประกอบกิจการโรงงาน คนงาน และผู้อยู่อาศัยในพื้นที่ใกล้เคียง พร้อมกำชับสำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัด (สอจ.) ทั่วประเทศเข้าไปดูแลและให้ความรู้แก่ผู้ประกอบกิจการโรงงาน ช่างเชื่อม รวมถึงผู้ปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับการซ่อมแซมและติดตั้งถังน้ำมันหรือภาชนะบรรจุวัตถุไวไฟอื่น ๆ ให้ทราบถึงขึ้นตอนการซ่อมแซมที่ถูกต้อง ปลอดภัยและเป็นไปตามหลักวิชาการ เพื่อลดอัตราความเสี่ยงการเกิดอุบัติเหตุที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต
“ที่ผ่านมากรมโรงงานอุตสาหกรรมได้สำรวจสถิติการเกิดอุบัติเหตุการระเบิดที่เกิดจากการซ่อมแซมถังบรรจุวัตถุไวไฟประเภทต่าง ๆ อาทิ น้ำมันเตา ดีเซล แก๊สโซลีน ประเภท 91 และ 95 แก๊สโซฮอล์ ทินเนอร์ แอลกอฮอล์ เป็นต้น ซึ่งพบว่าอุบัติเหตุส่วนใหญ่เกิดจากความประมาทของผู้ปฏิบัติงานและการขาดเทคนิคความรู้ที่ถูกต้องตามหลักวิชาการ ดังนั้น กระทรวงอุตสาหกรรมจึงได้กำชับให้อุตสาหกรรมจังหวัดเร่งดำเนินการประชาสัมพันธ์ให้โรงงานหรือสถานประกอบการที่ประกอบกิจการซ่อมถังน้ำมันหรือภาชนะบรรจุสารไวไฟประเภทอื่น ๆ ได้ทราบถึงมาตรการความปลอดภัยที่ถูกต้องตามหลักวิชาการ” นางสุมลมาลย์ กล่าว
สำหรับมาตรการเบื้องต้นเพื่อความปลอดภัยในการซ่อมแซมถังน้ำมันทุกครั้งผู้ปฏิบัติงานควรสำรวจถังน้ำมันให้แน่ใจว่าได้ล้างทำความสะอาดสลายคราบน้ำมันและระบายไอระเหยของน้ำมันจนหมดสิ้นแล้ว ตามขั้นตอนที่ถูกต้องตามหลักวิชาการ 3 ขั้นตอน ได้แก่ การทำความสะอาดถังน้ำมัน การระบายไอระเหยของน้ำมันในส่วนต่าง ๆ ที่เชื่อมต่อกันกับถังน้ำมัน ท่อน้ำมัน ท่อระบายไอ และจุดอับต่าง ๆ ทุกจุด รวมทั้งเปิดช่องคนลง และวาล์วต่าง ๆ ทุกตัว
ส่วนขั้นตอนสุดท้ายคือการตรวจวัดไอระเหยของน้ำมันด้วยเครื่องวัดไอระเหยของน้ำมันชนิดพิเศษ 2 เครื่อง ประกอบด้วย เครื่องวัดแก๊ส และเครื่องวัดปริมาณออกซิเจน เพื่อตรวจวัดไอระเหยของน้ำมันที่อาจตกค้างอยู่ภายในถังน้ำมัน ท่อ หรือจุดอับต่าง ๆ โดยค่าที่ตรวจวัดจะต้องได้เท่ากับ 0 เปอร์เซ็นต์ ของระดับความเข้มข้นต่ำสุดที่ทำให้เกิดการระเบิดได้ หรือไม่มีไอระเหยตกค้างอยู่ ซึ่งควรตรวจวัดทุก 4 ชั่วโมง ในระหว่างซ่อมแซมหากพบค่าการระเหยของน้ำมันมากกว่า 0 เปอร์เซ็นต์ ควรกลับไปเริ่มดำเนินการตามขั้นตอนการทำความสะอาดใหม่ตั้งแต่ต้นก่อนปฏิบัติงานซ่อมแซมถังน้ำมันครั้งใหม่ต่อไป ทั้งนี้ ผู้ประกอบการสามารถดูรายละเอียดได้ที่ www2.diw.go.th/safety