อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศเตือนผู้ส่งออกไทยหลีกเลี่ยงการใช้สารเบนซีนในสินค้าเครื่องดื่มชนิดไม่มีแอลกอฮอล์ที่ส่งออกไปสหรัฐอเมริกา เพื่อป้องกันการเกิดสารเบนซีน และเป็นการสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้กับสินค้าส่งออกไทย
นายราเชนทร์ พจนสุนทร อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ เปิดเผยว่า ผลจากการสืบสวนและทดสอบของสำนักงานอาหารและยาของสหรัฐ (USFDA) ได้ตรวจพบสารเบนซีน (Benzene) ปริมาณสูง ในเครื่องดื่มที่ไม่มีแอลกอฮอล์ หรือ soft drink บางประเภท เช่น น้ำผลไม้ น้ำหวาน น้ำอัดลมชนิดต่างๆ และน้ำโซดา ทำให้วิตกว่าอาจเป็นอันตรายต่อผู้บริโภค เนื่องจากเบนซีนเป็นสารก่อมะเร็งชนิดหนึ่ง ทั้งนี้ สำนักงานคุ้มครองสิ่งแวดล้อมสหรัฐ กำหนดปริมาณสารเบนซีนที่อนุญาตให้พบในน้ำดื่มได้ไม่เกิน 5 ppb เท่านั้น
ทั้งนี้ สารเบนซีนเกิดจากการทำปฏิกิริยากันของวัตถุเจือปนอาหาร 2 ชนิด คือ โซเดียมเบนโซเอต (Sodium benzoate) ซึ่งเป็นสารกันเสีย และวิตามินซี (Ascorbic Acid) ที่ใช้เป็นสารกันการเกิดออกซิเดชั่นในเครื่องดื่ม โดยมีตัวเร่ง คือ อุณหภูมิและแสง ดังนั้น USFDA จึงแนะนำว่า ผู้ผลิต soft drink ไม่จำเป็นต้องเติมวิตามินซีในเครื่องดื่ม เพราะปกติสามารถพบได้ในผลไม้โดยธรรมชาติอยู่แล้ว สำหรับโซเดียมเบนโซเอตสามารถหลีกเลี่ยงโดยใช้สารอื่นแทน
อย่างไรก็ตาม ตลาดสหรัฐเป็นผู้นำเข้าเครื่องดื่มชนิดไม่มีแอลกอฮอล์จากไทยเป็นจำนวนมากถึง 47 ดอลลาร์สหรัฐ ในปี 2547 และ 58 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ในปี 2548 เพิ่มขึ้นร้อยละ 21.42 ดังนั้น ผู้ส่งออกควรระมัดระวังในการใช้สารโซเดียมเบนโซเอต และวิตามินซี ในการผลิตเครื่องดื่มชนิดไม่มีแอลกอฮอล์ เพื่อป้องกันการเกิดสารเบนซีน และเป็นการสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้กับสินค้าส่งออกไทยด้วย
นายราเชนทร์ พจนสุนทร อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ เปิดเผยว่า ผลจากการสืบสวนและทดสอบของสำนักงานอาหารและยาของสหรัฐ (USFDA) ได้ตรวจพบสารเบนซีน (Benzene) ปริมาณสูง ในเครื่องดื่มที่ไม่มีแอลกอฮอล์ หรือ soft drink บางประเภท เช่น น้ำผลไม้ น้ำหวาน น้ำอัดลมชนิดต่างๆ และน้ำโซดา ทำให้วิตกว่าอาจเป็นอันตรายต่อผู้บริโภค เนื่องจากเบนซีนเป็นสารก่อมะเร็งชนิดหนึ่ง ทั้งนี้ สำนักงานคุ้มครองสิ่งแวดล้อมสหรัฐ กำหนดปริมาณสารเบนซีนที่อนุญาตให้พบในน้ำดื่มได้ไม่เกิน 5 ppb เท่านั้น
ทั้งนี้ สารเบนซีนเกิดจากการทำปฏิกิริยากันของวัตถุเจือปนอาหาร 2 ชนิด คือ โซเดียมเบนโซเอต (Sodium benzoate) ซึ่งเป็นสารกันเสีย และวิตามินซี (Ascorbic Acid) ที่ใช้เป็นสารกันการเกิดออกซิเดชั่นในเครื่องดื่ม โดยมีตัวเร่ง คือ อุณหภูมิและแสง ดังนั้น USFDA จึงแนะนำว่า ผู้ผลิต soft drink ไม่จำเป็นต้องเติมวิตามินซีในเครื่องดื่ม เพราะปกติสามารถพบได้ในผลไม้โดยธรรมชาติอยู่แล้ว สำหรับโซเดียมเบนโซเอตสามารถหลีกเลี่ยงโดยใช้สารอื่นแทน
อย่างไรก็ตาม ตลาดสหรัฐเป็นผู้นำเข้าเครื่องดื่มชนิดไม่มีแอลกอฮอล์จากไทยเป็นจำนวนมากถึง 47 ดอลลาร์สหรัฐ ในปี 2547 และ 58 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ในปี 2548 เพิ่มขึ้นร้อยละ 21.42 ดังนั้น ผู้ส่งออกควรระมัดระวังในการใช้สารโซเดียมเบนโซเอต และวิตามินซี ในการผลิตเครื่องดื่มชนิดไม่มีแอลกอฮอล์ เพื่อป้องกันการเกิดสารเบนซีน และเป็นการสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้กับสินค้าส่งออกไทยด้วย