พิษเศรษฐกิจ-การเมือง-น้ำมันแพง คาดทำให้เกษตรกรลดการใช้จ่าย ส่งผล เครื่องจักรการเกษตรยอดหดร้อยละ 3-5 ด้านผู้ประกอบการวอนรัฐลดภาษีวัตถุดิบ เพื่อแข่งกับสินค้าสำเร็จรูปนำเข้า พร้อมจัดงานเครื่องจักรกลเกษตรไทย 49 ปลายปีนี้ เพื่อแสดงเทคโนโลยีของคนไทยและร่วมเฉลิมฉลองในโอกาสทรงครองราชย์ปีที่ 60
นายวรพจน์ แสงทวีสิน ประธานกลุ่มอุตสาหกรรมเครื่องจักรกลการเกษตร สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) ยอมรับว่าจากภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัว ทั้งจากปัญหาน้ำมันแพง และการเมือง ได้ส่งผลให้เกษตรกรชะลอการลงทุนการซื้อเครื่องมือการเกษตร และคาดว่าจะส่งผลทำให้ยอดขายเครื่องจักรกลการเกษตรลดลงจากปีที่แล้วประมาณร้อยละ 3-5 จากที่มียอดขายประมาณปีละ 10,000 ล้านบาท ส่วนยอดส่งออกยังคาดว่าจะขยายตัวต่อเนื่อง โดยคาดว่าจะส่งออกมากกว่า 2,000 ล้านบาทต่อปี ซึ่งนอกจากจะขยายตัวได้ดีในตลาดอินโดจีนซึ่งเป็นตลาดเก่าแล้ว ผู้ส่งออกควรจะมองหาตลาดที่กำลังขยายตัวที่ดีเช่น อินเดีย และแอฟริกา
นายวรพจน์ กล่าวว่า ในภาวะน้ำมันแพงเช่นนี้ ขอเสนอให้รัฐบาลช่วยสนับสนุนเรื่องการทำวิจัยและพัฒนา (อาร์แอนด์ดี) สำหรับเครื่องจักรกลการเกษตรที่เน้นเรื่องการประหยัดน้ำมัน เพื่อลดต้นทุนเกษตรกร และขอให้พิจารณาเรื่องการลดภาษีนำเข้าวัตถุดิบ เพราะอัตราภาษีปัจจุบันอยู่ที่ร้อยละ 20-30 ในขณะที่สินค้าสำเร็จรูปนำเข้าอยู่ที่ร้อยละ 5 เท่านั้น ทำให้ต้นทุนแข่งขันลำบาก นอกจากนี้ ในขณะนี้ยังมีเครื่องยนต์เกษตรมือ 2 จากญี่ปุ่น และเครื่องยนต์เกษตรราคาถูกจากจีนเข้ามาตีตลาดอีกด้วย แต่ก่อนที่เกษตรกรจะจ่ายเงินซื้อก็ขอให้พิจารณาก่อนว่า คุ้มค่าการจ่ายเงินหรือไม่ เพราะเครื่องยนต์เก่านำเข้าส่วนใหญ่จะมีต้นทุนน้ำมันในอัตรา 1-1.2 ลิตร/ชั่วโมง แต่เครื่องยนต์ที่ผลิตในไทยมีการใช้น้ำมันในอัตรา 0.8 ลิตร/ชั่วโมง นับว่าสินค้าประหยัดกว่า
ทั้งนี้ เพื่อเป็นการส่งเสริมการพัฒนาเครื่องจักรกลการเกษตรของไทยและร่วมเป็นกิจกรรมฉลองการครองในโอกาสพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงครองราชย์ครบ 60 ปี กลุ่มอุตสาหกรรมเครื่องจักรกล ได้จัดงานแสดงเครื่องจักรกล-อุปกรณ์การเกษตรขึ้นมาครั้งแรกในประเทศ โดยจัดงานระหว่าง “เครื่องจักรกลเกษตรไทย 49” ในวันที่ 29 กันยายน-1 ตุลาคม 2549 ที่พิพิธภัณฑ์การเกษตรเฉลิมพระเกียรติ คลองหลวง ปทุมธานี ภายในงานจะมีการจัดแสดงนิทรรศการโครงการในพระราชดำริที่เกี่ยวข้องกับเกษตรกรและการแสดงเทคโนโลยีจากผู้ผลิตสินค้าด้วย
นายวรพจน์ แสงทวีสิน ประธานกลุ่มอุตสาหกรรมเครื่องจักรกลการเกษตร สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) ยอมรับว่าจากภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัว ทั้งจากปัญหาน้ำมันแพง และการเมือง ได้ส่งผลให้เกษตรกรชะลอการลงทุนการซื้อเครื่องมือการเกษตร และคาดว่าจะส่งผลทำให้ยอดขายเครื่องจักรกลการเกษตรลดลงจากปีที่แล้วประมาณร้อยละ 3-5 จากที่มียอดขายประมาณปีละ 10,000 ล้านบาท ส่วนยอดส่งออกยังคาดว่าจะขยายตัวต่อเนื่อง โดยคาดว่าจะส่งออกมากกว่า 2,000 ล้านบาทต่อปี ซึ่งนอกจากจะขยายตัวได้ดีในตลาดอินโดจีนซึ่งเป็นตลาดเก่าแล้ว ผู้ส่งออกควรจะมองหาตลาดที่กำลังขยายตัวที่ดีเช่น อินเดีย และแอฟริกา
นายวรพจน์ กล่าวว่า ในภาวะน้ำมันแพงเช่นนี้ ขอเสนอให้รัฐบาลช่วยสนับสนุนเรื่องการทำวิจัยและพัฒนา (อาร์แอนด์ดี) สำหรับเครื่องจักรกลการเกษตรที่เน้นเรื่องการประหยัดน้ำมัน เพื่อลดต้นทุนเกษตรกร และขอให้พิจารณาเรื่องการลดภาษีนำเข้าวัตถุดิบ เพราะอัตราภาษีปัจจุบันอยู่ที่ร้อยละ 20-30 ในขณะที่สินค้าสำเร็จรูปนำเข้าอยู่ที่ร้อยละ 5 เท่านั้น ทำให้ต้นทุนแข่งขันลำบาก นอกจากนี้ ในขณะนี้ยังมีเครื่องยนต์เกษตรมือ 2 จากญี่ปุ่น และเครื่องยนต์เกษตรราคาถูกจากจีนเข้ามาตีตลาดอีกด้วย แต่ก่อนที่เกษตรกรจะจ่ายเงินซื้อก็ขอให้พิจารณาก่อนว่า คุ้มค่าการจ่ายเงินหรือไม่ เพราะเครื่องยนต์เก่านำเข้าส่วนใหญ่จะมีต้นทุนน้ำมันในอัตรา 1-1.2 ลิตร/ชั่วโมง แต่เครื่องยนต์ที่ผลิตในไทยมีการใช้น้ำมันในอัตรา 0.8 ลิตร/ชั่วโมง นับว่าสินค้าประหยัดกว่า
ทั้งนี้ เพื่อเป็นการส่งเสริมการพัฒนาเครื่องจักรกลการเกษตรของไทยและร่วมเป็นกิจกรรมฉลองการครองในโอกาสพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงครองราชย์ครบ 60 ปี กลุ่มอุตสาหกรรมเครื่องจักรกล ได้จัดงานแสดงเครื่องจักรกล-อุปกรณ์การเกษตรขึ้นมาครั้งแรกในประเทศ โดยจัดงานระหว่าง “เครื่องจักรกลเกษตรไทย 49” ในวันที่ 29 กันยายน-1 ตุลาคม 2549 ที่พิพิธภัณฑ์การเกษตรเฉลิมพระเกียรติ คลองหลวง ปทุมธานี ภายในงานจะมีการจัดแสดงนิทรรศการโครงการในพระราชดำริที่เกี่ยวข้องกับเกษตรกรและการแสดงเทคโนโลยีจากผู้ผลิตสินค้าด้วย