เลขาธิการ สศช.สนับสนุนแนวคิดผู้บริหาร ทอท.ที่ปรับยุทธศาสตร์ศูนย์กลางการบินให้เชื่อมโยงกับการพัฒนาชุมชน ขณะที่กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ ทอท. ประกาศพร้อมรับโอนสนามบินทุกแห่งจากกรมการขนส่งทางอากาศมาบริหาร ประเดิม 3 สนามบินแรก ได้แก่ อุบลราชธานี อุดรธานี และขอนแก่น
นายอำพน กิตติอำพน เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) กล่าวในโอกาสเป็นวิทยากรแสดงปาฐกถาพิเศษเรื่อง ”นโยบายความเป็นศูนย์กลางทางการบิน” โดยระบุว่าเห็นด้วยกับยุทธศาสตร์ใหม่ของผู้บริหารของบริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) หรือ ทอท. ในการพัฒนาความเป็นศูนย์กลางการบินในภูมิภาคให้เกิดขึ้นในทุกจังหวัดที่มีความสำคัญ ทั้งทางด้านการค้าและการท่องเที่ยวให้สอดคล้องกับความต้องการและพัฒนาท้องถิ่นในแต่ละชุมชน การเชื่อมโยงเศรษฐกิจกับประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งถือเป็นการกำหนดเป้าหมายขององค์กรให้ชัดเจน ผลักดันให้บุคลากรในองค์กรทำงานอย่างมีเป้าหมาย
นายอำพน กล่าวว่า ที่ผ่านมาความสำคัญของการเป็นศูนย์กลางทางการบินเป็นไปตามแนวโน้มการเติบโตด้านธุรกิจขนส่งและเศรษฐกิจในภาพรวม เห็นได้จากการขยายตัวของปริมาณผู้ใช้สายการบิน เพื่อการค้า การท่องเที่ยวผ่านสายการบินทั่วไป และสายการบินต้นทุนต่ำ โดยเฉพาะด้านการท่องเที่ยวเห็นได้ว่าเป็นตัวเลขสำคัญที่ช่วยให้ดุลการค้าของไทยเกินดุลในสัดส่วน 1,600 ล้านดอลลาร์สหรัฐในปีที่ผ่านมา
ด้านนายโชติศักดิ์ อาสภวิริยะ กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ ทอท. กล่าวว่า ในการพัฒนาท่าอากาศยานแต่ละจังหวัดให้มีความเชื่อมโยงกับชุมชนนั้น ทอท.จะเน้นการพัฒนาเพื่อเพิ่มปริมาณการขนส่งสินค้าทางอากาศ หรือแอร์คาร์โก้ ให้มีสัดส่วนมากขึ้น หลังจากที่ในอดีตประเทศไทยมีสัดส่วนปริมาณการขนส่งและรายได้จากธุรกรรมดังกล่าวน้อย ส่วนการรับโอนสนามบินในจังหวัดต่าง ๆ จากกรมการขนส่งอากาศมาบริหารนั้น ทอท.มีนโยบายชัดเจนว่าจะรับโอนมาทั้ง 26 แห่ง เพื่อผลักดันให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ศูนย์กลางการบินเกิดขึ้นในทุกภูมิภาคทั่วประเทศ โดยสนามบินที่จะรับโอนกลุ่มแรกคือสนามบิน 3 แห่งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ คือ สนามบินจังหวัดอุบลราชธานี อุดรธานี และขอนแก่น เนื่องจากปัจจุบัน ทอท.ยังไม่มีสนามบินในภูมิภาคดังกล่าวในกำกับดูแล นอกจากนี้ การเปิดใช้ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิในปีนี้ก็จะมีความสำคัญเป็นภารกิจแรกของ ทอท. ซึ่งขณะนี้การดำเนินการทุกอย่างเป็นไปตามกำหนดเวลา โดยเฉพาะการมีผลของใบอนุญาตทำการบินในเดือนกรกฎาคมนี้
ด้านนายสมชาย ทองคำคูณ ประธานฝ่ายคมนาคมและการขนส่ง หอการค้าจังหวัดเชียงใหม่ กล่าวว่า ในการพัฒนาระบบการขนส่งทางอากาศให้เชื่อมโยงกับชุมชนให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน ภาคเอกชนเห็นว่าจำเป็นต้องเร่งพัฒนาขยายระบบขนส่งทางการอากาศให้ไปในทิศทางเดียวกันกับการผลิตและการค้าในชุมชนแต่ละแห่ง โดยในเบื้องต้นภาครัฐควรเร่งขยายการก่อสร้างพื้นที่คาร์โก้ของท่าอากาศยานแต่ละแห่งให้มีขนาดใหญ่เพียงพอต่อปริมาณการใช้ รวมถึงการขยายช่องจราจร เพื่อให้ระบบโครงข่ายขนส่งต่อเนื่องในทางเดียวกัน เช่นปัจจุบันมีถนน 4 เลนจากเชียงใหม่ ลำปางเท่านั้น แต่ถนนระหว่างเชียงใหม่-เชียงราย ยังเป็นถนน 2 เลน ทั้งที่ในอนาคตเชียงรายจะเป็นประตูขนส่งสินค้าสู่อินโดจีน ระหว่างประเทศจีน-ไทย ด้วย
นายอำพน กิตติอำพน เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) กล่าวในโอกาสเป็นวิทยากรแสดงปาฐกถาพิเศษเรื่อง ”นโยบายความเป็นศูนย์กลางทางการบิน” โดยระบุว่าเห็นด้วยกับยุทธศาสตร์ใหม่ของผู้บริหารของบริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) หรือ ทอท. ในการพัฒนาความเป็นศูนย์กลางการบินในภูมิภาคให้เกิดขึ้นในทุกจังหวัดที่มีความสำคัญ ทั้งทางด้านการค้าและการท่องเที่ยวให้สอดคล้องกับความต้องการและพัฒนาท้องถิ่นในแต่ละชุมชน การเชื่อมโยงเศรษฐกิจกับประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งถือเป็นการกำหนดเป้าหมายขององค์กรให้ชัดเจน ผลักดันให้บุคลากรในองค์กรทำงานอย่างมีเป้าหมาย
นายอำพน กล่าวว่า ที่ผ่านมาความสำคัญของการเป็นศูนย์กลางทางการบินเป็นไปตามแนวโน้มการเติบโตด้านธุรกิจขนส่งและเศรษฐกิจในภาพรวม เห็นได้จากการขยายตัวของปริมาณผู้ใช้สายการบิน เพื่อการค้า การท่องเที่ยวผ่านสายการบินทั่วไป และสายการบินต้นทุนต่ำ โดยเฉพาะด้านการท่องเที่ยวเห็นได้ว่าเป็นตัวเลขสำคัญที่ช่วยให้ดุลการค้าของไทยเกินดุลในสัดส่วน 1,600 ล้านดอลลาร์สหรัฐในปีที่ผ่านมา
ด้านนายโชติศักดิ์ อาสภวิริยะ กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ ทอท. กล่าวว่า ในการพัฒนาท่าอากาศยานแต่ละจังหวัดให้มีความเชื่อมโยงกับชุมชนนั้น ทอท.จะเน้นการพัฒนาเพื่อเพิ่มปริมาณการขนส่งสินค้าทางอากาศ หรือแอร์คาร์โก้ ให้มีสัดส่วนมากขึ้น หลังจากที่ในอดีตประเทศไทยมีสัดส่วนปริมาณการขนส่งและรายได้จากธุรกรรมดังกล่าวน้อย ส่วนการรับโอนสนามบินในจังหวัดต่าง ๆ จากกรมการขนส่งอากาศมาบริหารนั้น ทอท.มีนโยบายชัดเจนว่าจะรับโอนมาทั้ง 26 แห่ง เพื่อผลักดันให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ศูนย์กลางการบินเกิดขึ้นในทุกภูมิภาคทั่วประเทศ โดยสนามบินที่จะรับโอนกลุ่มแรกคือสนามบิน 3 แห่งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ คือ สนามบินจังหวัดอุบลราชธานี อุดรธานี และขอนแก่น เนื่องจากปัจจุบัน ทอท.ยังไม่มีสนามบินในภูมิภาคดังกล่าวในกำกับดูแล นอกจากนี้ การเปิดใช้ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิในปีนี้ก็จะมีความสำคัญเป็นภารกิจแรกของ ทอท. ซึ่งขณะนี้การดำเนินการทุกอย่างเป็นไปตามกำหนดเวลา โดยเฉพาะการมีผลของใบอนุญาตทำการบินในเดือนกรกฎาคมนี้
ด้านนายสมชาย ทองคำคูณ ประธานฝ่ายคมนาคมและการขนส่ง หอการค้าจังหวัดเชียงใหม่ กล่าวว่า ในการพัฒนาระบบการขนส่งทางอากาศให้เชื่อมโยงกับชุมชนให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน ภาคเอกชนเห็นว่าจำเป็นต้องเร่งพัฒนาขยายระบบขนส่งทางการอากาศให้ไปในทิศทางเดียวกันกับการผลิตและการค้าในชุมชนแต่ละแห่ง โดยในเบื้องต้นภาครัฐควรเร่งขยายการก่อสร้างพื้นที่คาร์โก้ของท่าอากาศยานแต่ละแห่งให้มีขนาดใหญ่เพียงพอต่อปริมาณการใช้ รวมถึงการขยายช่องจราจร เพื่อให้ระบบโครงข่ายขนส่งต่อเนื่องในทางเดียวกัน เช่นปัจจุบันมีถนน 4 เลนจากเชียงใหม่ ลำปางเท่านั้น แต่ถนนระหว่างเชียงใหม่-เชียงราย ยังเป็นถนน 2 เลน ทั้งที่ในอนาคตเชียงรายจะเป็นประตูขนส่งสินค้าสู่อินโดจีน ระหว่างประเทศจีน-ไทย ด้วย