อธิบดีกรมศุลกากรระบุหลังจากมีโครงการ “ร่วมใจใสสะอาด” ทำให้การร้องเรียนต่าง ๆ ลดลง แต่ยอมรับการร้องเรียนเกี่ยวกับเงินใต้โต๊ะยังมีอยู่บ้าง ชี้ปัญหาดังกล่าวจะไม่หมดไปหากไม่ได้รับความร่วมมือจากผู้ประกอบการ มั่นใจหากมีงานวิจัยที่มีข้อมูลครบถ้วน ภาพพจน์ของกรมศุลกากรจะออกมาในทางบวกแน่นอน
นายสถิตย์ ลิ่มพงศ์พันธุ์ อธิบดีกรมศุลกากร กล่าวภายหลังเป็นประธานลงนามร่วมกับผู้ประกอบการนำเข้า-ส่งออกและตัวแทนออกของในโครงการ “ร่วมใจใสสะอาด” ครั้งที่ 7 จำนวน 80 ราย ว่า โครงการดังกล่าวถือเป็นการสร้างความโปร่งใสในการปฏิบัติงานของกรมฯ และเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมการทำงานของเจ้าหน้าที่ใหม่ อีกทั้งจะทำให้ผู้ประกอบการได้รับความสะดวกในการทำธุรกรรมกับกรมศุลกากรมากขึ้น ขณะเดียวกันหลังจากเริ่มดำเนินโครงการมา ทำให้การร้องเรียนต่าง ๆ ของผู้ประกอบการลดลงไปเมื่อเทียบกับช่วงก่อนมีโครงการ และเรื่องการร้องเรียนก็จะเกี่ยวกับความเข้าใจผิดหรือความล่าช้าในการทำงานของเจ้าหน้าที่ ขณะที่เจ้าหน้าที่คนไหนที่ไม่สามารถปรับตัวได้หรือมีเรื่องถูกร้องเรียน ก็จะถูกโยกย้ายให้ไปปฏิบัติงานในหน้าที่ที่ไม่เกี่ยวข้องกับงานบริการประชาชน
ส่วนการร้องเรียนเกี่ยวกับการทุจริตเงินใต้โต๊ะ นายสถิตย์ กล่าวว่า ยอมรับยังมีอยู่บ้าง แต่ก็ลดลงไป ขณะเดียวกันการแก้ปัญหาการทุจริตของกรมศุลกากรก็ต้องอาศัยความร่วมมือจากผู้ประกอบการด้วย ควรจะเลิกจ่ายเงินใต้โต๊ะให้แก่เจ้าหน้าที่ มิเช่นนั้นปัญหาดังกล่าวก็จะไม่หมดไป เพราะหากผู้ประกอบการบางรายร้องเรียนว่า มีเจ้าหน้าที่ทุจริต ขณะที่ผู้ประกอบการบางรายก็ยังนิยมจ่ายเงินใต้โต๊ะอยู่ ก็จะทำให้ปัญหายังมีอยู่และไม่มีทางแก้ไขได้
“เชื่อว่าหลังมีโครงการร่วมใจใสสะอาด หากมีการทำวิจัยเกี่ยวกับการปฏิบัติหน้าที่ของข้าราชการ และมีการสำรวจข้อมูลครบทุกด้าน ภาพพจน์ของกรมศุลกากรจะออกมาในทิศทางบวกแน่นอน” อธิบดีกรมศุลกากร กล่าว
สำหรับโครงการร่วมใจใสสะอาด จนถึงปัจจุบันมีผู้ประกอบการสมัครเข้าเป็นสมาชิกโครงการแล้ว 720 ราย ส่วนการปฏิบัติงานของศูนย์ศุลกากรใสสะอาดที่ผ่านมามีข้อมูลการร้องเรียนจากผู้ประกอบการและเข้าสู่กระบวนการพิจารณาคดีแล้ว 155 เรื่อง ซึ่งศูนย์ได้ประสานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องแก้ไขปัญหาการปฏิบัติงาน 103 เรื่อง อยู่ระหว่างตรวจสอบข้อเท็จจริง 52 เรื่อง กรณีมีมูลดำเนินการทางวินัย 6 เรื่อง และกรมศุลกากรได้แต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนทางวินัยและพักราชการแล้ว 1 ราย ยุติเรื่องเพราะไม่มีพยานหลักฐานแน่นอนและไม่มีข้อมูลเพียงพอ 14 เรื่อง อยู่ระหว่างพิจารณาดำเนินการอีก 32 เรื่อง
นายสถิตย์ ลิ่มพงศ์พันธุ์ อธิบดีกรมศุลกากร กล่าวภายหลังเป็นประธานลงนามร่วมกับผู้ประกอบการนำเข้า-ส่งออกและตัวแทนออกของในโครงการ “ร่วมใจใสสะอาด” ครั้งที่ 7 จำนวน 80 ราย ว่า โครงการดังกล่าวถือเป็นการสร้างความโปร่งใสในการปฏิบัติงานของกรมฯ และเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมการทำงานของเจ้าหน้าที่ใหม่ อีกทั้งจะทำให้ผู้ประกอบการได้รับความสะดวกในการทำธุรกรรมกับกรมศุลกากรมากขึ้น ขณะเดียวกันหลังจากเริ่มดำเนินโครงการมา ทำให้การร้องเรียนต่าง ๆ ของผู้ประกอบการลดลงไปเมื่อเทียบกับช่วงก่อนมีโครงการ และเรื่องการร้องเรียนก็จะเกี่ยวกับความเข้าใจผิดหรือความล่าช้าในการทำงานของเจ้าหน้าที่ ขณะที่เจ้าหน้าที่คนไหนที่ไม่สามารถปรับตัวได้หรือมีเรื่องถูกร้องเรียน ก็จะถูกโยกย้ายให้ไปปฏิบัติงานในหน้าที่ที่ไม่เกี่ยวข้องกับงานบริการประชาชน
ส่วนการร้องเรียนเกี่ยวกับการทุจริตเงินใต้โต๊ะ นายสถิตย์ กล่าวว่า ยอมรับยังมีอยู่บ้าง แต่ก็ลดลงไป ขณะเดียวกันการแก้ปัญหาการทุจริตของกรมศุลกากรก็ต้องอาศัยความร่วมมือจากผู้ประกอบการด้วย ควรจะเลิกจ่ายเงินใต้โต๊ะให้แก่เจ้าหน้าที่ มิเช่นนั้นปัญหาดังกล่าวก็จะไม่หมดไป เพราะหากผู้ประกอบการบางรายร้องเรียนว่า มีเจ้าหน้าที่ทุจริต ขณะที่ผู้ประกอบการบางรายก็ยังนิยมจ่ายเงินใต้โต๊ะอยู่ ก็จะทำให้ปัญหายังมีอยู่และไม่มีทางแก้ไขได้
“เชื่อว่าหลังมีโครงการร่วมใจใสสะอาด หากมีการทำวิจัยเกี่ยวกับการปฏิบัติหน้าที่ของข้าราชการ และมีการสำรวจข้อมูลครบทุกด้าน ภาพพจน์ของกรมศุลกากรจะออกมาในทิศทางบวกแน่นอน” อธิบดีกรมศุลกากร กล่าว
สำหรับโครงการร่วมใจใสสะอาด จนถึงปัจจุบันมีผู้ประกอบการสมัครเข้าเป็นสมาชิกโครงการแล้ว 720 ราย ส่วนการปฏิบัติงานของศูนย์ศุลกากรใสสะอาดที่ผ่านมามีข้อมูลการร้องเรียนจากผู้ประกอบการและเข้าสู่กระบวนการพิจารณาคดีแล้ว 155 เรื่อง ซึ่งศูนย์ได้ประสานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องแก้ไขปัญหาการปฏิบัติงาน 103 เรื่อง อยู่ระหว่างตรวจสอบข้อเท็จจริง 52 เรื่อง กรณีมีมูลดำเนินการทางวินัย 6 เรื่อง และกรมศุลกากรได้แต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนทางวินัยและพักราชการแล้ว 1 ราย ยุติเรื่องเพราะไม่มีพยานหลักฐานแน่นอนและไม่มีข้อมูลเพียงพอ 14 เรื่อง อยู่ระหว่างพิจารณาดำเนินการอีก 32 เรื่อง