ปัจจุบัน เครื่องซักผ้าได้กลายเป็นเครื่องใช้ไฟฟ้าในครัวเรือนที่จำเป็นสำหรับชีวิตคนเมืองตามไลฟ์สไตส์ของคนรุ่นใหม่ ที่ต้องการความสะดวกสบายและประหยัดเวลา เนื่องจากสภาพความรีบเร่งในชีวิตประจำวัน จึงมีความต้องการใช้เครื่องทุ่นแรงมาช่วยในการทำงานบ้าน ส่งผลให้ความต้องการใช้เครื่องซักผ้าภายในประเทศมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ในอุตสาหกรรมการผลิตเครื่องซักผ้าของไทยนั้น นอกจากจะเป็นการผลิตเพื่อตอบสนองความต้องการบริโภคภายในประเทศที่มีสัดส่วนประมาณ 20% ของการผลิตทั้งหมดแล้ว ยังเป็นการผลิตเพื่อเป็นสินค้าส่งออกไปจำหน่ายในตลาดต่างประเทศอีกด้วย ซึ่งในแต่ละปี สามารถนำรายได้เข้าประเทศประมาณ 17,500 ล้านบาท
การผลิต : ทดแทนการนำเข้า….และมุ่งส่งออก
การผลิตเครื่องซักผ้าของไทยเติบโตมาจากการผลิตเพื่อทดแทนการนำเข้า ซึ่งปัจจุบันมีผู้ผลิตภายในประเทศประมาณ 7 – 8 ราย มีอัตราการใช้กำลังการผลิตเฉลี่ยประมาณ 85% ของการผลิตทั้งหมด การผลิตเป็นการร่วมทุนระหว่างนักลงทุนไทยกับต่างชาติเป็นส่วนใหญ่ เฉพาะอย่างยิ่ง ผู้ผลิตชาวญี่ปุ่น และเกาหลีใต้ มีการย้ายฐานการผลิตเข้ามาในประเทศมากขึ้น โดยผู้ผลิตส่วนใหญ่เน้นเพื่อการส่งออกเป็นหลัก ทำให้การส่งออกขยายตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยที่ผู้ผลิตเครื่องซักผ้ายังมีนโยบายใช้ไทยเป็นฐานการการผลิตเพื่อการส่งออก(Export Center) ในภูมิภาคเอเชีย ปัจจุบัน ผู้ผลิตทำการผลิตเพื่อส่งออกไปจำหน่ายยังต่างประเทศถึง 80% ของการผลิตทั้งหมด ส่วนที่เหลือผลิตเพื่อจำหน่ายภายในประเทศ
สำหรับเครื่องหมายการค้าที่รู้จักกันดีที่เป็นแบรนด์ญี่ปุ่น ได้แก่ ฮิตาชิ ชาร์ป ซันโย มิตซูบิชิ และเนชั่นแนล ส่วนแบรนด์เกาหลีใต้ ได้แก่ แอลจี และซัมซุง และเริ่มมีแบรนด์จีนเข้ามาแข่งขันมากขึ้น ได้แก่ ไฮเออร์ ทีซีแอล ลิตเติล สวอน ส่วนแบรนด์ที่นำเข้าจากยุโรปและสหรัฐอเมริกา ได้แก่ อิเล็กโทรลักช์ รองลงมา ได้แก่ อีฟ จีอี เวิรล์พูล ฟากอร์ เอ็มไพร์ และซีเมนต์ สำหรับวัตถุดิบที่สำคัญในการผลิตเครื่องซักผ้า ได้แก่ มอเตอร์เครื่องซักผ้า ถังปั่นซัก ตัวถังเครื่องซักผ้า ฐานเครื่องซักผ้า เป็นต้น ส่วนใหญ่จะใช้ชิ้นส่วนในประเทศถึง 70% โดยผู้ผลิตจะซื้อจากผู้ผลิตภายในประเทศ โดยกระจายการสั่งซื้อผ่านผู้ขายหลายรายด้วยกัน และมีแนวโน้มจะใช้ชิ้นส่วนภายในประเทศเพิ่มขึ้น
ตลาดส่งออก : ตลาดหลักของเครื่องซักผ้าของไทย
ดังได้กล่าวมาแล้วว่า การผลิตเครื่องซักผ้าของไทยส่วนใหญ่เป็นการผลิตเพื่อการส่งออกในสัดส่วนสูงถึง 80% ของการผลิตทั้งหมด เฉพาะอย่างยิ่งในช่วง 2 – 3 ปีที่ผ่านมา จนทำให้การส่งออกขยายตัวเพิ่มขึ้นได้อย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้เนื่องจากการย้ายฐานการผลิตเครื่องซักผ้าของผู้ประกอบการชาวต่างชาติที่มีชื่อเสียงหลายรายที่เข้ามาผลิตในประเทศไทย ส่วนหนึ่งเพื่ออาศัยประโยชน์จากนโยบายสนับสนุนการลงทุนของภาครัฐ รวมทั้งสิทธิประโยชน์ทางด้านภาษีจากข้อตกลงทางการค้าเสรีอาเซียน (AFTA) และข้อตกลงทางการค้าทวิภาคีระหว่างประเทศไทยกับประเทศอื่น ๆ โดยทำการผลิตและส่งออกตามความต้องการของบริษัทแม่และของลูกค้าในตลาดต่างประเทศ ทำให้การส่งออกเพิ่มขึ้น
จากที่มีมูลค่าเพียง 173.3 ล้านเหรียญสหรัฐฯในปี 2545 เป็น 280.2 378.7 และ 448.3 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ในปี 2546 ปี 2547 และปี 2548 หรือเพิ่มขึ้น 61.7% 35.2% และ 18.3% ตามลำดับ
สำหรับในช่วง 2 เดือนแรกของปี 2549 การส่งออกมีมูลค่า 86.7 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือเพิ่มขึ้น 35.7% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ตลาดส่งออกหลัก ได้แก่ ญี่ปุ่น ซึ่งมีสัดส่วนสูงถึง 27% ของมูลค่าการส่งออกทั้งหมด รองลงมา ได้แก่ มาเลเซีย 7% ซาอุดิอาระเบีย 6% ออสเตรเลีย 5% และอื่น ๆ อีก 55%
ส่วนการส่งออกเครื่องซักผ้าทั้งปี คาดว่า จะมีมูลค่าใกล้เคียงกับปีก่อน เนื่องจากตลาดต่างประเทศยังมีความต้องการอย่างต่อเนื่อง เฉพาะอย่างยิ่ง เครื่องซักผ้าแบบจุผ้าแห้งไม่เกิน 10 กิโลกรัม อย่างไรก็ตาม ผู้ส่งออกไทยควรเตรียมพร้อมเพื่อรับมือกับปัญหาและอุปสรรคการกีดกันทางการค้าจากประเทศพัฒนาแล้ว ซึ่งจะเป็นอุปสรรคสำคัญต่อการส่งออกเครื่องซักผ้าของไทยในอนาคต อาทิ กฎระเบียบด้านสิ่งแวดล้อม รวมถึงมาตรฐานของโลก เช่น กฎระเบียบว่าด้วยการจัดการซากผลิตภัณฑ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์(WEEE) และระเบียบว่าด้วยการจำกัดการใช้สารอันตราย (RoHs)ของสหภาพยุโรป รวมถึงการแข่งขันกับสินค้าราคาถูกจากจีนที่จะเข้ามาแย่งส่วนแบ่งตลาดไปจากไทย
การนำเข้า : นิยมเครื่องซักผ้าแบรนด์เอเชียมากขึ้น
ภายหลังจากที่ประเทศไทยได้เป็นฐานการผลิตเครื่องซักผ้าของนักลงทุนต่างชาติ ความจำเป็นในการนำเข้าเครื่องซักผ้าได้มีแนวโน้มลดลง คงเหลือแต่กลุ่มผู้บริโภคที่ยังนิยมใช้เครื่องซักผ้านำเข้าที่มีฟังก์ชั่นการทำงานซับซ้อน ซึ่งมีราคาค่อนข้างสูงจากประเทศในแถบยุโรป ได้แก่ อิตาลี สเปน นอกเหนือจากที่นำเข้าจากญี่ปุ่นและสหรัฐอเมริกา ดังจะเห็นได้จากในปี 2548 ที่การนำเข้าเครื่องซักผ้าจากต่างประเทศได้ลดลง 8.5% จากที่ขยายตัว 6.5% และ 34.1% ในปี 2547 และ 2546 ตามลำดับ
เนื่องจากการผลิตเครื่องซักผ้าภายในประเทศมีปริมาณและคุณภาพที่สูงขึ้น สามารถทดแทนเครื่องที่นำเข้าจากต่างประเทศได้บางส่วน ขณะที่เครื่องซักผ้าที่ยังต้องนำเข้าจากต่างประเทศนั้น ไทยได้หันมานำเข้าจากประเทศในแถบเอเชียมากขึ้น สำหรับมูลค่าการนำเข้าในช่วง 2 เดือนแรกปี 2549 อยู่ที่ 6.7 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือลดลงร้อยละ 14.1 ตลาดนำเข้าหลัก ได้แก่ จีน 39% รองลงมา ได้แก่ เกาหลีใต้ 18% เยอรมนี 9% มาเลเซีย 7% และอื่น ๆ อีก 27% เป็นต้น
บทสรุป
ปัจจุบัน การส่งออกเครื่องซักผ้าของไทยยังคงขยายตัวเพิ่มขึ้นทุกปีอย่างต่อเนื่อง จากการย้ายฐานการผลิตของนักลงทุนต่างชาติที่เข้ามาในประเทศเพื่อผลิตและส่งออกไปยังตลาดต่างประเทศ อย่างไรก็ตาม แม้ว่าไทยจะเป็นฐานการผลิตเครื่องซักผ้าเพื่อป้อนตลาดต่างประเทศ เฉพาะอย่างยิ่ง ตลาดในภูมิภาคเอเชียเป็นส่วนใหญ่แล้วก็ตาม แต่ยังคงมีการนำเข้าเครื่องซักผ้าบางส่วนที่มีประสิทธิภาพสูงที่ไทยยังไม่สามารถผลิตได้เองเข้ามาสนองความต้องการของผู้บริโภคภายในประเทศที่มีรายได้สูง
ขณะที่เครื่องซักผ้าที่ผลิตออกสู่ตลาดภายในประเทศมีปริมาณมาก และยังมีราคาต่ำกว่าสินค้าที่นำเข้า จึงทำให้ได้รับความนิยมจากผู้บริโภคภายในประเทศเพิ่มมากขึ้น นอกจากนั้น สิ่งที่ตามมาภายใต้ระบบการค้าเสรีคือภาวะการแข่งขันที่ทวีความรุนแรงขึ้น จนผู้ประกอบการแต่ละรายจำเป็นต้องแสวงหากลยุทธ์การตลาดในรูปแบบต่าง ๆ มาใช้ อีกทั้งการนำเทคโนโลยีชั้นสูงเข้ามาประกอบในเครื่องซักผ้า รวมทั้งการลดแลกแจกแถม และการเข้าร่วมกิจกรรมการจำหน่ายด้วยระบบเงินผ่อนคิดอัตราดอกเบี้ยต่ำหรือเป็นศูนย์ ทั้งนี้ เพื่อรักษาและขยายส่วนแบ่งการตลาดให้มากยิ่งขึ้น
การผลิต : ทดแทนการนำเข้า….และมุ่งส่งออก
การผลิตเครื่องซักผ้าของไทยเติบโตมาจากการผลิตเพื่อทดแทนการนำเข้า ซึ่งปัจจุบันมีผู้ผลิตภายในประเทศประมาณ 7 – 8 ราย มีอัตราการใช้กำลังการผลิตเฉลี่ยประมาณ 85% ของการผลิตทั้งหมด การผลิตเป็นการร่วมทุนระหว่างนักลงทุนไทยกับต่างชาติเป็นส่วนใหญ่ เฉพาะอย่างยิ่ง ผู้ผลิตชาวญี่ปุ่น และเกาหลีใต้ มีการย้ายฐานการผลิตเข้ามาในประเทศมากขึ้น โดยผู้ผลิตส่วนใหญ่เน้นเพื่อการส่งออกเป็นหลัก ทำให้การส่งออกขยายตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยที่ผู้ผลิตเครื่องซักผ้ายังมีนโยบายใช้ไทยเป็นฐานการการผลิตเพื่อการส่งออก(Export Center) ในภูมิภาคเอเชีย ปัจจุบัน ผู้ผลิตทำการผลิตเพื่อส่งออกไปจำหน่ายยังต่างประเทศถึง 80% ของการผลิตทั้งหมด ส่วนที่เหลือผลิตเพื่อจำหน่ายภายในประเทศ
สำหรับเครื่องหมายการค้าที่รู้จักกันดีที่เป็นแบรนด์ญี่ปุ่น ได้แก่ ฮิตาชิ ชาร์ป ซันโย มิตซูบิชิ และเนชั่นแนล ส่วนแบรนด์เกาหลีใต้ ได้แก่ แอลจี และซัมซุง และเริ่มมีแบรนด์จีนเข้ามาแข่งขันมากขึ้น ได้แก่ ไฮเออร์ ทีซีแอล ลิตเติล สวอน ส่วนแบรนด์ที่นำเข้าจากยุโรปและสหรัฐอเมริกา ได้แก่ อิเล็กโทรลักช์ รองลงมา ได้แก่ อีฟ จีอี เวิรล์พูล ฟากอร์ เอ็มไพร์ และซีเมนต์ สำหรับวัตถุดิบที่สำคัญในการผลิตเครื่องซักผ้า ได้แก่ มอเตอร์เครื่องซักผ้า ถังปั่นซัก ตัวถังเครื่องซักผ้า ฐานเครื่องซักผ้า เป็นต้น ส่วนใหญ่จะใช้ชิ้นส่วนในประเทศถึง 70% โดยผู้ผลิตจะซื้อจากผู้ผลิตภายในประเทศ โดยกระจายการสั่งซื้อผ่านผู้ขายหลายรายด้วยกัน และมีแนวโน้มจะใช้ชิ้นส่วนภายในประเทศเพิ่มขึ้น
ตลาดส่งออก : ตลาดหลักของเครื่องซักผ้าของไทย
ดังได้กล่าวมาแล้วว่า การผลิตเครื่องซักผ้าของไทยส่วนใหญ่เป็นการผลิตเพื่อการส่งออกในสัดส่วนสูงถึง 80% ของการผลิตทั้งหมด เฉพาะอย่างยิ่งในช่วง 2 – 3 ปีที่ผ่านมา จนทำให้การส่งออกขยายตัวเพิ่มขึ้นได้อย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้เนื่องจากการย้ายฐานการผลิตเครื่องซักผ้าของผู้ประกอบการชาวต่างชาติที่มีชื่อเสียงหลายรายที่เข้ามาผลิตในประเทศไทย ส่วนหนึ่งเพื่ออาศัยประโยชน์จากนโยบายสนับสนุนการลงทุนของภาครัฐ รวมทั้งสิทธิประโยชน์ทางด้านภาษีจากข้อตกลงทางการค้าเสรีอาเซียน (AFTA) และข้อตกลงทางการค้าทวิภาคีระหว่างประเทศไทยกับประเทศอื่น ๆ โดยทำการผลิตและส่งออกตามความต้องการของบริษัทแม่และของลูกค้าในตลาดต่างประเทศ ทำให้การส่งออกเพิ่มขึ้น
จากที่มีมูลค่าเพียง 173.3 ล้านเหรียญสหรัฐฯในปี 2545 เป็น 280.2 378.7 และ 448.3 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ในปี 2546 ปี 2547 และปี 2548 หรือเพิ่มขึ้น 61.7% 35.2% และ 18.3% ตามลำดับ
สำหรับในช่วง 2 เดือนแรกของปี 2549 การส่งออกมีมูลค่า 86.7 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือเพิ่มขึ้น 35.7% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ตลาดส่งออกหลัก ได้แก่ ญี่ปุ่น ซึ่งมีสัดส่วนสูงถึง 27% ของมูลค่าการส่งออกทั้งหมด รองลงมา ได้แก่ มาเลเซีย 7% ซาอุดิอาระเบีย 6% ออสเตรเลีย 5% และอื่น ๆ อีก 55%
ส่วนการส่งออกเครื่องซักผ้าทั้งปี คาดว่า จะมีมูลค่าใกล้เคียงกับปีก่อน เนื่องจากตลาดต่างประเทศยังมีความต้องการอย่างต่อเนื่อง เฉพาะอย่างยิ่ง เครื่องซักผ้าแบบจุผ้าแห้งไม่เกิน 10 กิโลกรัม อย่างไรก็ตาม ผู้ส่งออกไทยควรเตรียมพร้อมเพื่อรับมือกับปัญหาและอุปสรรคการกีดกันทางการค้าจากประเทศพัฒนาแล้ว ซึ่งจะเป็นอุปสรรคสำคัญต่อการส่งออกเครื่องซักผ้าของไทยในอนาคต อาทิ กฎระเบียบด้านสิ่งแวดล้อม รวมถึงมาตรฐานของโลก เช่น กฎระเบียบว่าด้วยการจัดการซากผลิตภัณฑ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์(WEEE) และระเบียบว่าด้วยการจำกัดการใช้สารอันตราย (RoHs)ของสหภาพยุโรป รวมถึงการแข่งขันกับสินค้าราคาถูกจากจีนที่จะเข้ามาแย่งส่วนแบ่งตลาดไปจากไทย
การนำเข้า : นิยมเครื่องซักผ้าแบรนด์เอเชียมากขึ้น
ภายหลังจากที่ประเทศไทยได้เป็นฐานการผลิตเครื่องซักผ้าของนักลงทุนต่างชาติ ความจำเป็นในการนำเข้าเครื่องซักผ้าได้มีแนวโน้มลดลง คงเหลือแต่กลุ่มผู้บริโภคที่ยังนิยมใช้เครื่องซักผ้านำเข้าที่มีฟังก์ชั่นการทำงานซับซ้อน ซึ่งมีราคาค่อนข้างสูงจากประเทศในแถบยุโรป ได้แก่ อิตาลี สเปน นอกเหนือจากที่นำเข้าจากญี่ปุ่นและสหรัฐอเมริกา ดังจะเห็นได้จากในปี 2548 ที่การนำเข้าเครื่องซักผ้าจากต่างประเทศได้ลดลง 8.5% จากที่ขยายตัว 6.5% และ 34.1% ในปี 2547 และ 2546 ตามลำดับ
เนื่องจากการผลิตเครื่องซักผ้าภายในประเทศมีปริมาณและคุณภาพที่สูงขึ้น สามารถทดแทนเครื่องที่นำเข้าจากต่างประเทศได้บางส่วน ขณะที่เครื่องซักผ้าที่ยังต้องนำเข้าจากต่างประเทศนั้น ไทยได้หันมานำเข้าจากประเทศในแถบเอเชียมากขึ้น สำหรับมูลค่าการนำเข้าในช่วง 2 เดือนแรกปี 2549 อยู่ที่ 6.7 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือลดลงร้อยละ 14.1 ตลาดนำเข้าหลัก ได้แก่ จีน 39% รองลงมา ได้แก่ เกาหลีใต้ 18% เยอรมนี 9% มาเลเซีย 7% และอื่น ๆ อีก 27% เป็นต้น
บทสรุป
ปัจจุบัน การส่งออกเครื่องซักผ้าของไทยยังคงขยายตัวเพิ่มขึ้นทุกปีอย่างต่อเนื่อง จากการย้ายฐานการผลิตของนักลงทุนต่างชาติที่เข้ามาในประเทศเพื่อผลิตและส่งออกไปยังตลาดต่างประเทศ อย่างไรก็ตาม แม้ว่าไทยจะเป็นฐานการผลิตเครื่องซักผ้าเพื่อป้อนตลาดต่างประเทศ เฉพาะอย่างยิ่ง ตลาดในภูมิภาคเอเชียเป็นส่วนใหญ่แล้วก็ตาม แต่ยังคงมีการนำเข้าเครื่องซักผ้าบางส่วนที่มีประสิทธิภาพสูงที่ไทยยังไม่สามารถผลิตได้เองเข้ามาสนองความต้องการของผู้บริโภคภายในประเทศที่มีรายได้สูง
ขณะที่เครื่องซักผ้าที่ผลิตออกสู่ตลาดภายในประเทศมีปริมาณมาก และยังมีราคาต่ำกว่าสินค้าที่นำเข้า จึงทำให้ได้รับความนิยมจากผู้บริโภคภายในประเทศเพิ่มมากขึ้น นอกจากนั้น สิ่งที่ตามมาภายใต้ระบบการค้าเสรีคือภาวะการแข่งขันที่ทวีความรุนแรงขึ้น จนผู้ประกอบการแต่ละรายจำเป็นต้องแสวงหากลยุทธ์การตลาดในรูปแบบต่าง ๆ มาใช้ อีกทั้งการนำเทคโนโลยีชั้นสูงเข้ามาประกอบในเครื่องซักผ้า รวมทั้งการลดแลกแจกแถม และการเข้าร่วมกิจกรรมการจำหน่ายด้วยระบบเงินผ่อนคิดอัตราดอกเบี้ยต่ำหรือเป็นศูนย์ ทั้งนี้ เพื่อรักษาและขยายส่วนแบ่งการตลาดให้มากยิ่งขึ้น