ดอนเมืองโทลล์เวย์ประกาศขึ้นค่าผ่านทางทั้งด่านอนุสรณ์สถานและด่านดินแดง ตั้งแต่ 22 เม.ย.49 เป็นต้นไป เพื่อลดภาระการขาดทุนสะสม และภาระอัตราดอกเบี้ยที่ปรับสูงขึ้นมาก ยืนยันอัตราค่าผ่านทางใหม่เป็นไปตามบันทึกข้อตกลง
นายสมบัติ พานิชชีวะ กรรมการผู้อำนวยการ บริษัททางยกระดับดอนเมือง จำกัด (มหาชน) (ดอนเมืองโทลล์เวย์) กล่าวว่า ตั้งแต่วันที่ 22 เมษายนนี้ ผู้ใช้บริการทางยกระดับดอนเมืองโทลล์เวย์ จะต้องจ่ายค่าผ่านทางที่ด่านอนุสรณ์สถานขาออก 10 บาท สำหรับรถ 4 ล้อ และ 20 บาทสำหรับรถมากกว่า 4 ล้อ จากปัจจุบันไม่ได้จัดเก็บ ส่วนที่ด่านดอนเมืองขาเข้า จะเก็บเพิ่มอีก 10 บาท สำหรับรถ 4 ล้อ รวมเป็น 30 บาท และ 20 บาทสำหรับรถมากกว่า 4 ล้อ รวมเป็น 70 บาท ส่วนด่านอื่นๆ เป็นอัตราเดิม โดยค่าผ่านทางดังกล่าวเป็นไปตามเกณฑ์ของบันทึกข้อตกลง ซึ่งบริษัทควรจัดเก็บตั้งแต่ 22 ธันวาคมที่ผ่านมา แต่บริษัทก็เก็บในอัตราที่ต่ำกว่าความเป็นจริง เพื่อให้เป็นประโยชน์ต่อประชาชน
นายสมบัติ กล่าวว่า ตั้งแต่ 22 ธันวาคม 2547 - 21 มีนาคม 2548 บริษัทได้เก็บค่าผ่านทางเหลือ 20 บาทตลอดเส้นทาง เพื่อช่วยในการแก้ปัญหาจราจรบนถนนวิภาวดีรังสิต แต่ทางบริษัทได้สูญเสียรายได้วันละเกือบ 1 ล้านบาท และผลประกอบการของบริษัทในปี 2548 มีผลขาดทุนสุทธิ 126 ล้านบาท ซึ่งบริษัทได้เจรจากับภาครัฐเรื่องสัญญาสัมปทานจนได้ข้อยุติตั้งแต่วันที่ 8 ธันวาคม 2548 แต่เนื่องจากเกิดเหตุการณ์ทางการเมือง ทำให้การเสนอบันทึกข้อตกลงให้คณะรัฐมนตรีอนุมัติล่าช้า และต้องรอให้ ครม.ชุดใหม่เป็นผู้พิจารณาให้ความเห็นชอบ ซึ่งคาดว่าต้องใช้เวลาอีกนานพอสมควร แต่บริษัทไม่สามารถแบกรับภาระต้นทุนต่อไปได้ เนื่องจากอัตราดอกเบี้ยได้ปรับสูงขึ้น จากร้อยละ 5.75 เป็นร้อยละ 7.25 เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.50 ทำให้บริษัทมีภาระดอกเบี้ยเพิ่มขึ้น 150 ล้านบาทต่อปี และมีการขาดทุนสะสมถึง 5,510 ล้านบาท ดังนั้น บริษัทจึงจำเป็นต้องขึ้นค่าผ่านทางตามเกณฑ์ที่กำหนด
นายสมบัติ พานิชชีวะ กรรมการผู้อำนวยการ บริษัททางยกระดับดอนเมือง จำกัด (มหาชน) (ดอนเมืองโทลล์เวย์) กล่าวว่า ตั้งแต่วันที่ 22 เมษายนนี้ ผู้ใช้บริการทางยกระดับดอนเมืองโทลล์เวย์ จะต้องจ่ายค่าผ่านทางที่ด่านอนุสรณ์สถานขาออก 10 บาท สำหรับรถ 4 ล้อ และ 20 บาทสำหรับรถมากกว่า 4 ล้อ จากปัจจุบันไม่ได้จัดเก็บ ส่วนที่ด่านดอนเมืองขาเข้า จะเก็บเพิ่มอีก 10 บาท สำหรับรถ 4 ล้อ รวมเป็น 30 บาท และ 20 บาทสำหรับรถมากกว่า 4 ล้อ รวมเป็น 70 บาท ส่วนด่านอื่นๆ เป็นอัตราเดิม โดยค่าผ่านทางดังกล่าวเป็นไปตามเกณฑ์ของบันทึกข้อตกลง ซึ่งบริษัทควรจัดเก็บตั้งแต่ 22 ธันวาคมที่ผ่านมา แต่บริษัทก็เก็บในอัตราที่ต่ำกว่าความเป็นจริง เพื่อให้เป็นประโยชน์ต่อประชาชน
นายสมบัติ กล่าวว่า ตั้งแต่ 22 ธันวาคม 2547 - 21 มีนาคม 2548 บริษัทได้เก็บค่าผ่านทางเหลือ 20 บาทตลอดเส้นทาง เพื่อช่วยในการแก้ปัญหาจราจรบนถนนวิภาวดีรังสิต แต่ทางบริษัทได้สูญเสียรายได้วันละเกือบ 1 ล้านบาท และผลประกอบการของบริษัทในปี 2548 มีผลขาดทุนสุทธิ 126 ล้านบาท ซึ่งบริษัทได้เจรจากับภาครัฐเรื่องสัญญาสัมปทานจนได้ข้อยุติตั้งแต่วันที่ 8 ธันวาคม 2548 แต่เนื่องจากเกิดเหตุการณ์ทางการเมือง ทำให้การเสนอบันทึกข้อตกลงให้คณะรัฐมนตรีอนุมัติล่าช้า และต้องรอให้ ครม.ชุดใหม่เป็นผู้พิจารณาให้ความเห็นชอบ ซึ่งคาดว่าต้องใช้เวลาอีกนานพอสมควร แต่บริษัทไม่สามารถแบกรับภาระต้นทุนต่อไปได้ เนื่องจากอัตราดอกเบี้ยได้ปรับสูงขึ้น จากร้อยละ 5.75 เป็นร้อยละ 7.25 เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.50 ทำให้บริษัทมีภาระดอกเบี้ยเพิ่มขึ้น 150 ล้านบาทต่อปี และมีการขาดทุนสะสมถึง 5,510 ล้านบาท ดังนั้น บริษัทจึงจำเป็นต้องขึ้นค่าผ่านทางตามเกณฑ์ที่กำหนด