เอ็น.ซี.ซี.ขี่กระแสรัฐบูมตลาดไมซ์ เปิดหน่วยงานลุยตลาดต่างประเทศ หวังบิดงานประชุมและนิทรรศการระดับอินเตอร์ฯเข้าศูนย์การประชุมสิริกิติ์ ตั้งเป้าภายใน 5 ปี งานประชุมระดับอินเตอร์ต้องโตไม่น้อยกว่า 15% พร้อมประกาศนโยบายเชิงรุกเร่งขยายงานรับบริหารศูนย์การประชุมทั้งในและต่างประเทศ ล่าสุดรับบริหารศูนย์ประชุมฯของสวทช. คุยปีนี้ขอโตอีก 10% แย้มสนใจบริหารศูนย์ประชุมเชียงใหม่ แต่ขอดูนโยบายรัฐก่อน ขณะที่เสนอคลังขยายศูนย์การประชุมสิริกิติ์เพิ่ม หลังกฎหมายไม่ให้สร้างอาคารสูง
นายฤกษมัย สุขุม กรรมการผู้จัดการ บริษัท เอ็น.ซี.ซี. แมนเนจเม้นท์ แอนด์ ดิเวลลอปเม้นท์ จำกัด เปิดเผยแผนดำเนินธุรกิจว่า บริษัทจะขยายงานด้านรับบริหารศูนย์การประชุมเพิ่มอีกทั้งตลาดในประเทศ และตลาดต่างประเทศ พร้อมรับเป็นที่ปรึกษาเกี่ยวกับงานด้านบริหารจัดการให้แก่ศูนย์การประชุม ศูนย์กีฬา และ ศูนย์จัดนิทรรศการต่างๆ โดยชูจุดขายที่ความเป็นมืออาชีพที่ประสบความสำเร็จจากการรับบริหารศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์มาแล้วเป็นเวลา 15 ปี
ล่าสุด บริษัทได้รับคัดเลือกให้เป็นผู้บริหาร “ศูนย์ประชุมอุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย" ของสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ(สวทช.) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มีกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย คือ กลุ่มการจัดประชุมและนิทรรศการเพื่อการศึกษา ทำให้ปัจจุบันบริษัท มีศูนย์ประชุมที่อยู่ภายใต้การบริหารรวม 3 แห่ง คือ ศูนย์การประชุม แห่งชาติสิริกิติ์ ,ศูนย์กาญจนาภิเษก จังหวัด ขอนแก่น และ ศูนย์ประชุมอุทยานวิทยาศาสตร์ฯดังกล่าว สำหรับปีนี้คาดว่าบริษัท จะรับบริหารศูนย์ประชุมเพิ่มอีก 2 แห่ง ทั้งในประเทศและต่างประเทศ
และจากการที่รัฐบาลได้สนับสนุนให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการประชุมในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยตั้งหน่วยงาน “สำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศกาล หรือ สสปน.” เพื่อทำหน้าที่ไปประมูลงานระดับโลก ให้เข้ามาจัดประชุมในประเทศไทย ดังนั้นเพื่อสอดรับนโยบายนี้ บริษัทจึงได้แต่งตั้ง นาย ไมค์ ดีน เคลลี่ เป็นผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการด้านการตลาดต่างประเทศ และการพัฒนาธุรกิจ โดยนายเคลลี่ เคยดำรงตำแหน่ง Executive Director บริษัท เอ็น.ซี.ซี. นิวซีแลนด์ จำกัด ผู้บริหารศูนย์การประชุม 3 แห่ง ในเมืองไครส เชิร์ช เมื่อปี 2539-2548 ซึ่งจะมาดูแลรับผิดชอบเพิ่มจำนวนงานที่เป็นระดับนานาชาติ ทั้งการจัดประชุมสัมมนาและการจัดนิทรรศกาล ให้เข้ามาใช้บริการพื้นที่ของศูนย์การประชุมที่บริษัท รับบริหารอยู่ โดยเฉพาะ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์
ชูบริการวันสต๊อปเซอร์วิส
นายฤกษมัย กล่าวว่า กลยุทธ์ที่บริษัทจะให้ความสำคัญ คือการมอบบริการแบบ วัน สต๊อป เซอร์วิส หรือให้บริการแก่ลูกค้าที่มาเช่าพื้นที่แบบครบวงจร ผ่านฝ่าย Professional Conference Organizer หรือ PCO ซึ่งรับบริหารจัดการประชุม นอกจากนั้นยังมีบริษัทในเครือที่คอยดูแลจัดการที่เหมาะกับงานของลูกค้าแต่ละราย เช่น บริษัท เอ็น.ซี.ซี. เอ็กซิบิชั่น ออกาไนเซอร์ จำกัด หรือ NEO ดูแลการบริหารจัดงานนิทรรศการ , บริษัท เอ็น.ซี.ซี. อิมเมจ จำกัด ดูแลออกแบบและก่อสร้างคูหางานแสดงสินค้าและงานประชุมระดับนานาชาติ และบริษัท เอฟ.แอนด์.บี. อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด ให้บริการด้านอาหารและเครื่องดื่ม ตลอดจนรับจัดเลี้ยงนอกสถานที่
“ประเทศไทยมี สสปน. มีสมาคมส่งเสริมการประชุมนานาชาติ(ไทย) หรือทิก้า ซึ่งช่วยดึงการจัดประชุมสัมมนาขนาดใหญ่ระดับโลกเข้ามาในประเทศไทยได้มากขึ้น ส่วนเอ็นซีซี ก็มีเป้าหมายที่จะเพิ่มลูกค้าในกลุ่มนี้ จึงเชื่อว่าทุกอย่างจะประสบความสำเร็จ และเป็นส่วนหนึ่งที่จะเพิ่มรายได้ให้บริษัทได้เติบโตต่อไปในอนาคต”
ทางด้านผลประกอบการ ปี 2548 รายได้เติบโต 20% สูงกว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้ เพราะมีงานระดับอินเตอร์เนชั่นแนล มาใช้พื้นที่จัดงานหลายงาน ส่วนปีนี้ตั้งเป้าจำนวนงานเพิ่มขึ้นอีก 10% และรายได้เพิ่มขึ้นไม่น้อยกว่า 10% โดยจะมีผู้มาใช้พื้นที่จัดงานเฉพาะที่ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ กว่า80% ของ 365 วัน จากปีก่อนจะมีสัดส่วนอยู่ที่ประมาณ 70-75%
เล็งขอขยายศูนย์ประชุมสิริกิติ์
อย่างไรก็ตาม ในส่วนของพื้นที่ด้านหลังของศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ ที่จากเดิมต้องสร้างเป็นโรงแรม แต่ติดข้อกฎหมายเรื่องความสูงของอาคาร ดังนั้นบริษัทจึงทำเสนอโครงการใหม่เข้าไปยังกระทรวงการคลัง ซึ่งเป็นผู้ดูแลพื้นที่ดังกล่าวอยู่ โดยเสนอให้สร้างเป็นศูนย์การประชุม ต่อขยายจากศูนย์การประชุมสิริกิติ์ ขณะนี้อยู่ระหว่างการพิจารณา ส่วนศูนย์การประชุมนานาชาติ จังหวัดเชียงใหม่ ที่กำลังเตรียมดำเนินการก่อสร้างนั้น บริษัทก็สนใจที่จะเสนอตัวเข้าบริหาร แต่ทั้งนี้คงต้องรอดูปัจจัยและความพร้อมในหลายๆอย่างประกอบกัน เพราะศูนย์ประชุมที่ดีต้องอยู่ย่านชุมชน และการเดินทางต้องสะดวก อย่างไรก็ตามทางรัฐบาลยังอยู่ระหว่างการศึกษา ว่าการบริหารศูนย์ประชุมเชียงใหม่จะใช้แนวทางใด
นายไมค์ ดีน เคลลี่ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการด้านการตลาดต่างประเทศและการพัฒนาธุรกิจ กล่าวว่า เป้าหมายการทำงานของเรานับจากนี้ คือต้องการเพิ่มจำนวนผู้จัดจากต่างประเทศให้เข้ามาใช้พื้นที่ของศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ในระหว่างปี 2551-2554 ให้เติบโตขึ้นอีก 15% โดยจะมีข้อมูลการวิจัยจากฝ่ายขายมาประกอบการพิจารณาและหาโอกาสทางการตลาด ซึ่งจะช่วงส่งเสริมให้ตลาด MICE ของไทยเติบโต
ลุยจัดเอ็กซิบิชั่นในต่างประเทศ
นางลัดดา มงคลชัยวิวัฒน์ ผู้จัดการทั่วไป บริษัท เอ็น.ซี.ซี.เอ็นซิบิชั่น ออกาไนเซอร์ จำกัด (NEO) เปิดเผยว่า ปัจจุบันเทรนด์การจัดประชุม(คอนแวนชั่น) และการจัดแสดง(เอ็กซิบิชั่น) มักจะอยู่ควบคู่กันไป ประกอบกับตลาดนี้หากเป็นในประเทศไทยจะมีหน่วยงานอย่างสสปน.คอยดูแลอยู่แล้ว ดังนั้นนีโอจึงมองช่องทางตลาดต่างประเทศให้มากขึ้น ล่าสุดจับมือกับ Vietnam National Trade Fair and Advertising Company จัดงาน International Livestock and Dairy Expo (ILDEX 2006 ) ที่ประเทศเวียดนาม ซึ่งเป็นงานแสดงเทคโนโลยีด้านปศุสัตว์แผนใหม่ และในเดือนสิงหาคมปีนี้ ก็จะจัดงานในลักษณะนี้ที่อินเดียโดยใช้ชื่องานว่า ILDEX India ที่กรุงนิวเดลี
ซึ่งการเปิดตลาดนี้ที่เวียดนามดังกล่าวนับเป็นครั้งแรกของนีโอที่ก้าวขึ้นสู่การบริหารจัดการนิทรรศการระดับสากลในต่างประเทศ นอกจากนั้นยังเตรียมเข้าไปเจรจาจัดเอ็กซิบิชั่นในรูปแบบนี้ในประเทศจีนด้วย ซึ่งสาเหตุที่เราเลือกเข้าไปจัดงานเกี่ยวกับปศุสัตว์ ในประเทศทั้งหมดดังกล่าว เพราะ ต้องการให้ความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีการเลี้ยงสัตว์ในรูปแบบใหม่ๆ เพราะประเทศเหล่านี้ เรื่องการปศุสัตว์ยังไม่พัฒนาเท่าที่ควร
นายฤกษมัย สุขุม กรรมการผู้จัดการ บริษัท เอ็น.ซี.ซี. แมนเนจเม้นท์ แอนด์ ดิเวลลอปเม้นท์ จำกัด เปิดเผยแผนดำเนินธุรกิจว่า บริษัทจะขยายงานด้านรับบริหารศูนย์การประชุมเพิ่มอีกทั้งตลาดในประเทศ และตลาดต่างประเทศ พร้อมรับเป็นที่ปรึกษาเกี่ยวกับงานด้านบริหารจัดการให้แก่ศูนย์การประชุม ศูนย์กีฬา และ ศูนย์จัดนิทรรศการต่างๆ โดยชูจุดขายที่ความเป็นมืออาชีพที่ประสบความสำเร็จจากการรับบริหารศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์มาแล้วเป็นเวลา 15 ปี
ล่าสุด บริษัทได้รับคัดเลือกให้เป็นผู้บริหาร “ศูนย์ประชุมอุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย" ของสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ(สวทช.) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มีกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย คือ กลุ่มการจัดประชุมและนิทรรศการเพื่อการศึกษา ทำให้ปัจจุบันบริษัท มีศูนย์ประชุมที่อยู่ภายใต้การบริหารรวม 3 แห่ง คือ ศูนย์การประชุม แห่งชาติสิริกิติ์ ,ศูนย์กาญจนาภิเษก จังหวัด ขอนแก่น และ ศูนย์ประชุมอุทยานวิทยาศาสตร์ฯดังกล่าว สำหรับปีนี้คาดว่าบริษัท จะรับบริหารศูนย์ประชุมเพิ่มอีก 2 แห่ง ทั้งในประเทศและต่างประเทศ
และจากการที่รัฐบาลได้สนับสนุนให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการประชุมในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยตั้งหน่วยงาน “สำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศกาล หรือ สสปน.” เพื่อทำหน้าที่ไปประมูลงานระดับโลก ให้เข้ามาจัดประชุมในประเทศไทย ดังนั้นเพื่อสอดรับนโยบายนี้ บริษัทจึงได้แต่งตั้ง นาย ไมค์ ดีน เคลลี่ เป็นผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการด้านการตลาดต่างประเทศ และการพัฒนาธุรกิจ โดยนายเคลลี่ เคยดำรงตำแหน่ง Executive Director บริษัท เอ็น.ซี.ซี. นิวซีแลนด์ จำกัด ผู้บริหารศูนย์การประชุม 3 แห่ง ในเมืองไครส เชิร์ช เมื่อปี 2539-2548 ซึ่งจะมาดูแลรับผิดชอบเพิ่มจำนวนงานที่เป็นระดับนานาชาติ ทั้งการจัดประชุมสัมมนาและการจัดนิทรรศกาล ให้เข้ามาใช้บริการพื้นที่ของศูนย์การประชุมที่บริษัท รับบริหารอยู่ โดยเฉพาะ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์
ชูบริการวันสต๊อปเซอร์วิส
นายฤกษมัย กล่าวว่า กลยุทธ์ที่บริษัทจะให้ความสำคัญ คือการมอบบริการแบบ วัน สต๊อป เซอร์วิส หรือให้บริการแก่ลูกค้าที่มาเช่าพื้นที่แบบครบวงจร ผ่านฝ่าย Professional Conference Organizer หรือ PCO ซึ่งรับบริหารจัดการประชุม นอกจากนั้นยังมีบริษัทในเครือที่คอยดูแลจัดการที่เหมาะกับงานของลูกค้าแต่ละราย เช่น บริษัท เอ็น.ซี.ซี. เอ็กซิบิชั่น ออกาไนเซอร์ จำกัด หรือ NEO ดูแลการบริหารจัดงานนิทรรศการ , บริษัท เอ็น.ซี.ซี. อิมเมจ จำกัด ดูแลออกแบบและก่อสร้างคูหางานแสดงสินค้าและงานประชุมระดับนานาชาติ และบริษัท เอฟ.แอนด์.บี. อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด ให้บริการด้านอาหารและเครื่องดื่ม ตลอดจนรับจัดเลี้ยงนอกสถานที่
“ประเทศไทยมี สสปน. มีสมาคมส่งเสริมการประชุมนานาชาติ(ไทย) หรือทิก้า ซึ่งช่วยดึงการจัดประชุมสัมมนาขนาดใหญ่ระดับโลกเข้ามาในประเทศไทยได้มากขึ้น ส่วนเอ็นซีซี ก็มีเป้าหมายที่จะเพิ่มลูกค้าในกลุ่มนี้ จึงเชื่อว่าทุกอย่างจะประสบความสำเร็จ และเป็นส่วนหนึ่งที่จะเพิ่มรายได้ให้บริษัทได้เติบโตต่อไปในอนาคต”
ทางด้านผลประกอบการ ปี 2548 รายได้เติบโต 20% สูงกว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้ เพราะมีงานระดับอินเตอร์เนชั่นแนล มาใช้พื้นที่จัดงานหลายงาน ส่วนปีนี้ตั้งเป้าจำนวนงานเพิ่มขึ้นอีก 10% และรายได้เพิ่มขึ้นไม่น้อยกว่า 10% โดยจะมีผู้มาใช้พื้นที่จัดงานเฉพาะที่ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ กว่า80% ของ 365 วัน จากปีก่อนจะมีสัดส่วนอยู่ที่ประมาณ 70-75%
เล็งขอขยายศูนย์ประชุมสิริกิติ์
อย่างไรก็ตาม ในส่วนของพื้นที่ด้านหลังของศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ ที่จากเดิมต้องสร้างเป็นโรงแรม แต่ติดข้อกฎหมายเรื่องความสูงของอาคาร ดังนั้นบริษัทจึงทำเสนอโครงการใหม่เข้าไปยังกระทรวงการคลัง ซึ่งเป็นผู้ดูแลพื้นที่ดังกล่าวอยู่ โดยเสนอให้สร้างเป็นศูนย์การประชุม ต่อขยายจากศูนย์การประชุมสิริกิติ์ ขณะนี้อยู่ระหว่างการพิจารณา ส่วนศูนย์การประชุมนานาชาติ จังหวัดเชียงใหม่ ที่กำลังเตรียมดำเนินการก่อสร้างนั้น บริษัทก็สนใจที่จะเสนอตัวเข้าบริหาร แต่ทั้งนี้คงต้องรอดูปัจจัยและความพร้อมในหลายๆอย่างประกอบกัน เพราะศูนย์ประชุมที่ดีต้องอยู่ย่านชุมชน และการเดินทางต้องสะดวก อย่างไรก็ตามทางรัฐบาลยังอยู่ระหว่างการศึกษา ว่าการบริหารศูนย์ประชุมเชียงใหม่จะใช้แนวทางใด
นายไมค์ ดีน เคลลี่ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการด้านการตลาดต่างประเทศและการพัฒนาธุรกิจ กล่าวว่า เป้าหมายการทำงานของเรานับจากนี้ คือต้องการเพิ่มจำนวนผู้จัดจากต่างประเทศให้เข้ามาใช้พื้นที่ของศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ในระหว่างปี 2551-2554 ให้เติบโตขึ้นอีก 15% โดยจะมีข้อมูลการวิจัยจากฝ่ายขายมาประกอบการพิจารณาและหาโอกาสทางการตลาด ซึ่งจะช่วงส่งเสริมให้ตลาด MICE ของไทยเติบโต
ลุยจัดเอ็กซิบิชั่นในต่างประเทศ
นางลัดดา มงคลชัยวิวัฒน์ ผู้จัดการทั่วไป บริษัท เอ็น.ซี.ซี.เอ็นซิบิชั่น ออกาไนเซอร์ จำกัด (NEO) เปิดเผยว่า ปัจจุบันเทรนด์การจัดประชุม(คอนแวนชั่น) และการจัดแสดง(เอ็กซิบิชั่น) มักจะอยู่ควบคู่กันไป ประกอบกับตลาดนี้หากเป็นในประเทศไทยจะมีหน่วยงานอย่างสสปน.คอยดูแลอยู่แล้ว ดังนั้นนีโอจึงมองช่องทางตลาดต่างประเทศให้มากขึ้น ล่าสุดจับมือกับ Vietnam National Trade Fair and Advertising Company จัดงาน International Livestock and Dairy Expo (ILDEX 2006 ) ที่ประเทศเวียดนาม ซึ่งเป็นงานแสดงเทคโนโลยีด้านปศุสัตว์แผนใหม่ และในเดือนสิงหาคมปีนี้ ก็จะจัดงานในลักษณะนี้ที่อินเดียโดยใช้ชื่องานว่า ILDEX India ที่กรุงนิวเดลี
ซึ่งการเปิดตลาดนี้ที่เวียดนามดังกล่าวนับเป็นครั้งแรกของนีโอที่ก้าวขึ้นสู่การบริหารจัดการนิทรรศการระดับสากลในต่างประเทศ นอกจากนั้นยังเตรียมเข้าไปเจรจาจัดเอ็กซิบิชั่นในรูปแบบนี้ในประเทศจีนด้วย ซึ่งสาเหตุที่เราเลือกเข้าไปจัดงานเกี่ยวกับปศุสัตว์ ในประเทศทั้งหมดดังกล่าว เพราะ ต้องการให้ความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีการเลี้ยงสัตว์ในรูปแบบใหม่ๆ เพราะประเทศเหล่านี้ เรื่องการปศุสัตว์ยังไม่พัฒนาเท่าที่ควร