ตระกูลหวั่งหลี ปรับทิศลดความเสี่ยงธุรกิจส่งข้าวตลาดต่างประเทศ หันจับตลาดข้าวในไทย เปิดแบรนด์ ข้าวพนมรุ้ง หวังบุกตลาด จับตลาดนิชมาร์เก็ต ตั้งเป้ายอดขายกว่า 130 ล้านบาทในสิ้นปี เผยปีนี้เล็งเพิ่มกำลังการผลิตรวมเป็น 1 แสนตันต่อปี รับตลาดส่งออกและในประเทศ
นายวิพุธ หวั่งหลี ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่สายบริหารงานขายและการตลาด บริษัท ชัยทิพย์ จำกัด เปิดเผยว่า ธุรกิจเดิมของบริษัทฯจะส่งออกข้าวไปตลาดต่างประเทศแต่เพียงอย่างเดียว ทำให้มีความเสี่ยงทางธุรกิจค่อนข้างสูง ทั้งจากความเสี่ยงของอัตราการแลกเปลี่ยนสกุลเงิน หรือในเรื่องของการเมืองในประเทศนั้นๆ
ดังนั้นบริษัทฯจึงมีแนวคิดที่จะทำธุรกิจข้าวในไทย เพื่อช่วยกระจายความเสี่ยงดังกล่าว จึงได้มีการเปิดตัวทางด้านการดำเนินงาน และได้มีการเปิดตัวข้าว “แบรนด์พนมรุ้ง” เข้าสู่ตลาดในประเทศ โดยเป็นการเจาะกลุ่มลูกค้าเฉพาะกลุ่มเท่านั้น
“โดยแบรนด์ข้าวพนมรุ้งจะเป็นแบรนด์ที่มีบริการข้าวที่ครบวงจร ตั้งแต่ขั้นตอนการผลิต จนถึงมือลูกค้า ซึ่งกลุ่มลูกค้าจะเป็นนีชมาร์เก็ต ในกลุ่มฟู้ดเซอร์วิส เช่น กลุ่มโรงแรม ร้านอาหาร ตั้งแต่ระดับซีบวกไปจนถึงระดับเอ ทั้งนี้กลุ่มลูกค้าดังกล่าวถือเป็นตลาดที่น่าสนใจ และยังไม่มีใครเข้ามาทำในตลาดนี้อย่างจริงจัง”
ปัจจุบันแบรนด์ข้าวพนมรุ้งมีลูกค้ากว่า 408 ราย โดยเป็นกลุ่มลูกค้าในกรุงเทพมหานครทั้งหมด และภายในสิ้นปี 2549 คาดว่าจะสามารถเพิ่มจำนวนลูกค้าได้ถึง 1,660 ราย โดยตั้งเป้ายอดขายไว้ที่ 130 ล้านบาท หรือ 8,740 ตัน คิดเป็นสัดส่วน 11% ของตลาดฟู้ดเซอร์วิส
ทั้งนี้บริษัทฯได้วางนโยบายทางการตลาดในช่วงแรกจะเป็นการเน้นขยายฐานลูกค้าใหม่ รวมไปถึงการสร้างแบรนด์ให้เป็นที่รู้จักมากยิ่งขึ้น ส่วนนโยบายระยะยาวจะเป็นการสร้างความรู้สึกของลูกค้าให้เกิดความจงรักภักดีต่อแบรนด์
สำหรับช่องทางการจัดจำหน่าย เนื่องจากเป็นลักษณะไดเร็กเซลล์ การจำหน่ายจึงจะเป็นการจำหน่ายผ่านพนักงานขายและเบอร์โทรศัพท์หรือแฟกซ์ ทั้งนี้คาดว่ายอดจำหน่ายของพนมรุ้งในปีนี้ จะอยู่ที่ 8% ของรายได้ทั้งหมด และอีก 3- 5 ปี คาดว่าจะสามารถมีสัดส่วนอยู่ที่ 30% โดยรายได้จากการส่งออกจะอยู่ที่ 70% ตามที่ตั้งเป้าไว้
ทั้งนี้ในส่วนของตลาดส่งออกจะยังคงเน้นตลาดพรีเมี่ยมอย่าง ฮ่องกง มาเก๊า สหรัฐอเมริกา และประเทศในแถบยุโรป เช่นเดิม แต่จะเน้นในเรื่องของคุณภาพมากขึ้น
นอกจากนี้บริษัทฯยังมีแผนในการเปิดโรงงานใหม่ภายในสิ้นปีนี้อีก 1 โรงงาน ที่จังหวัดสระบุรี โดยจะเป็นโรงงานสำหรับการปรังปรุงคุณภาพข้าวโดยเฉพาะ ทั้งนี้ก็เพื่อเป็นการช่วยเพิ่มกำลังการผลิต จากเดิมที่มีกำลังการผลิตอยู่ที่ 3 หมื่นตันต่อปี เป็น 1 แสนตันต่อปี ทั้งในส่วนของการส่งออกและสำหรับแบรนด์พนมรุ้ง
นายวิพุธ หวั่งหลี ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่สายบริหารงานขายและการตลาด บริษัท ชัยทิพย์ จำกัด เปิดเผยว่า ธุรกิจเดิมของบริษัทฯจะส่งออกข้าวไปตลาดต่างประเทศแต่เพียงอย่างเดียว ทำให้มีความเสี่ยงทางธุรกิจค่อนข้างสูง ทั้งจากความเสี่ยงของอัตราการแลกเปลี่ยนสกุลเงิน หรือในเรื่องของการเมืองในประเทศนั้นๆ
ดังนั้นบริษัทฯจึงมีแนวคิดที่จะทำธุรกิจข้าวในไทย เพื่อช่วยกระจายความเสี่ยงดังกล่าว จึงได้มีการเปิดตัวทางด้านการดำเนินงาน และได้มีการเปิดตัวข้าว “แบรนด์พนมรุ้ง” เข้าสู่ตลาดในประเทศ โดยเป็นการเจาะกลุ่มลูกค้าเฉพาะกลุ่มเท่านั้น
“โดยแบรนด์ข้าวพนมรุ้งจะเป็นแบรนด์ที่มีบริการข้าวที่ครบวงจร ตั้งแต่ขั้นตอนการผลิต จนถึงมือลูกค้า ซึ่งกลุ่มลูกค้าจะเป็นนีชมาร์เก็ต ในกลุ่มฟู้ดเซอร์วิส เช่น กลุ่มโรงแรม ร้านอาหาร ตั้งแต่ระดับซีบวกไปจนถึงระดับเอ ทั้งนี้กลุ่มลูกค้าดังกล่าวถือเป็นตลาดที่น่าสนใจ และยังไม่มีใครเข้ามาทำในตลาดนี้อย่างจริงจัง”
ปัจจุบันแบรนด์ข้าวพนมรุ้งมีลูกค้ากว่า 408 ราย โดยเป็นกลุ่มลูกค้าในกรุงเทพมหานครทั้งหมด และภายในสิ้นปี 2549 คาดว่าจะสามารถเพิ่มจำนวนลูกค้าได้ถึง 1,660 ราย โดยตั้งเป้ายอดขายไว้ที่ 130 ล้านบาท หรือ 8,740 ตัน คิดเป็นสัดส่วน 11% ของตลาดฟู้ดเซอร์วิส
ทั้งนี้บริษัทฯได้วางนโยบายทางการตลาดในช่วงแรกจะเป็นการเน้นขยายฐานลูกค้าใหม่ รวมไปถึงการสร้างแบรนด์ให้เป็นที่รู้จักมากยิ่งขึ้น ส่วนนโยบายระยะยาวจะเป็นการสร้างความรู้สึกของลูกค้าให้เกิดความจงรักภักดีต่อแบรนด์
สำหรับช่องทางการจัดจำหน่าย เนื่องจากเป็นลักษณะไดเร็กเซลล์ การจำหน่ายจึงจะเป็นการจำหน่ายผ่านพนักงานขายและเบอร์โทรศัพท์หรือแฟกซ์ ทั้งนี้คาดว่ายอดจำหน่ายของพนมรุ้งในปีนี้ จะอยู่ที่ 8% ของรายได้ทั้งหมด และอีก 3- 5 ปี คาดว่าจะสามารถมีสัดส่วนอยู่ที่ 30% โดยรายได้จากการส่งออกจะอยู่ที่ 70% ตามที่ตั้งเป้าไว้
ทั้งนี้ในส่วนของตลาดส่งออกจะยังคงเน้นตลาดพรีเมี่ยมอย่าง ฮ่องกง มาเก๊า สหรัฐอเมริกา และประเทศในแถบยุโรป เช่นเดิม แต่จะเน้นในเรื่องของคุณภาพมากขึ้น
นอกจากนี้บริษัทฯยังมีแผนในการเปิดโรงงานใหม่ภายในสิ้นปีนี้อีก 1 โรงงาน ที่จังหวัดสระบุรี โดยจะเป็นโรงงานสำหรับการปรังปรุงคุณภาพข้าวโดยเฉพาะ ทั้งนี้ก็เพื่อเป็นการช่วยเพิ่มกำลังการผลิต จากเดิมที่มีกำลังการผลิตอยู่ที่ 3 หมื่นตันต่อปี เป็น 1 แสนตันต่อปี ทั้งในส่วนของการส่งออกและสำหรับแบรนด์พนมรุ้ง