ปตท.สยายปีกธุรกิจปิโตรเคมี ลงนามร่วมกับอาซีฮีแห่งญี่ปุ่น ศึกษาความเป็นไปได้ร่วมทุนโครงการ Acrylonitrile และ Methyl Methacrylate หวังสร้างมูลค่าเพิ่มต่อเนื่องจากธุรกิจก๊าซธรรมชาติ
นายประเสริฐ บุญสัมพันธ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บมจ.ปตท. เปิดเผยว่า ปตท. ได้ลงนามบันทึกความเข้าใจที่จะร่วมศึกษาและร่วมลงทุนในธุรกิจปิโตรเคมี กับ Asahi Kasei Chemicals Corporation (AKCC) ซึ่งเป็นบริษัทชั้นนำที่ดำเนินธุรกิจด้านการผลิตและจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมี ประเทศญี่ปุ่น ซึ่งเป็นการศึกษาถึงความเป็นไปได้สำหรับการร่วมลงทุนในโครงการผลิตสาร Acrylonitrile (AN) และ Methyl Methacrylate (MMA) ในประเทศไทย รวมถึงการร่วมกันศึกษาความเป็นไปได้ในการร่วมลงทุนในธุรกิจปิโตรเคมีอื่นๆ ซึ่งรวมถึงการวิจัยและพัฒนา เพื่อสร้างความแข็งแกร่งในการดำเนินธุรกิจปิโตรเคมีของทั้งสองบริษัท
สำหรับโครงการ AN นั้น เบื้องต้นศึกษาความเป็นไปได้ในการผลิต 200,000 ตันต่อปี โดยใช้เทคโนโลยีการผลิตใหม่ของ AKCC เป็นครั้งแรกของโลก ที่สามารถใช้ก๊าซโพรเพนจากโรงแยกก๊าซฯ ของ ปตท. เป็นวัตถุดิบแทนโพรพิลีน ซึ่งเป็นวัตถุดิบหลักชนิดเดียวที่ใช้ในการผลิต AN ณ ปัจจุบัน โดยคาดว่าจะสามารถเริ่มการผลิตในช่วงปลายปี 2552
ส่วนการศึกษาความเป็นไปได้ในการผลิต MMA คาดว่าจะมีกำลังการผลิต 70,000 ตันต่อปี โดยใช้ผลิตภัณฑ์หลักจากโรงงาน AN ได้แก่ Acetone Cyanohydrin (ACH) เป็นวัตถุดิบในการผลิต โดยคาดว่าจะสามารถเริ่มการผลิตในช่วงปลายปี 2552 เช่นเดียวกับโครงการ AN
นายประเสริฐ กล่าวว่า การร่วมลงทุนดังกล่าวสอดคล้องกับทิศทางการดำเนินธุรกิจของกลุ่ม ปตท. ซึ่งให้ความสำคัญกับการลงทุนในธุรกิจก๊าซธรรมชาติและธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องกับก๊าซธรรมชาติ และเป็นการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับก๊าซธรรมชาติและธุรกิจปิโตรเคมี อย่างไรก็ตาม การตัดสินใจลงทุนขึ้นกับผลการศึกษาถึงความเหมาะสมและความคุ้มค่าของการลงทุนด้วย
นายประเสริฐ บุญสัมพันธ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บมจ.ปตท. เปิดเผยว่า ปตท. ได้ลงนามบันทึกความเข้าใจที่จะร่วมศึกษาและร่วมลงทุนในธุรกิจปิโตรเคมี กับ Asahi Kasei Chemicals Corporation (AKCC) ซึ่งเป็นบริษัทชั้นนำที่ดำเนินธุรกิจด้านการผลิตและจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมี ประเทศญี่ปุ่น ซึ่งเป็นการศึกษาถึงความเป็นไปได้สำหรับการร่วมลงทุนในโครงการผลิตสาร Acrylonitrile (AN) และ Methyl Methacrylate (MMA) ในประเทศไทย รวมถึงการร่วมกันศึกษาความเป็นไปได้ในการร่วมลงทุนในธุรกิจปิโตรเคมีอื่นๆ ซึ่งรวมถึงการวิจัยและพัฒนา เพื่อสร้างความแข็งแกร่งในการดำเนินธุรกิจปิโตรเคมีของทั้งสองบริษัท
สำหรับโครงการ AN นั้น เบื้องต้นศึกษาความเป็นไปได้ในการผลิต 200,000 ตันต่อปี โดยใช้เทคโนโลยีการผลิตใหม่ของ AKCC เป็นครั้งแรกของโลก ที่สามารถใช้ก๊าซโพรเพนจากโรงแยกก๊าซฯ ของ ปตท. เป็นวัตถุดิบแทนโพรพิลีน ซึ่งเป็นวัตถุดิบหลักชนิดเดียวที่ใช้ในการผลิต AN ณ ปัจจุบัน โดยคาดว่าจะสามารถเริ่มการผลิตในช่วงปลายปี 2552
ส่วนการศึกษาความเป็นไปได้ในการผลิต MMA คาดว่าจะมีกำลังการผลิต 70,000 ตันต่อปี โดยใช้ผลิตภัณฑ์หลักจากโรงงาน AN ได้แก่ Acetone Cyanohydrin (ACH) เป็นวัตถุดิบในการผลิต โดยคาดว่าจะสามารถเริ่มการผลิตในช่วงปลายปี 2552 เช่นเดียวกับโครงการ AN
นายประเสริฐ กล่าวว่า การร่วมลงทุนดังกล่าวสอดคล้องกับทิศทางการดำเนินธุรกิจของกลุ่ม ปตท. ซึ่งให้ความสำคัญกับการลงทุนในธุรกิจก๊าซธรรมชาติและธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องกับก๊าซธรรมชาติ และเป็นการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับก๊าซธรรมชาติและธุรกิจปิโตรเคมี อย่างไรก็ตาม การตัดสินใจลงทุนขึ้นกับผลการศึกษาถึงความเหมาะสมและความคุ้มค่าของการลงทุนด้วย