ประธาน บ.สหฟาร์มยอมรับการบริโภคไก่ในยุโรปลดลงกว่าครึ่ง หลังพบโรคไข้หวัดนกระบาด ฉุดราคา-ยอดส่งออกไก่ไปยุโรปลดวูบ ขณะที่การบริโภคในประเทศก็ลดลงเช่นกัน หวั่นเกิดปัญหาวงจรชีวิตไก่ขาดตอน เพราะขาดพ่อพันธุ์แม่พันธุ์
นายปัญญา โชติเทวัญ ประธานกรรมการบริษัทสหฟาร์ม จำกัด กล่าวยอมรับว่า สหภาพยุโรป (อียู) กำลังกังวลอย่างมากกับการแพร่ระบาดของโรคไข้หวัดนกในหลายพื้นที่ โดยเฉพาะการกลายพันธุ์จากสัตว์สู่คน ทำให้ยอดการบริโภคไก่ต้มสุกในอียูลดลงทันทีร้อยละ 50 และทำให้ราคาไก่ต้มสุกที่ส่งออกไปต่างประเทศลดลงจาก 2,700 ดอลลาร์สหรัฐต่อตัน เหลือประมาณ 2,300 ดอลลาร์สหรัฐต่อตัน หรือลดลงตันละ 400 ดอลลาร์สหรัฐ นอกจากนี้ คำสั่งซื้อเนื้อไก่ต้มสุกจากอียูมาไทยก็ชะลอลงด้วย รวมทั้งเงื่อนไขการค้าก็เปลี่ยนแปลงไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งราคาซื้อขายที่ลดลง
นายปัญญา กล่าวอีกว่า จากปัญหาไข้หวัดนก ทำให้ไทยไม่สามารถนำเข้าพ่อพันธุ์ แม่พันธุ์ที่เกิดการแพร่ระบาดไข้หวัดนก ซึ่งเป็นแหล่งนำเข้าใหญ่ได้ ตามข้อตกลงขององค์การโรคระบาดสัตว์ระหว่างประเทศ (โอไออี) ทำให้ปริมาณพ่อพันธุ์ แม่พันธุ์ ซึ่งตามปกติจะใช้เวลา 7-8 เดือนในการให้ผลผลิตลูกไก่ และปู่ย่าพันธุ์ ซึ่งใช้เวลา 15-16 เดือนในการให้ผลผลิต มีจำนวนน้อยลง และจะทำให้อาจจะเกิดปัญหาวงจรไก่เพื่อการบริโภคขาดลงได้
ส่วนสถานการณ์บริโภคไก่ในประเทศ ก็มีปริมาณลดลงเช่นกัน แม้ว่าการแพร่ระบาดของโรคไข้หวัดนกรอบใหม่ในไทยจะยังไม่เกิดขึ้น โดยราคาเนื้อไก่สดปรับลดลงจากกิโลกรัมละ 34 บาท เหลือ 21-22 บาท และราคาอาจจะลดลงมากกว่านี้ หากประชาชนกลับมาวิตกกับปัญหาดังกล่าว อย่างไรก็ตาม ทางสหฟาร์มยอมรับว่าได้รับผลกระทบ แต่ยังไม่มากนัก เพราะสัดส่วนการจำหน่ายในประประเทศสูงถึงร้อยละ 80 และส่งออกเพียงร้อยละ 20 เท่านั้น
สำหรับมาตรการควบคุมการระบาดของโรคไข้หวัดนกในไทยนั้น นายปัญญา กล่าวว่า รัฐบาลมีนโยบายชัดเจนแล้วว่า จะไม่ใช้วัคซีน แต่มีการคุมเข้มผู้เลี้ยงให้มีการขึ้นทะเบียน และควบคุมด้านสุขอนามัยของโรงงานที่เกี่ยวข้อง ซึ่งที่ผ่านมาพบว่า ยังมีโรงงานไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ของทางการอย่างเต็มที่ ซึ่งรัฐบาลควรมีมาตรการลงโทษอย่างเฉียบขาด เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาการแพร่ระบาดของโรคไข้หวัดนก
นายปัญญา โชติเทวัญ ประธานกรรมการบริษัทสหฟาร์ม จำกัด กล่าวยอมรับว่า สหภาพยุโรป (อียู) กำลังกังวลอย่างมากกับการแพร่ระบาดของโรคไข้หวัดนกในหลายพื้นที่ โดยเฉพาะการกลายพันธุ์จากสัตว์สู่คน ทำให้ยอดการบริโภคไก่ต้มสุกในอียูลดลงทันทีร้อยละ 50 และทำให้ราคาไก่ต้มสุกที่ส่งออกไปต่างประเทศลดลงจาก 2,700 ดอลลาร์สหรัฐต่อตัน เหลือประมาณ 2,300 ดอลลาร์สหรัฐต่อตัน หรือลดลงตันละ 400 ดอลลาร์สหรัฐ นอกจากนี้ คำสั่งซื้อเนื้อไก่ต้มสุกจากอียูมาไทยก็ชะลอลงด้วย รวมทั้งเงื่อนไขการค้าก็เปลี่ยนแปลงไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งราคาซื้อขายที่ลดลง
นายปัญญา กล่าวอีกว่า จากปัญหาไข้หวัดนก ทำให้ไทยไม่สามารถนำเข้าพ่อพันธุ์ แม่พันธุ์ที่เกิดการแพร่ระบาดไข้หวัดนก ซึ่งเป็นแหล่งนำเข้าใหญ่ได้ ตามข้อตกลงขององค์การโรคระบาดสัตว์ระหว่างประเทศ (โอไออี) ทำให้ปริมาณพ่อพันธุ์ แม่พันธุ์ ซึ่งตามปกติจะใช้เวลา 7-8 เดือนในการให้ผลผลิตลูกไก่ และปู่ย่าพันธุ์ ซึ่งใช้เวลา 15-16 เดือนในการให้ผลผลิต มีจำนวนน้อยลง และจะทำให้อาจจะเกิดปัญหาวงจรไก่เพื่อการบริโภคขาดลงได้
ส่วนสถานการณ์บริโภคไก่ในประเทศ ก็มีปริมาณลดลงเช่นกัน แม้ว่าการแพร่ระบาดของโรคไข้หวัดนกรอบใหม่ในไทยจะยังไม่เกิดขึ้น โดยราคาเนื้อไก่สดปรับลดลงจากกิโลกรัมละ 34 บาท เหลือ 21-22 บาท และราคาอาจจะลดลงมากกว่านี้ หากประชาชนกลับมาวิตกกับปัญหาดังกล่าว อย่างไรก็ตาม ทางสหฟาร์มยอมรับว่าได้รับผลกระทบ แต่ยังไม่มากนัก เพราะสัดส่วนการจำหน่ายในประประเทศสูงถึงร้อยละ 80 และส่งออกเพียงร้อยละ 20 เท่านั้น
สำหรับมาตรการควบคุมการระบาดของโรคไข้หวัดนกในไทยนั้น นายปัญญา กล่าวว่า รัฐบาลมีนโยบายชัดเจนแล้วว่า จะไม่ใช้วัคซีน แต่มีการคุมเข้มผู้เลี้ยงให้มีการขึ้นทะเบียน และควบคุมด้านสุขอนามัยของโรงงานที่เกี่ยวข้อง ซึ่งที่ผ่านมาพบว่า ยังมีโรงงานไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ของทางการอย่างเต็มที่ ซึ่งรัฐบาลควรมีมาตรการลงโทษอย่างเฉียบขาด เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาการแพร่ระบาดของโรคไข้หวัดนก