ททท.ปลื้ม งานเทศกาลภาพยนตร์ของไทยใช้เวลาเพียง 4 ปี แซงหน้างานเทศกาลภาพยนต์ของญี่ปุ่น ขึ้นเทียบชั้นประเทศเกาหลีซึ่งใช้เวลาจัดถึง 20 ปี ระบุมั่นใจเพราะกระแสตอบรับจากสตูดิโอฮอลลีวู้ด เข้าร่วมงานจำนวนมาก เผยเฉพาะหนังไทยคาดปีนี้ซื้อขายกว่า 500 ล้านบาท ผู้ว่าททท.คึกวางแผนปีหน้า เตรียมขยายไลน์ ดึง ละครทีวี มิวสิกวิดีโอเข้าร่วม
นางจุฑามาศ ศิริวรรณ ผู้ว่าการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) เปิดเผยว่า ในปีหน้ามีแผนที่จะเพิ่มเนื้อหางานบางกอกฟิล์มให้มีเพิ่มมากขึ้นจากปัจจุบันที่มีเพียงการฉาย , ประกวดและซื้อขายภาพยนตร์เท่านั้น ซึ่งในความเป็นจริงของโลกปัจจุบันนี้ยังมีธุรกิจในภาคของงานโทรทัศน์ ที่เป็นที่สนใจของคนทั่วไป ทั้ง ละครโทรทัศน์ มิวสิกวิดิโอ โดยมีการซื้อขายและนำออกไปฉายยังประเทศต่างๆ เป็นที่ประสบความสำเร็จกันมากมาย นอกจากนั้นกระแสแอนิเมชั่นที่กำลังมาแรง ก็เป็นอีกหนึ่งตลาดที่น่าสนใจ เพราะคนไทยก็มีฝีมือด้านนี้เป็นที่ยอมรับแล้ว
ทั้งหมดที่กล่าวมาจะมีบรรจุในแผนงานของ ททท. สำหรับการจัดงานบางกอกฟิล์มในปีหน้า โดยคณะผู้จัดงานจะประเมินผลงานของปีนี้แล้วนำเสนอต่อกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาไปพร้อมๆกัน เชื่อว่า หากทำได้จะเป็นประโยชน์ต่อประเทศ เพราะความจริง การนำเสนอประเทศไทยผ่านภาพยนตร์ ละคร หรือมิวสิกวิดีโอ เป็นอีกทางหนึ่งของการประชาสัมพันธ์แหล่งท่องเที่ยว ขณะเดียวกัน การจัดงานบางกอกฟิล์มก็ช่วยนำรายได้เข้าประเทศ เพราะผู้เข้าร่วมงานและสื่อที่มาจากต่างประเทศ เขาต้องมาจับจ่ายชอปปิ้งสินค้าในช่วงอยู่ในประเทศไทย ส่วนสื่อก็จะต้องกลับไปรายงานข่าวหรือเขียนบทความจากการที่ได้เข้ามาร่วมงานนี้
นางจุฑามาศ กล่าวว่า จากการที่จัดงานบางกอกฟิล์มมาติดต่อกันปีนี้เป็นปีที่ 4 นับว่าประสบความสำเร็จเป็นอย่างมาก เพราะงานบางกอกฟิล์มได้รับความนิยมจากผู้ที่อยู่ในอุตสาหกรรมภาพยนตร์จากทั่วโลก โดยปีนี้สตูดิโอค่ายใหญ่จากฮอลลีวู้ด สนใจมาร่วมงานจำนวนมาก ขณะเดียวกันในตลาดซื้อขายภาพยนตร์ ปีนี้มีผู้ซื้อและผู้ขายมาจากทั่วโลกกว่า 700 ราย
โดยมีบริษัทผลิตภาพยนตร์เข้าร่วมกว่า 132 รายจาก 27 ประเทศ แบ่งเป็นกว่า 60 ประเทศ มาจากภูมิภาคเอเชีย ได้แก่ มาเลเซีย ญี่ปุ่น สิงคโปร์ ฮ่องกง เกาหลี จีน อินโดนีเซีย เวียดนาม และกัมพูชา ส่วนอีก 30 ราย มาจากภูมิภาคอเมริกา และ 20 รายมาจากภูมิภาคยุโรป ที่เหลือจะมาจากประเทศอินเดีย ตุรกี ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์ เป็นต้น เป็นที่น่าสังเกตุว่าปีนี้ ผู้ผลิตภาพยนตร์จากประเทศอินเดียให้ความสนใจเข้าร่วมงานเป็นจำนวนมาก
“ถึงวันนี้เรากล้าพูดว่า งานเทศกาลภาพยนตร์นานาชาติกรุงเทพของไทย ได้รับความนิยม และกล่าวขานในวงการอุตสาหกรรมภาพยนตร์จากทั่วโลกแซงหน้างานเทศกาลภาพยนตร์ฯของประเทศญี่ปุ่น หรืออยู่ระดับเดียวกับ งานเทศกาลภาพยนตร์ฯที่ปูซาน ประเทศเกาหลี ซึ่งจัดมาติดต่อกันนานถึง 20 ปี แล้ว”
อย่างไรก็ตาม สำหรับหนังไทยปีนี้คาดว่าขายได้คิดเป็นมูลค่าไม่น้อยกว่า 500 ล้านบาท จากปีก่อนที่ขายได้ประมาณ 300 ล้านบาท ซึ่งภาพยนตร์ไทยที่ร่วมเข้าฉายในงานบางกอกฟิล์ม ปีนี้ได้แก่ เรื่องเด็กหอ และเรื่อง คำพิพากษาของมหาสมุทร นอกจากนั้น ภายในงานผู้ผลิตภาพยนตร์ของไทยยังได้เปิดตัวภาพยนตร์ที่สร้างโดยฝีมือคนไทยและเตรียมที่จำออกฉายในปีนี้อีกหลายเรื่อง ให้กับผู้ซื้อที่มาร่วมงานได้รับทราบ อาทิ ก้านกล้วย ของบริษัท กันตนา , Med Hysteria ของ บริษัท ซีเอ็น ฟิล์ม , ไพรีพินาศ ของ บริษัท โมโนฟิล์ม , สึนามิ 2565 โลกพิบัติ ของ 20JUNE ,ไทยถีบ ของ อาร์เอสฟิล์ม ,นางพราย ของไร้ท์ บียอนด์ และ ตำนานพระนเรศวร ของ หม่อมเจ้า ชาตรีเฉลิม ยุคล
นางจุฑามาศ กล่าวว่า เนื่องจากเราต้องการเป็นศูนย์กลางธุรกิจภาพยนตร์ในภูมิภาคเอเชีย แบบครบวงจร งานบางกอกฟิล์มปีนี้ ทางสำนักพัฒนาการท่องเที่ยว(สพท.) กระทรวงการท่องเที่ยว ยังได้เปิดบูธวันสต็อบ เซอร์วิส ขึ้นภายในงาน จุดประสงค์เพื่อสร้างการรับรู้ให้กับผู้ผลิตภาพยนตร์ ที่เข้ามาร่วมงานได้รับรู้ว่าประเทศไทยเรามีบริการในธุรกิจภาพยนตร์ในหลายๆด้าน ทั้งเรื่องของโลเกชั่น หรือ การบริการก่อนและหลังการถ่ายทำภาพยนตร์ โดยมีหลายบริษัท เช่น กันตนา ก็มีบริการ ซาวน์แล็ป ตัดต่อ และแอนนิเมชั่น ตลอดจน มีบริษัทที่ให้บริการด้านจัดทำฉาก เสื้อผ้า และอื่นๆ ที่อำนวยความสะดวกเกี่ยวกับการถ่ายทำภาพยนตร์
สำหรับปีนี้ที่ไม่มีภาพยนตร์จากค่ายสหมงคลฟิล์ม ของเสี่ยเจียง เข้าร่วมงาน ก็ไม่ได้มีผลกระทบอะไร เพราะมีภาพยนตร์หลายค่ายเข้าร่วมอยู่แล้ว ซึ่ง ททท.ก็ทำหนังสือเชิญตามปกติ และตนเองยังได้โทรศัพท์ไปหาด้วยตัวเอง จึงถือว่าทุกอย่างถูกต้องตามกระบวนการ ส่วนเหตุผลที่ไม่มาเข้าร่วม จะเป็นเพราะสาเหตุใดที่แน่ชัด คงไม่สามารถตอบได้
ส่วนกระแสข่าวที่มีภาคเอกชนในธุรกิจท่องเที่ยว ออกมาต่อว่า ททท.ว่าใช้งบประมาณ จำนวนมากจัดงานบางกอกฟิล์ม ซึ่งไม่ตรงวัตถุประสงค์ของการทำตลาดด้านการท่องเที่ยว ตรงนี้คงต้องตอบว่า งบการตลาดของ ททท.ที่ได้ต่อปีราว 1.8 พันล้านบาท ททท.ใช้เพื่อทำงานด้านตลาดให้กับภาคเอกชนด้านการท่องเที่ยวถึงปีละ 1.7 พัน ล้านบาท และใช้จัดงานบางกอกฟิล์มเพียง 100 ล้านบาท ซึ่งน้อยมาก และสิ่งที่ได้แม้จะไม่ทางตรง แต่ก็เป็นทางอ้อม เช่นการจับจ่ายใช้สอยของผู้เข้ามาร่วมงาน และการได้ประชาสัมพันธ์ประเทศไทยผ่านแผ่นฟิล์ม
นางจุฑามาศ ศิริวรรณ ผู้ว่าการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) เปิดเผยว่า ในปีหน้ามีแผนที่จะเพิ่มเนื้อหางานบางกอกฟิล์มให้มีเพิ่มมากขึ้นจากปัจจุบันที่มีเพียงการฉาย , ประกวดและซื้อขายภาพยนตร์เท่านั้น ซึ่งในความเป็นจริงของโลกปัจจุบันนี้ยังมีธุรกิจในภาคของงานโทรทัศน์ ที่เป็นที่สนใจของคนทั่วไป ทั้ง ละครโทรทัศน์ มิวสิกวิดิโอ โดยมีการซื้อขายและนำออกไปฉายยังประเทศต่างๆ เป็นที่ประสบความสำเร็จกันมากมาย นอกจากนั้นกระแสแอนิเมชั่นที่กำลังมาแรง ก็เป็นอีกหนึ่งตลาดที่น่าสนใจ เพราะคนไทยก็มีฝีมือด้านนี้เป็นที่ยอมรับแล้ว
ทั้งหมดที่กล่าวมาจะมีบรรจุในแผนงานของ ททท. สำหรับการจัดงานบางกอกฟิล์มในปีหน้า โดยคณะผู้จัดงานจะประเมินผลงานของปีนี้แล้วนำเสนอต่อกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาไปพร้อมๆกัน เชื่อว่า หากทำได้จะเป็นประโยชน์ต่อประเทศ เพราะความจริง การนำเสนอประเทศไทยผ่านภาพยนตร์ ละคร หรือมิวสิกวิดีโอ เป็นอีกทางหนึ่งของการประชาสัมพันธ์แหล่งท่องเที่ยว ขณะเดียวกัน การจัดงานบางกอกฟิล์มก็ช่วยนำรายได้เข้าประเทศ เพราะผู้เข้าร่วมงานและสื่อที่มาจากต่างประเทศ เขาต้องมาจับจ่ายชอปปิ้งสินค้าในช่วงอยู่ในประเทศไทย ส่วนสื่อก็จะต้องกลับไปรายงานข่าวหรือเขียนบทความจากการที่ได้เข้ามาร่วมงานนี้
นางจุฑามาศ กล่าวว่า จากการที่จัดงานบางกอกฟิล์มมาติดต่อกันปีนี้เป็นปีที่ 4 นับว่าประสบความสำเร็จเป็นอย่างมาก เพราะงานบางกอกฟิล์มได้รับความนิยมจากผู้ที่อยู่ในอุตสาหกรรมภาพยนตร์จากทั่วโลก โดยปีนี้สตูดิโอค่ายใหญ่จากฮอลลีวู้ด สนใจมาร่วมงานจำนวนมาก ขณะเดียวกันในตลาดซื้อขายภาพยนตร์ ปีนี้มีผู้ซื้อและผู้ขายมาจากทั่วโลกกว่า 700 ราย
โดยมีบริษัทผลิตภาพยนตร์เข้าร่วมกว่า 132 รายจาก 27 ประเทศ แบ่งเป็นกว่า 60 ประเทศ มาจากภูมิภาคเอเชีย ได้แก่ มาเลเซีย ญี่ปุ่น สิงคโปร์ ฮ่องกง เกาหลี จีน อินโดนีเซีย เวียดนาม และกัมพูชา ส่วนอีก 30 ราย มาจากภูมิภาคอเมริกา และ 20 รายมาจากภูมิภาคยุโรป ที่เหลือจะมาจากประเทศอินเดีย ตุรกี ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์ เป็นต้น เป็นที่น่าสังเกตุว่าปีนี้ ผู้ผลิตภาพยนตร์จากประเทศอินเดียให้ความสนใจเข้าร่วมงานเป็นจำนวนมาก
“ถึงวันนี้เรากล้าพูดว่า งานเทศกาลภาพยนตร์นานาชาติกรุงเทพของไทย ได้รับความนิยม และกล่าวขานในวงการอุตสาหกรรมภาพยนตร์จากทั่วโลกแซงหน้างานเทศกาลภาพยนตร์ฯของประเทศญี่ปุ่น หรืออยู่ระดับเดียวกับ งานเทศกาลภาพยนตร์ฯที่ปูซาน ประเทศเกาหลี ซึ่งจัดมาติดต่อกันนานถึง 20 ปี แล้ว”
อย่างไรก็ตาม สำหรับหนังไทยปีนี้คาดว่าขายได้คิดเป็นมูลค่าไม่น้อยกว่า 500 ล้านบาท จากปีก่อนที่ขายได้ประมาณ 300 ล้านบาท ซึ่งภาพยนตร์ไทยที่ร่วมเข้าฉายในงานบางกอกฟิล์ม ปีนี้ได้แก่ เรื่องเด็กหอ และเรื่อง คำพิพากษาของมหาสมุทร นอกจากนั้น ภายในงานผู้ผลิตภาพยนตร์ของไทยยังได้เปิดตัวภาพยนตร์ที่สร้างโดยฝีมือคนไทยและเตรียมที่จำออกฉายในปีนี้อีกหลายเรื่อง ให้กับผู้ซื้อที่มาร่วมงานได้รับทราบ อาทิ ก้านกล้วย ของบริษัท กันตนา , Med Hysteria ของ บริษัท ซีเอ็น ฟิล์ม , ไพรีพินาศ ของ บริษัท โมโนฟิล์ม , สึนามิ 2565 โลกพิบัติ ของ 20JUNE ,ไทยถีบ ของ อาร์เอสฟิล์ม ,นางพราย ของไร้ท์ บียอนด์ และ ตำนานพระนเรศวร ของ หม่อมเจ้า ชาตรีเฉลิม ยุคล
นางจุฑามาศ กล่าวว่า เนื่องจากเราต้องการเป็นศูนย์กลางธุรกิจภาพยนตร์ในภูมิภาคเอเชีย แบบครบวงจร งานบางกอกฟิล์มปีนี้ ทางสำนักพัฒนาการท่องเที่ยว(สพท.) กระทรวงการท่องเที่ยว ยังได้เปิดบูธวันสต็อบ เซอร์วิส ขึ้นภายในงาน จุดประสงค์เพื่อสร้างการรับรู้ให้กับผู้ผลิตภาพยนตร์ ที่เข้ามาร่วมงานได้รับรู้ว่าประเทศไทยเรามีบริการในธุรกิจภาพยนตร์ในหลายๆด้าน ทั้งเรื่องของโลเกชั่น หรือ การบริการก่อนและหลังการถ่ายทำภาพยนตร์ โดยมีหลายบริษัท เช่น กันตนา ก็มีบริการ ซาวน์แล็ป ตัดต่อ และแอนนิเมชั่น ตลอดจน มีบริษัทที่ให้บริการด้านจัดทำฉาก เสื้อผ้า และอื่นๆ ที่อำนวยความสะดวกเกี่ยวกับการถ่ายทำภาพยนตร์
สำหรับปีนี้ที่ไม่มีภาพยนตร์จากค่ายสหมงคลฟิล์ม ของเสี่ยเจียง เข้าร่วมงาน ก็ไม่ได้มีผลกระทบอะไร เพราะมีภาพยนตร์หลายค่ายเข้าร่วมอยู่แล้ว ซึ่ง ททท.ก็ทำหนังสือเชิญตามปกติ และตนเองยังได้โทรศัพท์ไปหาด้วยตัวเอง จึงถือว่าทุกอย่างถูกต้องตามกระบวนการ ส่วนเหตุผลที่ไม่มาเข้าร่วม จะเป็นเพราะสาเหตุใดที่แน่ชัด คงไม่สามารถตอบได้
ส่วนกระแสข่าวที่มีภาคเอกชนในธุรกิจท่องเที่ยว ออกมาต่อว่า ททท.ว่าใช้งบประมาณ จำนวนมากจัดงานบางกอกฟิล์ม ซึ่งไม่ตรงวัตถุประสงค์ของการทำตลาดด้านการท่องเที่ยว ตรงนี้คงต้องตอบว่า งบการตลาดของ ททท.ที่ได้ต่อปีราว 1.8 พันล้านบาท ททท.ใช้เพื่อทำงานด้านตลาดให้กับภาคเอกชนด้านการท่องเที่ยวถึงปีละ 1.7 พัน ล้านบาท และใช้จัดงานบางกอกฟิล์มเพียง 100 ล้านบาท ซึ่งน้อยมาก และสิ่งที่ได้แม้จะไม่ทางตรง แต่ก็เป็นทางอ้อม เช่นการจับจ่ายใช้สอยของผู้เข้ามาร่วมงาน และการได้ประชาสัมพันธ์ประเทศไทยผ่านแผ่นฟิล์ม