ปตท. แจงเหตุค่าเอฟทีขยับ มาจากราคาเนื้อก๊าซที่สูงขึ้นตลอด ไม่เกี่ยวกับการจัดเก็บค่าผ่านท่อก๊าซฯ เนื่องจากเป็นราคาที่ต่ำอยู่แล้ว คาดค่าการกลั่นน้ำมันทั้งปีจะทรงตัวที่ระดับ 6-7 ดอลลาร์สหรัฐ/บาร์เรล
นายประเสริฐ บุญสัมพันธ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บมจ.ปตท. กล่าวถึงกรณีที่มีผู้เรียกร้องให้ปรับลดค่าผ่านท่อก๊าซธรรมชาติ เพื่อจะเป็นส่วนหนึ่งทำให้ค่าไฟฟ้าอัตโนมัติ (เอฟที) งวดหน้าปรับลดลงนั้น ว่า ค่าผ่านท่อไม่ได้เป็นเหตุผลทำให้ค่าไฟฟ้าปรับขึ้น เนื่องจากอัตราการจัดเก็บต่ำมาก ส่วนที่ทำให้เพิ่มขึ้นคือ ราคาก๊าซธรรมชาติที่ปรับสูงขึ้นตลอดจาก 120 บาท/ล้านบีทียู จนถึงระดับ 190 บาท/ล้านบีทียู ซึ่ง ปตท. ไม่ได้กำไรจากส่วนนี้ เนื่องจากราคาที่เพิ่มขึ้นเป็นราคาปากหลุมที่แม้ซื้อในประเทศก็ต้องสะท้อนราคาน้ำมันตลาดโลก ซึ่งเป็นเหมือนกันทั่วโลก แต่ราคาของไทยก็ยังต่ำกว่าประเทศอื่น ๆ เช่น สิงคโปร์ ยุโรป ราคาประมาณ 320 บาท/ล้านทียู สหรัฐ 480 บาท/ล้านบีทียู ทั้งนี้ เนื่องจากสูตรราคาก๊าซฯ ของไทยอิงราคาน้ำมันเตาประมาณร้อยละ 30-35 เท่านั้น
นอกจากนี้ ค่าผ่านท่อของ ปตท. ก็ถูกกำหนดโดยสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) ที่มีอัตราประมาณ 19 บาท/ล้านบีทียู และให้ค่าดำเนินการเพียง 2 บาท/ล้านบีทียู ส่วนท่อเส้นที่ 3 ที่กำลังจะแล้วเสร็จ ในขณะนี้อยู่ในระหว่างการเจรจาค่าผ่านท่อ คาดว่าจะเพิ่มเพียงเล็กน้อยมาอยู่ที่ระดับ 22-23 บาท/ล้านบีทียู เนื่องจากการคำนวณมีการนำท่อเก่าและใหม่มารวมกัน และกำหนดอายุท่อ 40 ปี นับเป็นค่าผ่านท่อที่ต่ำมากเมื่อเทียบกับเม็ดเงินลงทุนใหม่ประมาณ 100,000ล้านบาท โดยหากเป็นรายใหม่เข้ามาก่อสร้างค่าผ่านท่อก็จะปรับราคาสูงถึง 60 บาท/ล้านบีทียู และขอชี้แจงว่า แม้ทางการจะให้ ปตท. มีผลตอบแทนการลงทุนโครงการท่อเส้นที่ 3 สูงถึงร้อยละ 16 แต่ข้อเท็จจริงเมื่อเทียบอัตราหนี้สินต่อทุนที่อยู่ในระดับ 1 ต่อ 1 ไม่ได้สูงถึง 3 ต่อ 1 เหมือนที่ประมาณการ จึงทำให้ผลตอบแทนโครงการที่แท้จริงอยู่ที่ระดับ ร้อยละ 12-13 เท่านั้น
“การลดค่าผ่านท่อคงทำไม่ได้ เพราะหากดูผลตอบแทนต่าง ๆ ของ ปตท. ก็น้อยมาก โดยที่ผ่านมา ปตท. ได้เข้ามาช่วยด้านค่าไฟฟ้า โดยการเจรจาลดราคาจากผู้ขายให้มีส่วนลดนับแสนล้านบาท และทยอยลดเป็นส่วนลดค่าไฟฟ้ามาโดยตลอด และหากเทียบเรื่องต้นทุนค่าไฟฟ้าของไทยกับประเทศอื่น ๆ แล้ว จะเห็นได้ว่า กว่าประเทศอื่น ๆ และการที่ ปตท. มีกำไรหลายหมื่นล้านก็มาจากธุรกิจปิโตรเคมีและอื่น ๆ ไม่ได้กำไรจากก๊าซฯ เพียงอย่างเดียว”
นายประเสริฐ กล่าวอีกว่า สถานการณ์ค่าการกลั่นน้ำมันของโรงกลั่นฯ ต่าง ๆ ในขณะนี้ ถึงแม้จะลดลงเหลือประมาณ 3-4 ดอลลาร์สหรัฐ/บาร์เรลก็ตาม แต่คาดว่าค่าการกลั่นเฉลี่ยทั้งปีจะทรงตัวใกล้เคียงกับปีที่แล้วที่ประมาณ 6-7 ดอลลาร์สหรัฐ/บาร์เรล ซึ่งการที่ค่าการกลั่นขณะนี้ลดต่ำลง เนื่องจากราคาน้ำมันสำเร็จรูปได้ลดลงในสัดส่วนที่สูงกว่าการลดลงของราคาน้ำมันดิบ อย่างไรก็ตาม จากที่เศรษฐกิจโลกยังขยายตัว สถาบันทางวิชาการต่าง ๆ ยังมองว่าเศรษฐกิจของประเทศที่สำคัญ ๆ เช่น สหรัฐ ยุโรป ญี่ปุ่น จีน อินเดีย หรือแม้แต่กลุ่มประเทศอาเซียนก็ยังขยายตัว จึงคาดว่าความต้องการใช้น้ำมันจะเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ในขณะที่การสร้างโรงกลั่นฯ ใหม่ยังไม่เกิดขึ้นในปีนี้ จึงคาดว่าในที่สุดแล้ว ความแตกต่างของราคาน้ำมันสำเร็จรูปและราคาน้ำมันดิบจะเข้าสู่สมดุล และส่งผลให้ค่าการกลั่นดีดตัวกลับขึ้นมากในที่สุด
นายประเสริฐ บุญสัมพันธ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บมจ.ปตท. กล่าวถึงกรณีที่มีผู้เรียกร้องให้ปรับลดค่าผ่านท่อก๊าซธรรมชาติ เพื่อจะเป็นส่วนหนึ่งทำให้ค่าไฟฟ้าอัตโนมัติ (เอฟที) งวดหน้าปรับลดลงนั้น ว่า ค่าผ่านท่อไม่ได้เป็นเหตุผลทำให้ค่าไฟฟ้าปรับขึ้น เนื่องจากอัตราการจัดเก็บต่ำมาก ส่วนที่ทำให้เพิ่มขึ้นคือ ราคาก๊าซธรรมชาติที่ปรับสูงขึ้นตลอดจาก 120 บาท/ล้านบีทียู จนถึงระดับ 190 บาท/ล้านบีทียู ซึ่ง ปตท. ไม่ได้กำไรจากส่วนนี้ เนื่องจากราคาที่เพิ่มขึ้นเป็นราคาปากหลุมที่แม้ซื้อในประเทศก็ต้องสะท้อนราคาน้ำมันตลาดโลก ซึ่งเป็นเหมือนกันทั่วโลก แต่ราคาของไทยก็ยังต่ำกว่าประเทศอื่น ๆ เช่น สิงคโปร์ ยุโรป ราคาประมาณ 320 บาท/ล้านทียู สหรัฐ 480 บาท/ล้านบีทียู ทั้งนี้ เนื่องจากสูตรราคาก๊าซฯ ของไทยอิงราคาน้ำมันเตาประมาณร้อยละ 30-35 เท่านั้น
นอกจากนี้ ค่าผ่านท่อของ ปตท. ก็ถูกกำหนดโดยสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) ที่มีอัตราประมาณ 19 บาท/ล้านบีทียู และให้ค่าดำเนินการเพียง 2 บาท/ล้านบีทียู ส่วนท่อเส้นที่ 3 ที่กำลังจะแล้วเสร็จ ในขณะนี้อยู่ในระหว่างการเจรจาค่าผ่านท่อ คาดว่าจะเพิ่มเพียงเล็กน้อยมาอยู่ที่ระดับ 22-23 บาท/ล้านบีทียู เนื่องจากการคำนวณมีการนำท่อเก่าและใหม่มารวมกัน และกำหนดอายุท่อ 40 ปี นับเป็นค่าผ่านท่อที่ต่ำมากเมื่อเทียบกับเม็ดเงินลงทุนใหม่ประมาณ 100,000ล้านบาท โดยหากเป็นรายใหม่เข้ามาก่อสร้างค่าผ่านท่อก็จะปรับราคาสูงถึง 60 บาท/ล้านบีทียู และขอชี้แจงว่า แม้ทางการจะให้ ปตท. มีผลตอบแทนการลงทุนโครงการท่อเส้นที่ 3 สูงถึงร้อยละ 16 แต่ข้อเท็จจริงเมื่อเทียบอัตราหนี้สินต่อทุนที่อยู่ในระดับ 1 ต่อ 1 ไม่ได้สูงถึง 3 ต่อ 1 เหมือนที่ประมาณการ จึงทำให้ผลตอบแทนโครงการที่แท้จริงอยู่ที่ระดับ ร้อยละ 12-13 เท่านั้น
“การลดค่าผ่านท่อคงทำไม่ได้ เพราะหากดูผลตอบแทนต่าง ๆ ของ ปตท. ก็น้อยมาก โดยที่ผ่านมา ปตท. ได้เข้ามาช่วยด้านค่าไฟฟ้า โดยการเจรจาลดราคาจากผู้ขายให้มีส่วนลดนับแสนล้านบาท และทยอยลดเป็นส่วนลดค่าไฟฟ้ามาโดยตลอด และหากเทียบเรื่องต้นทุนค่าไฟฟ้าของไทยกับประเทศอื่น ๆ แล้ว จะเห็นได้ว่า กว่าประเทศอื่น ๆ และการที่ ปตท. มีกำไรหลายหมื่นล้านก็มาจากธุรกิจปิโตรเคมีและอื่น ๆ ไม่ได้กำไรจากก๊าซฯ เพียงอย่างเดียว”
นายประเสริฐ กล่าวอีกว่า สถานการณ์ค่าการกลั่นน้ำมันของโรงกลั่นฯ ต่าง ๆ ในขณะนี้ ถึงแม้จะลดลงเหลือประมาณ 3-4 ดอลลาร์สหรัฐ/บาร์เรลก็ตาม แต่คาดว่าค่าการกลั่นเฉลี่ยทั้งปีจะทรงตัวใกล้เคียงกับปีที่แล้วที่ประมาณ 6-7 ดอลลาร์สหรัฐ/บาร์เรล ซึ่งการที่ค่าการกลั่นขณะนี้ลดต่ำลง เนื่องจากราคาน้ำมันสำเร็จรูปได้ลดลงในสัดส่วนที่สูงกว่าการลดลงของราคาน้ำมันดิบ อย่างไรก็ตาม จากที่เศรษฐกิจโลกยังขยายตัว สถาบันทางวิชาการต่าง ๆ ยังมองว่าเศรษฐกิจของประเทศที่สำคัญ ๆ เช่น สหรัฐ ยุโรป ญี่ปุ่น จีน อินเดีย หรือแม้แต่กลุ่มประเทศอาเซียนก็ยังขยายตัว จึงคาดว่าความต้องการใช้น้ำมันจะเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ในขณะที่การสร้างโรงกลั่นฯ ใหม่ยังไม่เกิดขึ้นในปีนี้ จึงคาดว่าในที่สุดแล้ว ความแตกต่างของราคาน้ำมันสำเร็จรูปและราคาน้ำมันดิบจะเข้าสู่สมดุล และส่งผลให้ค่าการกลั่นดีดตัวกลับขึ้นมากในที่สุด