“สมคิด จาตุศรีพิทักษ์” ย้ำ สศช.ให้จัดทำแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 10 โดยพัฒนาทั้งเศรษฐกิจและสังคมควบคู่กันไป แต่ต้องให้ประเทศแข็งแกร่งรองรับโลกาภิวัตน์-การเปิดการค้าเสรีได้ด้วย ขณะที่เลขาธิการ สศช.ระบุว่าการจัดทำแผน 10 จะรับฟังความเห็นจากทุกฝ่าย มั่นใจจีดีพีปี 2549 โตได้ตามที่ประมาณการไว้ที่ร้อยละ 4.75-5.75 ส่วนการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง หากเป็นไปตามกติกาก็จะไม่กระทบต่อความเชื่อมั่นนักลงทุน

นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ และนายสุรนันท์ เวชชาชีวะ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ร่วมในพิธีเปิดห้องสมุดสุริยานุวัตร และศูนย์บริการข้อมูลสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ในโอกาสครบรอบ 56 ปีการก่อตั้ง สศช. โดยนายสมคิดกล่าวในระหว่างร่วมงานว่า ในช่วงเช้าตนได้ไหว้ศาลพระภูมิที่ สศช. และได้อธิษฐานว่าในช่วงของความวุ่นวายทางการเมืองที่เกิดขึ้นต่อประเทศไทยขณะนี้ ขอให้ สศช.เป็นหลักผลักดันให้เมืองไทยเติบโตต่อไปอย่างแข็งแกร่งในอนาคต เพราะเมืองไทยค่อนข้างแปลก เมื่อช่วงไหนกำลังไปได้ดีก็มักจะมีอะไรเกิดขึ้นทำให้ชะงักและชะลอโดยตลอด ซึ่งในเรื่องด้านการเมืองจะกระทบเศรษฐกิจมากน้อยขนาดไหนนั้น ไม่อยากให้มองในแง่ลบ อย่างไรก็ตาม ในช่วง 3 สัปดาห์ข้างหน้านี้จะมีกลุ่มต่างประเทศเดินทางมาประเทศไทย เช่น ฝรั่งเศส และเยอรมนี แสดงว่าประเทศเหล่านี้เห็นศักยภาพของไทยและต้องการที่จะเข้ามาเชื่อมต่อทางด้านเศรษฐกิจ
นายสมคิด ได้เน้นย้ำต่อ สศช.ซึ่งอยู่ระหว่างการจัดทำแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 10 ตั้งแต่ปี 2550-2554 ว่าขอให้พิจารณาเรื่องการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมควบคู่กันไป โดยเฉพาะการพัฒนาในประเทศต้องให้มีความแข็งแกร่งรองรับโลกาภิวัตน์ โดยเฉพาะการเปิดการค้าเสรีในระดับต่างๆ ซึ่งการดำเนินงานจะต้องมีทั้งการปรับโครงสร้างเศรษฐกิจให้มีประสิทธิภาพและเสถียรภาพ การแก้ไขปัญหาความยากจน การทำงานที่ต้องมุ่งเน้นการพัฒนาเชื่อมโยงเป็นกลุ่มก้อนหรือคลัสเตอร์เหมือนกับเกาหลีใต้และจีนที่พัฒนาเป็นคลัสเตอร์จนประสบความสำเร็จ โดยในส่วนคลัสเตอร์ในประเทศไทยนั้น ขณะนี้หากมองคลัสเตอร์หลักจะแบ่งเป็น 3 ภาค คือ ภาคเหนือที่จะมีทั้งการท่องเที่ยว การพัฒนาทรัพยากร ภาคใต้ในส่วนอันดามันจะมีการท่องเที่ยว และภาคตะวันออกมีเรื่องการท่องเที่ยวและพัฒนาอุตสาหกรรม ซึ่งหากทำควบคู่กันไปก็จะทำให้เศรษฐกิจไทยแข็งแกร่งขึ้น โดย สศช. จะต้องเป็นแกนในเรื่องเชื่อมโยงกับหน่วยงานต่างๆ เพื่อพัฒนาประเทศไทย
นายอำพน กิตติอำพน เลขาธิการ สศช.กล่าวว่า ในวันที่ 6 มีนาคมนี้ สศช.จะประกาศตัวเลขเศรษฐกิจไตรมาส 4 และเศรษฐกิจปี 2548 รวมทั้งการคาดการณ์ตัวเลขเศรษฐกิจปี 2549 โดยการประเมินดังกล่าวยังไม่นำปัญหาทางการเมืองเข้ามาผนวกเป็นปัจจัยเสี่ยง อย่างไรก็ตาม เป็นที่น่าสังเกตว่าเศรษฐกิจปี 2548 ที่แข็งแกร่งมาได้ เกิดจากปัจจัยลบภายนอก เช่น น้ำมัน สึนามิ และไข้หวัดนกที่เป็นปัญหาที่ควบคุมไม่ได้แต่สามารถแก้ไขได้ด้วยรูปแบบต่างๆ เช่น การสร้างความเชื่อมั่น การส่งเสริมด้านท่องเที่ยว การส่งออก แต่ปัจจัยทางการเมืองที่เป็นปัจจัยภายในมีผลกระทบต่อความเชื่อมั่นทางเศรษฐกิจ เพราะหากไม่เคารพกฎระเบียบ กฎ กติกา ยิ่งกระทบต่อความเชื่อมันของนักลงทุนทั้งในและต่างประเทศเป็นเรื่องที่แก้ไขลำบาก และอาจจะส่งผลไปด้านต่างๆ เช่น การลงทุน การท่องเที่ยว และอื่นๆ เพราะถูกมองว่าประเทศไทยไม่เคารพกติกา ซึ่งผลลบในขณะนี้จะเริ่มเห็นได้ชัดเจนจากสัญญาณของตลาดทุนหรือตลาดหุ้นเริ่มจะมีเสียงสะท้อนมาบ้างแล้ว
ส่วนการยุบสภาจะส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นทางเศรษฐกิจหรือไม่ เลขาธิการ สศช.กล่าวว่า ถ้าหากทุกสิ่งทุกอย่างอยู่ในกฎกติกาก็คงจะไม่กระทบต่อความเชื่อมั่น ซึ่งหากเกิดการยุบสภาแล้วเลือกตั้งใหม่และนโยบายไม่เปลี่ยนแปลงเรื่องนี้ก็ไม่กระทบ แต่หากเล่นนอกกฎกติกา นอกเกม สิ่งนี้จะทำให้เกิดความไม่เชื่อมั่นด้านการลงทุน
นายอำพน กล่าวว่า ในการคาดการณ์เศรษฐกิจปี 2549 สศช.ยังใช้ตัวเลขเดิมที่คาดว่าผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (จีดีพี) จะขยายตัวร้อยละ 4.75-5.75 จะส่งออกร้อยละ 15-17 การลงทุนเมกะโปรเจกต์จะชัดเจนในไตรมาส 3 และ 4 ขณะที่การลงทุนภาคเอกชน รวมทั้งการลงทุนของรัฐวิสาหกิจต่าง ๆ ที่มีเม็ดเงินสูงถึง 279,000 ล้านบาท จะเป็นตัวขับเคลื่อนเศรษฐกิจทำให้เกิดการนำเข้าสินค้าทุนและวัตถุดิบต่างๆ ค่อนข้างสูง สศช. จึงคาดหมายว่าจะขาดดุลการค้า 10,100 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และคาดว่าราคาน้ำมันจะทรงตัวในระดับสูงที่ 52-55 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล จึงเป็นเรื่องที่รัฐบาลทุกหน่วยงานจะต้องปรับปรุงแผนเพื่อลดปัญหาการขาดดุลโดยเฉพาะทางด้านนโยบายพลังงานที่จะต้องเข้มงวดในการประหยัดพลังงาน
เลขาธิการ สศช.กล่าวว่า ในการจัดทำแผน 10 จะสรุปและเสนอต่อคณะรัฐมนตรีเดือนสิงหาคมนี้ โดยในแผนจะรับฟังจากประชาชนทุกภาคส่วน ทั้งภาครัฐและเอกชน องค์กรภาคประชาชน รวมทั้งเอ็นจีโอต่างๆ โดยไม่ได้ตั้งเป้าหมายว่าจีดีพีจะขยายตัวเท่าใด แต่จะมองถึงความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจและสังคมควบคู่กันไป โดยพิจารณาเรื่องทุนทางด้านเศรษฐกิจ สังคม และทรัพยากรเป็นเป้าหมาย โดยจะพิจารณาเรื่องทางด้านการเงินควบคู่ไปด้วย โดยเฉพาะทุนสำรองระหว่างประเทศ ภาคการออม การก่อหนี้ วินัยทางด้านการเงินการคลังควบคู่กันไป การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และการพัฒนาแบบองค์รวม
นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ และนายสุรนันท์ เวชชาชีวะ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ร่วมในพิธีเปิดห้องสมุดสุริยานุวัตร และศูนย์บริการข้อมูลสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ในโอกาสครบรอบ 56 ปีการก่อตั้ง สศช. โดยนายสมคิดกล่าวในระหว่างร่วมงานว่า ในช่วงเช้าตนได้ไหว้ศาลพระภูมิที่ สศช. และได้อธิษฐานว่าในช่วงของความวุ่นวายทางการเมืองที่เกิดขึ้นต่อประเทศไทยขณะนี้ ขอให้ สศช.เป็นหลักผลักดันให้เมืองไทยเติบโตต่อไปอย่างแข็งแกร่งในอนาคต เพราะเมืองไทยค่อนข้างแปลก เมื่อช่วงไหนกำลังไปได้ดีก็มักจะมีอะไรเกิดขึ้นทำให้ชะงักและชะลอโดยตลอด ซึ่งในเรื่องด้านการเมืองจะกระทบเศรษฐกิจมากน้อยขนาดไหนนั้น ไม่อยากให้มองในแง่ลบ อย่างไรก็ตาม ในช่วง 3 สัปดาห์ข้างหน้านี้จะมีกลุ่มต่างประเทศเดินทางมาประเทศไทย เช่น ฝรั่งเศส และเยอรมนี แสดงว่าประเทศเหล่านี้เห็นศักยภาพของไทยและต้องการที่จะเข้ามาเชื่อมต่อทางด้านเศรษฐกิจ
นายสมคิด ได้เน้นย้ำต่อ สศช.ซึ่งอยู่ระหว่างการจัดทำแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 10 ตั้งแต่ปี 2550-2554 ว่าขอให้พิจารณาเรื่องการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมควบคู่กันไป โดยเฉพาะการพัฒนาในประเทศต้องให้มีความแข็งแกร่งรองรับโลกาภิวัตน์ โดยเฉพาะการเปิดการค้าเสรีในระดับต่างๆ ซึ่งการดำเนินงานจะต้องมีทั้งการปรับโครงสร้างเศรษฐกิจให้มีประสิทธิภาพและเสถียรภาพ การแก้ไขปัญหาความยากจน การทำงานที่ต้องมุ่งเน้นการพัฒนาเชื่อมโยงเป็นกลุ่มก้อนหรือคลัสเตอร์เหมือนกับเกาหลีใต้และจีนที่พัฒนาเป็นคลัสเตอร์จนประสบความสำเร็จ โดยในส่วนคลัสเตอร์ในประเทศไทยนั้น ขณะนี้หากมองคลัสเตอร์หลักจะแบ่งเป็น 3 ภาค คือ ภาคเหนือที่จะมีทั้งการท่องเที่ยว การพัฒนาทรัพยากร ภาคใต้ในส่วนอันดามันจะมีการท่องเที่ยว และภาคตะวันออกมีเรื่องการท่องเที่ยวและพัฒนาอุตสาหกรรม ซึ่งหากทำควบคู่กันไปก็จะทำให้เศรษฐกิจไทยแข็งแกร่งขึ้น โดย สศช. จะต้องเป็นแกนในเรื่องเชื่อมโยงกับหน่วยงานต่างๆ เพื่อพัฒนาประเทศไทย
นายอำพน กิตติอำพน เลขาธิการ สศช.กล่าวว่า ในวันที่ 6 มีนาคมนี้ สศช.จะประกาศตัวเลขเศรษฐกิจไตรมาส 4 และเศรษฐกิจปี 2548 รวมทั้งการคาดการณ์ตัวเลขเศรษฐกิจปี 2549 โดยการประเมินดังกล่าวยังไม่นำปัญหาทางการเมืองเข้ามาผนวกเป็นปัจจัยเสี่ยง อย่างไรก็ตาม เป็นที่น่าสังเกตว่าเศรษฐกิจปี 2548 ที่แข็งแกร่งมาได้ เกิดจากปัจจัยลบภายนอก เช่น น้ำมัน สึนามิ และไข้หวัดนกที่เป็นปัญหาที่ควบคุมไม่ได้แต่สามารถแก้ไขได้ด้วยรูปแบบต่างๆ เช่น การสร้างความเชื่อมั่น การส่งเสริมด้านท่องเที่ยว การส่งออก แต่ปัจจัยทางการเมืองที่เป็นปัจจัยภายในมีผลกระทบต่อความเชื่อมั่นทางเศรษฐกิจ เพราะหากไม่เคารพกฎระเบียบ กฎ กติกา ยิ่งกระทบต่อความเชื่อมันของนักลงทุนทั้งในและต่างประเทศเป็นเรื่องที่แก้ไขลำบาก และอาจจะส่งผลไปด้านต่างๆ เช่น การลงทุน การท่องเที่ยว และอื่นๆ เพราะถูกมองว่าประเทศไทยไม่เคารพกติกา ซึ่งผลลบในขณะนี้จะเริ่มเห็นได้ชัดเจนจากสัญญาณของตลาดทุนหรือตลาดหุ้นเริ่มจะมีเสียงสะท้อนมาบ้างแล้ว
ส่วนการยุบสภาจะส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นทางเศรษฐกิจหรือไม่ เลขาธิการ สศช.กล่าวว่า ถ้าหากทุกสิ่งทุกอย่างอยู่ในกฎกติกาก็คงจะไม่กระทบต่อความเชื่อมั่น ซึ่งหากเกิดการยุบสภาแล้วเลือกตั้งใหม่และนโยบายไม่เปลี่ยนแปลงเรื่องนี้ก็ไม่กระทบ แต่หากเล่นนอกกฎกติกา นอกเกม สิ่งนี้จะทำให้เกิดความไม่เชื่อมั่นด้านการลงทุน
นายอำพน กล่าวว่า ในการคาดการณ์เศรษฐกิจปี 2549 สศช.ยังใช้ตัวเลขเดิมที่คาดว่าผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (จีดีพี) จะขยายตัวร้อยละ 4.75-5.75 จะส่งออกร้อยละ 15-17 การลงทุนเมกะโปรเจกต์จะชัดเจนในไตรมาส 3 และ 4 ขณะที่การลงทุนภาคเอกชน รวมทั้งการลงทุนของรัฐวิสาหกิจต่าง ๆ ที่มีเม็ดเงินสูงถึง 279,000 ล้านบาท จะเป็นตัวขับเคลื่อนเศรษฐกิจทำให้เกิดการนำเข้าสินค้าทุนและวัตถุดิบต่างๆ ค่อนข้างสูง สศช. จึงคาดหมายว่าจะขาดดุลการค้า 10,100 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และคาดว่าราคาน้ำมันจะทรงตัวในระดับสูงที่ 52-55 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล จึงเป็นเรื่องที่รัฐบาลทุกหน่วยงานจะต้องปรับปรุงแผนเพื่อลดปัญหาการขาดดุลโดยเฉพาะทางด้านนโยบายพลังงานที่จะต้องเข้มงวดในการประหยัดพลังงาน
เลขาธิการ สศช.กล่าวว่า ในการจัดทำแผน 10 จะสรุปและเสนอต่อคณะรัฐมนตรีเดือนสิงหาคมนี้ โดยในแผนจะรับฟังจากประชาชนทุกภาคส่วน ทั้งภาครัฐและเอกชน องค์กรภาคประชาชน รวมทั้งเอ็นจีโอต่างๆ โดยไม่ได้ตั้งเป้าหมายว่าจีดีพีจะขยายตัวเท่าใด แต่จะมองถึงความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจและสังคมควบคู่กันไป โดยพิจารณาเรื่องทุนทางด้านเศรษฐกิจ สังคม และทรัพยากรเป็นเป้าหมาย โดยจะพิจารณาเรื่องทางด้านการเงินควบคู่ไปด้วย โดยเฉพาะทุนสำรองระหว่างประเทศ ภาคการออม การก่อหนี้ วินัยทางด้านการเงินการคลังควบคู่กันไป การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และการพัฒนาแบบองค์รวม