ปลัดกระทรวงการคลังมอบหมาย 4 หน่วยงานหลักของกระทรวง ศึกษาโครงสร้างภาษีทั้งระบบในระยะยาว 10 ปี เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน กระตุ้นการลงทุนและรองรับกรอบการค้าเสรีต่างๆ โดยจะต้องดูความแข็งแกร่งของฐานะการคลังด้วย ระบุกรมศุลกากรจะเป็นหน่วยงานแรกที่ต้องปรับโครงสร้างภาษีขนานใหญ่รองรับสถานการณ์ที่เกิดขึ้น
นายศุภรัตน์ ควัฒน์กุล ปลัดกระทรวงการคลัง เปิดเผยหลังประชุมคณะกรรมการปรับโครงสร้างภาษี ว่า ได้มอบหมายให้สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) และ 3 กรมจัดเก็บรายได้ ประกอบด้วยกรมสรรพากร กรมสรรพสามิต และกรมศุลกากร ไปศึกษาโครงสร้างภาษีทั้งระบบในระยะยาว 10 ปี โดยให้ศึกษาเพิ่มเติมเกี่ยวกับสมมติฐานที่จะนำมาใช้ประกอบการพิจารณาการปรับโครงสร้างภาษี ซึ่งคาดว่าจะแล้วเสร็จภายในปี 2549 ซึ่งจุดประสงค์ของการปรับโครงสร้างภาษี เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน กระตุ้นการลงทุน และรองรับกรอบการค้าเสรีต่างๆ อาทิ การเปิดเขตการค้าเสรี (เอฟทีเอ) การเปิดเขตการค้าเสรีอาเซียน (อาฟตา) ขณะเดียวกัน การปรับโครงสร้างภาษีดังกล่าว จะต้องคำนึงถึงความแข็งแกร่งของฐานะการคลังด้วย
“การปรับโครงสร้างภาษีจะต้องดูระยะยาว เพราะกรอบระยะสั้นมีความชัดเจนอยู่แล้ว ซึ่งจะทำให้เห็นความจำเป็นทางด้านรายจ่ายและความสามารถในการหารายได้ รวมทั้งการค้าระหว่างประเทศที่เปลี่ยนแปลงไปจะทำให้รู้ว่าจะส่งผลกระทบต่อรายได้อย่างไรบ้าง ดังนั้น จึงให้การบ้านกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องไปคิดว่า เมื่อทิศทางเปลี่ยนเป็นอย่างนี้ ต่อไปจะทำอย่างไร” ปลัดกระทรวงการคลัง กล่าว
สำหรับการปรับโครงสร้างภาษี นายศุภรัตน์ กล่าวว่า จะเริ่มจากกรมศุลกากรเป็นหน่วยงานแรก เนื่องจากได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงอย่างชัดเจน จึงต้องเตรียมปรับโครงสร้างภาษีเพื่อรองรับผลกระทบ เพราะในอนาคตภาษีนำเข้ามีแนวโน้มที่จะลดลงเรื่อยๆ โดยคาดว่าภายใน 10 ปีข้างหน้า สัดส่วนรายได้ของกรมศุลกากรจะลดลงเหลือร้อยละ 4-5 ของรายได้ภาษีทั้งหมด จากปัจจุบันที่มีสัดส่วนไม่ถึงร้อยละ 10 ขณะที่กรมสรรพสามิต มีสัดส่วนภาษีอยู่ที่ร้อยละ 25 ของรายได้ภาษีทั้งหมด และกรมสรรพากร มีสัดส่วนอยู่ที่ร้อยละ 66 ของรายได้ภาษีทั้งหมด อย่างไรก็ตาม การปรับโครงสร้างภาษีของกรมศุลกากร ด้วยการลดภาษีนำเข้า อาทิ สินค้าอิเล็กทรอนิกส์ สิ่งพิมพ์ จะไม่ส่งผลกระทบต่อรายได้รัฐ และไม่มีความจำเป็นที่จะต้องจัดเก็บรายได้มาทดแทน เนื่องจากการปรับโครงสร้างภาษีนำเข้าจะเกี่ยวโยงกับการจัดเก็บภาษีสินค้าบางประเภทของกรมสรรพสามิต ซึ่งอาจจะส่งผลให้รายได้ภาษีของสรรพสามิตเพิ่มขึ้นได้ จึงได้มอบหมายให้กรมสรรพสามิตไปศึกษาเกี่ยวกับการจัดเก็บภาษีเพื่อชดเชยรายได้ภาษีของกรมศุลกากร
นายศุภรัตน์ ควัฒน์กุล ปลัดกระทรวงการคลัง เปิดเผยหลังประชุมคณะกรรมการปรับโครงสร้างภาษี ว่า ได้มอบหมายให้สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) และ 3 กรมจัดเก็บรายได้ ประกอบด้วยกรมสรรพากร กรมสรรพสามิต และกรมศุลกากร ไปศึกษาโครงสร้างภาษีทั้งระบบในระยะยาว 10 ปี โดยให้ศึกษาเพิ่มเติมเกี่ยวกับสมมติฐานที่จะนำมาใช้ประกอบการพิจารณาการปรับโครงสร้างภาษี ซึ่งคาดว่าจะแล้วเสร็จภายในปี 2549 ซึ่งจุดประสงค์ของการปรับโครงสร้างภาษี เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน กระตุ้นการลงทุน และรองรับกรอบการค้าเสรีต่างๆ อาทิ การเปิดเขตการค้าเสรี (เอฟทีเอ) การเปิดเขตการค้าเสรีอาเซียน (อาฟตา) ขณะเดียวกัน การปรับโครงสร้างภาษีดังกล่าว จะต้องคำนึงถึงความแข็งแกร่งของฐานะการคลังด้วย
“การปรับโครงสร้างภาษีจะต้องดูระยะยาว เพราะกรอบระยะสั้นมีความชัดเจนอยู่แล้ว ซึ่งจะทำให้เห็นความจำเป็นทางด้านรายจ่ายและความสามารถในการหารายได้ รวมทั้งการค้าระหว่างประเทศที่เปลี่ยนแปลงไปจะทำให้รู้ว่าจะส่งผลกระทบต่อรายได้อย่างไรบ้าง ดังนั้น จึงให้การบ้านกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องไปคิดว่า เมื่อทิศทางเปลี่ยนเป็นอย่างนี้ ต่อไปจะทำอย่างไร” ปลัดกระทรวงการคลัง กล่าว
สำหรับการปรับโครงสร้างภาษี นายศุภรัตน์ กล่าวว่า จะเริ่มจากกรมศุลกากรเป็นหน่วยงานแรก เนื่องจากได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงอย่างชัดเจน จึงต้องเตรียมปรับโครงสร้างภาษีเพื่อรองรับผลกระทบ เพราะในอนาคตภาษีนำเข้ามีแนวโน้มที่จะลดลงเรื่อยๆ โดยคาดว่าภายใน 10 ปีข้างหน้า สัดส่วนรายได้ของกรมศุลกากรจะลดลงเหลือร้อยละ 4-5 ของรายได้ภาษีทั้งหมด จากปัจจุบันที่มีสัดส่วนไม่ถึงร้อยละ 10 ขณะที่กรมสรรพสามิต มีสัดส่วนภาษีอยู่ที่ร้อยละ 25 ของรายได้ภาษีทั้งหมด และกรมสรรพากร มีสัดส่วนอยู่ที่ร้อยละ 66 ของรายได้ภาษีทั้งหมด อย่างไรก็ตาม การปรับโครงสร้างภาษีของกรมศุลกากร ด้วยการลดภาษีนำเข้า อาทิ สินค้าอิเล็กทรอนิกส์ สิ่งพิมพ์ จะไม่ส่งผลกระทบต่อรายได้รัฐ และไม่มีความจำเป็นที่จะต้องจัดเก็บรายได้มาทดแทน เนื่องจากการปรับโครงสร้างภาษีนำเข้าจะเกี่ยวโยงกับการจัดเก็บภาษีสินค้าบางประเภทของกรมสรรพสามิต ซึ่งอาจจะส่งผลให้รายได้ภาษีของสรรพสามิตเพิ่มขึ้นได้ จึงได้มอบหมายให้กรมสรรพสามิตไปศึกษาเกี่ยวกับการจัดเก็บภาษีเพื่อชดเชยรายได้ภาษีของกรมศุลกากร