สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยยอมรับค่าไฟฟ้าอัตโนมัติหรือเอฟทีงวดล่าสุดที่ปรับขึ้นถึง 19.01 สตางค์/หน่วย กระทบต้นทุนอุตสาหกรรม แต่ก็มีเหตุผลเพียงพอว่า เกิดจากต้นทุนเชื้อเพลิงที่สูงขึ้น พร้อมเสนอแนวคิดใหม่ให้ลดค่าผ่านท่อก๊าซฯ และภาษีน้ำมันเตา เพื่อกดให้ค่าเอฟทีงวดหน้าลดลง
นายเจน นำชัยศิริ รองประธานกรรมการบริหารสถาบันพลังงาน สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) ยอมรับว่า ค่าไฟฟ้าเอฟทีที่ปรับขึ้น 19.01 สตางค์/หน่วย เป็นการปรับขึ้นในอัตราสูงมากถึงร้อยละ 7-8 ส่งผลกระทบทำให้ต้นทุนอุตสาหกรรมโดยรวมเพิ่มขึ้นร้อยละ 1-2 โดยกลุ่มที่ได้รับผลกระทบหนักสุด คือกลุ่มที่ใช้ไฟฟ้าเป็นต้นทุนหลัก เช่น อุตสาหกรรมเหล็ก ปิโตรเคมี พลาสติก กลุ่มผู้ผลิตน้ำแข็ง ส่วนจะต้องปรับราคาสินค้าหรือไม่นั้น ขึ้นอยู่กับภาวะการแข่งขันที่ขณะนี้รุนแรงมาก บางรายต้องรับภาระต้นทุนเอง แต่หากอุตสาหกรรมไหนแข่งขันไม่รุนแรง ก็อาจจะผลักภาระให้ผู้บริโภคบ้าง เช่น กลุ่มผู้ผลิตน้ำแข็ง
นายเจน ยอมรับว่า ค่าไฟฟ้าเอฟทีที่ปรับขึ้นครั้งนี้ สะท้อนต้นทุนค่าเชื้อเพลิงที่สูงขึ้นผันแปรตามราคาน้ำมันตลาดโลก อย่างไรก็ตาม เพื่อลดภาระต้นทุนค่าเอฟทีที่จะเพิ่มขึ้นในงวดใหม่หรืออาจจะทำให้ค่าเอฟทีงวดหน้าลดลงได้ ได้เสนอไปยังคณะอนุกรรมการกำกับดูแลค่าไฟฟ้าและบริการว่า ควรเสนอรัฐบาลพิจารณายกเว้นภาษีสรรพสามิตน้ำมันเตาเพื่อการผลิตไฟฟ้าของ บริษัท กฟผ. จำกัด(มหาชน) และควรให้ บมจ.ปตท.พิจารณาปรับลดค่าผ่านท่อก๊าซธรรมชาติให้ต่ำลง เพราะมีการกำหนดผลตอบแทนการลงทุนของท่อก๊าซฯ ถึงร้อยละ 16-18 และปัจจุบันท่อก๊าซฯ เส้นที่ 1-2 ก็ใช้มานานถึง 20 ปี เต็มแล้ว เมื่อจะมีท่อก๊าซฯ เส้นที่ 3 เข้ามา ปริมาณก๊าซฯ ผ่านท่อก็เพิ่มขึ้น ความเสี่ยงการลงทุนน้อยลง ค่าผ่านท่อเฉลี่ยทั้งเส้นที่ 1,2 และ 3 ก็ควรจะลดลง
สำหรับสาเหตุที่เสนอให้มีการลดภาษีสรรพสามิตน้ำมันเตา เนื่องจากการใช้น้ำมันเตาเกิดจากท่อก๊าซฯ เต็ม กฟผ.ไม่สามารถใช้ก๊าซฯ ได้ จึงต้องหันมาใช้น้ำมันเตาผลิตไฟฟ้าแทนปีละ 2,000-3,000 ล้านลิตร หาก กฟผ.ไม่มีการใช้น้ำมันเตา รัฐก็จะไม่ได้รายได้จากภาษีน้ำมันเตาส่วนนี้อยู่แล้ว เพื่อลดภาระค่าไฟฟ้าก็ควรยกเว้นภาษีน้ำมันเตาที่มีการจัดเก็บในอัตราร้อยละ 5
นายเจน นำชัยศิริ รองประธานกรรมการบริหารสถาบันพลังงาน สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) ยอมรับว่า ค่าไฟฟ้าเอฟทีที่ปรับขึ้น 19.01 สตางค์/หน่วย เป็นการปรับขึ้นในอัตราสูงมากถึงร้อยละ 7-8 ส่งผลกระทบทำให้ต้นทุนอุตสาหกรรมโดยรวมเพิ่มขึ้นร้อยละ 1-2 โดยกลุ่มที่ได้รับผลกระทบหนักสุด คือกลุ่มที่ใช้ไฟฟ้าเป็นต้นทุนหลัก เช่น อุตสาหกรรมเหล็ก ปิโตรเคมี พลาสติก กลุ่มผู้ผลิตน้ำแข็ง ส่วนจะต้องปรับราคาสินค้าหรือไม่นั้น ขึ้นอยู่กับภาวะการแข่งขันที่ขณะนี้รุนแรงมาก บางรายต้องรับภาระต้นทุนเอง แต่หากอุตสาหกรรมไหนแข่งขันไม่รุนแรง ก็อาจจะผลักภาระให้ผู้บริโภคบ้าง เช่น กลุ่มผู้ผลิตน้ำแข็ง
นายเจน ยอมรับว่า ค่าไฟฟ้าเอฟทีที่ปรับขึ้นครั้งนี้ สะท้อนต้นทุนค่าเชื้อเพลิงที่สูงขึ้นผันแปรตามราคาน้ำมันตลาดโลก อย่างไรก็ตาม เพื่อลดภาระต้นทุนค่าเอฟทีที่จะเพิ่มขึ้นในงวดใหม่หรืออาจจะทำให้ค่าเอฟทีงวดหน้าลดลงได้ ได้เสนอไปยังคณะอนุกรรมการกำกับดูแลค่าไฟฟ้าและบริการว่า ควรเสนอรัฐบาลพิจารณายกเว้นภาษีสรรพสามิตน้ำมันเตาเพื่อการผลิตไฟฟ้าของ บริษัท กฟผ. จำกัด(มหาชน) และควรให้ บมจ.ปตท.พิจารณาปรับลดค่าผ่านท่อก๊าซธรรมชาติให้ต่ำลง เพราะมีการกำหนดผลตอบแทนการลงทุนของท่อก๊าซฯ ถึงร้อยละ 16-18 และปัจจุบันท่อก๊าซฯ เส้นที่ 1-2 ก็ใช้มานานถึง 20 ปี เต็มแล้ว เมื่อจะมีท่อก๊าซฯ เส้นที่ 3 เข้ามา ปริมาณก๊าซฯ ผ่านท่อก็เพิ่มขึ้น ความเสี่ยงการลงทุนน้อยลง ค่าผ่านท่อเฉลี่ยทั้งเส้นที่ 1,2 และ 3 ก็ควรจะลดลง
สำหรับสาเหตุที่เสนอให้มีการลดภาษีสรรพสามิตน้ำมันเตา เนื่องจากการใช้น้ำมันเตาเกิดจากท่อก๊าซฯ เต็ม กฟผ.ไม่สามารถใช้ก๊าซฯ ได้ จึงต้องหันมาใช้น้ำมันเตาผลิตไฟฟ้าแทนปีละ 2,000-3,000 ล้านลิตร หาก กฟผ.ไม่มีการใช้น้ำมันเตา รัฐก็จะไม่ได้รายได้จากภาษีน้ำมันเตาส่วนนี้อยู่แล้ว เพื่อลดภาระค่าไฟฟ้าก็ควรยกเว้นภาษีน้ำมันเตาที่มีการจัดเก็บในอัตราร้อยละ 5