ในปี 2548 เม็ดเงินโฆษณาผ่านสื่อมีมูลค่ารวม 88,931 ล้านบาท หรือคิดเป็นอัตราการเติบโตเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.7 ซึ่งนับเป็นอัตราการเติบโตที่ชะลอตัวลงเมื่อเทียบกับอัตราการเติบโตของเม็ดเงินโฆษณาผ่านสื่อในปี 2545-2547 ที่เติบโตต่อเนื่องเฉลี่ยร้อยละ 16 ต่อปี อีกทั้งยังนับเป็นระดับการเติบโตที่ต่ำที่สุดในรอบ 4-5 ปีด้วย โดยสื่อโฆษณาที่มีการเติบโตของเม็ดเงินโฆษณาชะลอตัวลงจากปี 2547 อย่างชัดเจนได้แก่สื่อหนังสือพิมพ์ที่เติบโตเพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 0.7(ขณะที่ในปี 2547 เติบโตร้อยละ 35.12) สื่อนิตยสารที่มีอัตราการเติบโตร้อยละ 8.45(ขณะที่ในปี 2547 เติบโตร้อยละ 34.2) และสื่อโทรทัศน์ที่แม้ว่าจะมีสัดส่วนมากถึงร้อยละ 56 ของเม็ดเงินโฆษณาโดยรวม แต่ก็เติบโตเพียงเล็กน้อยที่ระดับร้อยละ 6.03(ขณะที่ในปี 2547 เติบโตร้อยละ 11.55) ขณะที่สื่อนอกบ้าน(Out of Home Media)อันประกอบด้วยสื่อโรงภาพยนตร์ สื่อเคลื่อนที่ และสื่อป้ายโฆษณากลางแจ้ง กลับเติบโตเพิ่มขึ้นมากในระดับร้อยละ 27.8 ร้อยละ 23.1 และร้อยละ 15.1 ตามลำดับ โดยกลุ่มสินค้าอุปโภคบริโภคยังใช้งบมากที่สุดและมีอัตราการเติบโตอย่างต่อเนื่อง ขณะที่กลุ่มสื่อสารและเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ใช้งบประมาณลดลง
สำหรับสถานการณ์ธุรกิจโฆษณาในปี 2549 ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดว่าด้วยภาพรวมเศรษฐกิจไทยในปี 2549 ที่มีแนวโน้มขยายตัวในอัตราใกล้เคียงกับปี 2548 ประมาณร้อยละ 4.5-5.0 อันเนื่องมาจากปัจจัยด้านการใช้จ่ายใน และสถานการณ์การท่องเที่ยวก็มีแนวโน้มฟื้นตัวขึ้นในปี 2549 ด้วย ประกอบกับผู้ผลิตสินค้าและบริการยังต่างต้องเร่งอาศัยกลยุทธ์การโฆษณาเพื่อการกระตุ้นยอดขาย และในปี 2549 ยังมีมหกรรมฟุตบอลโลกที่เป็นไปได้ว่า กลุ่มเจ้าของสินค้าและบริการที่ไม่ได้เป็นผู้สนับสนุนอย่างเป็นทางการในฟุตบอลโลกครั้งนี้หลายรายน่าจะพยายามสร้างโอกาสในการมีส่วนร่วมกับบรรยากาศฟุตบอลโลกด้วยการดำเนินกลยุทธ์ต่างๆ ซึ่งรวมถึงการโฆษณาผ่านสื่อต่างๆเพื่อดึงดูดความสนใจจากผู้บริโภค ทำให้ทิศทางของธุรกิจโฆษณาในปี 2549 น่าจะเริ่มฟื้นตัวจากปีก่อน แต่ด้วยพฤติกรรมของผู้ผลิตสินค้าและบริการจำนวนไม่น้อยที่คาดว่าน่าจะยังมีการวางแผนการตลาดในส่วนของงบโฆษณาอย่างระมัดระวังต่อเนื่อง และการแข่งขันทางด้านราคาในวงการธุรกิจโฆษณาที่ยังมีอยู่ ศูนย์วิจัยกสิกรไทย จึงเห็นว่าเม็ดเงินโฆษณาโดยรวมในปี 2549 น่าจะมีอัตราการเติบโตในระดับร้อยละ 8-10 ซึ่งแม้ว่าจะเพิ่มขึ้นจากปี 2548 ที่เติบโตร้อยละ 5.7 แต่ยังต่ำกว่าอัตราการเติบโตเฉลี่ยในปี 2545-2547 ที่เติบโตในระดับร้อยละ 16 และหากพิจารณาแยกรายประเภทสื่อโฆษณา พบว่ามีรายละเอียดดังต่อไปนี้
สื่อโทรทัศน์ ในปี 2546-2547 การโฆษณาผ่านสื่อโทรทัศน์ขยายตัวต่อเนื่องในระดับร้อยละ 11-13 ต่อปี แต่ด้วยภาวะเศรษฐกิจของประเทศที่ค่อนข้างชะลอตัวและความเชื่อมั่นของผู้บริโภคก็ลดลงต่อเนื่องในปี 2548 ส่งผลให้เจ้าของสินค้าหลายรายต้องตัดงบโฆษณาลงเพื่อประหยัดค่าใช้จ่ายในปีดังกล่าว อีกทั้งเจ้าของสินค้าและบริการหลายรายก็มีความพิถีพิถันในการเลือกรายการที่จะให้การสนับสนุนมากขึ้น โดยมักจะเลือกเฉพาะรายการโทรทัศน์ที่มีคุณภาพและตรงเป้าหมายของเจ้าของสินค้าเป็นสำคัญมากขึ้น ส่งผลต่อเนื่องให้อัตราการเติบโตของเม็ดเงินโฆษณาผ่านสื่อโทรทัศน์ในปี 2548 ขยายตัวเพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 6.03 เท่านั้น โดยทั้งนี้ด้วยปัจจัยสนับสนุนจากการเติบโตของเศรษฐกิจ และความกดดันด้านราคาน้ำมันและเงินเฟ้อที่บรรเทาลง อีกทั้งเม็ดเงินโฆษณาภาครัฐยังมีแนวโน้มขยายตัวต่อเนื่อง รวมถึงในช่วงกลางปี 2549 จะมีการถ่ายทอดสดเกมการแข่งขันที่ได้รับความสนใจจากคนไทยค่อนข้างมากอย่างฟุตบอลโลก ทำให้ภาพรวมของการโฆษณาผ่านสื่อโทรทัศน์ในปี 2549 น่าจะฟื้นตัวจากปีก่อนด้วยอัตราการเติบโตในระดับที่สูงขึ้นเมื่อเทียบกับปี 2548 โดยคาดว่าน่าจะเติบโตในระดับร้อยละ 10 และสื่อโทรทัศน์จะยังคงครองความเป็นหนึ่งของสื่อโฆษณาที่มีการหมุนเวียนของเม็ดเงินสูงสุดในระดับสัดส่วนประมาณร้อยละ 50-60 ด้วย แต่ทั้งนี้คาดว่าภาวการณ์แข่งขันในปี 2549 ของสื่อโทรทัศน์น่าจะทวีความรุนแรงเพิ่มขึ้น โดยผู้ประกอบการสถานีโทรทัศน์หลายรายน่าจะต้องมีการปรับผังรายการใหม่เพื่อจูงใจผู้ประกอบการสินค้าและบริการต่างๆ ส่วนการปรับขึ้นค่าโฆษณาน่าจะมีการปรับขึ้นเฉพาะบางรายการที่ได้รับความนิยมเท่านั้น
สื่อวิทยุ ในปี 2548 เม็ดเงินโฆษณาผ่านสื่อวิทยุมีมูลค่า 7,055 ล้านบาท หรือเติบโตเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.99 ซึ่งเพิ่มขึ้นไม่สูงมากนักแต่ก็เป็นระดับอัตราการเติบโตที่ใกล้เคียงกับปี 2547 ที่เติบโตร้อยละ 2.81 ทั้งนี้ส่วนหนึ่งที่ทำให้อัตราการขยายตัวของสื่อวิทยุในปี 2548 ที่ผ่านมาค่อนข้างต่ำน่าจะเป็นผลมาจากสถานการณ์การแข่งขันที่ทวีความรุนแรงเพิ่มมากขึ้น ทำให้ต้องมีการแข่งขันทางด้านราคากันเพื่อรักษาฐานลูกค้าเดิมและเพิ่มลูกค้าใหม่ อีกทั้งผลกระทบจากสัญญาณรบกวนจากวิทยุชุมชนที่มีการจัดตั้งขึ้นเป็นจำนวนมากในช่วงครึ่งแรกปี 2548 ทำให้ลูกค้าที่ต้องการซื้อเวลาโฆษณาในช่วงเวลาดังกล่าวชะลอการซื้อเวลาโฆษณาไปก่อน โดยในช่วงครึ่งแรกปี 2548 เม็ดเงินโฆษณามีการหดตัวลดลงร้อยละ 9.18 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปี 2547 แต่ภายหลังจากที่ภาครัฐมีความเข้มงวดในการจัดการคลื่นแทรกดังกล่าวอย่างจริงจัง ทำให้เม็ดเงินโฆษณาในช่วงครึ่งหลังปี 2548 ฟื้นตัวขึ้นค่อนข้างมากจนเม็ดเงินโฆษณาขยายตัวเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 16.26 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปี 2547 สำหรับสถานการณ์ในปี 2549 คาดว่าสื่อวิทยุน่ายังคงมีการแข่งขันที่สูง ทำให้เม็ดเงินโฆษณาผ่านสื่อวิทยุน่าจะเติบโตในระดับที่ไม่สูงมากนัก แต่น่าจะสามารถฟื้นตัวขึ้นจากปี 2548 โดยคาดว่าน่าจะเติบโตที่ระดับร้อยละ 5- 7 และมีความเป็นไปได้ว่าผู้ประกอบการที่มีผลการดำเนินงานที่ดีขึ้นก็อาจจะมีการปรับขึ้นค่าโฆษณา ควบคู่กับการจัดกิจกรรมต่างๆเพิ่มขึ้นเพื่อดึงดูดและรักษาฐานผู้ฟังกันอย่างคึกคัก
สื่อหนังสือพิมพ์ ในปี 2548 สื่อหนังสือพิมพ์เป็นสื่อที่มีเม็ดเงินโฆษณาชะลอตัวอย่างชัดเจน โดยมีการเติบโตเพียงร้อยละ 0.72 เท่านั้น ขณะที่ในปี 2547 สื่อหนังสือพิมพ์มีการเติบโตเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 35.12 ซึ่งงบโฆษณาที่ลดลงนั้นเป็นผลสืบเนื่องจากตัวแปรสำคัญอย่างการชะลอตัวของเศรษฐกิจ และราคาน้ำมันที่อยู่ในระดับสูง ทำให้ผู้ประกอบการหลายรายต้องเร่งหาวิธีการปรับตัวโดยเฉพาะการพยายามลดค่าใช้จ่ายในส่วนที่สามารถลดได้ เช่นการประหยัดพลังงาน และการลด/ตัดงบโฆษณาผ่านสื่อโฆษณา ซึ่งสื่อหนังสือพิมพ์ได้รับผลกระทบค่อนข้างสื่อสาร ขณะที่ในปี 2549 คาดว่าสื่อหนังสือพิมพ์น่าจะสามารถฟื้นตัวได้ระดับหนึ่งเมื่อเทียบกับปี 2548 เนื่องจากกระแสการแข่งขันฟุตบอลโลก 2006 ซึ่งจะเริ่มต้นในช่วงกลางปี 2549 เพราะว่ากีฬาฟุตบอลเป็นกีฬาที่คนไทยให้ความสนใจค่อนข้างมาก ทำให้สื่อที่มีศักยภาพในการเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้มากด้วยราคาจำหน่ายต่อหน่วยที่ไม่แพงมากนักอย่างหนังสือพิมพ์รายวัน และหนังสือพิมพ์กีฬา ที่มักจะมีการรายงานผลการแข่งขันของฟุตบอลในแต่ละวัน การวิเคราะห์เกมการแข่งขันในแต่ละนัดจากผู้เชี่ยวชาญในวงการกีฬาฟุตบอลทั้งเมืองไทยและต่างประเทศ รวมทั้งรายละเอียดเกี่ยวกับสนามแข่งขัน ทีมฟุตบอลแต่ละทีม และความเคลื่อนไหวของแฟนบอลต่างประเทศก็น่าจะได้รับความสนใจด้วย ส่งผลกระตุ้นให้ธุรกิจโฆษณาผ่านสื่อหนังสือพิมพ์ในช่วงเวลาดังกล่าวน่าจะมีความคึกคักมากขึ้นในปี 2549 นอกจากนี้ท่ามกลางกระแสการแข่งขันที่ทวีความรุนแรงเพิ่มขึ้น สื่อหนังสือพิมพ์หลายฉบับต่างต้องมีแผนการปรับตัว โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อขยายฐานผู้อ่านให้กว้างขวางยิ่งขึ้น จึงเป็นไปได้ว่าเม็ดเงินโฆษณาผ่านสื่อหนังสือพิมพ์ในปี 2549 น่าจะสามารถไต่ระดับจนมีอัตราการเติบโตในระดับที่สูงกว่าปีก่อนได้ หรือเติบโตเกินกว่าร้อยละ 4
สื่อนิตยสาร เป็นอีกสื่อที่มีการชะลอลงในปี 2548 โดยมีอัตราการเติบโตเพียงร้อยละ 8.45 ขณะที่ในปี 2547 เติบโตถึงร้อยละ 34.2 สำหรับในปี 2549 เม็ดเงินโฆษณาผ่านสื่อนิตยสารน่าจะเติบโตเพิ่มขึ้นในระดับร้อยละ 8-10 ซึ่งค่อนข้างจะใกล้เคียงกับปี 2548 ตามแนวโน้มการปรับตัวในทิศทางบวกของภาวะเศรษฐกิจในปี 2549 และสินค้าประเภทผลิตภัณฑ์บำรุงผิว และเครื่องสำอางที่น่าจะยังมีการทุ่มงบประมาณผ่านสื่อประเภทนี้ที่มีการกำหนดกลุ่มเป้าหมายค่อนข้างชัดเจนอย่างต่อเนื่อง เพื่อแนะนำสินค้าใหม่หรือการตอกย้ำสินค้าให้เป็นที่รู้จักในวงกว้างยิ่งขึ้น ในขณะเดียวกันก็มีความเป็นไปได้ว่าการแข่งขันก็ยังคงทวีความเข้มข้นจากทั้งผู้ประกอบการรายใหม่และรายเดิม อย่างไรก็ตาม คาดว่าจำนวนนิตยสารออกใหม่ทั้งในประเทศและที่ซื้อลิขสิทธิ์มาจากต่างประเทศน่าจะเพิ่มขึ้นไปไม่มากนัก หลังจากที่ขยายตัวเพิ่มขึ้นมากแล้วในปี 2548 ที่ผ่านมา
สำหรับสถานการณ์ธุรกิจโฆษณาในปี 2549 ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดว่าด้วยภาพรวมเศรษฐกิจไทยในปี 2549 ที่มีแนวโน้มขยายตัวในอัตราใกล้เคียงกับปี 2548 ประมาณร้อยละ 4.5-5.0 อันเนื่องมาจากปัจจัยด้านการใช้จ่ายใน และสถานการณ์การท่องเที่ยวก็มีแนวโน้มฟื้นตัวขึ้นในปี 2549 ด้วย ประกอบกับผู้ผลิตสินค้าและบริการยังต่างต้องเร่งอาศัยกลยุทธ์การโฆษณาเพื่อการกระตุ้นยอดขาย และในปี 2549 ยังมีมหกรรมฟุตบอลโลกที่เป็นไปได้ว่า กลุ่มเจ้าของสินค้าและบริการที่ไม่ได้เป็นผู้สนับสนุนอย่างเป็นทางการในฟุตบอลโลกครั้งนี้หลายรายน่าจะพยายามสร้างโอกาสในการมีส่วนร่วมกับบรรยากาศฟุตบอลโลกด้วยการดำเนินกลยุทธ์ต่างๆ ซึ่งรวมถึงการโฆษณาผ่านสื่อต่างๆเพื่อดึงดูดความสนใจจากผู้บริโภค ทำให้ทิศทางของธุรกิจโฆษณาในปี 2549 น่าจะเริ่มฟื้นตัวจากปีก่อน แต่ด้วยพฤติกรรมของผู้ผลิตสินค้าและบริการจำนวนไม่น้อยที่คาดว่าน่าจะยังมีการวางแผนการตลาดในส่วนของงบโฆษณาอย่างระมัดระวังต่อเนื่อง และการแข่งขันทางด้านราคาในวงการธุรกิจโฆษณาที่ยังมีอยู่ ศูนย์วิจัยกสิกรไทย จึงเห็นว่าเม็ดเงินโฆษณาโดยรวมในปี 2549 น่าจะมีอัตราการเติบโตในระดับร้อยละ 8-10 ซึ่งแม้ว่าจะเพิ่มขึ้นจากปี 2548 ที่เติบโตร้อยละ 5.7 แต่ยังต่ำกว่าอัตราการเติบโตเฉลี่ยในปี 2545-2547 ที่เติบโตในระดับร้อยละ 16 และหากพิจารณาแยกรายประเภทสื่อโฆษณา พบว่ามีรายละเอียดดังต่อไปนี้
สื่อโทรทัศน์ ในปี 2546-2547 การโฆษณาผ่านสื่อโทรทัศน์ขยายตัวต่อเนื่องในระดับร้อยละ 11-13 ต่อปี แต่ด้วยภาวะเศรษฐกิจของประเทศที่ค่อนข้างชะลอตัวและความเชื่อมั่นของผู้บริโภคก็ลดลงต่อเนื่องในปี 2548 ส่งผลให้เจ้าของสินค้าหลายรายต้องตัดงบโฆษณาลงเพื่อประหยัดค่าใช้จ่ายในปีดังกล่าว อีกทั้งเจ้าของสินค้าและบริการหลายรายก็มีความพิถีพิถันในการเลือกรายการที่จะให้การสนับสนุนมากขึ้น โดยมักจะเลือกเฉพาะรายการโทรทัศน์ที่มีคุณภาพและตรงเป้าหมายของเจ้าของสินค้าเป็นสำคัญมากขึ้น ส่งผลต่อเนื่องให้อัตราการเติบโตของเม็ดเงินโฆษณาผ่านสื่อโทรทัศน์ในปี 2548 ขยายตัวเพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 6.03 เท่านั้น โดยทั้งนี้ด้วยปัจจัยสนับสนุนจากการเติบโตของเศรษฐกิจ และความกดดันด้านราคาน้ำมันและเงินเฟ้อที่บรรเทาลง อีกทั้งเม็ดเงินโฆษณาภาครัฐยังมีแนวโน้มขยายตัวต่อเนื่อง รวมถึงในช่วงกลางปี 2549 จะมีการถ่ายทอดสดเกมการแข่งขันที่ได้รับความสนใจจากคนไทยค่อนข้างมากอย่างฟุตบอลโลก ทำให้ภาพรวมของการโฆษณาผ่านสื่อโทรทัศน์ในปี 2549 น่าจะฟื้นตัวจากปีก่อนด้วยอัตราการเติบโตในระดับที่สูงขึ้นเมื่อเทียบกับปี 2548 โดยคาดว่าน่าจะเติบโตในระดับร้อยละ 10 และสื่อโทรทัศน์จะยังคงครองความเป็นหนึ่งของสื่อโฆษณาที่มีการหมุนเวียนของเม็ดเงินสูงสุดในระดับสัดส่วนประมาณร้อยละ 50-60 ด้วย แต่ทั้งนี้คาดว่าภาวการณ์แข่งขันในปี 2549 ของสื่อโทรทัศน์น่าจะทวีความรุนแรงเพิ่มขึ้น โดยผู้ประกอบการสถานีโทรทัศน์หลายรายน่าจะต้องมีการปรับผังรายการใหม่เพื่อจูงใจผู้ประกอบการสินค้าและบริการต่างๆ ส่วนการปรับขึ้นค่าโฆษณาน่าจะมีการปรับขึ้นเฉพาะบางรายการที่ได้รับความนิยมเท่านั้น
สื่อวิทยุ ในปี 2548 เม็ดเงินโฆษณาผ่านสื่อวิทยุมีมูลค่า 7,055 ล้านบาท หรือเติบโตเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.99 ซึ่งเพิ่มขึ้นไม่สูงมากนักแต่ก็เป็นระดับอัตราการเติบโตที่ใกล้เคียงกับปี 2547 ที่เติบโตร้อยละ 2.81 ทั้งนี้ส่วนหนึ่งที่ทำให้อัตราการขยายตัวของสื่อวิทยุในปี 2548 ที่ผ่านมาค่อนข้างต่ำน่าจะเป็นผลมาจากสถานการณ์การแข่งขันที่ทวีความรุนแรงเพิ่มมากขึ้น ทำให้ต้องมีการแข่งขันทางด้านราคากันเพื่อรักษาฐานลูกค้าเดิมและเพิ่มลูกค้าใหม่ อีกทั้งผลกระทบจากสัญญาณรบกวนจากวิทยุชุมชนที่มีการจัดตั้งขึ้นเป็นจำนวนมากในช่วงครึ่งแรกปี 2548 ทำให้ลูกค้าที่ต้องการซื้อเวลาโฆษณาในช่วงเวลาดังกล่าวชะลอการซื้อเวลาโฆษณาไปก่อน โดยในช่วงครึ่งแรกปี 2548 เม็ดเงินโฆษณามีการหดตัวลดลงร้อยละ 9.18 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปี 2547 แต่ภายหลังจากที่ภาครัฐมีความเข้มงวดในการจัดการคลื่นแทรกดังกล่าวอย่างจริงจัง ทำให้เม็ดเงินโฆษณาในช่วงครึ่งหลังปี 2548 ฟื้นตัวขึ้นค่อนข้างมากจนเม็ดเงินโฆษณาขยายตัวเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 16.26 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปี 2547 สำหรับสถานการณ์ในปี 2549 คาดว่าสื่อวิทยุน่ายังคงมีการแข่งขันที่สูง ทำให้เม็ดเงินโฆษณาผ่านสื่อวิทยุน่าจะเติบโตในระดับที่ไม่สูงมากนัก แต่น่าจะสามารถฟื้นตัวขึ้นจากปี 2548 โดยคาดว่าน่าจะเติบโตที่ระดับร้อยละ 5- 7 และมีความเป็นไปได้ว่าผู้ประกอบการที่มีผลการดำเนินงานที่ดีขึ้นก็อาจจะมีการปรับขึ้นค่าโฆษณา ควบคู่กับการจัดกิจกรรมต่างๆเพิ่มขึ้นเพื่อดึงดูดและรักษาฐานผู้ฟังกันอย่างคึกคัก
สื่อหนังสือพิมพ์ ในปี 2548 สื่อหนังสือพิมพ์เป็นสื่อที่มีเม็ดเงินโฆษณาชะลอตัวอย่างชัดเจน โดยมีการเติบโตเพียงร้อยละ 0.72 เท่านั้น ขณะที่ในปี 2547 สื่อหนังสือพิมพ์มีการเติบโตเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 35.12 ซึ่งงบโฆษณาที่ลดลงนั้นเป็นผลสืบเนื่องจากตัวแปรสำคัญอย่างการชะลอตัวของเศรษฐกิจ และราคาน้ำมันที่อยู่ในระดับสูง ทำให้ผู้ประกอบการหลายรายต้องเร่งหาวิธีการปรับตัวโดยเฉพาะการพยายามลดค่าใช้จ่ายในส่วนที่สามารถลดได้ เช่นการประหยัดพลังงาน และการลด/ตัดงบโฆษณาผ่านสื่อโฆษณา ซึ่งสื่อหนังสือพิมพ์ได้รับผลกระทบค่อนข้างสื่อสาร ขณะที่ในปี 2549 คาดว่าสื่อหนังสือพิมพ์น่าจะสามารถฟื้นตัวได้ระดับหนึ่งเมื่อเทียบกับปี 2548 เนื่องจากกระแสการแข่งขันฟุตบอลโลก 2006 ซึ่งจะเริ่มต้นในช่วงกลางปี 2549 เพราะว่ากีฬาฟุตบอลเป็นกีฬาที่คนไทยให้ความสนใจค่อนข้างมาก ทำให้สื่อที่มีศักยภาพในการเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้มากด้วยราคาจำหน่ายต่อหน่วยที่ไม่แพงมากนักอย่างหนังสือพิมพ์รายวัน และหนังสือพิมพ์กีฬา ที่มักจะมีการรายงานผลการแข่งขันของฟุตบอลในแต่ละวัน การวิเคราะห์เกมการแข่งขันในแต่ละนัดจากผู้เชี่ยวชาญในวงการกีฬาฟุตบอลทั้งเมืองไทยและต่างประเทศ รวมทั้งรายละเอียดเกี่ยวกับสนามแข่งขัน ทีมฟุตบอลแต่ละทีม และความเคลื่อนไหวของแฟนบอลต่างประเทศก็น่าจะได้รับความสนใจด้วย ส่งผลกระตุ้นให้ธุรกิจโฆษณาผ่านสื่อหนังสือพิมพ์ในช่วงเวลาดังกล่าวน่าจะมีความคึกคักมากขึ้นในปี 2549 นอกจากนี้ท่ามกลางกระแสการแข่งขันที่ทวีความรุนแรงเพิ่มขึ้น สื่อหนังสือพิมพ์หลายฉบับต่างต้องมีแผนการปรับตัว โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อขยายฐานผู้อ่านให้กว้างขวางยิ่งขึ้น จึงเป็นไปได้ว่าเม็ดเงินโฆษณาผ่านสื่อหนังสือพิมพ์ในปี 2549 น่าจะสามารถไต่ระดับจนมีอัตราการเติบโตในระดับที่สูงกว่าปีก่อนได้ หรือเติบโตเกินกว่าร้อยละ 4
สื่อนิตยสาร เป็นอีกสื่อที่มีการชะลอลงในปี 2548 โดยมีอัตราการเติบโตเพียงร้อยละ 8.45 ขณะที่ในปี 2547 เติบโตถึงร้อยละ 34.2 สำหรับในปี 2549 เม็ดเงินโฆษณาผ่านสื่อนิตยสารน่าจะเติบโตเพิ่มขึ้นในระดับร้อยละ 8-10 ซึ่งค่อนข้างจะใกล้เคียงกับปี 2548 ตามแนวโน้มการปรับตัวในทิศทางบวกของภาวะเศรษฐกิจในปี 2549 และสินค้าประเภทผลิตภัณฑ์บำรุงผิว และเครื่องสำอางที่น่าจะยังมีการทุ่มงบประมาณผ่านสื่อประเภทนี้ที่มีการกำหนดกลุ่มเป้าหมายค่อนข้างชัดเจนอย่างต่อเนื่อง เพื่อแนะนำสินค้าใหม่หรือการตอกย้ำสินค้าให้เป็นที่รู้จักในวงกว้างยิ่งขึ้น ในขณะเดียวกันก็มีความเป็นไปได้ว่าการแข่งขันก็ยังคงทวีความเข้มข้นจากทั้งผู้ประกอบการรายใหม่และรายเดิม อย่างไรก็ตาม คาดว่าจำนวนนิตยสารออกใหม่ทั้งในประเทศและที่ซื้อลิขสิทธิ์มาจากต่างประเทศน่าจะเพิ่มขึ้นไปไม่มากนัก หลังจากที่ขยายตัวเพิ่มขึ้นมากแล้วในปี 2548 ที่ผ่านมา