ประธานเจโทรเปิดเผยผลสำรวจทางเศรษฐกิจของบริษัทร่วมทุนญี่ปุ่นในไทย คาดว่าเศรษฐกิจตลอดปีนี้จะดีกว่าปีที่ผ่านมา โดยจะมีการลงทุนเพิ่มขึ้นในหลายอุตสาหกรรม แต่จะมีการปรับตัวในเรื่องอุปกรณ์ประหยัดพลังงานมาใช้ เพื่อลดผลกระทบจากปัญหาราคาน้ำมัน
นายอะสึโอะ คุโรดะ ประธานองค์การส่งเสริมการค้าต่างประเทศของญี่ปุ่น หรือเจโทร แถลงผลการสำรวจแนวโน้มทางเศรษฐกิจของบริษัทร่วมทุนญี่ปุ่นในไทยว่า บริษัทร่วมทุนญี่ปุ่นในประเทศไทยมองว่าแนวโน้มทางเศรษฐกิจในภาพรวมครึ่งแรกปีนี้จะดีกว่าครึ่งแรกปีที่ผ่านมา ซึ่งปีที่ผ่านมาได้รับผลกระทบจากราคาน้ำมันที่สูงขึ้น ทำให้วัตถุดิบราคาปรับตัวเพิ่มขึ้นส่งผลกระทบต่อทุกอุตสาหกรรมในด้านอุตสาหกรรมอาหารทะเลได้รับผลกระทบมากเช่นกัน ขณะที่อุตสาหกรรมรถยนต์ขยายตัวค่อนข้างดีจากแนวโน้มที่รัฐบาลมีนโยบายให้ประเทศไทยเป็นดีทรอยต์ออฟเอเชีย ซึ่งบริษัทญี่ปุ่นเข้ามาลงทุนผลิตรถยนต์ในประเทศไทย ซึ่งปีที่ผ่านมาสามารถผลิตรถยนต์ได้เกิน 1 ล้านคันแล้ว
ทั้งนี้ ในครึ่งปีแรกปี 2549 เกือบทุกอุตสาหกรรมจะดีขึ้นสาเหตุมาจากเศรษฐกิจดีขึ้นจากการขยายตัวของการผลิตอุตสาหกรรมรถยนต์ ส่งผลให้อุตสาหกรรมอื่นๆ ขยายตัวตามอย่างมาก ในขณะนี้อุตสาหรรมเคมี เหล็ก โลหะ เครื่องจักรทั่วไป ตลอดจนอุตสาหกรรมยางมีแนวโน้มเติบโตขึ้น ส่วนอุตสาหกรรมอื่นก็เติบโตตามเช่นกัน ขณะที่อุตสาหกรรมอาหารภาวะที่เข้ามากระทบได้คลี่คลายแล้วในปีนี้ ด้านอุตสาหกรรมสิ่งทอจะมีการผลิตเพิ่มขึ้น
ประธานเจโทร กล่าวว่า ปีนี้นักลงทุนญี่ปุ่นที่ร่วมทุนทำธุรกิจในไทยระบุว่าจะลงทุนเพิ่มขึ้นร้อยละ 15.7 เมื่อเทียบกับปีก่อน โดยอุตสาหกรรมที่จะลงทุนเพิ่มขึ้น ได้แก่ สิ่งทอ เหล็ก โลหะ เครื่องจักรที่ใช้ในการขนส่ง และอุตสาหกรรมรถยนต์ก็จะลงทุนเพิ่มขึ้นเช่นกันทั้งโตโยต้า ฮอนด้า และเดนสุ
ทั้งนี้ ตัวเลขการลงทุนจากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) ระบุว่าในปีที่ผ่านมาญี่ปุ่นเข้ามาลงทุนในไทยรวม 171,800 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 36.4 เมื่อเทียบกับปี 2547 และโดยภาพรวมแล้วนักลงทุนญี่ปุ่นมีสัดส่วนการลงทุนคิดเป็นร้อยละ 52.7 ของการลงทุนทั้งหมดในประเทศไทย
สำหรับปัญหาในด้านการบริหารงานที่บริษัทร่วมทุนในไทยเห็นว่ากระทบมากที่สุด คือ การแข่งขันกับบริษัทอื่นที่นับว่าจะทวีความรุนแรงมากขึ้น รองลงมาคือปัญหาราคาวัตถุดิบ และปัญหาการขาดแคลนบุคลากร ซึ่งรัฐบาลไทยจำเป็นต้องพยายามแก้ไขปัญหานี้ให้ได้ ซึ่งผลจากความร่วมมือทางเศรษฐกิจ เจโทร ได้ร่วมมือกับทางการไทยที่จะตั้งสถาบันอุดมศึกษาเพื่อพัฒนาบุคลากรในด้านเทคโนโลยีอุตสาหกรรม และเทคโนโลยีการบริหารจัดการ โดยใช้ชื่อสถาบันว่าสถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น ส่วนอัตราแลกเปลี่ยน บริษัทร่วมทุนญี่ปุ่นส่วนน้อยที่มองว่าจะกระทบธุรกิจ สำหรับผลกระทบจากราคาน้ำมันดิบที่เพิ่มขึ้นนั้น จากการสำรวจพบว่าเกินกว่าร้อยละ 50 บริษัทร่วมทุนญี่ปุ่นในไทยได้รับผลกระทบ โดยอุตสาหกรรมที่กระทบมาก คือ เคมี ยาง สิ่งทอ การขนส่งและสื่อสาร วัตถุดิบที่เกี่ยวข้องกับน้ำมันทำให้มีราคาเพิ่มขึ้นไปด้วย
สำหรับมาตรการรองรับผลกระทบจากราคาน้ำมันที่เพิ่มขึ้นนั้น ธุรกิจร่วมทุนญี่ปุ่นในไทยระบุว่าได้ใช้วิธีการประหยัดไฟฟ้าคิดเป็นร้อยละ 55 ขณะเดียวกันมีการทบทวนกระจายแหล่งซื้อวัตถุดิบร้อยละ 37 อย่างไรก็ตาม จากการสำรวจพบว่าร้อยละ 40 ยังไม่มีการปรับราคาสินค้าและธุรกิจต่างๆ มีแผนที่จะนำอุปกรณ์ประหยัดพลังงานมาใช้ สำหรับภาพรวมเศรษฐกิจตลอดปีนี้คาดว่าจะดีกว่าปีที่ผ่านมา ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) คาดว่าจะเติบโตร้อยละ 4.7-5.7
นายอะสึโอะ คุโรดะ ประธานองค์การส่งเสริมการค้าต่างประเทศของญี่ปุ่น หรือเจโทร แถลงผลการสำรวจแนวโน้มทางเศรษฐกิจของบริษัทร่วมทุนญี่ปุ่นในไทยว่า บริษัทร่วมทุนญี่ปุ่นในประเทศไทยมองว่าแนวโน้มทางเศรษฐกิจในภาพรวมครึ่งแรกปีนี้จะดีกว่าครึ่งแรกปีที่ผ่านมา ซึ่งปีที่ผ่านมาได้รับผลกระทบจากราคาน้ำมันที่สูงขึ้น ทำให้วัตถุดิบราคาปรับตัวเพิ่มขึ้นส่งผลกระทบต่อทุกอุตสาหกรรมในด้านอุตสาหกรรมอาหารทะเลได้รับผลกระทบมากเช่นกัน ขณะที่อุตสาหกรรมรถยนต์ขยายตัวค่อนข้างดีจากแนวโน้มที่รัฐบาลมีนโยบายให้ประเทศไทยเป็นดีทรอยต์ออฟเอเชีย ซึ่งบริษัทญี่ปุ่นเข้ามาลงทุนผลิตรถยนต์ในประเทศไทย ซึ่งปีที่ผ่านมาสามารถผลิตรถยนต์ได้เกิน 1 ล้านคันแล้ว
ทั้งนี้ ในครึ่งปีแรกปี 2549 เกือบทุกอุตสาหกรรมจะดีขึ้นสาเหตุมาจากเศรษฐกิจดีขึ้นจากการขยายตัวของการผลิตอุตสาหกรรมรถยนต์ ส่งผลให้อุตสาหกรรมอื่นๆ ขยายตัวตามอย่างมาก ในขณะนี้อุตสาหรรมเคมี เหล็ก โลหะ เครื่องจักรทั่วไป ตลอดจนอุตสาหกรรมยางมีแนวโน้มเติบโตขึ้น ส่วนอุตสาหกรรมอื่นก็เติบโตตามเช่นกัน ขณะที่อุตสาหกรรมอาหารภาวะที่เข้ามากระทบได้คลี่คลายแล้วในปีนี้ ด้านอุตสาหกรรมสิ่งทอจะมีการผลิตเพิ่มขึ้น
ประธานเจโทร กล่าวว่า ปีนี้นักลงทุนญี่ปุ่นที่ร่วมทุนทำธุรกิจในไทยระบุว่าจะลงทุนเพิ่มขึ้นร้อยละ 15.7 เมื่อเทียบกับปีก่อน โดยอุตสาหกรรมที่จะลงทุนเพิ่มขึ้น ได้แก่ สิ่งทอ เหล็ก โลหะ เครื่องจักรที่ใช้ในการขนส่ง และอุตสาหกรรมรถยนต์ก็จะลงทุนเพิ่มขึ้นเช่นกันทั้งโตโยต้า ฮอนด้า และเดนสุ
ทั้งนี้ ตัวเลขการลงทุนจากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) ระบุว่าในปีที่ผ่านมาญี่ปุ่นเข้ามาลงทุนในไทยรวม 171,800 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 36.4 เมื่อเทียบกับปี 2547 และโดยภาพรวมแล้วนักลงทุนญี่ปุ่นมีสัดส่วนการลงทุนคิดเป็นร้อยละ 52.7 ของการลงทุนทั้งหมดในประเทศไทย
สำหรับปัญหาในด้านการบริหารงานที่บริษัทร่วมทุนในไทยเห็นว่ากระทบมากที่สุด คือ การแข่งขันกับบริษัทอื่นที่นับว่าจะทวีความรุนแรงมากขึ้น รองลงมาคือปัญหาราคาวัตถุดิบ และปัญหาการขาดแคลนบุคลากร ซึ่งรัฐบาลไทยจำเป็นต้องพยายามแก้ไขปัญหานี้ให้ได้ ซึ่งผลจากความร่วมมือทางเศรษฐกิจ เจโทร ได้ร่วมมือกับทางการไทยที่จะตั้งสถาบันอุดมศึกษาเพื่อพัฒนาบุคลากรในด้านเทคโนโลยีอุตสาหกรรม และเทคโนโลยีการบริหารจัดการ โดยใช้ชื่อสถาบันว่าสถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น ส่วนอัตราแลกเปลี่ยน บริษัทร่วมทุนญี่ปุ่นส่วนน้อยที่มองว่าจะกระทบธุรกิจ สำหรับผลกระทบจากราคาน้ำมันดิบที่เพิ่มขึ้นนั้น จากการสำรวจพบว่าเกินกว่าร้อยละ 50 บริษัทร่วมทุนญี่ปุ่นในไทยได้รับผลกระทบ โดยอุตสาหกรรมที่กระทบมาก คือ เคมี ยาง สิ่งทอ การขนส่งและสื่อสาร วัตถุดิบที่เกี่ยวข้องกับน้ำมันทำให้มีราคาเพิ่มขึ้นไปด้วย
สำหรับมาตรการรองรับผลกระทบจากราคาน้ำมันที่เพิ่มขึ้นนั้น ธุรกิจร่วมทุนญี่ปุ่นในไทยระบุว่าได้ใช้วิธีการประหยัดไฟฟ้าคิดเป็นร้อยละ 55 ขณะเดียวกันมีการทบทวนกระจายแหล่งซื้อวัตถุดิบร้อยละ 37 อย่างไรก็ตาม จากการสำรวจพบว่าร้อยละ 40 ยังไม่มีการปรับราคาสินค้าและธุรกิจต่างๆ มีแผนที่จะนำอุปกรณ์ประหยัดพลังงานมาใช้ สำหรับภาพรวมเศรษฐกิจตลอดปีนี้คาดว่าจะดีกว่าปีที่ผ่านมา ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) คาดว่าจะเติบโตร้อยละ 4.7-5.7