"วีรพงษ์ รามางกูร" ระบุเศรษฐกิจไทย ปี 2549 เติบโตร้อยละ 5.5 ชี้ปัจจัยเสี่ยงราคาน้ำมันและอัตราดอกเบี้ยไม่รุนแรง ขณะที่ดุลบัญชีเดินสะพัดจะไม่ขาดดุลมากอย่างที่คาดการณ์ เพราะการส่งออกและการท่องเที่ยว รวมถึงการลงทุนทั้งภาครัฐและเอกชนจะมีการเติบโตต่อเนื่อง ย้ำภาวะค่าเงินบาทแข็งเป็นเหตุการณ์ระยะสั้น มั่นใจ ธปท. สามารถดูแลให้มีเสถียรภาพได้
นายวีรพงษ์ รามางกูร อดีตรองนากรัฐมนตรี และที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงคลัง กล่าวถึงอัตราแลกเปลี่ยนค่าเงินบาทในปี 2549 ว่า น่าจะมีเสถียรภาพ เพราะดุลบัญชีเดินสะพัดของประเทศไทยจะขาดดุลไม่มากอย่างที่มีการคาดการณ์ เนื่องจากเศรษฐกิจจะมีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ตาม การที่ค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้นในช่วงนี้ เพราะค่าเงินดอลลาร์สหรัฐอ่อนลง ขณะที่ค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้นตามเงินภูมิภาคเอเชีย และจากการที่มีเงินทุนไหลเข้าจากต่างประเทศเพื่อเข้ามาซื้อหุ้นในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) ซึ่งการแข็งค่าของเงินบาทน่าจะเป็นเหตุการณ์ชั่วคราว และเชื่อว่าธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) จะดูแลให้มีเสถียรภาพเป็นอย่างดี
ส่วนค่าเงินหยวนของจีน ยังไม่เห็นมีท่าทีว่าจีนจะปรับค่าเงินหยวน และแม้จะมีการปรับค่าเงินหยวนแข็งค่าขึ้นก็ไม่น่าจะมีผลกระทบอะไรต่อประเทศไทยมากนัก อาจจะทำให้การส่งออกของไทยได้รับผลดีด้วยซ้ำไป จึงไม่มีอะไรน่ากังวล
นายวีรพงษ์ กล่าวอีกว่า สำหรับภาพรวมเศรษฐกิจไทยปีนี้ เชื่อว่าอัตราการเติบโตจะอยู่ที่ร้อยละ 5.5 เนื่องจากปัจจัยเสี่ยง เช่น ราคาน้ำมันจะไม่รุนแรงเหมือนปีที่แล้ว โดยราคาน้ำมันจะทรงตัวในระดับสูงในไตรมาส 1 และอ่อนตัวลงในครึ่งปีหลัง และเงินเฟ้อแม้จะอยู่ในระดับสูง แต่จะต่ำกว่าไตรมาส 4 ปี 2548 และช่วงครึ่งปีหลัง คาดว่าอัตราดอกเบี้ยจะมีแนวโน้มลดลง เพราะสหรัฐคงไม่ปรับขึ้นดอกเบี้ยมากเหมือนปีที่ผ่านมา ขณะที่การส่งออกสินค้าจะได้ราคาเพิ่มขึ้น แม้ว่าปริมาณอาจจะเพิ่มไม่มากทั้งสินค้าเกษตร อุตสาหกรรม โดยเฉพาะรถยนต์และชิ้นส่วน จะได้รับอานิสงส์ดีอย่างมาก ถ้าการเจรจาเปิดเขตการค้าเสรี (เอฟทีเอ) ไทย-ญี่ปุ่น ประสบความสำเร็จ ขณะที่การท่องเที่ยวจะกลับมาคึกคัก
นอกจากนี้ ยังมีปัจจัยการลงทุนของรัฐบาลในโครงสร้างพื้นฐาน ซึ่งถ้าหากดำเนินการได้เร็วก็จะยิ่งส่งผลดีต่อเศรษฐกิจ แต่จะต้องดำเนินการอย่างโปร่งใสไม่ให้เกิดการคอร์รัปชั่นอย่างที่ประชาชนมีความกังวล สำหรับตราสารหนี้ระยะยาวในปีนี้จะเริ่มตื่นตัวมากขึ้น ภาวะการเงินจะเข้าสู่ภาวะการตึงตัว เนื่องจากสภาพคล่องลดลงและธนาคารพาณิชย์เริ่มมีการระดมเงินฝากเพื่อการปล่อยสินเชื่อ การใช้กำลังการผลิตภาคอุตสาหกรรม ปีที่แล้วอยู่ในระดับสูงกว่าร้อยละ 70 ทำให้ภาคเอกชนน่าจะขยายการลงทุนต่อเนื่อง ขณะที่การปล่อยสินเชื่อของสถาบันการเงินสัดส่วนสินเชื่อต่อเงินฝากอยู่ในภาวะที่สมดุลประมาณร้อยละ 90 ดังนั้น ภาพรวมเศรษฐกิจไทยปีนี้จะดีกว่าปีที่แล้วแน่นอน ขณะที่ฐานะการคลังอยู่ในภาวะที่มั่นคง เนื่องจากมีทุนสำรองระหว่างประเทศสูงถึง 53,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ มากกว่าหนี้ต่างประเทศ ซึ่งถือว่าเป็นครั้งแรกที่ตั้งประเทศไทยมา ขณะที่หนี้ระยะสั้นมีแค่ 1 ใน 3 ของจำนวนหนี้ทั้งหมด จึงถือได้ว่าภาคการเงินและภาคการคลังค่อนข้างมีความมั่นคง
นายวีรพงษ์ รามางกูร อดีตรองนากรัฐมนตรี และที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงคลัง กล่าวถึงอัตราแลกเปลี่ยนค่าเงินบาทในปี 2549 ว่า น่าจะมีเสถียรภาพ เพราะดุลบัญชีเดินสะพัดของประเทศไทยจะขาดดุลไม่มากอย่างที่มีการคาดการณ์ เนื่องจากเศรษฐกิจจะมีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ตาม การที่ค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้นในช่วงนี้ เพราะค่าเงินดอลลาร์สหรัฐอ่อนลง ขณะที่ค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้นตามเงินภูมิภาคเอเชีย และจากการที่มีเงินทุนไหลเข้าจากต่างประเทศเพื่อเข้ามาซื้อหุ้นในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) ซึ่งการแข็งค่าของเงินบาทน่าจะเป็นเหตุการณ์ชั่วคราว และเชื่อว่าธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) จะดูแลให้มีเสถียรภาพเป็นอย่างดี
ส่วนค่าเงินหยวนของจีน ยังไม่เห็นมีท่าทีว่าจีนจะปรับค่าเงินหยวน และแม้จะมีการปรับค่าเงินหยวนแข็งค่าขึ้นก็ไม่น่าจะมีผลกระทบอะไรต่อประเทศไทยมากนัก อาจจะทำให้การส่งออกของไทยได้รับผลดีด้วยซ้ำไป จึงไม่มีอะไรน่ากังวล
นายวีรพงษ์ กล่าวอีกว่า สำหรับภาพรวมเศรษฐกิจไทยปีนี้ เชื่อว่าอัตราการเติบโตจะอยู่ที่ร้อยละ 5.5 เนื่องจากปัจจัยเสี่ยง เช่น ราคาน้ำมันจะไม่รุนแรงเหมือนปีที่แล้ว โดยราคาน้ำมันจะทรงตัวในระดับสูงในไตรมาส 1 และอ่อนตัวลงในครึ่งปีหลัง และเงินเฟ้อแม้จะอยู่ในระดับสูง แต่จะต่ำกว่าไตรมาส 4 ปี 2548 และช่วงครึ่งปีหลัง คาดว่าอัตราดอกเบี้ยจะมีแนวโน้มลดลง เพราะสหรัฐคงไม่ปรับขึ้นดอกเบี้ยมากเหมือนปีที่ผ่านมา ขณะที่การส่งออกสินค้าจะได้ราคาเพิ่มขึ้น แม้ว่าปริมาณอาจจะเพิ่มไม่มากทั้งสินค้าเกษตร อุตสาหกรรม โดยเฉพาะรถยนต์และชิ้นส่วน จะได้รับอานิสงส์ดีอย่างมาก ถ้าการเจรจาเปิดเขตการค้าเสรี (เอฟทีเอ) ไทย-ญี่ปุ่น ประสบความสำเร็จ ขณะที่การท่องเที่ยวจะกลับมาคึกคัก
นอกจากนี้ ยังมีปัจจัยการลงทุนของรัฐบาลในโครงสร้างพื้นฐาน ซึ่งถ้าหากดำเนินการได้เร็วก็จะยิ่งส่งผลดีต่อเศรษฐกิจ แต่จะต้องดำเนินการอย่างโปร่งใสไม่ให้เกิดการคอร์รัปชั่นอย่างที่ประชาชนมีความกังวล สำหรับตราสารหนี้ระยะยาวในปีนี้จะเริ่มตื่นตัวมากขึ้น ภาวะการเงินจะเข้าสู่ภาวะการตึงตัว เนื่องจากสภาพคล่องลดลงและธนาคารพาณิชย์เริ่มมีการระดมเงินฝากเพื่อการปล่อยสินเชื่อ การใช้กำลังการผลิตภาคอุตสาหกรรม ปีที่แล้วอยู่ในระดับสูงกว่าร้อยละ 70 ทำให้ภาคเอกชนน่าจะขยายการลงทุนต่อเนื่อง ขณะที่การปล่อยสินเชื่อของสถาบันการเงินสัดส่วนสินเชื่อต่อเงินฝากอยู่ในภาวะที่สมดุลประมาณร้อยละ 90 ดังนั้น ภาพรวมเศรษฐกิจไทยปีนี้จะดีกว่าปีที่แล้วแน่นอน ขณะที่ฐานะการคลังอยู่ในภาวะที่มั่นคง เนื่องจากมีทุนสำรองระหว่างประเทศสูงถึง 53,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ มากกว่าหนี้ต่างประเทศ ซึ่งถือว่าเป็นครั้งแรกที่ตั้งประเทศไทยมา ขณะที่หนี้ระยะสั้นมีแค่ 1 ใน 3 ของจำนวนหนี้ทั้งหมด จึงถือได้ว่าภาคการเงินและภาคการคลังค่อนข้างมีความมั่นคง