“ปานปรีย์” เดินหน้างานการค้า-การลงทุน ตามกรอบเอฟทีเอ ระบุการเจรจาเอฟทีเอไทย-สหรัฐ ต้องเดินหน้าต่อ พร้อมปฏิเสธข่าวกรณีถูกทาบทามเป็นหัวหน้าคณะเจรจาไทย-สหรัฐ แทน “นิตย์ พิบูลสงคราม”
นายปานปรีย์ พหิทธานุกร ผู้แทนการค้าไทย (ทีทีอาร์) ในฐานะที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวว่า จากที่คณะรัฐมนตรีมีมติให้มารับตำแหน่งดูแลด้านประชุมนานาชาติทางการค้า ลงทุน และเศรษฐกิจทั้งในกรอบทวิภาคีและพหุภาคี ขณะนี้ได้วางแผนการดำเนินงานเสร็จเรียบร้อยแล้ว และพร้อมนำเสนอต่อ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เพื่อพิจารณาในรายละเอียดทั้งหมด โดยในปี 2549 จะเน้นสร้างความร่วมมือทางการค้าและชิงความได้เปรียบในการแข่งขันกับทั้งประเทศคู่ค้าและคู่แข่งของไทยที่ต้องมีผลอย่างเป็นรูปธรรมมากขึ้น โดยเฉพาะประเทศที่ไทยได้เจรจาเพื่อทำข้อตกลงเปิดเขตการค้าเสรี หรือ เอฟทีเอ ซึ่งเมื่อเอฟทีเอมีผลบังคับใช้ ผู้ประกอบการจะต้องสามารถรุกเข้าไปขยายตลาดสินค้าในประเทศนั้นๆ ได้ก่อน เพื่อสร้างฐานเชื่อมโยงการค้าที่เหนียวแน่นกับตลาดคู่ค้า โดยจะเริ่มเข้าไปศึกษาการแสวงหาประโยชน์จากเอฟทีเอเพิ่มขึ้นในหลายประเทศ ซึ่งจะเริ่มจากออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ และอเมริกาใต้ ตามลำดับ
นายปานปรีย์ กล่าวด้วยว่า ในส่วนของการเจรจาเปิดเขตการค้าเสรีไทย-สหรัฐ เห็นว่า คงต้องมีการเจรจากันต่อไป เพราะแต่ละประเทศต่างต้องรักษาผลประโยชน์ของประเทศเป็นสำคัญ ซึ่งหากล่าช้าไปกว่าแผนมากเกินไป ก็จะเสียประโยชน์ ขณะเดียวกันการเจรจาก็ต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ โดยเอฟทีเอกับสหรัฐมีส่วนที่ไทยได้ประโยชน์หลายเรื่อง เช่น วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (เอสเอ็มอี) ที่จะได้รับการถ่ายทอดทั้งในด้านการฝึกอบรมการผลิต ยกระดับมาตรฐานสินค้าทั้งภาคเกษตรและอุตสาหกรรม รวมไปถึงการส่งต่อด้านเทคโนโลยีของสหรัฐให้กับไทย
นายปานปรีย์ กล่าวถึงกรณีข่าวว่าอาจจะได้รับแต่งตั้งดำรงตำแหน่งหัวหน้าคณะเจรจาเอฟทีเอไทย-สหรัฐ หากนายนิตย์ พิบูลสงคราม ลาออกจากตำแหน่ง ว่า เรื่องนี้ ยังไม่ทราบว่านายนิตย์จะลาออกหรือไม่ ที่สำคัญตนเองก็ไม่ได้รับทาบทาม แต่หากได้รับทาบทามจริงก็คงไม่สามารถเข้าไปทำงานได้ เพราะในขณะนี้มีงานอื่นๆ เป็นจำนวนมาก และที่สำคัญตำแหน่งหัวหน้าคณะเจรจาเอฟทีเอ ต้องเป็นบุคคลที่มีเวลาเต็มที่สำหรับการทำงาน ต้องเป็นผู้ที่มีความรู้ ความสามารถมีประสบการณ์ ซึ่งนายนิตย์เป็นบุคคลที่เหมาะสม อดีตเคยดำรงตำแหน่งเอกอัครราชทูตประจำกรุงวอชิงตัน เป็นอดีตปลัดกระทรวงการต่างประเทศ มีความรู้การเจรจาระหว่างประเทศเป็นอย่างดี
“การเป็นหัวหน้าคณะเจรจาเอฟทีเอ ไทย-สหรัฐเป็นเรื่องใหญ่ ไม่ว่าใครจะอยู่ในตำแหน่งนี้ก็จะมีอุปสรรค์ทั้งนั้น เพราะจะมีเรื่องการเมืองทั้งในและต่างประเทศเข้ามายุ่งเกี่ยว ทำให้การทำงานอาจจะไม่สบายใจได้ ซึ่งที่ผ่านมาท่านทูตฯ นิตย์ ทำงานได้ดีและเป็นผู้ที่เหมาะสมสำหรับการทำหน้าที่นี้” นายปานปรีย์ กล่าว
ประมวลข่าวเอฟทีเอไทย-สหรัฐ
นายปานปรีย์ พหิทธานุกร ผู้แทนการค้าไทย (ทีทีอาร์) ในฐานะที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวว่า จากที่คณะรัฐมนตรีมีมติให้มารับตำแหน่งดูแลด้านประชุมนานาชาติทางการค้า ลงทุน และเศรษฐกิจทั้งในกรอบทวิภาคีและพหุภาคี ขณะนี้ได้วางแผนการดำเนินงานเสร็จเรียบร้อยแล้ว และพร้อมนำเสนอต่อ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เพื่อพิจารณาในรายละเอียดทั้งหมด โดยในปี 2549 จะเน้นสร้างความร่วมมือทางการค้าและชิงความได้เปรียบในการแข่งขันกับทั้งประเทศคู่ค้าและคู่แข่งของไทยที่ต้องมีผลอย่างเป็นรูปธรรมมากขึ้น โดยเฉพาะประเทศที่ไทยได้เจรจาเพื่อทำข้อตกลงเปิดเขตการค้าเสรี หรือ เอฟทีเอ ซึ่งเมื่อเอฟทีเอมีผลบังคับใช้ ผู้ประกอบการจะต้องสามารถรุกเข้าไปขยายตลาดสินค้าในประเทศนั้นๆ ได้ก่อน เพื่อสร้างฐานเชื่อมโยงการค้าที่เหนียวแน่นกับตลาดคู่ค้า โดยจะเริ่มเข้าไปศึกษาการแสวงหาประโยชน์จากเอฟทีเอเพิ่มขึ้นในหลายประเทศ ซึ่งจะเริ่มจากออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ และอเมริกาใต้ ตามลำดับ
นายปานปรีย์ กล่าวด้วยว่า ในส่วนของการเจรจาเปิดเขตการค้าเสรีไทย-สหรัฐ เห็นว่า คงต้องมีการเจรจากันต่อไป เพราะแต่ละประเทศต่างต้องรักษาผลประโยชน์ของประเทศเป็นสำคัญ ซึ่งหากล่าช้าไปกว่าแผนมากเกินไป ก็จะเสียประโยชน์ ขณะเดียวกันการเจรจาก็ต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ โดยเอฟทีเอกับสหรัฐมีส่วนที่ไทยได้ประโยชน์หลายเรื่อง เช่น วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (เอสเอ็มอี) ที่จะได้รับการถ่ายทอดทั้งในด้านการฝึกอบรมการผลิต ยกระดับมาตรฐานสินค้าทั้งภาคเกษตรและอุตสาหกรรม รวมไปถึงการส่งต่อด้านเทคโนโลยีของสหรัฐให้กับไทย
นายปานปรีย์ กล่าวถึงกรณีข่าวว่าอาจจะได้รับแต่งตั้งดำรงตำแหน่งหัวหน้าคณะเจรจาเอฟทีเอไทย-สหรัฐ หากนายนิตย์ พิบูลสงคราม ลาออกจากตำแหน่ง ว่า เรื่องนี้ ยังไม่ทราบว่านายนิตย์จะลาออกหรือไม่ ที่สำคัญตนเองก็ไม่ได้รับทาบทาม แต่หากได้รับทาบทามจริงก็คงไม่สามารถเข้าไปทำงานได้ เพราะในขณะนี้มีงานอื่นๆ เป็นจำนวนมาก และที่สำคัญตำแหน่งหัวหน้าคณะเจรจาเอฟทีเอ ต้องเป็นบุคคลที่มีเวลาเต็มที่สำหรับการทำงาน ต้องเป็นผู้ที่มีความรู้ ความสามารถมีประสบการณ์ ซึ่งนายนิตย์เป็นบุคคลที่เหมาะสม อดีตเคยดำรงตำแหน่งเอกอัครราชทูตประจำกรุงวอชิงตัน เป็นอดีตปลัดกระทรวงการต่างประเทศ มีความรู้การเจรจาระหว่างประเทศเป็นอย่างดี
“การเป็นหัวหน้าคณะเจรจาเอฟทีเอ ไทย-สหรัฐเป็นเรื่องใหญ่ ไม่ว่าใครจะอยู่ในตำแหน่งนี้ก็จะมีอุปสรรค์ทั้งนั้น เพราะจะมีเรื่องการเมืองทั้งในและต่างประเทศเข้ามายุ่งเกี่ยว ทำให้การทำงานอาจจะไม่สบายใจได้ ซึ่งที่ผ่านมาท่านทูตฯ นิตย์ ทำงานได้ดีและเป็นผู้ที่เหมาะสมสำหรับการทำหน้าที่นี้” นายปานปรีย์ กล่าว
ประมวลข่าวเอฟทีเอไทย-สหรัฐ