ตลาดการ์ดอวยพรไม่คึกคักแค่ทรงๆ หลังเจอมรสุมเอสเอ็มเอส เอ็มเอ็มเอสกระหน่ำใส่ ผู้บริโภคใช้เป็นสิ่งทดแทนการ์ดอวยพร เพราะง่ายสะดวก และรวดเร็วกว่า ด้านรายใหญ่อย่าง คอร์เดียล ยันตลาดยังดีอยู่และไม่เชื่อว่าจะหายไปเพราะเทคโนโลยี เผยคนไทยใช้การ์ดแค่ครึ่งใบต่อคนต่อปี ชี้มีรายใหม่เข้าตลาดตลอดเวลา ผู้ประกอบการต้องปรับตัวเองให้ได้ อินเนอร์การ์ดชี้ต้นทุนพุ่ง
ในช่วงเทศกาลแห่งความสุขปีใหม่ที่เพิ่งผ่านพ้นไป ถือเป็นช่วงของการส่งความสุขกันในหลายรูปแบบทั้งการให้ของขวัญที่เป็นสิ่งของ การให้กระเช้าของขวัญ หรืออื่นๆ และสิ่งที่ขาดไม่ได้ก็คือ การ์ดอวยพร ที่จะต้องมีแนบกับการมอบของขวัญมาด้วย
การ์ดอวยพร ถือเป็น สิ่งที่ง่ายและต้นทุนต่ำที่สุดในการส่งมอบให้ในช่วงเทศกาลปีใหม่ และเป็นวิธีการที่ปฎิบัติกันมานานจนกลายเป็นธรรมเนียมไปแล้ว ส่งผลให้ทุกวันนี้ธุรกิจการ์ดเติบโตมาตลอด
อย่างไรก็ตามท่ามกลางความรุ่งเรืองของเทคโนโลยี โดยเฉพาะโทรศัพท์มือถือที่รุ่งเรืองในช่วง 4-5 ปีที่ผ่านมานี้ ที่สามารถส่งข้อความสั้นหรือที่เรียกว่า เอสเอ็มเอส และเอ็มเอ็มเอส ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายเพราะมีความได้เปรียบตรงที่รวดเร็วและมีความเป็นส่วนตัวรวมทั้งต้นทุนต่ำด้วยขั้นต่ำครั้งละ 3 บาท ซึ่งปริมาณการส่งเอสเอ็มเอสและเอ็มเอ็มเอสมีมากขึ้นทุกปี
กระทั่งผู้คนในวงการตลาดต่างพากันเกรงกลัวว่า ตลาดการ์ดอวยพรอาจจะหายไปจากท้องตลาดหรือไม่ในอนาคต จากคลื่นเทคโนโลยีที่ถาโถมเข้าใส่นี้
โดยตัวเลขล่าสุดจาการรายงานของ เอไอเอส ซึ่งมีผู้ใช้มือถือของค่ายนี้มากถึง 16 ล้านเลขหมาย พบว่า ช่วงระหว่างวันที่ 31 ธันวาคม 2548 – 1 มกราคม 2549 มีปริมาณการส่งเอ็มเอ็มเอสเพิ่มจากช่วงเดียวกันของปี 2548 ประมาณ 295% หรือประมาณ 640,000 ข้อความ จากเดิมที่มี 160,000 ข้อความ ขณะที่ปริมาณการส่งเอสเอ็มเอสเพิ่มขึ้น 46% จาก 20 ล้านข้อความเป็น 29 ล้านข้อความ
ทางด้านค่ายดีแทคก็มีปริมาณผู้ส่งเอสเอ็มเอส 21 ล้านข้อความ จากเดิมช่วงเดียวกันปีที่แล้ว 12.9 ล้านข้อความ เพิ่มขึ้น 63% และส่งเอ็มเอ็มเอส 3.58 แสนข้อความ จากเดิม 1.28 แสนข้อความ เพิ่มขึ้น 180%
ส่วนค่ายผู้ให้บริการมือถือรายอื่นอย่างเช่น ทีเอออเร้นจ์ ซึ่งให้บริการประมาณ 4.5 ล้านเลขหมาย ปริมาณส่งเอ็มเอ็มเอสมี 8 ล้านข้อความ จากเดิม 5 ล้านข้อความหรือเพิ่มขึ้น 50%
สำหรับทางด้านค่ายฮัทช์ก็ระบุว่ามีปริมาณการส่งเอสเอ็มเอสช่วงปีใหม่มากถึง 1 หมื่นข้อความ เพิ่มขึ้นมากถึง 4 เท่า
ในมุมมองของผู้ประกอบการรายใหญ่อย่าง นายเพิ่มสิน เลิศรัฐการ กรรมการผู้จัดการ บริษัท คอร์เดียล ครีเอทีฟ จำกัด ผู้ผลิตและจำหน่ายการ์ด “คอร์เดียล” และได้รับสิทธิ์ในการผลิตและจำหน่ายการ์ดอวยพรแบรนด์ “ฮอล์มาร์ค” ให้ความเห็นกับ “ผู้จัดการรายวัน” ว่า แม้ว่าการส่งเอสเอ็มเอสหรือเอ็มเอ็มเอสจะเติบโตอย่างรวดเร็วแต่ยังมั่นใจว่าตลาดการ์ดอวยพรจะยังคงอยู่และมีการเติบโตด้วยเช่นกัน เพียงแต่อาจจะมีรูปแบบที่แตกต่างจากในอดีตที่ผ่านมา
อีกทั้งหากมองปริมาณการใช้การ์ดของคนไทยแล้วยังต่ำมากเมื่อเทียบกับในอเมริกา นั่นหมายความว่า โอกาสของตลาดยังมีอยู่สูง กล่าวคือ คนไทยใช้การ์ดอวยพรประมาณ ครึ่งใบต่อคนต่อปีเท่านั้น แต่คนอเมริกันใช้การ์ดมากถึง 20 ใบต่อคนต่อปีเลยทีเดียว
ขณะที่ตลาดรวมการ์ดอวยพรในอเมริกานั้นมีมูลค่ามากถึง 3-4 แสนล้านบาท โดยมีค่ายฮอล์มาร์คครองตลาดมากกว่า 40% แต่เมื่อเทียบกับมูลค่าตลาดรวมการ์ดอวยพรในระบบค้าปลีกของไทยแล้วมีเพียง 400 กว่าล้านบาทเท่านั้นเอง โดยมี คอร์เดียล ครองตลาดมากที่สุดกว่า 30-40%
เขายังเชื่อด้วยว่า ปริมาณการเติบโตของกการ์ดอวยพรไทยยังน่าจะอยู่ในระดับ 5-10%
และแนวโน้มตลาดก็ยังคงมีการแข่งขันเนื่องจากยังมีผู้ประกอบการรายใหม่ๆพยายามที่จะเข้าตลาดสม่ำเสมอ แต่ผู้ที่จะอยู่ในวงการได้นั้นจะต้องทำตลาดมานานไม่น้อยกว่า 10 ปี เพื่อสร้างแบรนด์ให้แข็งแกร่งและขยายตลาดให้มากที่สุด และต้องมีการปรับตัวตลอดเวลาเพื่อตอบสนองตลาดให้ได้
แต่ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับผู้ประกอบการแต่ละรายเองว่า จะมีการปรับตัวอย่างไร ซึ่งช่วงเทศกาลปีใหม่บางรายอาจจะมียอดขายเพิ่มขึ้น บางรายยอดขายอาจจะลดลง ในภาพรวมแล้วตลาดยังไม่ตกลงมากเท่าใด
“ผมเชื่อว่า การ์ดอวยพรก็ยังมีตลาดอยู่ เพราะเอสเอ็มเอสหรือเอ็มเอ็มเอสไม่ใช่คู่แข่งแต่เป็นสิ่งที่เสริมกันมากกว่า ซึ่งเอสเอ็มเอสอาจจะเป็นคนที่อายุน้อยและต้องเป็นคนที่สนิทสนมกันจริงๆนิยมใช้กัน แต่บัตรอวยพรก็อาจจะเป็นกลุ่มผู้ใหญ่ หรือการส่งให้แบบทางการ ซึ่งยังมีข้อดีตรงที่ การ์ดอวยพรให้อารมณ์ความรู้สึกที่ดีกว่าการส่งขอความ
ผู้สื่อข่าวรายงานเพิ่มเติมว่า ผู้ประกอบการรายใหญ่ๆในตลาดการ์ดนี้มีจำนวนมาก เช่น คอร์เดียล อินเนอร์การ์ด อาร์ทมีเดีย เฟรเวอร์ เป็นต้น
นายประมุข ตรีโมก กรรมการผู้จัดการ บริษัท อินเนอร์การ์ด ไทยแลนด์ จำกัด กล่าวกับ “ผู้จัดการรายวัน” ว่า ในปีนี้ต้นทุนของผู้ประกอบการสูงขึ้นอย่างต่ำ 20-30% เพราะวัตถุดิบเช่น กระดาษสูงขึ้น อีกทั้งจะต้องแข่งกันมากขึ้น เพราะมีรายใหม่เข้ามาเล่นเรื่องราคากันมาก ส่งผลให้หลายบริษัทฯมียอดขายที่ต่ำเป้า เช่นเดียวกับของบริษัทฯที่มียอดขายต่ำเป้าประมาณ 30% โดยรายได้ปีที่แล้วมีประมาณ 30-40 ล้นบาท โดยเฉพาะอย่างยิ่งยอดขายในส่วนของปฎิทินและไดอารี่ลดลงอย่างมาก
ตลาดของบริษัทฯแบ่งเป็น 2 กลุ่มใหญ่คือ กลุ่มขายปลีก ที่เป็นการฝากขายแบ่งเป็นเปอร์เซนต์ ตามห้างสรรพสินค้าทั่วไป และร้านค้าที่เป็นเชนเช่น ร้านหนังสือ ดอกหญ้า ร้านคิโนคูนิยะ ซึ่งได้รับผลกระทบพอสมควร ส่วนอีกกลุ่มคือ ตลาดองค์กร บริษัท หน่วยงานราชการ เช่น อีซี่ส์บาย บสย. วอลโว่ เป็นต้น ตลาดรวมนั้นก็ยังทรงๆอยู่
ตลาดการ์ดอวยพรนั้นจะมีช่วงขายหลักๆมากที่สุดก็คือ ช่วงเทศกาลปีใหม่คิดเป็นสัดส่วนมากถึง 50% จากการขายทั้งปี นอกนั้นก็เฉลี่ยกันไป เช่น วันคริสต์มาส วันวาเลนไทน์ วันพ่อ วันแม่ เป็นต้น จากนี้บริษัทฯก็จะมีการออกแบบลวดลายใหม่ๆซึ่งเป็นปรกติอยู่แล้ว เพื่อทำตลาดในเทศกาลต่อไป
นายประมุขกล่าวว่าระดับราคาของการ์ดอวยพรที่ขายดีอยู่ในระดับราคา 10-20 บาท ส่วนรูปภาพนั้นก็แล้วแต่ไม่สามารถวัดได้ เพราะมีหลากหลาย ขึ้นอยู่กับความพอใจของผู้ซื้อ
ในช่วงเทศกาลแห่งความสุขปีใหม่ที่เพิ่งผ่านพ้นไป ถือเป็นช่วงของการส่งความสุขกันในหลายรูปแบบทั้งการให้ของขวัญที่เป็นสิ่งของ การให้กระเช้าของขวัญ หรืออื่นๆ และสิ่งที่ขาดไม่ได้ก็คือ การ์ดอวยพร ที่จะต้องมีแนบกับการมอบของขวัญมาด้วย
การ์ดอวยพร ถือเป็น สิ่งที่ง่ายและต้นทุนต่ำที่สุดในการส่งมอบให้ในช่วงเทศกาลปีใหม่ และเป็นวิธีการที่ปฎิบัติกันมานานจนกลายเป็นธรรมเนียมไปแล้ว ส่งผลให้ทุกวันนี้ธุรกิจการ์ดเติบโตมาตลอด
อย่างไรก็ตามท่ามกลางความรุ่งเรืองของเทคโนโลยี โดยเฉพาะโทรศัพท์มือถือที่รุ่งเรืองในช่วง 4-5 ปีที่ผ่านมานี้ ที่สามารถส่งข้อความสั้นหรือที่เรียกว่า เอสเอ็มเอส และเอ็มเอ็มเอส ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายเพราะมีความได้เปรียบตรงที่รวดเร็วและมีความเป็นส่วนตัวรวมทั้งต้นทุนต่ำด้วยขั้นต่ำครั้งละ 3 บาท ซึ่งปริมาณการส่งเอสเอ็มเอสและเอ็มเอ็มเอสมีมากขึ้นทุกปี
กระทั่งผู้คนในวงการตลาดต่างพากันเกรงกลัวว่า ตลาดการ์ดอวยพรอาจจะหายไปจากท้องตลาดหรือไม่ในอนาคต จากคลื่นเทคโนโลยีที่ถาโถมเข้าใส่นี้
โดยตัวเลขล่าสุดจาการรายงานของ เอไอเอส ซึ่งมีผู้ใช้มือถือของค่ายนี้มากถึง 16 ล้านเลขหมาย พบว่า ช่วงระหว่างวันที่ 31 ธันวาคม 2548 – 1 มกราคม 2549 มีปริมาณการส่งเอ็มเอ็มเอสเพิ่มจากช่วงเดียวกันของปี 2548 ประมาณ 295% หรือประมาณ 640,000 ข้อความ จากเดิมที่มี 160,000 ข้อความ ขณะที่ปริมาณการส่งเอสเอ็มเอสเพิ่มขึ้น 46% จาก 20 ล้านข้อความเป็น 29 ล้านข้อความ
ทางด้านค่ายดีแทคก็มีปริมาณผู้ส่งเอสเอ็มเอส 21 ล้านข้อความ จากเดิมช่วงเดียวกันปีที่แล้ว 12.9 ล้านข้อความ เพิ่มขึ้น 63% และส่งเอ็มเอ็มเอส 3.58 แสนข้อความ จากเดิม 1.28 แสนข้อความ เพิ่มขึ้น 180%
ส่วนค่ายผู้ให้บริการมือถือรายอื่นอย่างเช่น ทีเอออเร้นจ์ ซึ่งให้บริการประมาณ 4.5 ล้านเลขหมาย ปริมาณส่งเอ็มเอ็มเอสมี 8 ล้านข้อความ จากเดิม 5 ล้านข้อความหรือเพิ่มขึ้น 50%
สำหรับทางด้านค่ายฮัทช์ก็ระบุว่ามีปริมาณการส่งเอสเอ็มเอสช่วงปีใหม่มากถึง 1 หมื่นข้อความ เพิ่มขึ้นมากถึง 4 เท่า
ในมุมมองของผู้ประกอบการรายใหญ่อย่าง นายเพิ่มสิน เลิศรัฐการ กรรมการผู้จัดการ บริษัท คอร์เดียล ครีเอทีฟ จำกัด ผู้ผลิตและจำหน่ายการ์ด “คอร์เดียล” และได้รับสิทธิ์ในการผลิตและจำหน่ายการ์ดอวยพรแบรนด์ “ฮอล์มาร์ค” ให้ความเห็นกับ “ผู้จัดการรายวัน” ว่า แม้ว่าการส่งเอสเอ็มเอสหรือเอ็มเอ็มเอสจะเติบโตอย่างรวดเร็วแต่ยังมั่นใจว่าตลาดการ์ดอวยพรจะยังคงอยู่และมีการเติบโตด้วยเช่นกัน เพียงแต่อาจจะมีรูปแบบที่แตกต่างจากในอดีตที่ผ่านมา
อีกทั้งหากมองปริมาณการใช้การ์ดของคนไทยแล้วยังต่ำมากเมื่อเทียบกับในอเมริกา นั่นหมายความว่า โอกาสของตลาดยังมีอยู่สูง กล่าวคือ คนไทยใช้การ์ดอวยพรประมาณ ครึ่งใบต่อคนต่อปีเท่านั้น แต่คนอเมริกันใช้การ์ดมากถึง 20 ใบต่อคนต่อปีเลยทีเดียว
ขณะที่ตลาดรวมการ์ดอวยพรในอเมริกานั้นมีมูลค่ามากถึง 3-4 แสนล้านบาท โดยมีค่ายฮอล์มาร์คครองตลาดมากกว่า 40% แต่เมื่อเทียบกับมูลค่าตลาดรวมการ์ดอวยพรในระบบค้าปลีกของไทยแล้วมีเพียง 400 กว่าล้านบาทเท่านั้นเอง โดยมี คอร์เดียล ครองตลาดมากที่สุดกว่า 30-40%
เขายังเชื่อด้วยว่า ปริมาณการเติบโตของกการ์ดอวยพรไทยยังน่าจะอยู่ในระดับ 5-10%
และแนวโน้มตลาดก็ยังคงมีการแข่งขันเนื่องจากยังมีผู้ประกอบการรายใหม่ๆพยายามที่จะเข้าตลาดสม่ำเสมอ แต่ผู้ที่จะอยู่ในวงการได้นั้นจะต้องทำตลาดมานานไม่น้อยกว่า 10 ปี เพื่อสร้างแบรนด์ให้แข็งแกร่งและขยายตลาดให้มากที่สุด และต้องมีการปรับตัวตลอดเวลาเพื่อตอบสนองตลาดให้ได้
แต่ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับผู้ประกอบการแต่ละรายเองว่า จะมีการปรับตัวอย่างไร ซึ่งช่วงเทศกาลปีใหม่บางรายอาจจะมียอดขายเพิ่มขึ้น บางรายยอดขายอาจจะลดลง ในภาพรวมแล้วตลาดยังไม่ตกลงมากเท่าใด
“ผมเชื่อว่า การ์ดอวยพรก็ยังมีตลาดอยู่ เพราะเอสเอ็มเอสหรือเอ็มเอ็มเอสไม่ใช่คู่แข่งแต่เป็นสิ่งที่เสริมกันมากกว่า ซึ่งเอสเอ็มเอสอาจจะเป็นคนที่อายุน้อยและต้องเป็นคนที่สนิทสนมกันจริงๆนิยมใช้กัน แต่บัตรอวยพรก็อาจจะเป็นกลุ่มผู้ใหญ่ หรือการส่งให้แบบทางการ ซึ่งยังมีข้อดีตรงที่ การ์ดอวยพรให้อารมณ์ความรู้สึกที่ดีกว่าการส่งขอความ
ผู้สื่อข่าวรายงานเพิ่มเติมว่า ผู้ประกอบการรายใหญ่ๆในตลาดการ์ดนี้มีจำนวนมาก เช่น คอร์เดียล อินเนอร์การ์ด อาร์ทมีเดีย เฟรเวอร์ เป็นต้น
นายประมุข ตรีโมก กรรมการผู้จัดการ บริษัท อินเนอร์การ์ด ไทยแลนด์ จำกัด กล่าวกับ “ผู้จัดการรายวัน” ว่า ในปีนี้ต้นทุนของผู้ประกอบการสูงขึ้นอย่างต่ำ 20-30% เพราะวัตถุดิบเช่น กระดาษสูงขึ้น อีกทั้งจะต้องแข่งกันมากขึ้น เพราะมีรายใหม่เข้ามาเล่นเรื่องราคากันมาก ส่งผลให้หลายบริษัทฯมียอดขายที่ต่ำเป้า เช่นเดียวกับของบริษัทฯที่มียอดขายต่ำเป้าประมาณ 30% โดยรายได้ปีที่แล้วมีประมาณ 30-40 ล้นบาท โดยเฉพาะอย่างยิ่งยอดขายในส่วนของปฎิทินและไดอารี่ลดลงอย่างมาก
ตลาดของบริษัทฯแบ่งเป็น 2 กลุ่มใหญ่คือ กลุ่มขายปลีก ที่เป็นการฝากขายแบ่งเป็นเปอร์เซนต์ ตามห้างสรรพสินค้าทั่วไป และร้านค้าที่เป็นเชนเช่น ร้านหนังสือ ดอกหญ้า ร้านคิโนคูนิยะ ซึ่งได้รับผลกระทบพอสมควร ส่วนอีกกลุ่มคือ ตลาดองค์กร บริษัท หน่วยงานราชการ เช่น อีซี่ส์บาย บสย. วอลโว่ เป็นต้น ตลาดรวมนั้นก็ยังทรงๆอยู่
ตลาดการ์ดอวยพรนั้นจะมีช่วงขายหลักๆมากที่สุดก็คือ ช่วงเทศกาลปีใหม่คิดเป็นสัดส่วนมากถึง 50% จากการขายทั้งปี นอกนั้นก็เฉลี่ยกันไป เช่น วันคริสต์มาส วันวาเลนไทน์ วันพ่อ วันแม่ เป็นต้น จากนี้บริษัทฯก็จะมีการออกแบบลวดลายใหม่ๆซึ่งเป็นปรกติอยู่แล้ว เพื่อทำตลาดในเทศกาลต่อไป
นายประมุขกล่าวว่าระดับราคาของการ์ดอวยพรที่ขายดีอยู่ในระดับราคา 10-20 บาท ส่วนรูปภาพนั้นก็แล้วแต่ไม่สามารถวัดได้ เพราะมีหลากหลาย ขึ้นอยู่กับความพอใจของผู้ซื้อ