เครื่องใช้บนโต๊ะอาหารและครัวเรือนเซรามิกเป็นอุตสาหกรรมเบาที่ใช้แรงงานคนและฝีมือเป็นหลัก โดยไทยมีความพร้อมด้านวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิต เช่น ดิน หิน และแร่ต่าง ๆ รวมทั้งจุดแข็งด้านฝีมือแรงงานที่ชำนาญและประณีต ทำให้สามารถส่งออกได้ในปี 2543-2547 ถึง 7 - 8 พันล้านบาท โดยมีตลาดหลัก คือ สหรัฐอเมริกา อังกฤษ และประเทศอื่น ๆ มีสัดส่วนร้อยละ 30.9 13.0 และ 56.1 ตามลำดับ
อย่างไรก็ดีในปี 2547 การส่งออกเริ่มชะลอตัวลงร้อยละ 3.5 จากร้อยละ 7.5 ในปี 2546 เนื่องจากประสบปัญหาจากการแข่งขันกับสินค้าจีนที่ทวีความรุนแรงขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในตลาดสหภาพยุโรป และญี่ปุ่น ที่สินค้าไทยเคยมีบทบาทสำคัญ จึงควรที่ไทยโดยภาครัฐและเอกชนจะต้องร่วมกันหาทางแก้ปัญหาเพื่อรักษาส่วนแบ่งตลาดไว้ได้
สถานะผู้ประกอบการไทย
อุตสาหกรรมเครื่องใช้บนโต๊ะอาหารและครัวเรือนเซรามิกของไทยเป็นอุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดย่อม (Small and Medium Enterprises :SMEs) มีผู้ผลิตทั่วประเทศประมาณ 100 ราย โดยแหล่งผลิตที่สำคัญ ได้แก่ ลำปาง เชียงใหม่ สมุทรสาคร สำหรับการผลิตใช้วัตถุดิบภายในประเทศร้อยละ 71 วัตถุดิบนำเข้าร้อยละ 29 ซึ่งวัตถุดิบที่นำเข้าส่วนใหญ่เป็นสี สารเคมี และสารเคลือบ โดยจะนำเข้าจากประเทศจีน และญี่ปุ่น การผลิตเครื่องใช้บนโต๊ะอาหารและครัวเรือนเซรามิกในประเทศไทย แบ่งออกเป็น 4 ประเภท คือ
1. Earthenware ทำจากเนื้อดินที่มีความพรุนสูง เปราะแตกหักและบิ่นได้ง่าย เมื่อกระทบกัน แสงไม่สามารถผ่านได้ (ทึบแสง) เผาที่อุณหภูมิต่ำประมาณ 800-1,150 องศาเซลเซียส ผลิตภัณฑ์จึงมีเนื้อหยาบ สีมักเป็นสีน้ำตาลอ่อน สีเหลืองอ่อน สีแดง เวลาเคาะเสียงไม่กังวาน นิยมใช้ผลิตเป็นถ้วยชาม
2. Stoneware ทำจากเนื้อดินที่หลอมกันแน่น ไม่ดูดน้ำ ไม่เปราะ แตกหักง่าย เมื่อกระทบกัน แสงไม่สามารถผ่านได้ (ทึบแสง) สีเนื้อดินมักจะเป็นสีตามธรรมชาติตามแหล่งดินนั้น ๆ เผาที่อุณหภูมิสูง 1,250 - 1,300 องศาเซลเซียส ผลิตภัณฑ์ประเภทนี้จะมีเนื้อหยาบแต่แน่น มีความแข็งแกร่ง ทนกรดทนด่างได้ดี เวลาเคาะจะมีเสียงดังกังวาน
3. Porcelain ทำจากเนี้อดินที่มีความเข็งแกร่งมาก ไม่ดูดซึมน้ำ ไม่บิ่น แตกหักง่าย เมื่อกระทบกัน แสงผ่านได้ (โปร่งแสง) เผาที่อุณหภูมิสูง 1,250-1,400 องศาเซลเซียส
4. Bone China เป็นเซรามิกที่ใช้เถ้ากระดูกสัตว์เป็นวัตถุดิบประมาณร้อยละ 40-50 เนื้อดินมีความแข็งแกร่งมาก ไม่ดูดซึมน้ำ แสงผ่านได้ (โปร่งแสง) ที่อุณหภูมิ 1,220-1,260 องศาเซลเซียส
การส่งออกประสบปัญหาอย่างต่อเนื่อง
ในช่วงปี 2545-2547 ไทยมีการส่งออกเซรามิกในปีหนึ่งๆไม่ต่ำกว่า 2 หมื่นล้านบาท และในช่วง 10 เดือนแรกของปี 2548 มีมูลค่าการส่งออกรวมทั้งสิ้น 20,444 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 16.0 เป็นเครื่องใช้บนโต๊ะอาหารและครัวเรือนเซรามิก (อาทิ ถ้วยชาม เครื่องครัว ของใช้ในห้องน้ำ และของใช้ในบ้านเรือนอื่นๆ) ร้อยละ 31.2 ของการส่งออกเซรามิกรวม นอกจากนั้นเป็นเครื่องสุขภัณฑ์ กระเบื้องปูพื้นและบุผนัง ของชำร่วยและเครื่องประดับ และเซรามิกอื่น ๆ ร้อยละ 18.0 , 16.9, 5.4 และ 28.5 ตามลำดับ
สำหรับการส่งออกเครื่องใช้บนโต๊ะอาหารและครัวเรือนเซรามิกซึ่งส่วนใหญ่ร้อยละ 95 เป็นถ้วยชามเซรามิกนั้น ในช่วงปี 2543-2547 ผู้ประกอบการไทยสามารถผลิตเพื่อส่งออกได้เฉลี่ยปีละ 7,350 ล้านบาท และในช่วง 10 เดือนแรกของปี 2548 มีมูลค่าการส่งออก 6,373 ล้านบาท ลดลงจากระยะเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 3.9 และเทียบกับปี 2547 ที่ลดลงจากปี 2546 ร้อยละ 3.5
ทั้งนี้เพราะจีนเป็นคู่แข่งที่สำคัญที่สามารถแย่งส่วนแบ่งตลาดจากไทยไปได้มาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งตลาดสหภาพยุโรป และญี่ปุ่น เพราะสินค้าจีนมีราคาถูกจากการที่ได้เปรียบด้านค่าจ้างแรงงานต่ำ คาดว่าตลอดปี 2548 ไทยจะสามารถส่งออกเครื่องใช้บนโต๊ะอาหารและครัวเรือนเซรามิกประมาณ 7,600 ล้านบาท หรือลดลงจากปี 2547 ร้อยละ 3.2
บทบาทของคู่แข่งขันในตลาดโลก
คู่แข่งขันที่สำคัญในอุตสาหกรรมเครื่องใช้บนโต๊ะอาหารและครัวเรือนเซรามิกของไทยในตลาดโลก มี 2 กลุ่มใหญ่ คือ
กลุ่มที่ 1 ประเทศในแถบยุโรป ได้แก่ อิตาลี เม็กซิโก และเยอรมนี เป็นกลุ่มที่ผลิตเครื่องใช้บนโต๊ะอาหารเซรามิกในตลาดระดับบน เน้นคุณภาพ ราคาสูง ด้วยความได้เปรียบด้านฝีมือที่เป็นที่ยอมรับระดับโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งสหรัฐฯเป็นผู้นำเข้าเครื่องใช้บนโต๊ะอาหารเซรามิกรายใหญ่ที่สุดของโลก อีกทั้งสิทธิประโยชน์ทางภาษี NAFTA ส่งผลให้กลุ่มนี้มีโอกาสในการขยายตลาดสหภาพยุโรป และสหรัฐมีสูงมาก
กลุ่มที่ 2 ประเทศในแถบภูมิภาคเอเชีย ได้แก่ จีน มาเลเซีย และอินโดนีเซีย เป็นกลุ่มที่ผลิตเครื่องใช้บนโต๊ะอาหารเซรามิกในตลาดระดับกลาง-ล่าง ด้วยความได้เปรียบในด้านต้นทุนแรงงานที่ต่ำ และความพร้อมของวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิต ส่งผลให้กลุ่มประเทศในแถบนี้เป็นคู่แข่งสำคัญของไทย โดยเฉพาะจีนซึ่งเป็นผู้ส่งออกเครื่องใช้บนโต๊ะอาหารและครัวเรือนเซรามิก อันดับ 1 ของโลก โดยมีสัดส่วนถึงร้อยละ 29 ส่วนไทยซึ่งเป็นผู้ส่งออกอันอับ 5 โดยมีส่วนแบ่งตลาดร้อยละ 5
แนวโน้มอุตสาหกรรมเครื่องใช้บนโต๊ะอาหารและครัวเรือนเซรามิก
อุตสาหกรรมเครื่องใช้บนโต๊ะอาหารและครัวเรือนเซรามิกของไทยเป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมเครือข่ายวิสาหกิจที่สามารถเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขันด้านการค้าระหว่างประเทศและพัฒนาอุตสาหกรรมให้เติบโตอย่างยั่งยืน โดยการนำจุดแข็งและศักยภาพของประเทศไทยด้านความพร้อมของวัตถุดิบอย่างหิน ดิน และแร่ต่าง ๆ ที่ใช้ในการผลิตเป็นสำคัญ ด้านฝีมือและทักษะของแรงงานไทยยังเหนือคู่แข่งขันในตลาดระดับเดียวกัน มีการออกแบบลวดลายที่ประณีตและละเอียด อีกทั้งมีสีสันที่สวยงาม โดยส่วนใหญ่ได้รับการถ่ายทอดมาจากบรรพบุรุษ
ดังนั้น ผู้ประกอบการและรัฐบาลต้องร่วมมือกัน ในการหาแนวทางที่จะพัฒนาผลิตภัณฑ์เครื่องใช้บนโต๊ะอาหารและครัวเรือนเซรามิกของไทย ให้สามารถแข่งขันได้ต่อไปในตลาดโลก โดยการศึกษาความต้องการของตลาดต่าง ๆ พัฒนาการออกแบบ ขนาด สี ให้ตรงกับความต้องการของลูกค้า อีกทั้งต้องพัฒนากระบวนการผลิตให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น เพื่อลดต้นทุน มีการสร้างตราสินค้าหรือยี่ห้อที่เป็นเอกลักษณ์ของตนเอง แทนการผลิตตามคำสั่งซื้ออย่างเดียว หลีกเลี่ยงการผลิตสินค้าในระดับเดียวกันกับจีน การรับส่งสินค้าที่ตรงเวลา
ทั้งนี้ เพื่อความสามารถในการทำตลาดในอนาคต ขณะเดียวกันรัฐบาลต้องมีนโยบายที่ชัดเจนในการสนับสนุนให้เกิดการร่วมกลุ่มระหว่างผู้ประกอบการ และธุรกิจที่เชื่อมโยง เพื่อช่วยลดต้นทุนวัตถุดิบ ต้นทุนการผลิตอื่น ๆ ช่วยหาแหล่งวัตถุดิบสำรอง โดยเฉพาะอย่างยิ่งขยายตลาดใหม่ ซึ่งหากสามารถพัฒนาศักยภาพการผลิตและการตลาดได้ อย่างต่อเนื่อง แน่นอนที่สุดว่าการส่งออกเครื่องใช้บนโต๊ะอาหารและครัวเรือนเซรามิกจะสามารถขยายตลาดได้มากยิ่งขึ้น
ผู้วิเคราะห์ : นางสาวกฤษณา บัวเข็มทอง (ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน)
อย่างไรก็ดีในปี 2547 การส่งออกเริ่มชะลอตัวลงร้อยละ 3.5 จากร้อยละ 7.5 ในปี 2546 เนื่องจากประสบปัญหาจากการแข่งขันกับสินค้าจีนที่ทวีความรุนแรงขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในตลาดสหภาพยุโรป และญี่ปุ่น ที่สินค้าไทยเคยมีบทบาทสำคัญ จึงควรที่ไทยโดยภาครัฐและเอกชนจะต้องร่วมกันหาทางแก้ปัญหาเพื่อรักษาส่วนแบ่งตลาดไว้ได้
สถานะผู้ประกอบการไทย
อุตสาหกรรมเครื่องใช้บนโต๊ะอาหารและครัวเรือนเซรามิกของไทยเป็นอุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดย่อม (Small and Medium Enterprises :SMEs) มีผู้ผลิตทั่วประเทศประมาณ 100 ราย โดยแหล่งผลิตที่สำคัญ ได้แก่ ลำปาง เชียงใหม่ สมุทรสาคร สำหรับการผลิตใช้วัตถุดิบภายในประเทศร้อยละ 71 วัตถุดิบนำเข้าร้อยละ 29 ซึ่งวัตถุดิบที่นำเข้าส่วนใหญ่เป็นสี สารเคมี และสารเคลือบ โดยจะนำเข้าจากประเทศจีน และญี่ปุ่น การผลิตเครื่องใช้บนโต๊ะอาหารและครัวเรือนเซรามิกในประเทศไทย แบ่งออกเป็น 4 ประเภท คือ
1. Earthenware ทำจากเนื้อดินที่มีความพรุนสูง เปราะแตกหักและบิ่นได้ง่าย เมื่อกระทบกัน แสงไม่สามารถผ่านได้ (ทึบแสง) เผาที่อุณหภูมิต่ำประมาณ 800-1,150 องศาเซลเซียส ผลิตภัณฑ์จึงมีเนื้อหยาบ สีมักเป็นสีน้ำตาลอ่อน สีเหลืองอ่อน สีแดง เวลาเคาะเสียงไม่กังวาน นิยมใช้ผลิตเป็นถ้วยชาม
2. Stoneware ทำจากเนื้อดินที่หลอมกันแน่น ไม่ดูดน้ำ ไม่เปราะ แตกหักง่าย เมื่อกระทบกัน แสงไม่สามารถผ่านได้ (ทึบแสง) สีเนื้อดินมักจะเป็นสีตามธรรมชาติตามแหล่งดินนั้น ๆ เผาที่อุณหภูมิสูง 1,250 - 1,300 องศาเซลเซียส ผลิตภัณฑ์ประเภทนี้จะมีเนื้อหยาบแต่แน่น มีความแข็งแกร่ง ทนกรดทนด่างได้ดี เวลาเคาะจะมีเสียงดังกังวาน
3. Porcelain ทำจากเนี้อดินที่มีความเข็งแกร่งมาก ไม่ดูดซึมน้ำ ไม่บิ่น แตกหักง่าย เมื่อกระทบกัน แสงผ่านได้ (โปร่งแสง) เผาที่อุณหภูมิสูง 1,250-1,400 องศาเซลเซียส
4. Bone China เป็นเซรามิกที่ใช้เถ้ากระดูกสัตว์เป็นวัตถุดิบประมาณร้อยละ 40-50 เนื้อดินมีความแข็งแกร่งมาก ไม่ดูดซึมน้ำ แสงผ่านได้ (โปร่งแสง) ที่อุณหภูมิ 1,220-1,260 องศาเซลเซียส
การส่งออกประสบปัญหาอย่างต่อเนื่อง
ในช่วงปี 2545-2547 ไทยมีการส่งออกเซรามิกในปีหนึ่งๆไม่ต่ำกว่า 2 หมื่นล้านบาท และในช่วง 10 เดือนแรกของปี 2548 มีมูลค่าการส่งออกรวมทั้งสิ้น 20,444 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 16.0 เป็นเครื่องใช้บนโต๊ะอาหารและครัวเรือนเซรามิก (อาทิ ถ้วยชาม เครื่องครัว ของใช้ในห้องน้ำ และของใช้ในบ้านเรือนอื่นๆ) ร้อยละ 31.2 ของการส่งออกเซรามิกรวม นอกจากนั้นเป็นเครื่องสุขภัณฑ์ กระเบื้องปูพื้นและบุผนัง ของชำร่วยและเครื่องประดับ และเซรามิกอื่น ๆ ร้อยละ 18.0 , 16.9, 5.4 และ 28.5 ตามลำดับ
สำหรับการส่งออกเครื่องใช้บนโต๊ะอาหารและครัวเรือนเซรามิกซึ่งส่วนใหญ่ร้อยละ 95 เป็นถ้วยชามเซรามิกนั้น ในช่วงปี 2543-2547 ผู้ประกอบการไทยสามารถผลิตเพื่อส่งออกได้เฉลี่ยปีละ 7,350 ล้านบาท และในช่วง 10 เดือนแรกของปี 2548 มีมูลค่าการส่งออก 6,373 ล้านบาท ลดลงจากระยะเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 3.9 และเทียบกับปี 2547 ที่ลดลงจากปี 2546 ร้อยละ 3.5
ทั้งนี้เพราะจีนเป็นคู่แข่งที่สำคัญที่สามารถแย่งส่วนแบ่งตลาดจากไทยไปได้มาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งตลาดสหภาพยุโรป และญี่ปุ่น เพราะสินค้าจีนมีราคาถูกจากการที่ได้เปรียบด้านค่าจ้างแรงงานต่ำ คาดว่าตลอดปี 2548 ไทยจะสามารถส่งออกเครื่องใช้บนโต๊ะอาหารและครัวเรือนเซรามิกประมาณ 7,600 ล้านบาท หรือลดลงจากปี 2547 ร้อยละ 3.2
บทบาทของคู่แข่งขันในตลาดโลก
คู่แข่งขันที่สำคัญในอุตสาหกรรมเครื่องใช้บนโต๊ะอาหารและครัวเรือนเซรามิกของไทยในตลาดโลก มี 2 กลุ่มใหญ่ คือ
กลุ่มที่ 1 ประเทศในแถบยุโรป ได้แก่ อิตาลี เม็กซิโก และเยอรมนี เป็นกลุ่มที่ผลิตเครื่องใช้บนโต๊ะอาหารเซรามิกในตลาดระดับบน เน้นคุณภาพ ราคาสูง ด้วยความได้เปรียบด้านฝีมือที่เป็นที่ยอมรับระดับโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งสหรัฐฯเป็นผู้นำเข้าเครื่องใช้บนโต๊ะอาหารเซรามิกรายใหญ่ที่สุดของโลก อีกทั้งสิทธิประโยชน์ทางภาษี NAFTA ส่งผลให้กลุ่มนี้มีโอกาสในการขยายตลาดสหภาพยุโรป และสหรัฐมีสูงมาก
กลุ่มที่ 2 ประเทศในแถบภูมิภาคเอเชีย ได้แก่ จีน มาเลเซีย และอินโดนีเซีย เป็นกลุ่มที่ผลิตเครื่องใช้บนโต๊ะอาหารเซรามิกในตลาดระดับกลาง-ล่าง ด้วยความได้เปรียบในด้านต้นทุนแรงงานที่ต่ำ และความพร้อมของวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิต ส่งผลให้กลุ่มประเทศในแถบนี้เป็นคู่แข่งสำคัญของไทย โดยเฉพาะจีนซึ่งเป็นผู้ส่งออกเครื่องใช้บนโต๊ะอาหารและครัวเรือนเซรามิก อันดับ 1 ของโลก โดยมีสัดส่วนถึงร้อยละ 29 ส่วนไทยซึ่งเป็นผู้ส่งออกอันอับ 5 โดยมีส่วนแบ่งตลาดร้อยละ 5
แนวโน้มอุตสาหกรรมเครื่องใช้บนโต๊ะอาหารและครัวเรือนเซรามิก
อุตสาหกรรมเครื่องใช้บนโต๊ะอาหารและครัวเรือนเซรามิกของไทยเป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมเครือข่ายวิสาหกิจที่สามารถเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขันด้านการค้าระหว่างประเทศและพัฒนาอุตสาหกรรมให้เติบโตอย่างยั่งยืน โดยการนำจุดแข็งและศักยภาพของประเทศไทยด้านความพร้อมของวัตถุดิบอย่างหิน ดิน และแร่ต่าง ๆ ที่ใช้ในการผลิตเป็นสำคัญ ด้านฝีมือและทักษะของแรงงานไทยยังเหนือคู่แข่งขันในตลาดระดับเดียวกัน มีการออกแบบลวดลายที่ประณีตและละเอียด อีกทั้งมีสีสันที่สวยงาม โดยส่วนใหญ่ได้รับการถ่ายทอดมาจากบรรพบุรุษ
ดังนั้น ผู้ประกอบการและรัฐบาลต้องร่วมมือกัน ในการหาแนวทางที่จะพัฒนาผลิตภัณฑ์เครื่องใช้บนโต๊ะอาหารและครัวเรือนเซรามิกของไทย ให้สามารถแข่งขันได้ต่อไปในตลาดโลก โดยการศึกษาความต้องการของตลาดต่าง ๆ พัฒนาการออกแบบ ขนาด สี ให้ตรงกับความต้องการของลูกค้า อีกทั้งต้องพัฒนากระบวนการผลิตให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น เพื่อลดต้นทุน มีการสร้างตราสินค้าหรือยี่ห้อที่เป็นเอกลักษณ์ของตนเอง แทนการผลิตตามคำสั่งซื้ออย่างเดียว หลีกเลี่ยงการผลิตสินค้าในระดับเดียวกันกับจีน การรับส่งสินค้าที่ตรงเวลา
ทั้งนี้ เพื่อความสามารถในการทำตลาดในอนาคต ขณะเดียวกันรัฐบาลต้องมีนโยบายที่ชัดเจนในการสนับสนุนให้เกิดการร่วมกลุ่มระหว่างผู้ประกอบการ และธุรกิจที่เชื่อมโยง เพื่อช่วยลดต้นทุนวัตถุดิบ ต้นทุนการผลิตอื่น ๆ ช่วยหาแหล่งวัตถุดิบสำรอง โดยเฉพาะอย่างยิ่งขยายตลาดใหม่ ซึ่งหากสามารถพัฒนาศักยภาพการผลิตและการตลาดได้ อย่างต่อเนื่อง แน่นอนที่สุดว่าการส่งออกเครื่องใช้บนโต๊ะอาหารและครัวเรือนเซรามิกจะสามารถขยายตลาดได้มากยิ่งขึ้น
ผู้วิเคราะห์ : นางสาวกฤษณา บัวเข็มทอง (ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน)