รมช.คลัง สั่งคณะกรรมการ บตท. ศึกษาอนาคตของกิจการ ดูแผนฟื้นฟูและปรับปรุงประสิทธิภาพการบริหาร เพื่อหาข้อสรุปอนาคตขององค์กร หลังเกิดความเสียหายจากการทุจริตกว่า 300 ล้านบาท พร้อมสั่งสอบสวนกรณีทุจริตเพิ่มเติมให้เสร็จภายใน 90 วัน
นายไชยยศ สะสมทรัพย์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง กล่าวว่า หลังจากเกิดปัญหาทุจริตโครงการปล่อยสินเชื่อที่อยู่อาศัยของบรรษัทตลาดรองสินเชื่อที่อยู่อาศัย (บตท.) จนสร้างความเสียหายกว่า 300 ล้านบาท ซึ่งมีเจ้าหน้าที่เกี่ยวข้องและถูกให้ออกจากงานแล้ว 9 ราย แต่ยังมีบุคคลที่เกี่ยวข้อง จึงให้ผู้บริหารสอบสวนเพื่อสรุปสำนวนฟ้องร้องดำเนินคดีกับผู้ทุจริตเพิ่มเติมให้เสร็จภายใน 90 วัน โดยได้มอบหมายให้คณะกรรมการ บตท. ไปศึกษาแผนฟื้นฟูขององค์กรและปรับปรุงระบบการทำงานให้เหมาะสมกับสภาวการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปให้เสร็จภายใน 15 วัน เพื่อเสนอให้ นายทนง พิทยะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง พิจารณาก่อนที่จะเสนอให้คณะรัฐมนตรีเห็นชอบต่อไป
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง กล่าวว่า คณะกรรมการ บตท. จะต้องศึกษาดูว่าบทบาทในอนาคตของ บตท.มีข้อดี-ข้อเสียอย่างไรบ้าง เพราะสถานการณ์ปัจจุบันเปลี่ยนไป สถาบันการเงินมีสภาพคล่องมากขึ้น และหากคณะกรรมการเห็นว่า บตท.ควรยุบเลิกกิจการ ก็จะเสนอให้คณะรัฐมนตรีพิจารณา แต่ในเบื้องต้นยังเห็นว่า บตท. มีความสำคัญ เพราะมีหน้าที่ในการรับซื้อสินเชื่อจากสถาบันการเงินให้สามารถมีสภาพคล่องเพิ่มเติมได้ เมื่อนำสินเชื่อมาให้ บตท.บริหารจัดการต่อและในช่วงที่ผ่านมา บตท.ได้เสนอแผนการดำเนินงานระยะ 3 เดือนเพื่อแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น โดยจะหาผู้รับผิดชอบและดำเนินคดีกับผู้ทุจริตในโครงการสินเชื่อที่อยู่อาศัยของ บตท. เพื่อชดใช้ความเสียหายที่เกิดขึ้น การแก้ไขหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล) และหนี้ค้างชำระดอกเบี้ย 30-90 วัน เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับนักลงทุนและผู้ที่เกี่ยวข้อง
ทั้งนี้ บตท.มีทุนจดทะเบียนเริ่มต้น 1,000 ล้านบาท กำไรสะสม 100 ล้านบาท เอ็นพีแอล ณ เดือนพฤศจิกายน 2548 ประมาณ 1,405 ล้านบาท หรือคิดเป็นกว่าร้อยละ 30 ของยอดสินเชื่อทั้งหมดที่มีอยู่ 3,554 ล้านบาท โดยเป็นหนี้เสียของบริษัทเครดิตฟองซิเอร์(บค.) ไทยเคหะ จำนวน 1,032 ล้านบาท บค.สินอุตสาหกรรม 83 ล้านบาท บค.แอดซ์วานไลฟ์ อินชัวรันท์ 6.8 ล้านบาท
นายไชยยศ สะสมทรัพย์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง กล่าวว่า หลังจากเกิดปัญหาทุจริตโครงการปล่อยสินเชื่อที่อยู่อาศัยของบรรษัทตลาดรองสินเชื่อที่อยู่อาศัย (บตท.) จนสร้างความเสียหายกว่า 300 ล้านบาท ซึ่งมีเจ้าหน้าที่เกี่ยวข้องและถูกให้ออกจากงานแล้ว 9 ราย แต่ยังมีบุคคลที่เกี่ยวข้อง จึงให้ผู้บริหารสอบสวนเพื่อสรุปสำนวนฟ้องร้องดำเนินคดีกับผู้ทุจริตเพิ่มเติมให้เสร็จภายใน 90 วัน โดยได้มอบหมายให้คณะกรรมการ บตท. ไปศึกษาแผนฟื้นฟูขององค์กรและปรับปรุงระบบการทำงานให้เหมาะสมกับสภาวการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปให้เสร็จภายใน 15 วัน เพื่อเสนอให้ นายทนง พิทยะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง พิจารณาก่อนที่จะเสนอให้คณะรัฐมนตรีเห็นชอบต่อไป
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง กล่าวว่า คณะกรรมการ บตท. จะต้องศึกษาดูว่าบทบาทในอนาคตของ บตท.มีข้อดี-ข้อเสียอย่างไรบ้าง เพราะสถานการณ์ปัจจุบันเปลี่ยนไป สถาบันการเงินมีสภาพคล่องมากขึ้น และหากคณะกรรมการเห็นว่า บตท.ควรยุบเลิกกิจการ ก็จะเสนอให้คณะรัฐมนตรีพิจารณา แต่ในเบื้องต้นยังเห็นว่า บตท. มีความสำคัญ เพราะมีหน้าที่ในการรับซื้อสินเชื่อจากสถาบันการเงินให้สามารถมีสภาพคล่องเพิ่มเติมได้ เมื่อนำสินเชื่อมาให้ บตท.บริหารจัดการต่อและในช่วงที่ผ่านมา บตท.ได้เสนอแผนการดำเนินงานระยะ 3 เดือนเพื่อแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น โดยจะหาผู้รับผิดชอบและดำเนินคดีกับผู้ทุจริตในโครงการสินเชื่อที่อยู่อาศัยของ บตท. เพื่อชดใช้ความเสียหายที่เกิดขึ้น การแก้ไขหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล) และหนี้ค้างชำระดอกเบี้ย 30-90 วัน เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับนักลงทุนและผู้ที่เกี่ยวข้อง
ทั้งนี้ บตท.มีทุนจดทะเบียนเริ่มต้น 1,000 ล้านบาท กำไรสะสม 100 ล้านบาท เอ็นพีแอล ณ เดือนพฤศจิกายน 2548 ประมาณ 1,405 ล้านบาท หรือคิดเป็นกว่าร้อยละ 30 ของยอดสินเชื่อทั้งหมดที่มีอยู่ 3,554 ล้านบาท โดยเป็นหนี้เสียของบริษัทเครดิตฟองซิเอร์(บค.) ไทยเคหะ จำนวน 1,032 ล้านบาท บค.สินอุตสาหกรรม 83 ล้านบาท บค.แอดซ์วานไลฟ์ อินชัวรันท์ 6.8 ล้านบาท