สศอ.เล็งปรับการทำดัชนีอุตสาหกรรมใหม่เพิ่มความเข้มข้น เพื่อเป็นดัชนีหลักในการสร้างความเชื่อมั่นแก่ผู้ประกอบการและหน่วยงานต่าง ๆ ที่นำไปใช้ พร้อมระบุดัชนีเดือน ต.ค.48 ยังปรับขึ้นอย่างต่อเนี่องทุกดัชนี
นางอรรชกา บริมเบิล ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.)เปิดเผยว่า สศอ.ได้เพิ่มความเข้มข้นในการจัดทำดัชนีอุตสาหกรรมรายเดือน เพื่อให้เป็นดัชนีหลักสำหรับผู้ประกอบการและหน่วยงานต่าง ๆ นำไปใช้ประโยชน์ได้อย่างมั่นใจ โดยเริ่มตั้งแต่เดือนตุลาคม 2548 ได้เพิ่มฐานการคำนวณเข้าไปอีก 3 กลุ่มอุตสาหกรรมหลัก คือ การผลิตเคมีภัณฑ์ขั้นมูลฐาน การผลิตเม็ดพลาสติกและการผลิตคอมพิวเตอร์ เพื่อให้ครอบคลุมภาคอุตสาหกรรมมากที่สุด โดยดัชนีผลผลิต (มูลค่าเพิ่ม) เดือนตุลาคมอยู่ที่ระดับ 144.39 เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.45 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปี 2547 จากระดับ 138.24 ขณะที่อัตราการใช้กำลังการผลิตอยู่ที่ระดับร้อยละ 71.07 เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีที่แล้วที่มีอัตราการใช้กำลังการผลิตที่ร้อยละ 69.77
สำหรับดัชนีอุตสาหกรรมเดือนตุลาคม 2548 มีการปรับเพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปี 2547 เกือบทุกตัวชี้วัดโดยดัชนีผลผลิต (มูลค่าผลผลิต) อยู่ที่ระดับ 154.33 เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.15 จากระดับ 146.77 ดัชนีการส่งสินค้าอยู่ที่ระดับ 137.69 เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.88 จากระดับ 133.84 ดัชนีสินค้าสำเร็จรูปคงคลังอยู่ที่ 161.64 เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.23 จากระดับ 153.51 ดัชนีอัตราส่วนสินค้าสำเร็จรูปคงคลังอยู่ที่ 141.69 เพิ่มขึ้นร้อยละ 10.99 จากระดับ และดัชนีผลิตภาพแรงงานอุตสาหกรรม อยู่ที่ 165.50 เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.07 จากระดับ 154.67 ส่วนดัชนีแรงงานภาคอุตสาหกรรมอยู่ที่ 106.78 ลดลงร้อยละ 1.81 จากระดับ 108.75 เมื่อเทียบกับเดือนเดือนกันของปี 2547
นางอรรชกา กล่าวอีกว่า ปัจจัยที่ส่งผลให้ดัชนีอุตสาหกรรมเดือนตุลาคมปรับเพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปี 2547 เนื่องจากมีผู้ประกอบการหลายแห่งเพิ่มกำลังการผลิต เพื่อสตอกสินค้าไว้ก่อนที่จะปิดปรับปรุงเครื่องจักรตามรอบการบำรุงรักษาเครื่อง อุตสาหกรรมสำคัญที่ส่งผล ประกอบด้วย การผลิตเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็กกล้าขั้นมูลฐาน การจัดเตรียมและการปั่นเส้นใยสิ่งทอรวมถึงการทอสิ่งทอ การผลิตมอลต์ลิกเคอและมอลต์ (เบียร์) ส่วนดัชนีอุตสาหกรรมเดือนตุลาคมที่ปรับลดลง ประกอบด้วย การผลิตยานยนต์ซึ่งมีภาวะการผลิตลดลง การผลิตผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการกลั่นปิโตรเลียม และการผลิตเครื่องรับโทรทัศน์และวิทยุรวมทั้งสินค้าที่เกี่ยวข้องมีการผลิตและจำหน่ายลดลงจากเดือนกันยายนร้อยละ 4.6 และ 9.7 ตามลำดับ
นางอรรชกา บริมเบิล ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.)เปิดเผยว่า สศอ.ได้เพิ่มความเข้มข้นในการจัดทำดัชนีอุตสาหกรรมรายเดือน เพื่อให้เป็นดัชนีหลักสำหรับผู้ประกอบการและหน่วยงานต่าง ๆ นำไปใช้ประโยชน์ได้อย่างมั่นใจ โดยเริ่มตั้งแต่เดือนตุลาคม 2548 ได้เพิ่มฐานการคำนวณเข้าไปอีก 3 กลุ่มอุตสาหกรรมหลัก คือ การผลิตเคมีภัณฑ์ขั้นมูลฐาน การผลิตเม็ดพลาสติกและการผลิตคอมพิวเตอร์ เพื่อให้ครอบคลุมภาคอุตสาหกรรมมากที่สุด โดยดัชนีผลผลิต (มูลค่าเพิ่ม) เดือนตุลาคมอยู่ที่ระดับ 144.39 เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.45 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปี 2547 จากระดับ 138.24 ขณะที่อัตราการใช้กำลังการผลิตอยู่ที่ระดับร้อยละ 71.07 เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีที่แล้วที่มีอัตราการใช้กำลังการผลิตที่ร้อยละ 69.77
สำหรับดัชนีอุตสาหกรรมเดือนตุลาคม 2548 มีการปรับเพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปี 2547 เกือบทุกตัวชี้วัดโดยดัชนีผลผลิต (มูลค่าผลผลิต) อยู่ที่ระดับ 154.33 เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.15 จากระดับ 146.77 ดัชนีการส่งสินค้าอยู่ที่ระดับ 137.69 เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.88 จากระดับ 133.84 ดัชนีสินค้าสำเร็จรูปคงคลังอยู่ที่ 161.64 เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.23 จากระดับ 153.51 ดัชนีอัตราส่วนสินค้าสำเร็จรูปคงคลังอยู่ที่ 141.69 เพิ่มขึ้นร้อยละ 10.99 จากระดับ และดัชนีผลิตภาพแรงงานอุตสาหกรรม อยู่ที่ 165.50 เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.07 จากระดับ 154.67 ส่วนดัชนีแรงงานภาคอุตสาหกรรมอยู่ที่ 106.78 ลดลงร้อยละ 1.81 จากระดับ 108.75 เมื่อเทียบกับเดือนเดือนกันของปี 2547
นางอรรชกา กล่าวอีกว่า ปัจจัยที่ส่งผลให้ดัชนีอุตสาหกรรมเดือนตุลาคมปรับเพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปี 2547 เนื่องจากมีผู้ประกอบการหลายแห่งเพิ่มกำลังการผลิต เพื่อสตอกสินค้าไว้ก่อนที่จะปิดปรับปรุงเครื่องจักรตามรอบการบำรุงรักษาเครื่อง อุตสาหกรรมสำคัญที่ส่งผล ประกอบด้วย การผลิตเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็กกล้าขั้นมูลฐาน การจัดเตรียมและการปั่นเส้นใยสิ่งทอรวมถึงการทอสิ่งทอ การผลิตมอลต์ลิกเคอและมอลต์ (เบียร์) ส่วนดัชนีอุตสาหกรรมเดือนตุลาคมที่ปรับลดลง ประกอบด้วย การผลิตยานยนต์ซึ่งมีภาวะการผลิตลดลง การผลิตผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการกลั่นปิโตรเลียม และการผลิตเครื่องรับโทรทัศน์และวิทยุรวมทั้งสินค้าที่เกี่ยวข้องมีการผลิตและจำหน่ายลดลงจากเดือนกันยายนร้อยละ 4.6 และ 9.7 ตามลำดับ