บีโอไอแจงเอาผิดโออิชิไม่ได้เหตุเงื่อนไขเปิดช่องโหว่ ชี้อย่างดีแค่เสียภาษี ด้านพาณิชย์หาทางลงให้ผู้บริโภคเป็นฝ่ายตัดสินใจเอง
แหล่งข่าวจากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) เปิดเผยถึงกรณีที่บริษัท โออิชิ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) หรือOISHI มีการนำเข้าใบชาจากต่างประเทศ เพื่อใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตเครื่องดื่มชาเขียวสำเร็จรูปพร้อมดื่ม ว่า ตามเงื่อนไขการขอส่งเสริมการลงทุนกับบีโอไอแล้วไม่ถือว่าผิด เนื่องจากทางโออิชิได้ระบุว่าจะใช้ชาที่ผลิตในประเทศเป็นหลักแต่ไม่ได้หมายความว่าทางโออิชิไม่สามารถนำเข้าชาจากต่างประเทศ
ดังนั้น การที่โออิชิจะนำเข้าใบชาจากต่างประเทศบางส่วนเพื่อใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตเครื่องดื่มชาเขียว จึงถือว่าไม่ผิดหลักการ เพียงแต่ใบชาที่โออิชินำเข้ามาจากต่างประเทศนั้น ต้องเสียภาษีตามระเบียบของกรมศุลกากร
"เรื่องนี้คงเอาผิดยาก เพราะโออิชิสามารถนำเข้าใบชาจากต่างประเทศเพื่อนำมาผลิตเป็นเครื่องดื่มชาเขียวได้ จากการที่รายละเอียดในการขอส่งเสริมการลงทุนทางโออิชิ ระบุเพียงว่าจะใช้ใบชาที่ผลิตได้ในประเทศเป็นหลัก ซึ่งทางบีโอไอก็จะเข้าไปดูเฉพาะส่วนที่โออิชิแจ้งขอส่งเสริมการลงทุน หากมีการนำเข้าจากต่างประเทศก็ไม่ต้องเสียภาษี แต่ส่วนไหนที่อยู่นอกเหนือที่แจ้งไว้ทางโออิชิก็ต้องเสียภาษีตามปกติ ดังนั้นการที่โออิชินำเข้าใบชาจากต่างประเทศ ก็ไม่ถือว่าผิดหลักการการขอส่งเสริมการลงทุน" แหล่งข่าว กล่าว
แหล่งข่าวจากกระทรวงพาณิชย์ ระบุว่า ขณะนี้ทางกระทรวงพาณิชย์กำลังเร่งจัดทำรายละเอียดของสินค้าเครื่องดื่มชาเขียวสำเร็จรูปพร้อมดื่ม เพื่อส่งเรื่องไปยังกรมสรรพสามิตให้พิจารณาสินค้าชาเขียวเป็นสินค้าฟุ่มเฟือยที่ต้องเสียภาษี เพราะที่ผ่านมาเครื่องดื่มชาเขียวได้รับการยกเว้นภาษี เพราะถือว่าเป็นการช่วยเหลือเกษตรกร แต่หลังจากพบว่ามีผู้ประกอบการชาเขียวบางรายมีการนำเข้าหัวเชื้อชาเขียวจากต่างประเทศเข้ามาใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิต ก็น่าจะต้องเสียภาษี
"กรมสรรพสามิตกำลังพิจารณาปรับโครงสร้างภาษีใหม่ โดยจะมีสินค้าใหม่หลายรายการที่ต้องเสียภาษี ซึ่งทางกระทรวงพาณิชย์เองก็กำลังจัดทำข้อมูลสินค้าที่เข้าข่ายต้องเสียภาษีส่งไปยังกรมสรรพสามิต ดังนั้นหากวันที่ 2 พ.ย.ไปแล้วผู้ประกอบการชาเขียวยังไม่ยอมปรับลดราคาจำหน่ายลง ทางกระทรวงพาณิชย์ก็จะส่งเรื่องให้ชาเขียวเป็นสินค้าที่ต้องเสียภาษี" แหล่งข่าว กล่าว
อย่างไรก็ตาม หากผู้ประกอบการไม่ยอมปรับลดราคาจำหน่ายชาเขียวลงมาอีก ก็ไม่สามารถบังคับได้ แต่จะให้ผู้บริโภคเป็นฝ่ายตัดสินใจ เนื่องจากต้นทุนการผลิตชาเขียวบรรจุขวดขนาด 500 ซีซี ต่ำเพียง 8.50 บาทเท่านั้น ในขณะที่ราคาจำหน่ายชาเขียวบางยี่ห้ออยู่ที่ขวดละ 20 บาท แต่บางรายขวดละ 15 บาท ดังนั้นผู้บริโภคต้องเป็นฝ่ายเลือก
"สาเหตุที่ทางกระทรวงพาณิชย์ขอความร่วมมือให้ผู้ประกอบการชาเขียวปรับลดราคาจำหน่ายลง เนื่องจากพิจารณาแล้วเห็นว่าผู้ประกอบการตั้งราคานำตลาดที่สูงเกินควร ทั้งๆ ที่ต้นทุนการผลิตไม่สูงมาก ซึ่งถือว่าเป็นการเอาเปรียบผู้บริโภค แต่กระทรวงฯไม่มีกฎหมายไปบังคับให้ผู้ประกอบการลดราคาจำหน่ายได้ ดังนั้นผู้บริโภคต้องเป็นผู้ตัดสินใจเอง ว่ายังจะบริโภคสินค้าที่มีราคาสูงเกินจริงอีกหรือไม่" แหล่งข่าว กล่าว
แหล่งข่าวจากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) เปิดเผยถึงกรณีที่บริษัท โออิชิ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) หรือOISHI มีการนำเข้าใบชาจากต่างประเทศ เพื่อใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตเครื่องดื่มชาเขียวสำเร็จรูปพร้อมดื่ม ว่า ตามเงื่อนไขการขอส่งเสริมการลงทุนกับบีโอไอแล้วไม่ถือว่าผิด เนื่องจากทางโออิชิได้ระบุว่าจะใช้ชาที่ผลิตในประเทศเป็นหลักแต่ไม่ได้หมายความว่าทางโออิชิไม่สามารถนำเข้าชาจากต่างประเทศ
ดังนั้น การที่โออิชิจะนำเข้าใบชาจากต่างประเทศบางส่วนเพื่อใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตเครื่องดื่มชาเขียว จึงถือว่าไม่ผิดหลักการ เพียงแต่ใบชาที่โออิชินำเข้ามาจากต่างประเทศนั้น ต้องเสียภาษีตามระเบียบของกรมศุลกากร
"เรื่องนี้คงเอาผิดยาก เพราะโออิชิสามารถนำเข้าใบชาจากต่างประเทศเพื่อนำมาผลิตเป็นเครื่องดื่มชาเขียวได้ จากการที่รายละเอียดในการขอส่งเสริมการลงทุนทางโออิชิ ระบุเพียงว่าจะใช้ใบชาที่ผลิตได้ในประเทศเป็นหลัก ซึ่งทางบีโอไอก็จะเข้าไปดูเฉพาะส่วนที่โออิชิแจ้งขอส่งเสริมการลงทุน หากมีการนำเข้าจากต่างประเทศก็ไม่ต้องเสียภาษี แต่ส่วนไหนที่อยู่นอกเหนือที่แจ้งไว้ทางโออิชิก็ต้องเสียภาษีตามปกติ ดังนั้นการที่โออิชินำเข้าใบชาจากต่างประเทศ ก็ไม่ถือว่าผิดหลักการการขอส่งเสริมการลงทุน" แหล่งข่าว กล่าว
แหล่งข่าวจากกระทรวงพาณิชย์ ระบุว่า ขณะนี้ทางกระทรวงพาณิชย์กำลังเร่งจัดทำรายละเอียดของสินค้าเครื่องดื่มชาเขียวสำเร็จรูปพร้อมดื่ม เพื่อส่งเรื่องไปยังกรมสรรพสามิตให้พิจารณาสินค้าชาเขียวเป็นสินค้าฟุ่มเฟือยที่ต้องเสียภาษี เพราะที่ผ่านมาเครื่องดื่มชาเขียวได้รับการยกเว้นภาษี เพราะถือว่าเป็นการช่วยเหลือเกษตรกร แต่หลังจากพบว่ามีผู้ประกอบการชาเขียวบางรายมีการนำเข้าหัวเชื้อชาเขียวจากต่างประเทศเข้ามาใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิต ก็น่าจะต้องเสียภาษี
"กรมสรรพสามิตกำลังพิจารณาปรับโครงสร้างภาษีใหม่ โดยจะมีสินค้าใหม่หลายรายการที่ต้องเสียภาษี ซึ่งทางกระทรวงพาณิชย์เองก็กำลังจัดทำข้อมูลสินค้าที่เข้าข่ายต้องเสียภาษีส่งไปยังกรมสรรพสามิต ดังนั้นหากวันที่ 2 พ.ย.ไปแล้วผู้ประกอบการชาเขียวยังไม่ยอมปรับลดราคาจำหน่ายลง ทางกระทรวงพาณิชย์ก็จะส่งเรื่องให้ชาเขียวเป็นสินค้าที่ต้องเสียภาษี" แหล่งข่าว กล่าว
อย่างไรก็ตาม หากผู้ประกอบการไม่ยอมปรับลดราคาจำหน่ายชาเขียวลงมาอีก ก็ไม่สามารถบังคับได้ แต่จะให้ผู้บริโภคเป็นฝ่ายตัดสินใจ เนื่องจากต้นทุนการผลิตชาเขียวบรรจุขวดขนาด 500 ซีซี ต่ำเพียง 8.50 บาทเท่านั้น ในขณะที่ราคาจำหน่ายชาเขียวบางยี่ห้ออยู่ที่ขวดละ 20 บาท แต่บางรายขวดละ 15 บาท ดังนั้นผู้บริโภคต้องเป็นฝ่ายเลือก
"สาเหตุที่ทางกระทรวงพาณิชย์ขอความร่วมมือให้ผู้ประกอบการชาเขียวปรับลดราคาจำหน่ายลง เนื่องจากพิจารณาแล้วเห็นว่าผู้ประกอบการตั้งราคานำตลาดที่สูงเกินควร ทั้งๆ ที่ต้นทุนการผลิตไม่สูงมาก ซึ่งถือว่าเป็นการเอาเปรียบผู้บริโภค แต่กระทรวงฯไม่มีกฎหมายไปบังคับให้ผู้ประกอบการลดราคาจำหน่ายได้ ดังนั้นผู้บริโภคต้องเป็นผู้ตัดสินใจเอง ว่ายังจะบริโภคสินค้าที่มีราคาสูงเกินจริงอีกหรือไม่" แหล่งข่าว กล่าว