กระทรวงคมนาคมเสนอสร้างทางด่วนยกระดับ 3 เส้นทาง วงแหวนตะวันออก-แจ้งวัฒนะ-งามวงศ์วาน ไปบรรจบกับดอนเมืองโทลล์เวย์ เพื่อขนคนไปใช้บริการมากขึ้น และกับการคิดค่าผ่านทางให้ลดลงตามนโยบายรัฐบาล
นายชัยสวัสดิ์ กิตติพรไพบูลย์ อธิบดีกรมทางหลวง เปิดเผยความคืบหน้าในการเจรจาการกำหนดค่าผ่านทางยกระดับทางด่วนดอนเมืองโทลล์เวย์ระหว่างกรมทางหลวงและบริษัททางยกระดับดอนเมือง จำกัด (มหาชน) ว่าขณะนี้มีความคืบหน้าใกล้จะได้ข้อสรุปแล้ว โดยคาดว่าจะประชุมร่วมกันอีก 1 ครั้ง โดยกรมทางหลวงจะนำนโยบายที่นายพงษ์ศักดิ์ รักตพงศ์ไพศาล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม มอบให้การทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) เตรียมก่อสร้างทางด่วนยกระดับมาบรรจบกับดอนเมืองโทลล์เวย์ใน 3 เส้นทาง คือ ถนนวงแหวนตะวันออก ถนนแจ้งวัฒนะ และถนนงามวงศ์วาน พร้อมกับมอบหมายให้กรมทางหลวงในฐานะผู้ให้สัมปทานกับดอนเมืองโทลล์เวย์นำประเด็นดังกล่าวไปหารือร่วมกับเอกชนเพื่อให้กำหนดการจัดเก็บค่าผ่านทางให้ถูกลง เนื่องจากการก่อสร้างทางด่วนไปบรรจบดอนเมืองโทลล์เวย์จะช่วยส่งผู้โดยสารเข้าสู่ระบบดอนเมืองโทลล์เวย์ได้มากขึ้น
อย่างไรก็ตาม ขณะนี้การเจรจาในส่วนที่แล้วเสร็จถือว่ามีความคืบหน้าน่าพอใจ โดยทั้ง 2 ฝ่าย ได้มีข้อตกลงที่จะเริ่มนับอายุสัมปทานใหม่ออกไปข้างหน้าอีก 25 ปี จากเดิมที่ดอนเมืองโทลล์เวย์ใช้อายุสัมปทานมาแล้ว 9 ปี พร้อมกับการกำหนดเงื่อนไขให้จัดเก็บค่าผ่าทาง 20 บาทตลอดสาย จนถึงวันที่ 21 ธันวาคม 25487 ก่อนที่จะเก็บในอัตรา 20 บาท + 10 บาท ตามระยะอีก 2 ปี หลังจากนั้นจะเก็บในอัตรา 35 บาท + 15 บาท ตามระยะ ซึ่งเป็นไปตามสัญญาสัมปทานและจะปรับขึ้นตามดัชนีราคาผู้บริโภคในอนาคต ทั้งนี้ เชื่อว่าระหว่างที่บริษัททางยกระดับดอนเมืองยังเจรจากับกระทรวงการคลังเกี่ยวกับการปรับโครงสร้างหนี้ ซึ่งขณะนี้ใกล้ได้ข้อยุติแล้ว ทั้ง 2 ฝ่าย จะสามารถเริ่มดำเนินการตามสัญญาสัมปานใหม่ได้ภายในสิ้นปี 2548
สำหรับนโยบายที่กระทรวงคมนาคมได้มอบหมายให้กรมทางหลวงโอนมอบการจัดเก็บรายได้ของทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองหมายเลข 7 และ 9 ไปให้ กทพ. เป็นผู้ดำเนินการ ขณะนี้การแก้ไขกฎหมายอยู่ในการพิจารณาของวุฒิสภา อย่างไรก็ตาม กรมทางหลวงได้เจรจากับ กทพ. ให้โอนภาระหนี้ที่เกิดจากการก่อสร้างมอเตอร์เวย์ทั้ง 2 สาย วงเงิน 15,000 ล้านบาท ไปให้ กทพ.ด้วย โดย กทพ.จะเป็นผู้จัดเก็บรายได้ค่าผ่านทางเพื่อนำรายได้ไปชำระคืนให้กระทรวงการคลังและจะนำไปจัดสรรคืนเจ้าหนี้เงินกู้ต่อไป
นายชัยสวัสดิ์ กิตติพรไพบูลย์ อธิบดีกรมทางหลวง เปิดเผยความคืบหน้าในการเจรจาการกำหนดค่าผ่านทางยกระดับทางด่วนดอนเมืองโทลล์เวย์ระหว่างกรมทางหลวงและบริษัททางยกระดับดอนเมือง จำกัด (มหาชน) ว่าขณะนี้มีความคืบหน้าใกล้จะได้ข้อสรุปแล้ว โดยคาดว่าจะประชุมร่วมกันอีก 1 ครั้ง โดยกรมทางหลวงจะนำนโยบายที่นายพงษ์ศักดิ์ รักตพงศ์ไพศาล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม มอบให้การทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) เตรียมก่อสร้างทางด่วนยกระดับมาบรรจบกับดอนเมืองโทลล์เวย์ใน 3 เส้นทาง คือ ถนนวงแหวนตะวันออก ถนนแจ้งวัฒนะ และถนนงามวงศ์วาน พร้อมกับมอบหมายให้กรมทางหลวงในฐานะผู้ให้สัมปทานกับดอนเมืองโทลล์เวย์นำประเด็นดังกล่าวไปหารือร่วมกับเอกชนเพื่อให้กำหนดการจัดเก็บค่าผ่านทางให้ถูกลง เนื่องจากการก่อสร้างทางด่วนไปบรรจบดอนเมืองโทลล์เวย์จะช่วยส่งผู้โดยสารเข้าสู่ระบบดอนเมืองโทลล์เวย์ได้มากขึ้น
อย่างไรก็ตาม ขณะนี้การเจรจาในส่วนที่แล้วเสร็จถือว่ามีความคืบหน้าน่าพอใจ โดยทั้ง 2 ฝ่าย ได้มีข้อตกลงที่จะเริ่มนับอายุสัมปทานใหม่ออกไปข้างหน้าอีก 25 ปี จากเดิมที่ดอนเมืองโทลล์เวย์ใช้อายุสัมปทานมาแล้ว 9 ปี พร้อมกับการกำหนดเงื่อนไขให้จัดเก็บค่าผ่าทาง 20 บาทตลอดสาย จนถึงวันที่ 21 ธันวาคม 25487 ก่อนที่จะเก็บในอัตรา 20 บาท + 10 บาท ตามระยะอีก 2 ปี หลังจากนั้นจะเก็บในอัตรา 35 บาท + 15 บาท ตามระยะ ซึ่งเป็นไปตามสัญญาสัมปทานและจะปรับขึ้นตามดัชนีราคาผู้บริโภคในอนาคต ทั้งนี้ เชื่อว่าระหว่างที่บริษัททางยกระดับดอนเมืองยังเจรจากับกระทรวงการคลังเกี่ยวกับการปรับโครงสร้างหนี้ ซึ่งขณะนี้ใกล้ได้ข้อยุติแล้ว ทั้ง 2 ฝ่าย จะสามารถเริ่มดำเนินการตามสัญญาสัมปานใหม่ได้ภายในสิ้นปี 2548
สำหรับนโยบายที่กระทรวงคมนาคมได้มอบหมายให้กรมทางหลวงโอนมอบการจัดเก็บรายได้ของทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองหมายเลข 7 และ 9 ไปให้ กทพ. เป็นผู้ดำเนินการ ขณะนี้การแก้ไขกฎหมายอยู่ในการพิจารณาของวุฒิสภา อย่างไรก็ตาม กรมทางหลวงได้เจรจากับ กทพ. ให้โอนภาระหนี้ที่เกิดจากการก่อสร้างมอเตอร์เวย์ทั้ง 2 สาย วงเงิน 15,000 ล้านบาท ไปให้ กทพ.ด้วย โดย กทพ.จะเป็นผู้จัดเก็บรายได้ค่าผ่านทางเพื่อนำรายได้ไปชำระคืนให้กระทรวงการคลังและจะนำไปจัดสรรคืนเจ้าหนี้เงินกู้ต่อไป