“วีรพงษ์-โฆสิต” เตือนรัฐบาลให้จับตามองปัญหาเงินเฟ้ออย่างใกล้ชิด หวั่นกระทบเสถียรภาพเศรษฐกิจ เพราะมีแนวโน้มที่จะสูงขึ้นอีก ขณะเดียวกันอัตราดอกเบี้ยก็คาดว่าจะต้องปรับไปตามอัตราดอกเบี้ยของสหรัฐด้วยเช่นกัน ด้านปลัดกระทรวงการคลังยืนยันไม่มีปัญหาเสถียรภาพทางการคลัง
นายวีรพงษ์ รามางกูร ประธานกรรมการบริหาร บริษัท แอ๊ดวานอะโกร จำกัด (มหาชน) กล่าวในงานสัมมนาทิศทางเศรษฐกิจไทย 2549 จัดโดยสมาคมเศรษฐศาตร์ ม.ธรรมศาสตร์ ว่า ภาพรวมเศรษฐกิจปี 2548 ถือว่าเลวร้ายที่สุด เนื่องจากเจอปัจจัยลบช่วงสึนามิ ปัญหาราคาน้ำมันแพง ปัญหาความไม่สงบในภาคใต้ ปัญหาภัยแล้งและแนวโน้มอัตราดอกเบี้ยที่ปรับสูงขึ้น รวมถึงอัตราเงินเฟ้อที่ปรับขึ้นในช่วงครึ่งปีหลัง แต่เศรษฐกิจสามารถปรับเข้ากับสถานการณ์ได้ค่อนข้างดี จนคาดว่าทั้งปีจะมีอัตราการเติบโตประมาณร้อยละ 4.5 ส่วนปี 2549 เชื่อว่าครึ่งปีแรกเศรษฐกิจจะเติบโตใกล้เคียงกับครึ่งปีหลังของปีนี้ โดยครึ่งปีแรกเชื่อว่าจะโตร้อยละ 5 แต่ครึ่งปีหลังน่าจะเติบโตมากกว่า และปีหน้าเชื่อว่าจะเกิดภาวะเงินตึงตัว เพราะการขยายตัวของสินเชื่อมีการเติบโต ขณะที่ภาคเอกชนจะมีการขยายการลงทุนมากขึ้น ประกอบกับรัฐบาลมีการลงทุนโครงการเมกะโปรเจกต์มากกว่าปีนี้
อย่างไรก็ตาม มีประเด็นที่น่าจับตามองคืออัตราเงินเฟ้อ ซึ่งเชื่อว่าจะเพิ่มขึ้นในช่วงครึ่งปีแรกและมีแนวโน้มลดลงช่วงครึ่งหลัง ขณะที่อัตราดอกเบี้ยยังมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น โดยคาดว่าสหรัฐจะปรับดอกเบี้ยนโยบายไปถึงร้อยละ 4.5 จากปัจจุบันร้อยละ 4 และเชื่อว่า ธปท. ก็จะปรับตามเพื่อไม่ให้เกิดความผันผวนต่ออัตราแลกเปลี่ยน เพราะถ้าปล่อยให้ผันผวนภาคเอกชนจะบริหารธุรกิจลำบาก ส่วนด้านการเงินสัดส่วนสินเชื่อกับเงินฝากอยู่ที่ร้อยละ 94 ซึ่งถือว่าเข้าสู่ดุลยภาพ ขณะที่ผลตอบแทนตราสารหนี้ระยะยาวน่าจะลดลงในช่วงครึ่งปีหลัง อย่างไรก็ตาม ในภาคการส่งออกประเทศไทยควรจะมองตลาดจีน อินเดีย และรัสเซียเพิ่มเติมนอกเหนือจากที่ตลาดอเมริกาและญี่ปุ่น เพราะเชื่อว่าโครงสร้างการส่งออกจะมีการเปลี่ยนแปลงทั้งในส่วนของตัวสินค้าและพื้นที่
นายโฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์ ประธานกรรมการบริหาร ธนาคารกรุงเทพ กล่าวว่า ปีหน้าปัจจัยเสี่ยงเศรษฐกิจยังคงต้องจับตามองภาวะเศรษฐกิจของสหรัฐที่มีการขาดดุลอย่างต่อเนื่อง รวมถึงกำลังการบริโภคของผู้บริโภคอเมริกาที่มีการออมต่ำ และอาจจะทำให้เกิดปัญหาต่อภาพรวมเศรษฐกิจโลกได้ ส่วนปัจจัยภายในต้องจับตามองอัตราเงินเฟ้อที่มีการขยายตัวขึ้นมากในช่วงครึ่งปีหลัง และมองว่าปัจจัยเสี่ยงจากแนวทางการพัฒนาประเทศว่ามีความสำคัญ เพราะถ้านโยบายพัฒนาประเทศไม่สอดคล้องกับความสามารถก็จะทำให้การพัฒนาในทิศทางที่ไม่เหมาะสม ดังนั้น ไม่ว่าประเทศไทยจะมุ่งพัฒนาไปทิศทางไหนจะต้องมองถึงความพร้อมและต้องดำเนินการให้สำเร็จ
นายศุภรัตน์ ควัฒน์กุล ปลัดกระทรวงการคลัง กล่าวถึงแนวโน้มการคลังของประเทศว่า จะไม่มีปัญหาแม้ว่าในปีหน้ารัฐบาลจะต้องลงทุนโครงการเมกะโปรเจกต์ เพราะนโยบายด้านเสถียรภาพการคลังกำหนดไว้ชัดเจน หนี้สาธารณะต้องไม่เกินร้อยละ 50 ของจีดีพี ภาระงบประมาณในการชำระหนี้แต่ละปีต้องไม่เกินร้อยละ 15 ขณะที่การจัดเก็บรายได้ในปี 2549 ตั้งเป้าไว้ที่ 1.36 ล้านล้านบาท โดยเดือนตุลาคมที่ผ่านมามีการจัดเก็บได้เกินเป้าหมายเล็กน้อย และเชื่อว่าเดือนพฤศจิกายนน่าจะเกินเป้าหมายเช่นกัน ขณะที่สัดส่วนหนี้ปัจจุบันต่อจีดีพีอยู่ที่ร้อยละ 15 หรือ 3.25 ล้านล้านบาท จึงไม่เป็นปัญหาแต่อย่างใด ส่วนนโยบายการแปรรูปรัฐวิสาหกิจยังยืนยันว่ามีความจำเป็นที่จะต้องดำเนินการเพื่อลดภาระของการคลัง เพิ่มประสิทธิภาพให้กับหน่วยงานรัฐวิสาหกิจ เพราะการนำรัฐวิสาหกิจเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ ส่วนใหญ่รัฐบาลยังคงเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ จึงไม่น่ามีปัญหาในการบริหารจัดการ
นายวีรพงษ์ รามางกูร ประธานกรรมการบริหาร บริษัท แอ๊ดวานอะโกร จำกัด (มหาชน) กล่าวในงานสัมมนาทิศทางเศรษฐกิจไทย 2549 จัดโดยสมาคมเศรษฐศาตร์ ม.ธรรมศาสตร์ ว่า ภาพรวมเศรษฐกิจปี 2548 ถือว่าเลวร้ายที่สุด เนื่องจากเจอปัจจัยลบช่วงสึนามิ ปัญหาราคาน้ำมันแพง ปัญหาความไม่สงบในภาคใต้ ปัญหาภัยแล้งและแนวโน้มอัตราดอกเบี้ยที่ปรับสูงขึ้น รวมถึงอัตราเงินเฟ้อที่ปรับขึ้นในช่วงครึ่งปีหลัง แต่เศรษฐกิจสามารถปรับเข้ากับสถานการณ์ได้ค่อนข้างดี จนคาดว่าทั้งปีจะมีอัตราการเติบโตประมาณร้อยละ 4.5 ส่วนปี 2549 เชื่อว่าครึ่งปีแรกเศรษฐกิจจะเติบโตใกล้เคียงกับครึ่งปีหลังของปีนี้ โดยครึ่งปีแรกเชื่อว่าจะโตร้อยละ 5 แต่ครึ่งปีหลังน่าจะเติบโตมากกว่า และปีหน้าเชื่อว่าจะเกิดภาวะเงินตึงตัว เพราะการขยายตัวของสินเชื่อมีการเติบโต ขณะที่ภาคเอกชนจะมีการขยายการลงทุนมากขึ้น ประกอบกับรัฐบาลมีการลงทุนโครงการเมกะโปรเจกต์มากกว่าปีนี้
อย่างไรก็ตาม มีประเด็นที่น่าจับตามองคืออัตราเงินเฟ้อ ซึ่งเชื่อว่าจะเพิ่มขึ้นในช่วงครึ่งปีแรกและมีแนวโน้มลดลงช่วงครึ่งหลัง ขณะที่อัตราดอกเบี้ยยังมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น โดยคาดว่าสหรัฐจะปรับดอกเบี้ยนโยบายไปถึงร้อยละ 4.5 จากปัจจุบันร้อยละ 4 และเชื่อว่า ธปท. ก็จะปรับตามเพื่อไม่ให้เกิดความผันผวนต่ออัตราแลกเปลี่ยน เพราะถ้าปล่อยให้ผันผวนภาคเอกชนจะบริหารธุรกิจลำบาก ส่วนด้านการเงินสัดส่วนสินเชื่อกับเงินฝากอยู่ที่ร้อยละ 94 ซึ่งถือว่าเข้าสู่ดุลยภาพ ขณะที่ผลตอบแทนตราสารหนี้ระยะยาวน่าจะลดลงในช่วงครึ่งปีหลัง อย่างไรก็ตาม ในภาคการส่งออกประเทศไทยควรจะมองตลาดจีน อินเดีย และรัสเซียเพิ่มเติมนอกเหนือจากที่ตลาดอเมริกาและญี่ปุ่น เพราะเชื่อว่าโครงสร้างการส่งออกจะมีการเปลี่ยนแปลงทั้งในส่วนของตัวสินค้าและพื้นที่
นายโฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์ ประธานกรรมการบริหาร ธนาคารกรุงเทพ กล่าวว่า ปีหน้าปัจจัยเสี่ยงเศรษฐกิจยังคงต้องจับตามองภาวะเศรษฐกิจของสหรัฐที่มีการขาดดุลอย่างต่อเนื่อง รวมถึงกำลังการบริโภคของผู้บริโภคอเมริกาที่มีการออมต่ำ และอาจจะทำให้เกิดปัญหาต่อภาพรวมเศรษฐกิจโลกได้ ส่วนปัจจัยภายในต้องจับตามองอัตราเงินเฟ้อที่มีการขยายตัวขึ้นมากในช่วงครึ่งปีหลัง และมองว่าปัจจัยเสี่ยงจากแนวทางการพัฒนาประเทศว่ามีความสำคัญ เพราะถ้านโยบายพัฒนาประเทศไม่สอดคล้องกับความสามารถก็จะทำให้การพัฒนาในทิศทางที่ไม่เหมาะสม ดังนั้น ไม่ว่าประเทศไทยจะมุ่งพัฒนาไปทิศทางไหนจะต้องมองถึงความพร้อมและต้องดำเนินการให้สำเร็จ
นายศุภรัตน์ ควัฒน์กุล ปลัดกระทรวงการคลัง กล่าวถึงแนวโน้มการคลังของประเทศว่า จะไม่มีปัญหาแม้ว่าในปีหน้ารัฐบาลจะต้องลงทุนโครงการเมกะโปรเจกต์ เพราะนโยบายด้านเสถียรภาพการคลังกำหนดไว้ชัดเจน หนี้สาธารณะต้องไม่เกินร้อยละ 50 ของจีดีพี ภาระงบประมาณในการชำระหนี้แต่ละปีต้องไม่เกินร้อยละ 15 ขณะที่การจัดเก็บรายได้ในปี 2549 ตั้งเป้าไว้ที่ 1.36 ล้านล้านบาท โดยเดือนตุลาคมที่ผ่านมามีการจัดเก็บได้เกินเป้าหมายเล็กน้อย และเชื่อว่าเดือนพฤศจิกายนน่าจะเกินเป้าหมายเช่นกัน ขณะที่สัดส่วนหนี้ปัจจุบันต่อจีดีพีอยู่ที่ร้อยละ 15 หรือ 3.25 ล้านล้านบาท จึงไม่เป็นปัญหาแต่อย่างใด ส่วนนโยบายการแปรรูปรัฐวิสาหกิจยังยืนยันว่ามีความจำเป็นที่จะต้องดำเนินการเพื่อลดภาระของการคลัง เพิ่มประสิทธิภาพให้กับหน่วยงานรัฐวิสาหกิจ เพราะการนำรัฐวิสาหกิจเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ ส่วนใหญ่รัฐบาลยังคงเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ จึงไม่น่ามีปัญหาในการบริหารจัดการ