กบข.ควงแขนกองทุนเทมมาเซคของสิงค์โปร์ร่วมลงทุนในโครงการเมกะโปรเจกต์ด้านโรงไฟฟ้า ระบบขนส่งมวลชน และสาธารณูปโภคอื่น ๆ พร้อมเตรียมแผนตั้ง บลจ. กบข. ในเดือนมกราคมปีหน้า หลังผ่านความเห็นชอบจากผู้ที่เกี่ยวข้อง ระบุจะไม่ถือหุ้น 100% แต่จะดึงพันธมิตรร่วมลงทุนด้วย
นายวิสิฐ ตันติสุนทร เลขาธิการ กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) เปิดเผยว่า กบข. ได้เจรจากับกองทุนเทมาเซค ของสิงคโปร์ เพื่อร่วมลงทุนในโครงการเมกะโปรเจกต์มูลค่า 1.8 ล้านล้านของรัฐบาล แต่ยังไม่ได้ข้อสรุปว่าจะออกมาในรูปแบบใด ซึ่งเป็นได้ทั้งการจัดตั้งกองทุนร่วมกัน หรือการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ (ซีเคียวริไทเซชั่น) ก็ได้ โดยเบื้องต้นทั้ง กบข. และเทมาเซค สนใจเข้าไปลงทุนในเมกะโปรเจกต์ทางด้านโรงไฟฟ้า ระบบขนส่งมวลชนและสาธารณูปโภคอื่น ๆ
สำหรับแผนการจัดตั้งบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) กบข. นั้น ขณะนี้พระราชบัญญัติการจัดตั้ง บลจ.กบข. อยู่ระหว่างการพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎร คาดว่าจะผ่านความเห็นชอบจากผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งหมดในเดือน มกราคม 2549 และ กบข.จะจัดตั้ง บลจ. ขึ้นมาได้ในเดือนมีนาคมปีหน้า โดย กบข. จะไม่ถือหุ้น 100 เปอร์เซ็นต์ แต่จะดึงพันธมิตรเข้ามาร่วมทุนด้วย เพื่อเพิ่มศักยภาพในการประกอบธุรกิจ ส่วนนโยบายการดำเนินธุรกิจของ บลจ.กบข. นั้น จะไม่ไปแข่งกับกองทุนรวมทั่วไป เพราะ กบข. จะจับตลาดกองทุนเพื่อการเลี้ยงชีพและกองทุนเพื่อการเกษียณอายุ ซึ่งจับกลุ่มเป้าหมายทั้งข้าราชการ พนักงานรัฐวิสาหกิจ และพนักงานบริษัทเอกชน
“บลจ.ที่ กบข. ตั้งขึ้นจะไม่ไปซ้ำซ้อนกับนโยบายการจัดตั้งกองทุนบำเหน็จบำนาญแห่งชาติ หรือ กบช. เนื่องจาก กบช. เป็นการออมภาคบังคับ แต่การออมผ่าน บลจ. ของ กบข. เป็นการออมโดยสมัครใจ” นายวิสิฐ กล่าว
นายวิสิฐ กล่าวว่า ปัจจุบัน กบข.มีสัดส่วนการลงทุนในตลาดหุ้นไทยอยู่ร้อยละ 13.5 จากมูลค่าสินทรัพย์ที่มีอยู่ 280,000 ล้านบาท ขณะที่เพดานการลงทุนในตลาดหุ้นไทยอยู่ที่ร้อยละ 20 ซึ่งหากนับรวมการลงทุนมูลค่า 6,000 ล้านบาท ในบริษัท อุตสาหกรรมปิโตรเคมีกัลไทย จำกัด (มหาชน) หรือทีพีไอ ที่กำลังจะเกิดขึ้นแล้ว จะทำให้สัดส่วนการลงทุนในตลาดหุ้นไทยเพิ่มขึ้นอีกมาก โดยที่ผ่านมา กบข.ได้ยื่นขอขยายเพดานการลงทุนในตลาดหุ้นไทยเป็นร้อยละ 25 แล้ว คาดว่าจะได้รับการอนุมัติในต้นปีหน้า
ขณะเดียวกัน กบข. มีแผนขอขยายเพดานการลงทุนในต่างประเทศเพิ่มขึ้นอีกจากปัจจุบันที่ลงทุนเต็มเพดาน ซึ่งกำหนดไว้ที่ร้อยละ 10 แล้ว โดยเหตุผลในการขอขยายเพดานดังกล่าว เนื่องจากการออกไปลงทุนในต่างประเทศ ถือเป็นการกระจายความเสี่ยงในการลงทุน และที่ผ่านมาการลงทุนในต่างประเทศก็ให้ผลตอบแทนที่ดี ซึ่งในปีนี้การลงทุนในตลาดตราสารหนี้ต่างประเทศให้ผลตอบแทนประมาณร้อยละ 4 ส่วนการลงทุนในตลาดหุ้นต่างประเทศให้ผลตอบแทนร้อยละ 10
นายวิสิฐ กล่าวถึงการลงทุนในทีพีไอ ว่า บริษัทได้กันเงินลงทุนในส่วนนี้ไว้แล้ว และรอเพียงคำสั่งของศาลล้มละลายกลางในวันที่ 29 พฤศจิกายน 2548 นี้ ว่าจะเห็นชอบกับคำรองของ นายประชัย เลี่ยวไพรัตน์ ที่ขอให้ผู้ถือหุ้นเดิมมีสิทธิซื้อหุ้นเพิ่มทุนก่อนกลุ่มพันธมิตรหรือไม่ หากศาลยกคำร้องของนายประชัย กบข. ก็พร้อมจะใส่เงินให้ทีพีไอในวันที่ 13 ธันวาคมนี้ ตามแผนที่วางไว้ โดย กบข. มีนโยบายลงทุนในระยะยาวในทีพีไอ และคงไม่ขายหุ้นออกมาหลังจากถือหุ้นไปแล้ว 2 ปี ซึ่งเป็นระยะเวลาขั้นต่ำในการการถือหุ้นที่กลุ่มพันธมิตรทำร่วมกันไว้ แต่คงต้องดูวงจรธุรกิจของทีพีไอในช่วงนั้นประกอบด้วย
นายวิสิฐ ตันติสุนทร เลขาธิการ กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) เปิดเผยว่า กบข. ได้เจรจากับกองทุนเทมาเซค ของสิงคโปร์ เพื่อร่วมลงทุนในโครงการเมกะโปรเจกต์มูลค่า 1.8 ล้านล้านของรัฐบาล แต่ยังไม่ได้ข้อสรุปว่าจะออกมาในรูปแบบใด ซึ่งเป็นได้ทั้งการจัดตั้งกองทุนร่วมกัน หรือการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ (ซีเคียวริไทเซชั่น) ก็ได้ โดยเบื้องต้นทั้ง กบข. และเทมาเซค สนใจเข้าไปลงทุนในเมกะโปรเจกต์ทางด้านโรงไฟฟ้า ระบบขนส่งมวลชนและสาธารณูปโภคอื่น ๆ
สำหรับแผนการจัดตั้งบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) กบข. นั้น ขณะนี้พระราชบัญญัติการจัดตั้ง บลจ.กบข. อยู่ระหว่างการพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎร คาดว่าจะผ่านความเห็นชอบจากผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งหมดในเดือน มกราคม 2549 และ กบข.จะจัดตั้ง บลจ. ขึ้นมาได้ในเดือนมีนาคมปีหน้า โดย กบข. จะไม่ถือหุ้น 100 เปอร์เซ็นต์ แต่จะดึงพันธมิตรเข้ามาร่วมทุนด้วย เพื่อเพิ่มศักยภาพในการประกอบธุรกิจ ส่วนนโยบายการดำเนินธุรกิจของ บลจ.กบข. นั้น จะไม่ไปแข่งกับกองทุนรวมทั่วไป เพราะ กบข. จะจับตลาดกองทุนเพื่อการเลี้ยงชีพและกองทุนเพื่อการเกษียณอายุ ซึ่งจับกลุ่มเป้าหมายทั้งข้าราชการ พนักงานรัฐวิสาหกิจ และพนักงานบริษัทเอกชน
“บลจ.ที่ กบข. ตั้งขึ้นจะไม่ไปซ้ำซ้อนกับนโยบายการจัดตั้งกองทุนบำเหน็จบำนาญแห่งชาติ หรือ กบช. เนื่องจาก กบช. เป็นการออมภาคบังคับ แต่การออมผ่าน บลจ. ของ กบข. เป็นการออมโดยสมัครใจ” นายวิสิฐ กล่าว
นายวิสิฐ กล่าวว่า ปัจจุบัน กบข.มีสัดส่วนการลงทุนในตลาดหุ้นไทยอยู่ร้อยละ 13.5 จากมูลค่าสินทรัพย์ที่มีอยู่ 280,000 ล้านบาท ขณะที่เพดานการลงทุนในตลาดหุ้นไทยอยู่ที่ร้อยละ 20 ซึ่งหากนับรวมการลงทุนมูลค่า 6,000 ล้านบาท ในบริษัท อุตสาหกรรมปิโตรเคมีกัลไทย จำกัด (มหาชน) หรือทีพีไอ ที่กำลังจะเกิดขึ้นแล้ว จะทำให้สัดส่วนการลงทุนในตลาดหุ้นไทยเพิ่มขึ้นอีกมาก โดยที่ผ่านมา กบข.ได้ยื่นขอขยายเพดานการลงทุนในตลาดหุ้นไทยเป็นร้อยละ 25 แล้ว คาดว่าจะได้รับการอนุมัติในต้นปีหน้า
ขณะเดียวกัน กบข. มีแผนขอขยายเพดานการลงทุนในต่างประเทศเพิ่มขึ้นอีกจากปัจจุบันที่ลงทุนเต็มเพดาน ซึ่งกำหนดไว้ที่ร้อยละ 10 แล้ว โดยเหตุผลในการขอขยายเพดานดังกล่าว เนื่องจากการออกไปลงทุนในต่างประเทศ ถือเป็นการกระจายความเสี่ยงในการลงทุน และที่ผ่านมาการลงทุนในต่างประเทศก็ให้ผลตอบแทนที่ดี ซึ่งในปีนี้การลงทุนในตลาดตราสารหนี้ต่างประเทศให้ผลตอบแทนประมาณร้อยละ 4 ส่วนการลงทุนในตลาดหุ้นต่างประเทศให้ผลตอบแทนร้อยละ 10
นายวิสิฐ กล่าวถึงการลงทุนในทีพีไอ ว่า บริษัทได้กันเงินลงทุนในส่วนนี้ไว้แล้ว และรอเพียงคำสั่งของศาลล้มละลายกลางในวันที่ 29 พฤศจิกายน 2548 นี้ ว่าจะเห็นชอบกับคำรองของ นายประชัย เลี่ยวไพรัตน์ ที่ขอให้ผู้ถือหุ้นเดิมมีสิทธิซื้อหุ้นเพิ่มทุนก่อนกลุ่มพันธมิตรหรือไม่ หากศาลยกคำร้องของนายประชัย กบข. ก็พร้อมจะใส่เงินให้ทีพีไอในวันที่ 13 ธันวาคมนี้ ตามแผนที่วางไว้ โดย กบข. มีนโยบายลงทุนในระยะยาวในทีพีไอ และคงไม่ขายหุ้นออกมาหลังจากถือหุ้นไปแล้ว 2 ปี ซึ่งเป็นระยะเวลาขั้นต่ำในการการถือหุ้นที่กลุ่มพันธมิตรทำร่วมกันไว้ แต่คงต้องดูวงจรธุรกิจของทีพีไอในช่วงนั้นประกอบด้วย