“เจริญ” เล็งผุดโรงงานเบียร์แห่งที่ 4 รองรับตลาดเบียร์ขยายตัว พร้อมทุ่ม 7,250 ล้านบาทขยายกำลังการผลิตอีก 500 ล้านลิตร เติมเต็มศูนย์ผลิตเบียร์ทั่วประเทศ ชูนโยบายแยกโรงงานส่งออก-ภายในประเทศชัดเจน หวังสานฝันโกอินเตอร์เต็มสูบ ล่าสุดเจียดงบระบบบำบัดน้ำเสีย 200 ล้านบาท สร้างภาพลักษณ์ไทยเบฟฯ
นายพิษณุ วิเชียรสรรค์ กรรมการผู้ช่วยกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) ผู้ผลิตและจำหน่ายเบียร์ช้าง อาชา เปิดเผยว่า บริษัทฯ ได้ทุ่มงบประมาณ 7,250 ล้านบาท ขยายกำลังการผลิตที่โรงงานจังหวัดกำแพงเพชร เมื่อกลางปีที่ผ่านมาจาก 440 ล้านลิตรต่อปี เป็น 900 ล้านลิตรต่อปี และขยายพื้นที่จาก 1,600 ไร่ เป็น 1,900 ไร่ โดยวางให้โรงงานที่จังหวัดกำแพงเพชรเป็นโรงงานที่รองรับการขยายตัวและทำตลาดภายในประเทศอย่างชัดเจน ซึ่งปัจจุบันโรงงานแห่งนี้เป็นศูนย์ผลิตภาคเหนือตอนบน และภาคอีสาน และหากโรงงานแล้วเสร็จในเดือนกันยายนปีหน้าจะทำให้กลายเป็นศูนย์ผลิตเบียร์ไปยังภาคเหนือตอนล่าง ตะวันออก และภาคใต้ ครอบคลุมทั่วประเทศ
พร้อมกันนี้ บริษัทยังได้เตรียมจัดตั้งโรงงานแห่งที่ 4 ซึ่งคาดว่าจะอยู่ในบริเวณจังหวัดพระนครศรีอยุธยา เพื่อเป็นศูนย์ผลิตเบียร์รองรับการขยายตัวของตลาดภายในประเทศ โดยมองว่ากำลังการผลิตที่เพิ่มขึ้น 500 ล้านลิตรที่โรงงานกำแพงเพชร จะรองรับอัตราการขยายตัวของตลาดได้เพียงไม่กี่ปีเท่านั้นด้วย เพราะจากแนวโน้มการขยายตัวของตลาดเบียร์ในเชิงปริมาณ 1,500-1,600 ล้านลิตรในไทยยังคงเติบโตได้อีก โดยปัจจุบันอัตราการบริโภคเบียร์คนไทยประมาณ 25 ลิตรต่อคนต่อปีเท่านั้น พบว่า ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมาการบริโภคเบียร์เพิ่มขึ้น 5 เท่าตัว หรือเติบโตเฉลี่ยปีละ 5% เมื่อเทียบกับญี่ปุ่น 70-80 ลิตรต่อคนต่อปี ขณะที่เชคฯ 200 ลิตรต่อคนต่อปี ทำให้ตลาดเบียร์ในไทยยังเป็นตลาดที่มีศักยภาพในการขยายตัว
ขณะเดียวกัน บริษัทฯ จะนำโรงงานที่ อ.วังน้อย และโรงงานที่ อ.บางบาล จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ซึ่งเป็นศูนย์ผลิตเบียร์ในภาคตะวันออก ภาคกลางตอนบน ภาคใต้ เป็นศูนย์ผลิตเบียร์ส่งออกอย่างเต็มตัว จากปัจจุบันโรงงาน อ.วังน้อย กำลังการผลิตเบียร์ 120 ล้านลิตรต่อปี ส่วนโรงงาน อ.บางบาล 530 ล้านลิตรต่อปี
ล่าสุดได้ตั้งบริษัท อินเตอร์เนชั่นแนล เบฟเวอเรจ โฮลดิ้ง ที่ประเทศฮ่องกง เพื่อดูแลด้านการทำตลาดต่างประเทศ โดยจากนี้บริษัทจะเริ่มบุกตลาดต่างประเทศอย่างจริงจัง เพราะถือว่ามีความพร้อมด้านการผลิตเพื่อรองรับตลาดทั้งภายในและตลาดต่างประเทศ จากปัจจุบันนี้ได้ส่งออกไปแล้ว 18 ประเทศทั่วโลก
“ที่ผ่านมาเรายังไม่มีความพร้อมที่จะขยายต่างประเทศมากนัก เนื่องจากกำลังการผลิตในประเทศไม่เพียงพอ เราต้องการให้เบียร์ที่จำหน่ายภายในประเทศสดใหม่ตลอด โดยจะไม่มีการสต็อกเบียร์ไว้นานเกิน 6 เดือน ซึ่งกำลังการผลิตเบียร์ป้อนตลาดประมาณ 10 ล้านกล่องต่อเดือน ในขณะที่ความต้องการในตลาดอย่างน้อย 3 ล้านกล่องต่อเดือน”
ล่าสุด ได้ทุ่มงบขยายระบบบำบัดน้ำเสียเฟส 2 ประมาณ 200 ล้านบาท โดยแบ่งเป็นงบเครื่องจักรต่างประเทศ 150 ล้านบาท และค่าก่อสร้างในประเทศ 50 ล้านบาท ที่โรงงานจังหวัดกำแพงเพชร ซึ่งเป็นโรงงานที่ใหญ่ที่สุดในขณะนี้ ทั้งนี้เพื่อสร้างภาพลักษณ์ที่ดีของกลุ่มธุรกิจไทยเบฟฯในชุมชน โดยภายใต้นโยบายการผลิตสินค้าที่มีคุณภาพและคำนึงถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งโรงงานแห่งนี้ได้ระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม ISO 14001 ฯลฯ ซึ่งปัจจุบันบริษัทจ่ายค่าบำบัดน้ำเสียมากกว่า 1.3 ล้านบาท อีกทั้งยังได้นำน้ำที่ผ่านการบำบัดของโรงงานมาใช้ในการทำนาให้กับเกษตรกร นอกจากนี้ยังมีนโยบายประหยัดพลังงานปีนี้วางไว้ถึง 7.5%
ปัจจุบัน บริษัท ไทยเบฟฯ จ่ายภาษีสรรพสามิตราว 29,000 ล้านบาทต่อปี หรือเฉลี่ยวันละ 80 ล้านบาท แบ่งเป็นภาษีมหาดไทย 2,000 ล้านบาทต่อปี และภาษีสุขภาพ 500 ล้านบาทต่อปี เป็นต้น โดยเบียร์ช้างเป็นผู้นำตลาดเบียร์โดยรวมมีส่วนแบ่ง 61% จากมูลค่าตลาด 82,000 ล้านบาท
สิงห์พัฒนาระบบผลิต
นายปิติ ภิรมย์ภักดี ผู้จัดการฝ่ายโฆษณา บริษัท บุญรอด เทรดดิ้ง จำกัด ผู้ผลิตและจำหน่ายเบียร์สิงห์ ลีโอ ไทเบียร์ กล่าวว่า บริษัทฯเตรียมปรับตัวเพื่อรับมือกับการแข่งจันในตลาดเบียร์ รวมทั้งต้นทุนการผลิตที่เพิ่มขึ้นในช่วงปีที่ผ่านมา โดยจะทุ่มงบประมาณ 150 ล้านบาทเพื่อพัฒนาด้านเครื่องจักร และปรับปรุงศักยภาพระบบการผลิตเบียร์เพื่อให้มีปริมาณที่เพิ่มขึ้น และจะลดระยะเวลาการผลิตให้น้อยลงจากเครื่องจักรลงทุนซื้อเครื่องจักรใหม่ที่ใช้งบประมาณสูงกว่านี้ ทั้งนี้ การปรับปรุงดังกล่าวจะช่วยทำให้เพิ่มกำลังการผลิตเบียร์ได้อีก 150 ล้านลิตร จากปัจจุบันบริษัทฯมีกำลังการผลิตเบียร์ 650-660 ล้านลิตรต่อปี
นายพิษณุ วิเชียรสรรค์ กรรมการผู้ช่วยกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) ผู้ผลิตและจำหน่ายเบียร์ช้าง อาชา เปิดเผยว่า บริษัทฯ ได้ทุ่มงบประมาณ 7,250 ล้านบาท ขยายกำลังการผลิตที่โรงงานจังหวัดกำแพงเพชร เมื่อกลางปีที่ผ่านมาจาก 440 ล้านลิตรต่อปี เป็น 900 ล้านลิตรต่อปี และขยายพื้นที่จาก 1,600 ไร่ เป็น 1,900 ไร่ โดยวางให้โรงงานที่จังหวัดกำแพงเพชรเป็นโรงงานที่รองรับการขยายตัวและทำตลาดภายในประเทศอย่างชัดเจน ซึ่งปัจจุบันโรงงานแห่งนี้เป็นศูนย์ผลิตภาคเหนือตอนบน และภาคอีสาน และหากโรงงานแล้วเสร็จในเดือนกันยายนปีหน้าจะทำให้กลายเป็นศูนย์ผลิตเบียร์ไปยังภาคเหนือตอนล่าง ตะวันออก และภาคใต้ ครอบคลุมทั่วประเทศ
พร้อมกันนี้ บริษัทยังได้เตรียมจัดตั้งโรงงานแห่งที่ 4 ซึ่งคาดว่าจะอยู่ในบริเวณจังหวัดพระนครศรีอยุธยา เพื่อเป็นศูนย์ผลิตเบียร์รองรับการขยายตัวของตลาดภายในประเทศ โดยมองว่ากำลังการผลิตที่เพิ่มขึ้น 500 ล้านลิตรที่โรงงานกำแพงเพชร จะรองรับอัตราการขยายตัวของตลาดได้เพียงไม่กี่ปีเท่านั้นด้วย เพราะจากแนวโน้มการขยายตัวของตลาดเบียร์ในเชิงปริมาณ 1,500-1,600 ล้านลิตรในไทยยังคงเติบโตได้อีก โดยปัจจุบันอัตราการบริโภคเบียร์คนไทยประมาณ 25 ลิตรต่อคนต่อปีเท่านั้น พบว่า ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมาการบริโภคเบียร์เพิ่มขึ้น 5 เท่าตัว หรือเติบโตเฉลี่ยปีละ 5% เมื่อเทียบกับญี่ปุ่น 70-80 ลิตรต่อคนต่อปี ขณะที่เชคฯ 200 ลิตรต่อคนต่อปี ทำให้ตลาดเบียร์ในไทยยังเป็นตลาดที่มีศักยภาพในการขยายตัว
ขณะเดียวกัน บริษัทฯ จะนำโรงงานที่ อ.วังน้อย และโรงงานที่ อ.บางบาล จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ซึ่งเป็นศูนย์ผลิตเบียร์ในภาคตะวันออก ภาคกลางตอนบน ภาคใต้ เป็นศูนย์ผลิตเบียร์ส่งออกอย่างเต็มตัว จากปัจจุบันโรงงาน อ.วังน้อย กำลังการผลิตเบียร์ 120 ล้านลิตรต่อปี ส่วนโรงงาน อ.บางบาล 530 ล้านลิตรต่อปี
ล่าสุดได้ตั้งบริษัท อินเตอร์เนชั่นแนล เบฟเวอเรจ โฮลดิ้ง ที่ประเทศฮ่องกง เพื่อดูแลด้านการทำตลาดต่างประเทศ โดยจากนี้บริษัทจะเริ่มบุกตลาดต่างประเทศอย่างจริงจัง เพราะถือว่ามีความพร้อมด้านการผลิตเพื่อรองรับตลาดทั้งภายในและตลาดต่างประเทศ จากปัจจุบันนี้ได้ส่งออกไปแล้ว 18 ประเทศทั่วโลก
“ที่ผ่านมาเรายังไม่มีความพร้อมที่จะขยายต่างประเทศมากนัก เนื่องจากกำลังการผลิตในประเทศไม่เพียงพอ เราต้องการให้เบียร์ที่จำหน่ายภายในประเทศสดใหม่ตลอด โดยจะไม่มีการสต็อกเบียร์ไว้นานเกิน 6 เดือน ซึ่งกำลังการผลิตเบียร์ป้อนตลาดประมาณ 10 ล้านกล่องต่อเดือน ในขณะที่ความต้องการในตลาดอย่างน้อย 3 ล้านกล่องต่อเดือน”
ล่าสุด ได้ทุ่มงบขยายระบบบำบัดน้ำเสียเฟส 2 ประมาณ 200 ล้านบาท โดยแบ่งเป็นงบเครื่องจักรต่างประเทศ 150 ล้านบาท และค่าก่อสร้างในประเทศ 50 ล้านบาท ที่โรงงานจังหวัดกำแพงเพชร ซึ่งเป็นโรงงานที่ใหญ่ที่สุดในขณะนี้ ทั้งนี้เพื่อสร้างภาพลักษณ์ที่ดีของกลุ่มธุรกิจไทยเบฟฯในชุมชน โดยภายใต้นโยบายการผลิตสินค้าที่มีคุณภาพและคำนึงถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งโรงงานแห่งนี้ได้ระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม ISO 14001 ฯลฯ ซึ่งปัจจุบันบริษัทจ่ายค่าบำบัดน้ำเสียมากกว่า 1.3 ล้านบาท อีกทั้งยังได้นำน้ำที่ผ่านการบำบัดของโรงงานมาใช้ในการทำนาให้กับเกษตรกร นอกจากนี้ยังมีนโยบายประหยัดพลังงานปีนี้วางไว้ถึง 7.5%
ปัจจุบัน บริษัท ไทยเบฟฯ จ่ายภาษีสรรพสามิตราว 29,000 ล้านบาทต่อปี หรือเฉลี่ยวันละ 80 ล้านบาท แบ่งเป็นภาษีมหาดไทย 2,000 ล้านบาทต่อปี และภาษีสุขภาพ 500 ล้านบาทต่อปี เป็นต้น โดยเบียร์ช้างเป็นผู้นำตลาดเบียร์โดยรวมมีส่วนแบ่ง 61% จากมูลค่าตลาด 82,000 ล้านบาท
สิงห์พัฒนาระบบผลิต
นายปิติ ภิรมย์ภักดี ผู้จัดการฝ่ายโฆษณา บริษัท บุญรอด เทรดดิ้ง จำกัด ผู้ผลิตและจำหน่ายเบียร์สิงห์ ลีโอ ไทเบียร์ กล่าวว่า บริษัทฯเตรียมปรับตัวเพื่อรับมือกับการแข่งจันในตลาดเบียร์ รวมทั้งต้นทุนการผลิตที่เพิ่มขึ้นในช่วงปีที่ผ่านมา โดยจะทุ่มงบประมาณ 150 ล้านบาทเพื่อพัฒนาด้านเครื่องจักร และปรับปรุงศักยภาพระบบการผลิตเบียร์เพื่อให้มีปริมาณที่เพิ่มขึ้น และจะลดระยะเวลาการผลิตให้น้อยลงจากเครื่องจักรลงทุนซื้อเครื่องจักรใหม่ที่ใช้งบประมาณสูงกว่านี้ ทั้งนี้ การปรับปรุงดังกล่าวจะช่วยทำให้เพิ่มกำลังการผลิตเบียร์ได้อีก 150 ล้านลิตร จากปัจจุบันบริษัทฯมีกำลังการผลิตเบียร์ 650-660 ล้านลิตรต่อปี