สศอ.เผยผลการศึกษาความร่วมมือด้านอุตสาหกรรม AICO พบว่า มีมูลค่ากว่า 1,500 ล้านดอลลาร์สหรัฐต่อปี โดยความร่วมมือดังกล่าว จะมีแผนผลักดันอาเซียนให้เป็นตลาดที่แข็งแกร่งและแข่งขันกับทั่วโลกได้ สำหรับอุตสาหกรรมที่เข้าร่วมโครงการดังกล่าวมากที่สุด ได้แก่ อุตสาหกรรมยานยนต์ พร้อมแนะผู้ประกอบเร่งปรับตัวรับการแข่งขันด้านราคาภายใต้โครงการนี้ด้วย
นางอรรชกา บริมเบิล ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) เปิดเผยว่า สศอ. ได้ศึกษาโครงการความร่วมมือด้านอุตสาหกรรมของอาเซียน (ASEAN Industrial Cooperation Scheme : AICO) โดยมุ่งหวังให้อาเชียนเพิ่มพูนความสามารถการแข่งขันของบริษัทในประเทศสมาชิก ผ่านหลักการประหยัดต่อขนาดการผลิต (Economies of Scale) การประหยัดต่อประเภท (Economies of Scope) รวมทั้งการแบ่งงานกันทำตามความชำนาญ และการส่งเสริมการลงทุนให้ขยายตัวเพิ่มขึ้น ด้วยการสนับสนุนซึ่งกันและกัน (Complementary) ของกิจกรรมทางอุตสาหกรรมระหว่างประเทศ และการเชื่อมโยงของอุตสาหกรรมในภาพรวมที่ต้องการให้อาเซียนเป็นตลาดเดียว
นางอรรชกา กล่าวถึงประโยชน์ที่บริษัทจะได้จากการเข้าร่วมโครงการ AICO ว่า จะได้รับสิทธิประโยชน์ด้านภาษีแก่สินค้าที่เข้าร่วมโครงการ ซึ่งปัจจุบันทุกประเทศให้สิทธิยกเว้นภาษีศุลกากรขาเข้าแก่สินค้าที่เข้าร่วมโครงการตั้งแต่ปี 2005 เป็นต้นไปแล้ว ทำให้ต้นทุนการผลิตของบริษัทที่เข้าร่วมโครงการลดลง และทำให้ขีดความสามารถในการแข่งขันสูงขึ้นตามไปด้วย จึงเป็นเหตุจูงใจให้ภาคเอกชนสนใจเข้าร่วมโครงการเป็นจำนวนมาก นอกจากนี้ผลการศึกษา พบว่าการลดภาษีสินค้าอุตสาหกรรม มีผลให้ประชาชนได้รับประโยชน์จากราคาสินค้าที่ลดลง และในภาพรวมของประเทศจะส่งผลต่อการจ้างงานและการส่งออกอุตสาหกรรมสำเร็จรูปสูงขึ้น แต่การอนุมัติโครงการนั้น จะพิจารณาถึงรายการสินค้าที่เข้าร่วมโครงการ AICO ที่อาจจะเป็นสินค้าที่ทดแทนสินค้าในประเทศ ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อผู้ผลิตในประเทศได้หากผู้ผลิตไม่ปรับตัวให้ทันต่อการลดลงของราคาสินค้านำเข้าภายใต้โครงการนี้ด้วย
ผู้อำนวยการ สศอ. กล่าวอีกว่า จากผลการศึกษาระบุว่า ตั้งแต่เริ่มมีการลงนามความตกลงจนถึงปัจจุบันมีภาคเอกชนยื่นคำขอเข้าร่วมโครงการ โดยเป็นบริษัทที่มีคุณสมบัติตามหลักเกณฑ์ทั้งสิ้น 193 คำขอ เป็นคำขอที่ได้รับการอนุมัติให้เป็นโครงการ AICO จำนวน 126 โครงการ มีมูลค่าประมาณ 1,537 ล้านดอลลาร์สหรัฐต่อปี โดยในจำนวนนี้เป็นโครงการของไทยทั้งสิ้น 81 โครงการ และกว่าร้อยละ 80 ของคำขอเข้าร่วมโครงการ AICO เป็นโครงการแลกเปลี่ยนในอุตสาหกรรมยานยนต์ โดยเกือบทั้งหมดเป็นบรรษัทข้ามชาติขนาดใหญ่ ซึ่งมีฐานการผลิตยานยนต์ในเกือบทุกประเทศในอาเซียน บริษัทเหล่านี้จึงสามารถดำเนินการแลกเปลี่ยนสินค้าภายใต้กรอบ AICO ได้ง่าย เนื่องจากมีหน่วยงานวางแผนกลางที่บริษัทแม่หรือศูนย์กลางบริหารในภูมิภาคเป็นผู้ตัดสินใจวางแผนการผลิต (Production Portfolio) ทั้งภูมิภาคการแลกเปลี่ยนสินค้าภายใต้ AICO จะทำให้บริษัทสามารถได้ประโยชน์ทั้งจากการประหยัดต่อขนาดและประเภท (Economies of Scale and Economies of Scope) นำไปสู่การผลิตยานยนต์ที่มีต้นทุนการผลิตรวมลดลงสามารถแข่งขันกับกลุ่มการค้าอื่น ๆ ทั่วโลกได้อย่างมีประสิทธิภาพต่อไป
นางอรรชกา บริมเบิล ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) เปิดเผยว่า สศอ. ได้ศึกษาโครงการความร่วมมือด้านอุตสาหกรรมของอาเซียน (ASEAN Industrial Cooperation Scheme : AICO) โดยมุ่งหวังให้อาเชียนเพิ่มพูนความสามารถการแข่งขันของบริษัทในประเทศสมาชิก ผ่านหลักการประหยัดต่อขนาดการผลิต (Economies of Scale) การประหยัดต่อประเภท (Economies of Scope) รวมทั้งการแบ่งงานกันทำตามความชำนาญ และการส่งเสริมการลงทุนให้ขยายตัวเพิ่มขึ้น ด้วยการสนับสนุนซึ่งกันและกัน (Complementary) ของกิจกรรมทางอุตสาหกรรมระหว่างประเทศ และการเชื่อมโยงของอุตสาหกรรมในภาพรวมที่ต้องการให้อาเซียนเป็นตลาดเดียว
นางอรรชกา กล่าวถึงประโยชน์ที่บริษัทจะได้จากการเข้าร่วมโครงการ AICO ว่า จะได้รับสิทธิประโยชน์ด้านภาษีแก่สินค้าที่เข้าร่วมโครงการ ซึ่งปัจจุบันทุกประเทศให้สิทธิยกเว้นภาษีศุลกากรขาเข้าแก่สินค้าที่เข้าร่วมโครงการตั้งแต่ปี 2005 เป็นต้นไปแล้ว ทำให้ต้นทุนการผลิตของบริษัทที่เข้าร่วมโครงการลดลง และทำให้ขีดความสามารถในการแข่งขันสูงขึ้นตามไปด้วย จึงเป็นเหตุจูงใจให้ภาคเอกชนสนใจเข้าร่วมโครงการเป็นจำนวนมาก นอกจากนี้ผลการศึกษา พบว่าการลดภาษีสินค้าอุตสาหกรรม มีผลให้ประชาชนได้รับประโยชน์จากราคาสินค้าที่ลดลง และในภาพรวมของประเทศจะส่งผลต่อการจ้างงานและการส่งออกอุตสาหกรรมสำเร็จรูปสูงขึ้น แต่การอนุมัติโครงการนั้น จะพิจารณาถึงรายการสินค้าที่เข้าร่วมโครงการ AICO ที่อาจจะเป็นสินค้าที่ทดแทนสินค้าในประเทศ ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อผู้ผลิตในประเทศได้หากผู้ผลิตไม่ปรับตัวให้ทันต่อการลดลงของราคาสินค้านำเข้าภายใต้โครงการนี้ด้วย
ผู้อำนวยการ สศอ. กล่าวอีกว่า จากผลการศึกษาระบุว่า ตั้งแต่เริ่มมีการลงนามความตกลงจนถึงปัจจุบันมีภาคเอกชนยื่นคำขอเข้าร่วมโครงการ โดยเป็นบริษัทที่มีคุณสมบัติตามหลักเกณฑ์ทั้งสิ้น 193 คำขอ เป็นคำขอที่ได้รับการอนุมัติให้เป็นโครงการ AICO จำนวน 126 โครงการ มีมูลค่าประมาณ 1,537 ล้านดอลลาร์สหรัฐต่อปี โดยในจำนวนนี้เป็นโครงการของไทยทั้งสิ้น 81 โครงการ และกว่าร้อยละ 80 ของคำขอเข้าร่วมโครงการ AICO เป็นโครงการแลกเปลี่ยนในอุตสาหกรรมยานยนต์ โดยเกือบทั้งหมดเป็นบรรษัทข้ามชาติขนาดใหญ่ ซึ่งมีฐานการผลิตยานยนต์ในเกือบทุกประเทศในอาเซียน บริษัทเหล่านี้จึงสามารถดำเนินการแลกเปลี่ยนสินค้าภายใต้กรอบ AICO ได้ง่าย เนื่องจากมีหน่วยงานวางแผนกลางที่บริษัทแม่หรือศูนย์กลางบริหารในภูมิภาคเป็นผู้ตัดสินใจวางแผนการผลิต (Production Portfolio) ทั้งภูมิภาคการแลกเปลี่ยนสินค้าภายใต้ AICO จะทำให้บริษัทสามารถได้ประโยชน์ทั้งจากการประหยัดต่อขนาดและประเภท (Economies of Scale and Economies of Scope) นำไปสู่การผลิตยานยนต์ที่มีต้นทุนการผลิตรวมลดลงสามารถแข่งขันกับกลุ่มการค้าอื่น ๆ ทั่วโลกได้อย่างมีประสิทธิภาพต่อไป