เศรษฐกิจซบฉุดผลการดำเนินงานแอมเวย์ (ประเทศไทย) ในปีนี้ลดลงกว่า 3% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มียอดขายกว่า 9.2 พันล้านบาท ผู้บริหารสั่งอัดฉีดค่าความพยายามให้กับนักขายแอมเวย์เพิ่มขึ้นอีก 5% หวังประคับประคองยอดขายไม่ให้ปรับตัวลดลงในปีหน้า
นายปรีชา ประกอบกิจ กรรมการผู้จัดการ บริษัท แอมเวย์ (ประเทศไทย) จำกัด เปิดเผยว่า ผลการดำเนินงานของบริษัทฯในปีบัญชี 2548 (กันยายน 2547-สิงหาคม 2548) ยอดขายจำนวน 8,990 ล้านบาท ลดลง 3% เมื่อเทียบกับงวดเดียวกันของปีก่อนที่มียอดขายกว่า 9,280 ล้านบาท เนื่องจากได้รับผลกระทบจากการที่เศรษฐกิจชะลอตัวจากปัญหาราคาน้ำมัน
"เราพอใจกับผลประกอบการที่สามารถรักษาฐานขนาดใหญ่ไว้ได้ด้วยยอดขายเกือบ 9 พันล้านบาท ท่ามกลางสภาวะเศรษฐกิจที่มีปัจจัยลบเข้ามากระทบต่อเนื่องตลอด 1 ปีที่ผ่านมา อย่างไรก็ตาม เรามั่นใจว่ากลยุทธ์หลักๆในการดำเนินธุรกิจ และการทำตลาดในปีที่ผ่านมา ได้เดินมาถูกทางแล้ว ดังนั้นในปีนี้จะมุ่งสานต่อเรื่องการสร้างแบรนด์ให้แข็งแกร่ง ทั้งในกลุ่มผลิตภัณฑ์เสริมอาหารนิวไลท์ และเครื่องสำอางอาร์ทิสทรี นอกจากนั้นจะเน้น แผนงานเพื่อเพิ่มศักยภาพขององค์กรนักธุรกิจแอมเวย์ที่มีอยู่ โดยนำกลยุทธ์ด้านการบริหารความสัมพันธ์ลูกค้ามาปรับใช้ให้มากขึ้น" นายปรีชากล่าว
นายปรีชา กล่าวว่า ขณะนี้บริษัทฯมีนักธุรกิจแอมเวย์ ซึ่งไม่ใช่ลูกจ้างหรือพนักงานของบริษัทฯ แต่ดำเนินธุรกิจในฐานะเป็นเจ้าของกิจการขนาดย่อมๆของตัวเอง โดยมียอดสั่งซื้อสินค้าอย่างสม่ำเสมอ และต่ออายุสมาชิกภาพอย่างต่อเนื่องรวม 280,000 รหัส มีสมาชิกที่สมัครใช้สินค้าและต่ออายุสมาชิกภาพอีกจำนวน 400,000 รายทั่วประเทศ โดยบริษัทฯได้ประกาศปรับดัชนีค่าความพยายาม เพิ่มขึ้นประมาณ 5% ซึ่งจะส่งผลให้นักธุรกิจแอมเวย์ที่ดำเนินธุรกิจอย่างต่อเนื่องมีรายได้เพิ่มขึ้นทั่วประเทศ
นอกจากนี้ ยังได้จัดเตรียมรายการส่งเสริมการขายพิเศษ เพื่อสนับสนุนนักธุรกิจแอมเวย์อย่างต่อเนื่องตลอดปี รวมถึงการวางแผนช่วยองค์กรนักธุรกิจแอมเวย์ให้สามารถทำการตลาดเฉพาะกลุ่มได้มากยิ่งขึ้น
นายปรีชา กล่าวว่า แอมเวย์ได้เตรียมงบประมาณลงทุนเพิ่มมากกว่า 100 ล้านบาท เพื่อเพิ่มการบริการและอำนวยความสะดวกแก่นักธุรกิจ และสมาชิกแอมเวย์ในการทำธุรกรรมด้านต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการสั่งซื้อ การจัดส่งสินค้า และบริการอื่นๆ รวมถึงการปรับปรุงระบบฐานข้อมูล เพิ่มการบริการทางอิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ รวมทั้งโปรแกรมการวิเคราะห์ตลาดใหม่ๆ เพื่อรองรับการทำการตลาดแบบ Relationship Management หรือ RM มากขึ้น ซึ่งจะทำให้สามารถวิเคราะห์พฤติกรรมและความต้องการของลูกค้าเฉพาะกลุ่มได้อย่างเจาะลึก ส่งผลให้สามารถนำเสนอทั้งสิ้นค้า และบริการได้ตรงใจลูกค้ามากยิ่งขึ้น
นายปรีชา ประกอบกิจ กรรมการผู้จัดการ บริษัท แอมเวย์ (ประเทศไทย) จำกัด เปิดเผยว่า ผลการดำเนินงานของบริษัทฯในปีบัญชี 2548 (กันยายน 2547-สิงหาคม 2548) ยอดขายจำนวน 8,990 ล้านบาท ลดลง 3% เมื่อเทียบกับงวดเดียวกันของปีก่อนที่มียอดขายกว่า 9,280 ล้านบาท เนื่องจากได้รับผลกระทบจากการที่เศรษฐกิจชะลอตัวจากปัญหาราคาน้ำมัน
"เราพอใจกับผลประกอบการที่สามารถรักษาฐานขนาดใหญ่ไว้ได้ด้วยยอดขายเกือบ 9 พันล้านบาท ท่ามกลางสภาวะเศรษฐกิจที่มีปัจจัยลบเข้ามากระทบต่อเนื่องตลอด 1 ปีที่ผ่านมา อย่างไรก็ตาม เรามั่นใจว่ากลยุทธ์หลักๆในการดำเนินธุรกิจ และการทำตลาดในปีที่ผ่านมา ได้เดินมาถูกทางแล้ว ดังนั้นในปีนี้จะมุ่งสานต่อเรื่องการสร้างแบรนด์ให้แข็งแกร่ง ทั้งในกลุ่มผลิตภัณฑ์เสริมอาหารนิวไลท์ และเครื่องสำอางอาร์ทิสทรี นอกจากนั้นจะเน้น แผนงานเพื่อเพิ่มศักยภาพขององค์กรนักธุรกิจแอมเวย์ที่มีอยู่ โดยนำกลยุทธ์ด้านการบริหารความสัมพันธ์ลูกค้ามาปรับใช้ให้มากขึ้น" นายปรีชากล่าว
นายปรีชา กล่าวว่า ขณะนี้บริษัทฯมีนักธุรกิจแอมเวย์ ซึ่งไม่ใช่ลูกจ้างหรือพนักงานของบริษัทฯ แต่ดำเนินธุรกิจในฐานะเป็นเจ้าของกิจการขนาดย่อมๆของตัวเอง โดยมียอดสั่งซื้อสินค้าอย่างสม่ำเสมอ และต่ออายุสมาชิกภาพอย่างต่อเนื่องรวม 280,000 รหัส มีสมาชิกที่สมัครใช้สินค้าและต่ออายุสมาชิกภาพอีกจำนวน 400,000 รายทั่วประเทศ โดยบริษัทฯได้ประกาศปรับดัชนีค่าความพยายาม เพิ่มขึ้นประมาณ 5% ซึ่งจะส่งผลให้นักธุรกิจแอมเวย์ที่ดำเนินธุรกิจอย่างต่อเนื่องมีรายได้เพิ่มขึ้นทั่วประเทศ
นอกจากนี้ ยังได้จัดเตรียมรายการส่งเสริมการขายพิเศษ เพื่อสนับสนุนนักธุรกิจแอมเวย์อย่างต่อเนื่องตลอดปี รวมถึงการวางแผนช่วยองค์กรนักธุรกิจแอมเวย์ให้สามารถทำการตลาดเฉพาะกลุ่มได้มากยิ่งขึ้น
นายปรีชา กล่าวว่า แอมเวย์ได้เตรียมงบประมาณลงทุนเพิ่มมากกว่า 100 ล้านบาท เพื่อเพิ่มการบริการและอำนวยความสะดวกแก่นักธุรกิจ และสมาชิกแอมเวย์ในการทำธุรกรรมด้านต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการสั่งซื้อ การจัดส่งสินค้า และบริการอื่นๆ รวมถึงการปรับปรุงระบบฐานข้อมูล เพิ่มการบริการทางอิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ รวมทั้งโปรแกรมการวิเคราะห์ตลาดใหม่ๆ เพื่อรองรับการทำการตลาดแบบ Relationship Management หรือ RM มากขึ้น ซึ่งจะทำให้สามารถวิเคราะห์พฤติกรรมและความต้องการของลูกค้าเฉพาะกลุ่มได้อย่างเจาะลึก ส่งผลให้สามารถนำเสนอทั้งสิ้นค้า และบริการได้ตรงใจลูกค้ามากยิ่งขึ้น