กนง.ประกาศขยับดอกเบี้ยอาร์พีอีกร้อยละ 0.50 แตะระดับร้อยละ 3.75 สูงสุดใน 5 ปี หวังสกัดเงินเฟ้อไตมาส 4 ของปีนี้ แต่ยอมรับเป็นไปได้ที่อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานจะทะลุกรอบที่ตั้งไว้ร้อยละ 0-3.5
นายบัณฑิต นิจถาวร รองผู้ว่าการ สายเสถียรภาพการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) มีมติปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในตลาดซื้อคืนพันธบัตร (อาร์พี) ระยะ 14 วัน อีกร้อยละ 0.50 ต่อปี จากร้อยละ 3.25 เป็นร้อยละ 3.75 โดยมีผลทันที หลังจากที่ กนง. พบว่ามีความเสี่ยงที่อัตราเงินเฟ้อจะเร่งตัวมากขึ้นโดยเฉพาะในไตรมาส 4 ของปีนี้ ดังนั้น อัตราดอกเบี้ยนโยบายจึงควรอยู่ในทิศทางขาขึ้นต่อไป เพื่อรักษาเสถียรภาพของเศรษฐกิจ และเพื่อให้อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงในประเทศกลับมาอยู่ในระดับที่เหมาะสม
อย่างไรก็ตาม คณะกรมการ กนง.เชื่อว่าการปรับขึ้นของอัตราดอกเบี้ยนโยบายในอัตราร้อยละ 0.50 ในครั้งที่แล้ว และครั้งนี้น่าจะช่วยดูแลแรงกดดันจากเงินเฟ้อที่คาดว่าจะสูงขึ้นในไตรมาสที่ 4 ของปีนี้ได้ดีขึ้น และเชื่อว่าอัตราเงินเฟ้อจะปรับลดลงในช่วงไตรมาส 1-2 ของปี 2549 เนื่องจากเงินเฟ้อในปีนี้ส่วนหนึ่งมีผลจากภัยแล้งที่ทำให้พืชผลสินค้าเกษตรออกมาน้อย กดดันให้ราคาสินค้าเกษตรขยับสูงขึ้น แต่เมื่อภัยแล้งคลี่คลายลง จึงไม่น่าจะมีผลกระทบต่อเงินเฟ้อในปี 2549
นายบัณฑิต กล่าวด้วยว่า แม้ ธปท.จะขึ้นอัตราดอกเบี้ยไปแล้ว 2 ครั้ง ครั้งละ 0.50 แต่ก็ยังมีโอกาสที่อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานจะเกินเป้าหมายที่ ธปท.กำหนดคือ ระหว่างร้อยละ 0-3.5 ทั้งนี้ ขึ้นกับความไม่แน่นอนของเศรษฐกิจในปี 2549 และราคาน้ำมัน อย่างไรก็ตาม การขยับดอกเบี้ยอาร์พี 2 ครั้งที่ผ่านมา คงทำให้เอกชนมั่นใจมากขึ้นว่าทางการมุ่งมั่นที่จะดูแลเงินเฟ้อในช่วงต่อไป ไม่ให้สูงกว่าที่ควรจะเป็น
รองผู้ว่าการ ธปท. ระบุว่าการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยครั้งนี้ กนง.ได้ดูผลกระทบจากภาระดอกเบี้ยที่เพิ่มขึ้น ซึ่งจะมีผลกระทบต่อธุรกิจและครัวเรือนแล้ว และเห็นว่าคงไม่เป็นการสร้างภาระหรือเกิดผลกระทบต่อการดำเนินธุรกิจมากจนเกินไป เนื่องจาก ธปท.มีการส่งสัญญาณอัตราดอกเบี้ยขาขึ้นมาแล้วหลายครั้ง ขณะที่สภาพคล่องส่วนเกินในระบบธนาคารพาณิชย์เริ่มปรับลดลง หลังจากธนาคารพาณิชย์หลายแห่งได้ประกาศขึ้นอัตราดอกเบี้ยตามการส่งสัญญาณของ ธปท. แต่การกระจายสภาพคล่องยังถือเป็นปัจจัยสำคัญ โดยธนาคารขนาดเล็กขนาดกลางจะมีการปรับอัตราดอกเบี้ยได้เร็วกว่าธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่
"การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีกร้อยละ 0.5 มีการศึกษาผลกระทบอย่างรอบด้าน รวมทั้งโอกาสที่เงินทุนระยะสั้นจะเข้ามาเก็งกำไรส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยของไทย และเห็นว่าเสถียรภาพทางเศรษฐกิจของประเทศยังควรต้องระมัดระวังอยู่ เนื่องจากเงินเฟ้อมีแรงกดดันสูงขึ้น โดยเฉพาะในช่วงไตรมาส 4 ขณะที่เศรษฐกิจยังขยายตัวได้ ดังนั้น กนง.จึงให้ความสำคัญต่อเสถียรภาพมากกว่าการขยายตัวของเศรษฐกิจ และจะดูแลไม่ให้เงินเฟ้อสูงกว่าเป้าหมายที่กำหนดไว้" นายบัณฑิต กล่าว
รายงานข่าวระบุว่าหลังจากที่ตลอดทั้งปี 2548 ธปท.ได้ขยับอัตราดอกเบี้ยมาแล้วอย่างต่อเนื่อง และการขยับดอกเบี้ยอาร์พีในครั้งนี้จนถึงร้อยละ 3.75 ถือเป็นอัตราดอกเบี้ยสูงสุดนับตั้งแต่ 23 พฤษภาคม 2543
นายบัณฑิต นิจถาวร รองผู้ว่าการ สายเสถียรภาพการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) มีมติปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในตลาดซื้อคืนพันธบัตร (อาร์พี) ระยะ 14 วัน อีกร้อยละ 0.50 ต่อปี จากร้อยละ 3.25 เป็นร้อยละ 3.75 โดยมีผลทันที หลังจากที่ กนง. พบว่ามีความเสี่ยงที่อัตราเงินเฟ้อจะเร่งตัวมากขึ้นโดยเฉพาะในไตรมาส 4 ของปีนี้ ดังนั้น อัตราดอกเบี้ยนโยบายจึงควรอยู่ในทิศทางขาขึ้นต่อไป เพื่อรักษาเสถียรภาพของเศรษฐกิจ และเพื่อให้อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงในประเทศกลับมาอยู่ในระดับที่เหมาะสม
อย่างไรก็ตาม คณะกรมการ กนง.เชื่อว่าการปรับขึ้นของอัตราดอกเบี้ยนโยบายในอัตราร้อยละ 0.50 ในครั้งที่แล้ว และครั้งนี้น่าจะช่วยดูแลแรงกดดันจากเงินเฟ้อที่คาดว่าจะสูงขึ้นในไตรมาสที่ 4 ของปีนี้ได้ดีขึ้น และเชื่อว่าอัตราเงินเฟ้อจะปรับลดลงในช่วงไตรมาส 1-2 ของปี 2549 เนื่องจากเงินเฟ้อในปีนี้ส่วนหนึ่งมีผลจากภัยแล้งที่ทำให้พืชผลสินค้าเกษตรออกมาน้อย กดดันให้ราคาสินค้าเกษตรขยับสูงขึ้น แต่เมื่อภัยแล้งคลี่คลายลง จึงไม่น่าจะมีผลกระทบต่อเงินเฟ้อในปี 2549
นายบัณฑิต กล่าวด้วยว่า แม้ ธปท.จะขึ้นอัตราดอกเบี้ยไปแล้ว 2 ครั้ง ครั้งละ 0.50 แต่ก็ยังมีโอกาสที่อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานจะเกินเป้าหมายที่ ธปท.กำหนดคือ ระหว่างร้อยละ 0-3.5 ทั้งนี้ ขึ้นกับความไม่แน่นอนของเศรษฐกิจในปี 2549 และราคาน้ำมัน อย่างไรก็ตาม การขยับดอกเบี้ยอาร์พี 2 ครั้งที่ผ่านมา คงทำให้เอกชนมั่นใจมากขึ้นว่าทางการมุ่งมั่นที่จะดูแลเงินเฟ้อในช่วงต่อไป ไม่ให้สูงกว่าที่ควรจะเป็น
รองผู้ว่าการ ธปท. ระบุว่าการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยครั้งนี้ กนง.ได้ดูผลกระทบจากภาระดอกเบี้ยที่เพิ่มขึ้น ซึ่งจะมีผลกระทบต่อธุรกิจและครัวเรือนแล้ว และเห็นว่าคงไม่เป็นการสร้างภาระหรือเกิดผลกระทบต่อการดำเนินธุรกิจมากจนเกินไป เนื่องจาก ธปท.มีการส่งสัญญาณอัตราดอกเบี้ยขาขึ้นมาแล้วหลายครั้ง ขณะที่สภาพคล่องส่วนเกินในระบบธนาคารพาณิชย์เริ่มปรับลดลง หลังจากธนาคารพาณิชย์หลายแห่งได้ประกาศขึ้นอัตราดอกเบี้ยตามการส่งสัญญาณของ ธปท. แต่การกระจายสภาพคล่องยังถือเป็นปัจจัยสำคัญ โดยธนาคารขนาดเล็กขนาดกลางจะมีการปรับอัตราดอกเบี้ยได้เร็วกว่าธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่
"การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีกร้อยละ 0.5 มีการศึกษาผลกระทบอย่างรอบด้าน รวมทั้งโอกาสที่เงินทุนระยะสั้นจะเข้ามาเก็งกำไรส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยของไทย และเห็นว่าเสถียรภาพทางเศรษฐกิจของประเทศยังควรต้องระมัดระวังอยู่ เนื่องจากเงินเฟ้อมีแรงกดดันสูงขึ้น โดยเฉพาะในช่วงไตรมาส 4 ขณะที่เศรษฐกิจยังขยายตัวได้ ดังนั้น กนง.จึงให้ความสำคัญต่อเสถียรภาพมากกว่าการขยายตัวของเศรษฐกิจ และจะดูแลไม่ให้เงินเฟ้อสูงกว่าเป้าหมายที่กำหนดไว้" นายบัณฑิต กล่าว
รายงานข่าวระบุว่าหลังจากที่ตลอดทั้งปี 2548 ธปท.ได้ขยับอัตราดอกเบี้ยมาแล้วอย่างต่อเนื่อง และการขยับดอกเบี้ยอาร์พีในครั้งนี้จนถึงร้อยละ 3.75 ถือเป็นอัตราดอกเบี้ยสูงสุดนับตั้งแต่ 23 พฤษภาคม 2543