ลองสเตย์ เดินหน้าจับมือพันธมิตร 19 องค์กร ลั่นกลองกระฮึ่มเดินหน้าโครงการ ตั้งเป้า ปี 49 โกยรายได้เข้าประเทศ 5 แสนล้านบาท RNT เอไอเอส รพ.พระราม9 ยกขบวนร่วมโครงการ เคซี พร็อพเพอร์ตี้ส้มหล่น ได้สิทธิ์รับเหมาก่อสร้างเพียงผู้เดียว ด้าน ททท.ระบุชัด ไม่ขอเพิ่มสัดส่วนการถือหุ้นมากกว่าปัจจุบันแล้ว และยินดีลดสัดส่วนเมื่อทีแอลเอ็มต้องการเพิ่มทุน
เมื่อวานนี้ (วันที่ 18 ) ภายหลังพิธีร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงว่าด้วยความร่วมมือในการให้บริการนักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศที่พำนักระยะยาว (Long stay) ในประเทศไทย นายประชา มาลีนนท์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ในฐานะประธานในพิธี เปิดเผยว่า หลังจากที่ บริษัท ไทยจัดการลองสเตย์ จำกัด หรือ ทีแอลเอ็ม ได้ปรับโครงสร้างองค์กร และแผนการดำเนินงานเสร็จเรียบร้อยแล้ว ล่าสุดทีแอลเอ็มได้จับมือและร่วมลงนามกับองค์กรภาครัฐ และเอกชน รวม 19 องค์กร เพื่อเข้ามาเป็นพันธมิตรสำหรับให้บริการแก่นักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ ที่เป็นกลุ่มลองสเตย์ โดยในงานนี้มีตัวแทนจากสมาคมโรงแรมไทยเข้าร่วมเป็นสักขีพยาน
RNT-ชินคอร์ป จับมือร่วมโครงการ
ทั้งนี้ใน 19 องค์กร ประกอบด้วย 1.สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง 2. RNT Television PCL เผยแพร่ข่าวสาร ข้อมูล ให้กับนักท่องเที่ยว ใน 3 ประเทศ คือ จีน ญี่ปุ่น และอังกฤษ 3. บริษัท เทเลอินโฟ มีเดีย จำกัด เปิดสายคอลเซ็นเตอร์ 1188 4. บริษัท 108 1900 ออดิโอเท็กซ์ จำกัด ทำหน้าที่จัดระบบฐานข้อมูล 5. บริษัท อินเทลการ์ด เทคโนโลยี จำกัด เพื่อจัดทำ บัตร TLM ID การ์ด 6. บริษัท แอ๊ดวานซ์ อินโฟรเซอร์วิส (เอไอเอส) เพื่อรายงานสภาพอากาศผ่านมือถือ 7.ธนาคาร กรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) เพื่อเปิดบัญชีออมทรัพย์ และจัดทำบัตรATM ให้นักท่องเที่ยว 8. โรงพยาบาลกรุงเทพ 9.โรงพยาบาลพระราม 9
10. บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) 11.กรมอุตุนิยมวิทยา 12.บริษัท เคซี พร็อพเพอร์ตี้ จำกัด(มหาชน) เป็นบริษัทที่จะเข้ามารับเหมาก่อสร้างที่พัก รีสอร์ท และโรงแรมติดสนามกอล์ฟ 13.ตำรวจท่องเที่ยว คอยอำนวยความสะดวกให้นักท่องเที่ยว 14. บริษัท ทิพยประกันภัย จำกัด (มหาชน) 15. บริษัท สยามคาร์เร้นท์ จำกัด สนับสนุนรถเช่าให้นักท่องเที่ยว 16.World Travel Service 17.สมาคมไทยธุรกิจท่องเที่ยว (แอตต้า) 18. บริษัท อูเมซาวา (Umezawa) เป็นบริษัทที่ลงทุนทำธุรกิจเรื่องลองสเตย์ และ 19.Northern Heritage Golf&Spa ดำเนินธุรกิจให้เช่าที่ดินรอบสนามกอล์ฟ
ตั้งเป้าปีแรกโกยรายได้ 5 แสนล้าน
พ.ต.อ.รวมนคร ทับทิมธงไชย ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ไทยจัดการลองสเตย์ จำกัด (ทีแอลเอ็ม) เปิดเผยว่า แผนการดำเนินงานของ ทีแอลเอ็ม ในปีแรก จะแบ่งเป็น 3 เฟส เริ่มจากปลายปีนี้ โดยประกาศให้ 12 จังหวัด เป็นเมืองลองสเตย์ เพื่อเตรียมยื่นเสนอขอรับการส่งเสริมการลงทุนจากบีโอไอ ได้แก่ กรุงเทพฯ เชียงราย เชียงใหม่ ภูเก็ต กระบี่ พังงา ระยอง ชลบุรี นครราชสีมา สุราษฎร์ธานี (สมุย) ประจวบฯ(หัวหิน) และกาญจนบุรี เฟส 2 ช่วงกลางปี 2549 จะทำแพกเกจ เสนอขายลูกค้าใน 11 ประเทศ เบื้องต้นจะไปติดต่อในลักษณะ จีทูจี เน้นประเทศที่มีรัฐสวัสดิการ และ เฟส 3 ในช่วงปลายปี 49 จะร่วมลงทุนกับเอกชน เพื่อสร้างที่พัก ตั้งเป้าปี 49 ขายแพกเกจสมาชิกได้ 1 แสนรายเน้นเจาะตลาดญี่ปุ่น สร้างรายได้เข้าประเทศกว่า 5 แสนล้านบาท ส่วนการลงทุน จะสร้างที่พักรวม 1 แสนยูนิต ใช้เงินลงทุน 2 แสนล้านบาท โดยทีแอลเอ็มจะร่วมทุนกับเอกชน
ททท.ยันไม่เพิ่มสัดส่วนการถือหุ้น
นางจุฑามาศ ศิริวรรณ ผู้ว่าการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) ในฐานะผู้ถือหุ้น 30% ในบริษัท ทีแอลเอ็ม กล่าวว่า การดำเนินงานของ ทีแอลเอ็มที่ผ่านมา 4 ปี ตั้งแต่เริ่มก่อตั้งบริษัท เมื่อปี 2544 มีผลการดำเนินงานขาดทุนมาตลอด ส่งผลให้หุ้นของทีแอลเอ็ม มีมูลค่าลดลง 30% จากราคาหุ้นละ 100 บาท มาอยู่ที่ 70 บาท ส่งผลให้การเรียกชำระเงินค่าหุ้นในครั้งที่ 2 อีก 25% ผู้ถือหุ้นส่วนใหญ่ไม่ยอมยื่นชำระ ซึ่งเมื่อทีมผู้บริหารชุดใหม่ ได้จัดทำแผนการดำเนินงานเสร็จ แล้วเรียกประชุมผู้ถือหุ้นเพื่อชี้แจง ทำให้ทุกฝ่ายเกิดความมั่นใจในธุรกิจมากขึ้น และยินดีที่จะจ่ายเงินค่าหุ้นตามที่เรียกเก็บ โดยทีแอลเอ็มมีทุนจดทะเบียน 100 ล้านบาท เรียกชำระไปแล้ว 25% และล่าสุดเรียกเพิ่มอีก 25% ซึ่งขณะนี้ผู้ถือหุ้นกำลังทยอยจ่าย ซึ่งบริษัทจะนำเงินที่เรียกเก็บมาใช้สำหรับวางระบบและลงทุนในเบื้องต้น
อย่างไรก็ตามททท.ยืนยันที่จะไม่เพิ่มสัดส่วนการถือหุ้นใน ทีแอลเอ็ม เพราะมีกฏหมายกำหนดไว้ ดังนั้นหากในอนาคต ทีแอลเอ็มจะมีการเพิ่มทุน ททท.ก็จะไม่เพิ่ม ซึ่งตอนนั้นจะทำให้สัดส่วนการถือหุ้นของ ททท.ในทีแอลเอ็ม ลดลงโดยอัตโนมัติ ซึ่งถือว่าถูกจุดประสงค์ เพราะเราต้องการให้ ทีแอลเอ็ม เป็นบริษัทเอกชนที่แข็งแกร่งและเดินเองได้ในอนาคต
เมื่อวานนี้ (วันที่ 18 ) ภายหลังพิธีร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงว่าด้วยความร่วมมือในการให้บริการนักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศที่พำนักระยะยาว (Long stay) ในประเทศไทย นายประชา มาลีนนท์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ในฐานะประธานในพิธี เปิดเผยว่า หลังจากที่ บริษัท ไทยจัดการลองสเตย์ จำกัด หรือ ทีแอลเอ็ม ได้ปรับโครงสร้างองค์กร และแผนการดำเนินงานเสร็จเรียบร้อยแล้ว ล่าสุดทีแอลเอ็มได้จับมือและร่วมลงนามกับองค์กรภาครัฐ และเอกชน รวม 19 องค์กร เพื่อเข้ามาเป็นพันธมิตรสำหรับให้บริการแก่นักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ ที่เป็นกลุ่มลองสเตย์ โดยในงานนี้มีตัวแทนจากสมาคมโรงแรมไทยเข้าร่วมเป็นสักขีพยาน
RNT-ชินคอร์ป จับมือร่วมโครงการ
ทั้งนี้ใน 19 องค์กร ประกอบด้วย 1.สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง 2. RNT Television PCL เผยแพร่ข่าวสาร ข้อมูล ให้กับนักท่องเที่ยว ใน 3 ประเทศ คือ จีน ญี่ปุ่น และอังกฤษ 3. บริษัท เทเลอินโฟ มีเดีย จำกัด เปิดสายคอลเซ็นเตอร์ 1188 4. บริษัท 108 1900 ออดิโอเท็กซ์ จำกัด ทำหน้าที่จัดระบบฐานข้อมูล 5. บริษัท อินเทลการ์ด เทคโนโลยี จำกัด เพื่อจัดทำ บัตร TLM ID การ์ด 6. บริษัท แอ๊ดวานซ์ อินโฟรเซอร์วิส (เอไอเอส) เพื่อรายงานสภาพอากาศผ่านมือถือ 7.ธนาคาร กรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) เพื่อเปิดบัญชีออมทรัพย์ และจัดทำบัตรATM ให้นักท่องเที่ยว 8. โรงพยาบาลกรุงเทพ 9.โรงพยาบาลพระราม 9
10. บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) 11.กรมอุตุนิยมวิทยา 12.บริษัท เคซี พร็อพเพอร์ตี้ จำกัด(มหาชน) เป็นบริษัทที่จะเข้ามารับเหมาก่อสร้างที่พัก รีสอร์ท และโรงแรมติดสนามกอล์ฟ 13.ตำรวจท่องเที่ยว คอยอำนวยความสะดวกให้นักท่องเที่ยว 14. บริษัท ทิพยประกันภัย จำกัด (มหาชน) 15. บริษัท สยามคาร์เร้นท์ จำกัด สนับสนุนรถเช่าให้นักท่องเที่ยว 16.World Travel Service 17.สมาคมไทยธุรกิจท่องเที่ยว (แอตต้า) 18. บริษัท อูเมซาวา (Umezawa) เป็นบริษัทที่ลงทุนทำธุรกิจเรื่องลองสเตย์ และ 19.Northern Heritage Golf&Spa ดำเนินธุรกิจให้เช่าที่ดินรอบสนามกอล์ฟ
ตั้งเป้าปีแรกโกยรายได้ 5 แสนล้าน
พ.ต.อ.รวมนคร ทับทิมธงไชย ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ไทยจัดการลองสเตย์ จำกัด (ทีแอลเอ็ม) เปิดเผยว่า แผนการดำเนินงานของ ทีแอลเอ็ม ในปีแรก จะแบ่งเป็น 3 เฟส เริ่มจากปลายปีนี้ โดยประกาศให้ 12 จังหวัด เป็นเมืองลองสเตย์ เพื่อเตรียมยื่นเสนอขอรับการส่งเสริมการลงทุนจากบีโอไอ ได้แก่ กรุงเทพฯ เชียงราย เชียงใหม่ ภูเก็ต กระบี่ พังงา ระยอง ชลบุรี นครราชสีมา สุราษฎร์ธานี (สมุย) ประจวบฯ(หัวหิน) และกาญจนบุรี เฟส 2 ช่วงกลางปี 2549 จะทำแพกเกจ เสนอขายลูกค้าใน 11 ประเทศ เบื้องต้นจะไปติดต่อในลักษณะ จีทูจี เน้นประเทศที่มีรัฐสวัสดิการ และ เฟส 3 ในช่วงปลายปี 49 จะร่วมลงทุนกับเอกชน เพื่อสร้างที่พัก ตั้งเป้าปี 49 ขายแพกเกจสมาชิกได้ 1 แสนรายเน้นเจาะตลาดญี่ปุ่น สร้างรายได้เข้าประเทศกว่า 5 แสนล้านบาท ส่วนการลงทุน จะสร้างที่พักรวม 1 แสนยูนิต ใช้เงินลงทุน 2 แสนล้านบาท โดยทีแอลเอ็มจะร่วมทุนกับเอกชน
ททท.ยันไม่เพิ่มสัดส่วนการถือหุ้น
นางจุฑามาศ ศิริวรรณ ผู้ว่าการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) ในฐานะผู้ถือหุ้น 30% ในบริษัท ทีแอลเอ็ม กล่าวว่า การดำเนินงานของ ทีแอลเอ็มที่ผ่านมา 4 ปี ตั้งแต่เริ่มก่อตั้งบริษัท เมื่อปี 2544 มีผลการดำเนินงานขาดทุนมาตลอด ส่งผลให้หุ้นของทีแอลเอ็ม มีมูลค่าลดลง 30% จากราคาหุ้นละ 100 บาท มาอยู่ที่ 70 บาท ส่งผลให้การเรียกชำระเงินค่าหุ้นในครั้งที่ 2 อีก 25% ผู้ถือหุ้นส่วนใหญ่ไม่ยอมยื่นชำระ ซึ่งเมื่อทีมผู้บริหารชุดใหม่ ได้จัดทำแผนการดำเนินงานเสร็จ แล้วเรียกประชุมผู้ถือหุ้นเพื่อชี้แจง ทำให้ทุกฝ่ายเกิดความมั่นใจในธุรกิจมากขึ้น และยินดีที่จะจ่ายเงินค่าหุ้นตามที่เรียกเก็บ โดยทีแอลเอ็มมีทุนจดทะเบียน 100 ล้านบาท เรียกชำระไปแล้ว 25% และล่าสุดเรียกเพิ่มอีก 25% ซึ่งขณะนี้ผู้ถือหุ้นกำลังทยอยจ่าย ซึ่งบริษัทจะนำเงินที่เรียกเก็บมาใช้สำหรับวางระบบและลงทุนในเบื้องต้น
อย่างไรก็ตามททท.ยืนยันที่จะไม่เพิ่มสัดส่วนการถือหุ้นใน ทีแอลเอ็ม เพราะมีกฏหมายกำหนดไว้ ดังนั้นหากในอนาคต ทีแอลเอ็มจะมีการเพิ่มทุน ททท.ก็จะไม่เพิ่ม ซึ่งตอนนั้นจะทำให้สัดส่วนการถือหุ้นของ ททท.ในทีแอลเอ็ม ลดลงโดยอัตโนมัติ ซึ่งถือว่าถูกจุดประสงค์ เพราะเราต้องการให้ ทีแอลเอ็ม เป็นบริษัทเอกชนที่แข็งแกร่งและเดินเองได้ในอนาคต