บอนด์น้ำมันขยายวงเงินเพิ่มจาก 22,000 ล้านบาท เป็น 26,400 ล้านบาท เหตุจากสถาบันสนใจจองบอนด์อายุ 3 ปี เพิ่มขึ้นถึง 6 เท่าตัว แต่แบ่งเค้กให้รายย่อยลดลงจากร้อยละ 50 เหลือร้อยละ 40 เปิดให้รับใบจองผ่านธนาคารกรุงไทย นครหลวงไทย และทหารไทยวันพรุ่งนี้ (4 ต.ค.) ใครจองก่อนได้ก่อน ด้านกระทรวงพลังงานยืนยันไม่เก็บเงินเข้ากองทุนเพิ่มสำหรับดีเซลในปีนี้ พร้อมโยนคลังตัดสินใจจะขยายเวลาการลดภาษีดีเซลต่อไปหรือไม่
นายศิวะนันท์ ณ นคร ผู้อำนวยการสถาบันบริหารกองทุนพลังงาน (องค์การมหาชน) หรือ สบพ. กล่าวว่า กระทรวงพลังงานและสถาบันบริหารกองทุนพลังงานได้ร่วมกันชี้แจงรายละเอียดการออกพันธบัตรน้ำมัน ซึ่งในขณะนี้มีนักลงทุนสถาบันสนใจในพันธบัตรอายุ 3 ปี มีความต้องการเพิ่มขึ้นถึง 6 เท่า พันธบัตร 2 ปี ความต้องการเพิ่มขึ้น 2 เ ท่า และพันธบัตรอายุ 1 ปี มีความต้องการเพิ่มขึ้นเล็กน้อย ดังนั้น จึงมีการปรับแผนการเสนอขายพันธบัตรใหม่ โดยพันธบัตรอายุ 3 ปี จะเพิ่มวงเงินจำหน่ายเท่าตัวจากเดิม 4,400 ล้านบาท เป็น 8,800 ล้านบาท ส่วนอายุ 1 ปี และ 2 ปี ยังเท่าเดิม คือ จะมีวงเงินในแต่ละอายุพันธบัตรเท่ากับ 8,800 ล้านบาท ทำให้การจำหน่ายพันธบัตรลอตแรกจะเปิดจำหน่ายเป็น 26,400 ล้านบาท จากเดิม 22,000 ล้านบาท และแบ่งจำหน่ายให้แก่นักลงทุนประเภทสถาบันร้อยละ 60 ประชาชนทั่วไปร้อยละ 40 ซึ่งในวันพรุ่งนี้ (4 ต.ค.) จะเริ่มแจกใบจองพันธบัตรผ่านสาขาธนาคารกรุงไทย นครหลวงไทย และทหารไทย และเปิดให้ประชาชนทั่วไปจองในระหว่างวันที่ 10-12 ตุลาคมนี้ หน่วยละ 1,000 บาท วงเงินขั้นต่ำ 50,000 บาทต่อราย โดยรูปแบบการจองคือใครมาก่อนได้ก่อนและจะปิดการจองทันทีเมื่อครบกำหนด ส่วนพันธบัตรลอตที่ 2 จะออกจำหน่ายในเดือนกุมภาพันธ์ประมาณ 15,600 ล้านบาท
สำหรับพันธบัตรลอตแรกนี้ อายุ 1 ปี อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 4.28 อายุ 2 ปี ดอกเบี้ยร้อยละ 5.26 และ 3 ปี อยู่ที่ร้อยละ 5.87 ซึ่งเดิมนั้นตั้งเป้าหมายจะให้ประชาชนจองซื้อครึ่งหนึ่งแต่ได้มีการปรับแผนเป็นประชาชนจองได้ร้อยละ 40
นายเมตตา บันเทิงสุข ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) เปิดเผยว่า วงเงินการออกพันธบัตรน้ำมันดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของแผนการชำระหนี้การตรึงราคาน้ำมัน 92,000 ล้านบาท โดยในส่วนนี้เป็นหนี้ของน้ำมันเบนซินประมาณ 7,000 ล้านบาท และหนี้ดีเซลกว่า 80,000 ล้านบาท ซึ่งรัฐบาลได้กำหนดเพดานที่ให้มีการเรียกเก็บเงินจากผู้ใช้ดีเซลเพิ่มขึ้นอีกเป็นลิตรละไม่เกิน 1.50 บาท จากปัจจุบันจัดเก็บอยู่ประมาณ 50 สตางค์ อย่างไรก็ตาม เท่าที่ดูแนวโน้มแล้วในปีนี้คงไม่มีการเก็บเงินจากผู้ใช้ดีเซลเพิ่ม คาดว่าคงจะเริ่มทยอยเก็บในปีหน้า ซึ่งอาจจะเก็บไม่เต็มวงเงินก็ได้ โดยช่วงเวลาที่เหมาะสมนั้นจะต้องพิจารณาให้หลีกเลี่ยงผลกระทบต่อประชาชนให้น้อยที่สุด เพราะการเก็บเพิ่มเท่ากับทำให้ราคาน้ำมันดีเซลเพิ่มขึ้นด้วย และจะต้องดูด้วยว่าจะเลี่ยงผลกระทบด้วยว่าจะทำอย่างไรไม่ให้ประชาชนผู้ใช้ดีเซลได้รับผลกระทบหนัก จากการที่ภาษีน้ำมันดีเซลจะค่อยทยอยขึ้นไปเป็นอัตราเดิมจากที่ปัจจุบันกระทรวงการคลังประกาศลดอัตราภาษีดีเซล 1 บาทต่อลิตร และจะทยอยเก็บเพิ่มอีก 50 สตางค์ต่อลิตร ในเดือน 1 ธันวาคม 2548 และจะเก็บเพิ่มเท่าเดิมในวันที่ 1 เมษายน 2549 ซึ่งเท่ากับว่าอัตราภาษีที่ลด 1 บาทต่อลิตรจะหมดไป โดยดังนั้น การจัดเก็บเงินกองทุนเพิ่มก็จะดูว่าทำอย่างไรไม่ให้ผลกระทบตกหนักต่อประชาชน ซึ่งจะรับภาระทั้งสองด้าน ทั้งภาษีที่เก็บเท่ากับและกองทุนที่เก็บเพิ่มขึ้น
“ในขณะนี้ ทางรัฐบาลพยายามที่จะพิจารณาให้เกิดผลกระทบต่อประชาชนผู้ใช้น้ำมันน้อยที่สุด ขณะเดียวกัน กองทุนฯ ก็ต้องมีรายได้เพียงพอต่อการชำระหนี้ที่มีอยู่ทั้งหมดและยืนยันว่ามาตรการที่รัฐจะดำเนินการจะไม่สร้างความเสี่ยงต่อผู้ซื้อพันธบัตรแต่อย่างใด แม้รัฐจะไม่เข้าไปค้ำประกัน ส่วนรัฐบาลจะมีการขยายระยะเวลาลดภาษีน้ำมันดีเซลหรือไม่นั้น เป็นเรื่องที่กระทรวงการคลังจะเป็นผู้พิจารณา” นายเมตตา กล่าว
นายเมตตา กล่าวอีกว่า ในเรื่องการชดเชยราคาก๊าซหุงต้มที่ปัจจุบันกองทุนน้ำมันชดเชยอยู่ประมาณ 3 บาทต่อกิโลกรัม หรือ 500 ล้านบาทต่อเดือน ทางกระทรวงพลังงานจะพิจารณาประมาณเดือนธันวาคมว่าจะมีการต่อระยะเวลาชดเชยหรือไม่ ซึ่งหากจะต่ออายุชดเชยก็จะไม่มีผลต่อการจัดหารายได้ของกองทุนที่ปัจจุบันมีรายได้สำหรับมาชดใช้หนี้น้ำมันประมาณ 12,000 ล้านบาทต่อปี หากเก็บเงินกองทุนดีเซลเท่ากับ 1.50 บาทต่อลิตร ก็จะมีเงินเพิ่มอีก 18,000 ล้านบาท รวมแล้วประมาณ 30,000 ล้านบาทต่อปี ดังนั้น จึงไม่เป็นปัญหา หากจะมีการชดเชยก๊าซหุงต้มต่อไป
อย่างไรก็ตาม ในส่วนของเงินกองทุนน้ำมันที่มีการเปลี่ยนถ่ายการยกเลิกการใช้น้ำมันเบนซิน 95 ไปเป็นแก๊สโซฮอล์ในวันที่ 1 มกราคม 2550 จะทำให้รายได้ของกองทุนฯ ลดลง เพราะปัจจุบันจัดเก็บเงินกองทุนฯ จากเบนซิน 95 ลิตรละ 1.50 บาท แต่เก็บจากแก๊สโซฮอล์ในอัตราลิตรละ 0.04 บาท ดังนั้น ในช่วงนั้นการเก็บเงินกองทุนฯ สำหรับแก๊สโซฮอล์ก็จะมีการจัดเก็บเพิ่มเป็น 0.50 บาทต่อลิตรในปัจจุบัน
นายศิวะนันท์ ณ นคร ผู้อำนวยการสถาบันบริหารกองทุนพลังงาน (องค์การมหาชน) หรือ สบพ. กล่าวว่า กระทรวงพลังงานและสถาบันบริหารกองทุนพลังงานได้ร่วมกันชี้แจงรายละเอียดการออกพันธบัตรน้ำมัน ซึ่งในขณะนี้มีนักลงทุนสถาบันสนใจในพันธบัตรอายุ 3 ปี มีความต้องการเพิ่มขึ้นถึง 6 เท่า พันธบัตร 2 ปี ความต้องการเพิ่มขึ้น 2 เ ท่า และพันธบัตรอายุ 1 ปี มีความต้องการเพิ่มขึ้นเล็กน้อย ดังนั้น จึงมีการปรับแผนการเสนอขายพันธบัตรใหม่ โดยพันธบัตรอายุ 3 ปี จะเพิ่มวงเงินจำหน่ายเท่าตัวจากเดิม 4,400 ล้านบาท เป็น 8,800 ล้านบาท ส่วนอายุ 1 ปี และ 2 ปี ยังเท่าเดิม คือ จะมีวงเงินในแต่ละอายุพันธบัตรเท่ากับ 8,800 ล้านบาท ทำให้การจำหน่ายพันธบัตรลอตแรกจะเปิดจำหน่ายเป็น 26,400 ล้านบาท จากเดิม 22,000 ล้านบาท และแบ่งจำหน่ายให้แก่นักลงทุนประเภทสถาบันร้อยละ 60 ประชาชนทั่วไปร้อยละ 40 ซึ่งในวันพรุ่งนี้ (4 ต.ค.) จะเริ่มแจกใบจองพันธบัตรผ่านสาขาธนาคารกรุงไทย นครหลวงไทย และทหารไทย และเปิดให้ประชาชนทั่วไปจองในระหว่างวันที่ 10-12 ตุลาคมนี้ หน่วยละ 1,000 บาท วงเงินขั้นต่ำ 50,000 บาทต่อราย โดยรูปแบบการจองคือใครมาก่อนได้ก่อนและจะปิดการจองทันทีเมื่อครบกำหนด ส่วนพันธบัตรลอตที่ 2 จะออกจำหน่ายในเดือนกุมภาพันธ์ประมาณ 15,600 ล้านบาท
สำหรับพันธบัตรลอตแรกนี้ อายุ 1 ปี อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 4.28 อายุ 2 ปี ดอกเบี้ยร้อยละ 5.26 และ 3 ปี อยู่ที่ร้อยละ 5.87 ซึ่งเดิมนั้นตั้งเป้าหมายจะให้ประชาชนจองซื้อครึ่งหนึ่งแต่ได้มีการปรับแผนเป็นประชาชนจองได้ร้อยละ 40
นายเมตตา บันเทิงสุข ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) เปิดเผยว่า วงเงินการออกพันธบัตรน้ำมันดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของแผนการชำระหนี้การตรึงราคาน้ำมัน 92,000 ล้านบาท โดยในส่วนนี้เป็นหนี้ของน้ำมันเบนซินประมาณ 7,000 ล้านบาท และหนี้ดีเซลกว่า 80,000 ล้านบาท ซึ่งรัฐบาลได้กำหนดเพดานที่ให้มีการเรียกเก็บเงินจากผู้ใช้ดีเซลเพิ่มขึ้นอีกเป็นลิตรละไม่เกิน 1.50 บาท จากปัจจุบันจัดเก็บอยู่ประมาณ 50 สตางค์ อย่างไรก็ตาม เท่าที่ดูแนวโน้มแล้วในปีนี้คงไม่มีการเก็บเงินจากผู้ใช้ดีเซลเพิ่ม คาดว่าคงจะเริ่มทยอยเก็บในปีหน้า ซึ่งอาจจะเก็บไม่เต็มวงเงินก็ได้ โดยช่วงเวลาที่เหมาะสมนั้นจะต้องพิจารณาให้หลีกเลี่ยงผลกระทบต่อประชาชนให้น้อยที่สุด เพราะการเก็บเพิ่มเท่ากับทำให้ราคาน้ำมันดีเซลเพิ่มขึ้นด้วย และจะต้องดูด้วยว่าจะเลี่ยงผลกระทบด้วยว่าจะทำอย่างไรไม่ให้ประชาชนผู้ใช้ดีเซลได้รับผลกระทบหนัก จากการที่ภาษีน้ำมันดีเซลจะค่อยทยอยขึ้นไปเป็นอัตราเดิมจากที่ปัจจุบันกระทรวงการคลังประกาศลดอัตราภาษีดีเซล 1 บาทต่อลิตร และจะทยอยเก็บเพิ่มอีก 50 สตางค์ต่อลิตร ในเดือน 1 ธันวาคม 2548 และจะเก็บเพิ่มเท่าเดิมในวันที่ 1 เมษายน 2549 ซึ่งเท่ากับว่าอัตราภาษีที่ลด 1 บาทต่อลิตรจะหมดไป โดยดังนั้น การจัดเก็บเงินกองทุนเพิ่มก็จะดูว่าทำอย่างไรไม่ให้ผลกระทบตกหนักต่อประชาชน ซึ่งจะรับภาระทั้งสองด้าน ทั้งภาษีที่เก็บเท่ากับและกองทุนที่เก็บเพิ่มขึ้น
“ในขณะนี้ ทางรัฐบาลพยายามที่จะพิจารณาให้เกิดผลกระทบต่อประชาชนผู้ใช้น้ำมันน้อยที่สุด ขณะเดียวกัน กองทุนฯ ก็ต้องมีรายได้เพียงพอต่อการชำระหนี้ที่มีอยู่ทั้งหมดและยืนยันว่ามาตรการที่รัฐจะดำเนินการจะไม่สร้างความเสี่ยงต่อผู้ซื้อพันธบัตรแต่อย่างใด แม้รัฐจะไม่เข้าไปค้ำประกัน ส่วนรัฐบาลจะมีการขยายระยะเวลาลดภาษีน้ำมันดีเซลหรือไม่นั้น เป็นเรื่องที่กระทรวงการคลังจะเป็นผู้พิจารณา” นายเมตตา กล่าว
นายเมตตา กล่าวอีกว่า ในเรื่องการชดเชยราคาก๊าซหุงต้มที่ปัจจุบันกองทุนน้ำมันชดเชยอยู่ประมาณ 3 บาทต่อกิโลกรัม หรือ 500 ล้านบาทต่อเดือน ทางกระทรวงพลังงานจะพิจารณาประมาณเดือนธันวาคมว่าจะมีการต่อระยะเวลาชดเชยหรือไม่ ซึ่งหากจะต่ออายุชดเชยก็จะไม่มีผลต่อการจัดหารายได้ของกองทุนที่ปัจจุบันมีรายได้สำหรับมาชดใช้หนี้น้ำมันประมาณ 12,000 ล้านบาทต่อปี หากเก็บเงินกองทุนดีเซลเท่ากับ 1.50 บาทต่อลิตร ก็จะมีเงินเพิ่มอีก 18,000 ล้านบาท รวมแล้วประมาณ 30,000 ล้านบาทต่อปี ดังนั้น จึงไม่เป็นปัญหา หากจะมีการชดเชยก๊าซหุงต้มต่อไป
อย่างไรก็ตาม ในส่วนของเงินกองทุนน้ำมันที่มีการเปลี่ยนถ่ายการยกเลิกการใช้น้ำมันเบนซิน 95 ไปเป็นแก๊สโซฮอล์ในวันที่ 1 มกราคม 2550 จะทำให้รายได้ของกองทุนฯ ลดลง เพราะปัจจุบันจัดเก็บเงินกองทุนฯ จากเบนซิน 95 ลิตรละ 1.50 บาท แต่เก็บจากแก๊สโซฮอล์ในอัตราลิตรละ 0.04 บาท ดังนั้น ในช่วงนั้นการเก็บเงินกองทุนฯ สำหรับแก๊สโซฮอล์ก็จะมีการจัดเก็บเพิ่มเป็น 0.50 บาทต่อลิตรในปัจจุบัน