xs
xsm
sm
md
lg

สนามบินสุวรรณภูมิกับ 45 ปีที่รอคอย

เผยแพร่:   โดย: MGR Online


นอกจากจะเป็นสนามบินที่มีข่าวคราวอื้อฉาวมากที่สุดแล้ว สุวรรณภูมิ ยังเป็นโครงการที่ใช้เวลาดำเนินการนานที่สุดอย่างน้อยก็เกือบครึ่งศตวรรษ


คลิกชมภาพสไลด์โชว์ การทดสอบสนามบินสุวรรณภูมิอย่างเป็นทางการได้ที่ไอคอน Manager Mutimedia

ดูภาพชุดจาก Manager Multimedia

ปี 2503 รัฐบาลในยุคนั้นได้ว่าจ้าง Litchfield Whiting Bourne and Associates ให้ทำการศึกษาและวางผังเมืองสำหรับกรุงเทพฯ ส่วนหนึ่งของการศึกษาได้ชี้ให้เห็นถึงความสำคัญที่กรุงเทพฯ จะต้องมีสนามบินพาณิชย์ใหม่อีกแห่งหนึ่ง เพื่อแยกเครื่องบินพลเรือนออกจากเครื่องบินทหาร ซึ่งตามหลักยุทธศาสตร์แล้วย่อมไม่เหมาะสมนัก

เช่นเดียวกันกับรายงานการศึกษา "Air System Requirement Plan and Survey for the Kingdom of Thailand" ขององค์การบริหารการบินพลเรือนแห่งชาติของสหรัฐอเมริกา (FAA) ในปีเดียวกัน ที่แนะนำให้กรุงเทพฯ จำเป็นต้องมีสนามบินพาณิชย์แห่งที่ 2 ให้ทันปี 2513 ด้วยเหตุผลเดียวกัน และได้เสนอพื้นที่ของการก่อสร้างให้อยู่ในบริเวณทิศตะวันออกของกรุงเทพฯ

ถือเป็นจุดเริ่มต้นแนวความคิดในการก่อสร้างสนามบินนานาชาติแห่งใหม่ของประเทศไทยแทนสนามบินดอนเมือง ที่มีแนวโน้มว่าจะคับแคบ และไม่เพียงพอสำหรับอุตสาหกรรมการบินของโลกที่เติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่อง

ในปีถัดมา รัฐบาลก็เริ่มลงสำรวจพื้นที่อย่างจริงจัง และกำหนดจุดที่สมควรจะใช้เป็นที่ก่อสร้างสนามบินแห่งใหม่เป็นที่ดินบริเวณคลองลาดกระบัง, คลองประเวศ และคลองหนองงูเห่า อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ ซึ่งจะมีระยะห่างระหว่างสนามบินดอนเมืองประมาณ 30 กิโลเมตร และเวนคืนที่ดินบวกกับที่ดินสาธารณะส่วนหนึ่งจนครบ 20,000 ไร่ ตามความต้องการ โดยใช้ระยะเวลาถึง 10 ปีเต็มในช่วงปี 2506-2516

แต่โครงการก็ได้ยืดเยื้อมา ก่อนลงเสาเข็มแรกในพื้นที่ของการก่อสร้าง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงเป็นองค์ประธานในการวางศิลาฤกษ์ให้กับสนามบินในวันที่ 19 มกราคม 2545 หลังจากในวันที่ 29 กันยายน 2543 ก่อนหน้าฤกษ์ลงเสาเข็ม 2 ปี พระองค์ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานชื่อสนามบินแห่งใหม่นี้ว่า "ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ" โดยให้ทั้งชื่อภาษาไทย ภาษาอังกฤษ พร้อมทั้งความหมายให้กับสนามบินแห่งนี้ว่า "แผ่นดินทอง" และกลายเป็นชื่อใหม่ที่เข้ามาแทนชื่อเก่าอย่าง "หนองงูเห่า" ที่เรียกกันจนติดปากตามชื่อคลองที่พาดผ่านพื้นที่ดังกล่าวอยู่แต่เดิม

นับจนถึงวันนี้ สนามบินแห่งใหม่จึงกลายเป็นสนามบินที่ทำสถิติใช้ระยะเวลาการก่อสร้าง ทั้งหมดยาวนานถึง 45 ปี และอาจจะต้องบวกเพิ่มอีกหนึ่งปีจนกว่าจะถึงเวลาเปิดให้ใช้บริการกันได้จริงๆ ในปี 2549

ความโดดเด่นของสนามบินสุวรรณภูมินอกจากเรื่องของพื้นที่ที่กว้างนับหมื่นไร่ ความสามารถในการรองรับผู้โดยสารได้มากถึง 45 ล้านคนในระยะแรก และหากขยายตัวอาคารเพิ่มเติมอาจจะเพิ่มความสามารถในการรองรับได้นับ 100 ล้านคน หรือการรองรับเที่ยวบินได้มากถึง 79 เที่ยวบินต่อหนึ่งชั่วโมง ทั้งขาขึ้นและลง และความสามารถของ Cargo ที่จะรองรับได้ถึง 3 ล้านตัน เทียบกับดอนเมืองที่รองรับได้เพียง 1 ล้านตันเท่านั้น

แต่ด้วยสถาปัตยกรรมการออกแบบอาคารผู้โดยสารและอาคารเทียบเครื่องบินที่มีเพียงกระจกและเหล็กเป็นหลัก ซึ่งกินพื้นที่กว่า 53,000 ตารางเมตร ทำให้อาคารผู้โดยสารของสนามบินสุวรรณภูมิ กลายเป็นสิ่งก่อสร้างมีพื้นที่ที่ใหญ่ที่สุดในโลกในปัจจุบัน

ตัวอาคารที่เน้นโครงสร้างหลักที่มีแต่กระจก, ผ้าชนิดพิเศษ หรือ Fabric และเหล็ก ออกแบบให้เข้ากับสถาปัตยกรรม สมัยใหม่ที่เกิดขึ้นทั่วโลก แบบที่น่าสนใจและทันสมัยเน้นเพื่อให้ทันสมัยต่อเนื่องแม้เวลาจะผ่านไปนานถึง 40-50 ปีก็ตาม

Fabric ที่ใช้ในการก่อสร้างอาคารทั้งหมดนั้นแตกต่างจากที่เคยเห็นมาทั้งสนามบินในเดนเวอร์ โอลิมปิกสเตเดียม ที่โซล สนามบินกัวลาลัมเปอร์ของมาเลเซีย หรือสนามบินเอเธนส์ และในที่ต่างๆ ทั่วโลก ที่มักเป็น Fabric แบบเมนเฟรม คือมีเลเยอร์เดียว แต่สนามบินสุวรรณภูมิ เลือก Fabric ที่หนาถึงสามชั้น

ชั้นนอกสุดที่เรียกว่า "Outer layer" พัฒนามาจากสารใยแก้ว ที่เคลือบด้วยเชพลอน ทำให้มีคุณสมบัติป้องกันฝุ่น น้ำ เสียง ฝน และความร้อนบางส่วน ขณะที่ชั้นที่สองที่เรียกว่า "Middle layer" ส่วนนี้เป็นส่วนป้องกันเสียงโดยเฉพาะ เป็นพลาสติกที่วางอยู่บนตาข่ายเคเบิล ซึ่งทำมาจากสารโพลี คาร์บอเนต ที่มักใช้ในการผลิตโล่ป้องกันสำหรับตำรวจจราจร เนื่องจากมีคุณสมบัติในการป้องกันการกระแทก หรือแม้แต่เสียงได้เป็นอย่างดี

ส่วนสุดท้ายที่เรียกว่า Inner layer นั้น เป็นส่วน Fabric ที่ผสมด้วยสารซิลเวอร์ไนเตรท เพื่อป้องกันรังสียูวีป้องกันเสียงและแสงได้อีกชั้นหนึ่ง นอกจากความสวยงามที่ได้แล้ว วัสดุดังกล่าวยังมีประโยชน์ในแง่การป้องกันเสียง แสง และสิ่งต่างๆ ภายนอกด้วยในเวลาเดียวกัน

สนามบินแห่งใหม่สามารถรองรับการลงจอดของเครื่องบินทุกประเภท ไม่ว่าจะเป็นเครื่องบินพาณิชย์ขนาดเล็กไปจนถึงเครื่องบินพาณิชย์ขนาดใหญ่ที่สุดของโลกอย่างแอร์บัส A380 ที่สายการบินต่างๆ จะเริ่มนำมาให้บริการในเร็ววันนี้รวมทั้งสายการบินไทยด้วย

เนื่องจากตัวรันเวย์มีการออกแบบให้รองรับน้ำหนักของอากาศยานแบบใหม่ได้ถึง 770 ตัน ขณะที่แอร์บัสแบบใหม่นั้นมีน้ำหนักประมาณ 500 ตัน แม้เดิมทีเดียวเครื่องบินที่ใช้เป็นโมเดลในการออกแบบให้รองรับจะเป็น จัมโบ้ 747-400 ซึ่งหนักประมาณ 400 ตัน แต่การท่าอากาศยานแห่งประเทศไทยก็มั่นใจว่าการลงจอดของเครื่องบินจะปลอดภัย แม้แต่พื้นผิวลานจอดก็รองรับการจอดเครื่องบินหนักๆ ได้เช่นเดียวกัน นับเป็นการออกแบบพื้นผิวแบบใหม่ ซึ่งยังไม่เคยทำมาก่อนเลยในประเทศไทย

ขณะที่คอนเซ็ปต์ของการบริหารจัดการภายในทุกอย่างในสนามบินแห่งใหม่ ถือว่าได้ยกเครื่องหรือแตกต่างจากสนามบินดอนเมืองอย่างสิ้นเชิง โดยมุ่งให้บริการแอร์ไลน์และผู้โดยสารอันถือเป็นลูกค้าสำคัญของสนามบินแห่งนี้

ระบบการทำงานแทบทุกกิจกรรมในสนามบินจะถูกเชื่อมโยงเข้าด้วยกัน ด้วยระบบเทคโนโลยีทันสมัยที่เรียกว่า AIM (Airport Information Management System) ที่มีมูลค่ากว่า 2,000 ล้านบาท ถอดแบบจากสนามบินเอเธนส์ สนามบินที่ได้ชื่อว่าไฮเทคแห่งหนึ่งของโลก แต่ด้วยขนาดของสนามบินสุวรรณภูมิที่ใหญ่กว่ามาก ทำให้สนามบินแห่งใหม่ของไทยจะกลายเป็นสนามบินที่ใช้ระบบไอทีติดอันดับโลกไปโดยปริยาย

ระบบการบริหารจัดการสนามบินที่ผ่านการเชื่อมโยงทุกอย่างเข้าด้วยกันผ่านทาง AIM นั้นจะครอบคลุมกิจกรรมทั้งหมด 45 ระบบ ทุกระบบทำงานในระบบ Real Time, Interactive และ Internet-based ไม่ว่าจะเป็นระบบบริหารข้อมูลการบิน FIMS (Flight Information Management System) ระบบฐานข้อมูลบริหารสนามบิน AMBD (Airport Management Database) ระบบรายได้ของสนามบิน Airport Billing System (Including Aviation & Non-aviation) ศูนย์ควบคุมการเกิดวินาศกรรม CCC (Crisis Control Center) ระบบบริหารการเข้าจอดของเครื่องบิน ณ อาคารผู้โดยสาร หรือแม้แต่ระบบ Baggage Handling System ระบบรับส่งกระเป๋า ตามรางไปยังสายการบินโดยอัตโนมัติซึ่งกลายเป็นประเด็นโต้แย้งกันในวงกว้าง

ระบบต่างๆ โดยเฉพาะระบบการขนส่งกระเป๋าให้ถึงมือผู้โดยสารหลังเครื่องลงจอดแล้วนั้น ช่วยให้ผู้โดยสารไม่รู้สึกว่าต้องรอคอย ทอท.เองหวังว่าระบบดังกล่าวจะการันตีเวลาการขนส่งกระเป๋าจากเครื่องบินมายังจุดรับกระเป๋าของแต่ละสายการบินเพียง 15 นาทีเท่านั้น ซึ่งถือเป็นเวลามาตรฐานที่หลายๆ สนามบินเป็นอยู่ในปัจจุบัน

Commercial Area หรือ Airport Business Center ในสนามบินสุวรรณภูมินั้นแตกต่างจากดอนเมืองตรงที่เปลี่ยนคอนเซ็ปต์การจัดเก็บค่าเช่าจากผู้ค้า จากเดิมที่ดอนเมืองอัตราค่าเช่าค่อนข้างสูง ทำให้ผู้ค้าต้องเพิ่มราคาสินค้าในสนามบินให้สูงตามขึ้นไปด้วย ผู้บริโภคเองต้องซื้อสินค้าที่แพงกว่าข้างนอกหลายเท่า

แต่ในสนามบินสุวรรณภูมินั้น ทอท.เลือกที่จะให้ราคาสินค้าในสนามบินสูงกว่าไม่เกิน 25% เมื่อเทียบกับราคาปกติในท้องตลาด โดยสินค้าทั้งหมดจะเป็นสินค้าระดับ 5 ดาวแทบทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็นอาหารไทย ต่างชาติ และสินค้าของที่ระลึกต่างๆ

จุดขายสำคัญอีกอย่างหนึ่งที่สุวรรณภูมิใช้เพื่อแข่งขันกับสนามบินขนาดใหญ่และใหม่ในแถบภูมิภาคเดียวกัน ไม่ว่าจะเป็นสิงคโปร์, มาเลเซีย และฮ่องกง ก็คือ ค่าธรรมเนียมในการจอดเครื่องบินของสายการบินต่างๆ หรือ landing fee ซึ่งเมื่อเทียบกันแล้ว ทอท.ยืนยันว่าเป็นอัตราที่ต่ำที่สุดในบรรดาสนามบินทั้งหมด ทั้งนี้ก็เพื่อจูงใจให้สายการบินทั้งหลายเข้ามาใช้บริการสนามบินสุวรรณภูมิมากที่สุดนั่นเอง

ในวันนี้นิยามความหมายของสุวรรณภูมิสำหรับ ทอท. จึงระบุไว้ว่าสนามบินแห่งใหม่จะกลายเป็นสิ่งบ่งชี้ให้คนต่างชาติได้เห็นว่าคนไทยเองก็สร้างเมกะโปรเจกต์ได้เหมือนกัน พอๆ กับจะใช้เป็น benchmark สำหรับสนามบินทั่วโลกที่จะก่อสร้างในอนาคต ไม่ว่าจะเป็นตัวอย่างสำหรับการบริหารจัดการภายในสนามบิน, รูปแบบของเทคโนโลยีที่จะใช้

ที่สำคัญที่สุดก็คือสุวรรณภูมิจะเข้ามาช่วยส่งเสริมศักยภาพในการขนส่งทางอากาศ ให้กับประเทศได้เพิ่มขึ้น เนื่องจากสนามบินแห่งใหม่มีเขตพื้นที่ free zone ที่มากถึง 500,000 ตารางเมตร

จากเดิมสินค้าที่มาจากต่างประเทศทาง ground service จะขนถ่ายสินค้ามาจาก warehouse หรือ cargo warehouse หลังจากนั้นกรมศุลกากรจะเป็นเข้าไปตรวจสอบสินค้าดังกล่าวทั้งหมด แม้สินค้าบางส่วนจะไม่ได้เป็นสินค้าที่นำเข้ามาในประเทศ แต่เพื่อส่งต่อไปยังประเทศอื่นก็ตาม

เช่นเดียวกับสินค้าที่มาในรูปชิ้นส่วนเพียงไม่กี่ชิ้นที่ต้องการนำมาประกอบเพิ่มเติมในไทย และจัดส่งต่อไปยังประเทศอื่นนั้น ต้องเสียเวลาในการตรวจสอบจากศุลกากรก่อนนำออกจาก warehouse และนำไปประกอบและขนส่งต่อไปยังประเทศที่หมายอีกครั้ง

free zone จะทำหน้าที่ช่วยให้ขั้นตอนดังกล่าวหมดไป เพียงแต่เจ้าของสินค้านำชิ้นส่วนที่ต้องใช้ประกอบเพิ่มเติมเข้ามาประกอบในพื้นที่ที่จัดไว้ให้ เมื่อประกอบเสร็จก็ดำเนินการจัดส่งไปได้ทันที โดยไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมสินค้าที่นำเข้ามาแต่อย่างใด

ขณะที่รัฐบาลเน้นให้สุวรรณภูมิเป็นความภาคภูมิใจของชาติ ที่สามารถก่อสร้างสนามบินที่จะกลายเป็นฮับ หรือศูนย์กลางการบินของภูมิภาค แต่ประชาชนทั่วไปกลับรอคอยว่าเมื่อไรที่จะได้ใช้สนามบินสุวรรณภูมิกันเสียที

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม
Suvarnabhumi's Effect : นิตยสารผู้จัดการ ฉบับเดือนกันยายน
The beginning to countdown
The changing way of life
Aerotropolis
Hot Zone
Turn left to Pattaya
Biggest Move
Exposition Air Hub : CENTRAIR

"วิษณุ" ชี้พื้นที่สุวรรณภูมิต้องออก พ.ร.บ.เป็นเขตพิเศษ
"ชัยนันท์" กำชับ "ทอท." เข้าบริหารพื้นที่สุวรรณภูมิหลัง 29 ก.ย.นี้
ทอท.ยกเลิกลงนามสัญญากับทีโอทีกรณีติดตั้งระบบสื่อสารสนามบินสุวรรณภูมิ
บินไทยนำเครื่องบินทดสอบระบบสนามบินสุวรรณภูมิ
"ทักษิณ"มั่นใจดัน"สุวรรณภูมิ"เป็นฮับการบินภูมิภาคไม่ยาก
บินไทยเริ่มขนอุปกรณ์ภาคพื้นรับซ้อมใหญ่ “สุวรรณภูมิ”
"ชัยนันท์"ผวานกดึง"ทัพอากาศ"แก้ปัญหานำซี 130 บินสร้างความคุ้นเคยรอบสุวรรณภูมิ
"พงษ์ศักดิ์" ยัน "สุวรรณภูมิ" ปลอดปัญหาน้ำหลากจากเจ้าพระยา
การบินไทยพร้อมนำเครื่องบินลำแรกลงจอดสุวรรณภูมิ 29 ก.ย.นี้
“ชัยนันท์” หวั่นนกปากห่างป่วนการบินในพื้นที่สุวรรณภูมิ
"พงษ์ศักดิ์" สั่งงดจัดวิ่งมินิมาราธอนในการทดสอบสนามบินสุวรรณภูมิ
ขนส่งทางอากาศยืนยันผู้โดยสารใช้สุวรรณภูมิโตแบบก้าวกระโดดปีหน้า
"เสี่ยเพ้ง"หนุนผังเมืองเฉพาะนครการบิน"สุวรรณภูมิ"
“สรอรรถ”ยืนยันระบบไอซีที"สุวรรณภูมิ"เสร็จทันทดลองใช้ 29 นี้
ทอท.ยัน"สุวรรณภูมิ"พร้อมรับเที่ยวบินนายกฯ 29 ก.ย.นี้
วิทยุการบินประกาศพร้อมรับมือเที่ยวปฐมฤกษ์สู่สุวรรณภูมิ
ทอท.-บวท.ยันระบบนำร่อง"สุวรรณภูมิ"เสร็จพร้อมใช้ทันกำหนด
ขอ.เล็งออกใบอนุญาตทำการบินใบแรกให้สนามบินสุวรรณภูมิภายใน 1 เดือน
"พล.อ.ชัยนันท์"ยันหลังคาผ้าใบ"สุวรรณภูมิ"ไม่ผิดสเปก
กรมโยธาธิการสรุปผลศึกษาผังเมืองใหม่รอบสุวรรณภูมิปลายเดือนหน้า
บอร์ด ทอท.ลงตรวจสุวรรณภูมิก่อนรายงานนายกฯวันนี้
บทม.ชี้ไอทีโอขัดผู้รับเหมาเป็นเหตุปูดข่าวผ้าใบ"สุวรรณภูมิ"
บทม.ยันดูแลปัญหาผ้าใบสุวรรณภูมิอย่างใกล้ชิด
"บทม." ยันเปล่าวางสเปก "ลีลาวดี" แต่งภูมิทัศน์ในสุวรรณภูมิ
กทพ.เตรียมชงงบสร้างทางยกระดับเชื่อม "สุวรรณภูมิ" กว่า 2,300 ล้านบาท
"พงษ์ศักดิ์"มั่นใจ"สุวรรณภูมิ"เปิดใช้ทันกำหนด
“ชัยนันท์” ยันรันเวย์สุวรรณภูมิไม่ร้าว
ทอท.พาสื่อพิสูจน์ยืนยันมาตรฐานรันเวย์สุวรรณภูมิ
"ชัยนันท์"ปฏิเสธรันเวย์สนามบินสุวรรณภูมิร้าว
“ชัยนันท์” คึกจัดลุยตรวจสุวรรณภูมิตั้งแต่วันแรก
"สุริยะ"ฝาก"พงษ์ศักดิ์"เปิดสัญญาซีทีเอ็กซ์-สานต่อสุวรรณภูมิ
“วิษณุ” เชื่อสุวรรณภูมิเสร็จภายใน 6 เดือน
"ทักษิณ" ยอมรับสุวรรณภูมิอาจล่าช้าอีก 6-8 เดือน
"สุริยะ"ยอมรับซีทีเอ็กซ์เป็นเหตุทำสนามบินสุวรรณภูมิเสร็จช้า
สวท.ลุยสุวรรณภูมิตรวจงานก่อสร้างระบบสายพาน
ญี่ปุ่นให้ไทยกู้ทำสนามบินสุวรรณภูมิกว่า 13,000 ล้านบาท
ไทยจับมือสหรัฐพัฒนาระบบความปลอดภัยที่สุวรรณภูมิและภาคใต้
การก่อสร้างสนามบินสุวรรณภูมิเป็นไปตามเป้า พร้อมทดสอบตามกำหนด
คมนาคมเร่งขยายถนนรองรับปริมาณรถก่อนเปิดใช้สนามบิน"สุวรรณภูมิ"
ทอท.เตรียมพร้อมก่อนเปิดใช้"สนามบินสุวรรณภูมิ"อย่างเป็นทางการ
รมว.คมนาคมยืนยันสุวรรณภูมิแล้วเสร็จ 29 ก.ย.นี้
สนามบินสุวรรณภูมิพร้อมให้เครื่องบินลงจอดได้ 29 ก.ย.นี้
การบินไทยคาดการก่อสร้างภายใน "สุวรรณภูมิ" เสร็จมีนาคมนี้
สภาพัฒน์เสนอตั้งบรรษัทพัฒนาเมืองศูนย์กลางการบินสุวรรณภูมิ
ทอท.มั่นใจโรงแรมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิเสร็จภายใน 1 ส.ค.48
"ทักษิณ"ย้ำสนามบินสุวรรณภูมิเสร็จทันตามกำหนด
นายกฯมั่นใจสนามบินสุวรรณภูมิเสร็จทันกำหนด
การบินไทย-กฟผ.ลงนามย้ายฐานไปสนามบินสุวรรณภูมิ
นายกฯชวนกลุ่ม"สตาร์ อัลไลแอนซ์"ใช้สนามบินสุวรรณภูมิ
กฟผ.ลงทุน 721 ล้านบาทย้ายสายส่งรองรับสนามบินสุวรรณภูมิ
3 บริษัทยื่นซองประมูลสร้างทางรถไฟเชื่อมสนามบินสุวรรณภูมิ
ทอ.ตั้งบริษัทซ่อมบำรุงอากาศยานรองรับสนามบินสุวรรณภูมิ
ดอนเมืองยังไร้ข้อสรุปการใช้งาน หลังเปิดใช้สนามบินสุวรรณภูมิ
นักวิชาการหนุนตั้ง"นครการบิน"แก้ปัญหาผังเมืองรอบสนามบินสุวรรณภูมิ
บริษัทยักษ์ใหญ่แย่งเค้กประมูลรถไฟฟ้ามักกะสัน-สุวรรณภูมิ
ก.เกษตรฯของบ 8,000 ล้านบาทสร้างอุโมงค์ระบายน้ำสนามบินสุวรรณภูมิ
"ทักษิณ"มั่นใจสนามบินสุวรรณภูมิเสร็จทันเวลา
พาณิชย์ยืนยันมาตรการเอดีเหล็กไม่กระทบสนามบินสุวรรณภูมิ
คาด“โนโวเทล”ได้บริหารโรงแรมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ
“ไออาต้า” เข้าพบ รมว.คมนาคม ขอคำยืนยันสุวรรณภูมิเสร็จตามกำหนด
ทอท.มั่นใจการจราจรสู่สุวรรณภูมิไร้ปัญหา แม้ระบบรถไฟฟ้าจะเสร็จหลังสนามบิน 2 ปี
วิทยุการบินฯมั่นใจหอบังคับการบินสุวรรณภูมิเสร็จตามแผน
รฟท.ประกาศหาผู้รับเหมาทำโครงการรถไฟฟ้าเชื่อมสนามบินสุวรรณภูมิ
นายกฯมั่นใจนักท่องเที่ยวใช้บริการสนามบินสุวรรณภูมิคึกคัก
บทม.ย้ำสนามบินสุวรรณภูมิทันเปิดใช้ ก.ย. 48
"วิเชษฐ"คุยหอบังคับการบินสุวรรณภูมิสูงที่สุดในโลก
สนามบินสุวรรณภูมิเตรียมพื้นที่จอดรถถึง 15,600 คัน
นายกรัฐมนตรีฟุ้งระบบทางรถไฟเชื่อมสนามบินสุวรรณภูมิสุดไฮเทค
รมว.คมนาคมปลื้ม ครม.อนุมัติโครงการรถไฟฟ้าสู่สุวรรณภูมิ
คลังค้ำประกันเงินกู้เจบิคสร้างสนามบินสุวรรณภูมิ
“ทักษิณ”มั่นใจสนามบินสุวรรณภูมิเสร็จทันตามกำหนด
ทอท.หวังใช้ดอนเมืองรับโลว์คอสต์ หลังสุวรรณภูมิเปิดบริการ
บางกอกแอร์ได้เฮ! ชนะประมูลครัวการบินใน“สุวรรณภูมิ”
การประมูลครัวการบิน “สุวรรณภูมิ” ส่อแววมีพิรุธ
รู้ผลแล้ว ! ผู้ชนะประมูลระบบสื่อสารในสุวรรณภูมิ
กรมทางหลวง ย้ำถนนสู่สุวรรณภูมิเสร็จทัน 29 ก.ย.นี้แน่
ในหลวง ทรงห่วงการระบายน้ำสนามบินสุวรรณภูมิ
ทักษิณเร่งรัดทุกฝ่ายต้องแก้ปัญหาสุวรรณภูมิให้เสร็จทันตามกำหนด
“สุริยะ”ยันสนามบินสุวรรณภูมิสร้างเสร็จตามกำหนดแน่
การก่อสร้างสนามบินสุวรรณภูมิไม่คืบหน้า
บทม.ยืนยันสร้างสนามบินสุวรรณภูมิเสร็จทันตามกำหนดแน่
บทม.ทุ่ม 3 ล้านจ้างที่ปรึกษาสำรวจรอบสนามบินสุวรรณภูมิ
กทภ.เทงบ 20,000 ล้านลงทุนในท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ
รถบรรทุกทรายสุวรรณภูมิ ร้องขอเพิ่มน้ำหนัก แต่สุริยะเมิน
สุริยะ สั่งบทม. จี้งานก่อสร้างสนามบินสุวรรณภูมิ
"29 ก.ย.48" ดีเดย์เปิดสุวรรณภูมิ
"ส.อ.ท."แฉกลุ่มอิตาเลียนไทยล็อกสเปกอุปกรณ์สุวรรณภูมิ
คมนาคมหวั่นอาคารผู้โดยสารสุวรรณภูมิเสร็จล่าช้า






กำลังโหลดความคิดเห็น