บริษัทโซลาร์ตรอน จับมือลงนามกับกฟภ.ติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์ให้กับครัวเรือนในพื้นที่ห่างไกล เฟส 2 อีก 15,000 ครัวเรือน ในโครงการโซลาร์โฮม ของรัฐบาลที่ต้องการให้ทุกครัวเรือนมีไฟฟ้าใช้
นายสุวิทย์ สมานโสตถิวงศ์ รองผู้ว่าการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) กล่าวว่า บริษัทโซลาร์ตรอน จำกัด (มหาชน) จะทำการติดตั้งให้แก่ครัวเรือนใน 20 จังหวัดของภาคเหนือ ส่วนพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือจะลงนามกับเอกชนอีกรายในวันพรุ่งนี้ (26 ก.ย.) ซึ่งจะทำให้ 203,000 ครัวเรือนมีแผงโซลาร์เซลล์ใช้ในเดือน พ.ค.2549 สามารถสร้างกำลังไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ด้วยงบประมาณของโครงการรวม 5,600 ล้านบาท อย่างไรก็ตามจากการสำรวจพบว่า ยังมีอีกกว่า 2 แสนครัวเรือนที่ยังไม่มีไฟฟ้าใช้ ซึ่ง กฟภ.จะทำการสำรวจว่า เข้าเงื่อนไขที่จะใช้แผงโซลาร์เซลล์ได้หรือไม่ โดยจะต้องไม่เป็นบ้านเรือนที่ตั้งอยู่ในเขตหวงห้าม อาทิ เขตป่าสงวนเป็นต้น ส่วนต้นทุนแผงโซลาร์เซลล์ต่อครัวเรือนอยู่ที่ 25,000 บาท
ด้าน น.ส.วันดี กุญชรยาคง ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ.โซลาร์ตรอน กล่าวว่า บริษัทมีแผนสร้างโรงงานแห่งที่ 2 เพื่อผลิตโซลาร์เซลล์ต้นน้ำ ที่ อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา มูลค่า 1,200 ล้านบาท หลังจากที่เริ่มมีเงินทุนหมุนเวียนจากการประมูลโครงการโซลาร์โฮม เฟสแรก โดยโรงงานดังกล่าวจะทำให้ผลิตแผงโซลาร์เซลล์จากซิลิคอน คาดว่าจะก่อสร้างแล้วเสร็จในปี 2549 ด้วยกำลังผลิต 25 เมกะวัตต์ ถือเป็นพลังงานทดแทนสามารถส่งจำหน่ายทั้งในประเทศและต่างประเทศในภาวะวิกฤติราคาน้ำมัน ส่วนจะนำมาใช้อย่างแพร่หลายในครัวเรือนแทนพลังงานไฟฟ้าที่ได้จากโรงผลิตหรือไม่นั้น บริษัทมองว่าต้องขึ้นกับนโยบายของรัฐบาล ว่า จะกำหนดอัตราการซื้อคืนไฟฟ้าจากครัวหรือไม่ เป็นอัตราเท่าใด พร้อมยกตัวอย่างในประเทศเยอรมนี ว่า รัฐบาลได้ซื้อคืนไฟฟ้าจากแผงโซลาร์เซลล์ในครัวเรือนถึง 3 เท่าของราคาที่ประชาชนซื้อไฟฟ้าจากรัฐบาล
นายสุวิทย์ สมานโสตถิวงศ์ รองผู้ว่าการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) กล่าวว่า บริษัทโซลาร์ตรอน จำกัด (มหาชน) จะทำการติดตั้งให้แก่ครัวเรือนใน 20 จังหวัดของภาคเหนือ ส่วนพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือจะลงนามกับเอกชนอีกรายในวันพรุ่งนี้ (26 ก.ย.) ซึ่งจะทำให้ 203,000 ครัวเรือนมีแผงโซลาร์เซลล์ใช้ในเดือน พ.ค.2549 สามารถสร้างกำลังไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ด้วยงบประมาณของโครงการรวม 5,600 ล้านบาท อย่างไรก็ตามจากการสำรวจพบว่า ยังมีอีกกว่า 2 แสนครัวเรือนที่ยังไม่มีไฟฟ้าใช้ ซึ่ง กฟภ.จะทำการสำรวจว่า เข้าเงื่อนไขที่จะใช้แผงโซลาร์เซลล์ได้หรือไม่ โดยจะต้องไม่เป็นบ้านเรือนที่ตั้งอยู่ในเขตหวงห้าม อาทิ เขตป่าสงวนเป็นต้น ส่วนต้นทุนแผงโซลาร์เซลล์ต่อครัวเรือนอยู่ที่ 25,000 บาท
ด้าน น.ส.วันดี กุญชรยาคง ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ.โซลาร์ตรอน กล่าวว่า บริษัทมีแผนสร้างโรงงานแห่งที่ 2 เพื่อผลิตโซลาร์เซลล์ต้นน้ำ ที่ อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา มูลค่า 1,200 ล้านบาท หลังจากที่เริ่มมีเงินทุนหมุนเวียนจากการประมูลโครงการโซลาร์โฮม เฟสแรก โดยโรงงานดังกล่าวจะทำให้ผลิตแผงโซลาร์เซลล์จากซิลิคอน คาดว่าจะก่อสร้างแล้วเสร็จในปี 2549 ด้วยกำลังผลิต 25 เมกะวัตต์ ถือเป็นพลังงานทดแทนสามารถส่งจำหน่ายทั้งในประเทศและต่างประเทศในภาวะวิกฤติราคาน้ำมัน ส่วนจะนำมาใช้อย่างแพร่หลายในครัวเรือนแทนพลังงานไฟฟ้าที่ได้จากโรงผลิตหรือไม่นั้น บริษัทมองว่าต้องขึ้นกับนโยบายของรัฐบาล ว่า จะกำหนดอัตราการซื้อคืนไฟฟ้าจากครัวหรือไม่ เป็นอัตราเท่าใด พร้อมยกตัวอย่างในประเทศเยอรมนี ว่า รัฐบาลได้ซื้อคืนไฟฟ้าจากแผงโซลาร์เซลล์ในครัวเรือนถึง 3 เท่าของราคาที่ประชาชนซื้อไฟฟ้าจากรัฐบาล