กฟน.-กฟภ.ค้านกระทรวงพลังงานเฉลี่ยรายได้ค้าส่งไม่เหมาะสม อุ้ม กฟผ หวังดึงนักลงทุนกระจายหุ้นเข้าตลาดฯ มากเกินไป พร้อมระบุอาจทำให้ทั้ง กฟน.-กฟภ.ลำบากในกระจายหุ้นของตัวเองในอนาคต ด้าน รมว.พลังงาน ยอมรับคณะกรรมการกำกับกิจการไฟฟ้าคลอดลำบาก เนื่องจากจำเป็นที่จะต้องคัดเลือกคนให้ได้คุณสมบัติครบตามที่กำหนดอย่างเข้มงวด
แหล่งข่าวจากการไฟฟ้าฝ่ายจำหน่ายทั้งการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) และการไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) ระบุว่าการกระจายหุ้นบริษัท กฟผ จำกัด (มหาชน) ยังติดขัดในเรื่องการเกลี่ยรายได้ 3 การไฟฟ้า หรือการตกลงเกี่ยวกับค่าไฟฟ้าขายส่ง โดยที่ผ่านมาฝ่ายจำหน่ายไม่เห็นด้วยกับแนวคิดของกระทรวงพลังงานที่จะผลักดันให้ กฟผ ได้รับผลตอบแทนการลงทุนสูงที่สุด เพื่อให้หุ้นของ กฟผ เป็นที่น่าสนใจของนักลงทุน แม้มีการประชุม 3 การไฟฟ้า หลายครั้งแต่ กฟน.-กฟภ.ไม่เห็นด้วย โดยต้องการให้ผลตอบแทนใกล้เคียงกันที่ประมาณร้อยละ 6 เพราะหาก กฟผ ได้ผลตอบแทนที่สูง ขณะที่ 2 การไฟฟ้าที่เหลือได้ต่ำเกินไปก็จะส่งผลต่อรายได้ใน 3 ปีข้างหน้าที่ได้ต่ำเกินไป ไม่เพียงพอต่อการลงทุนบริการประชาชน กระทบต่อความเชื่อมั่นของระบบไฟฟ้า การลงทุนเพื่อบริการสาธารณะ และที่สำคัญจะกระทบต่อการกระจายหุ้นของ 2 การไฟฟ้า ในอนาคต
“ล่าสุดผู้บริหารกระทรวงพลังงาน และกระทรวงการคลัง ได้เข้าพบนายสุจริต ปัจฉิมนันท์ ปลัดกระทรวงมหาดไทย ขอความร่วมมือเพื่อให้สรุปการเกลี่ยค่าไฟฟ้าโดยเร็วที่สุดเพราะในเร็วๆ นี้ กฟผ จะโรดโชว์นักลงทุน แต่นายสุจริต ยังไม่ได้ตกลง โดยขอมาดูรายละเอียดก่อน” แหล่งข่าวระบุ
แหล่งข่าวระบุด้วยว่า หลักเกณฑ์ที่กระทรวงพลังงานเสนอคือ กฟผ ได้ผลตอบแทนร้อยละ 8.7 กฟภ.-กฟน.ได้ผลตอบแทนร้อยละ 4.5 ทั้งที่ ผลตอบแทนตามรายงานงบประมาณของ กฟผ (book) ระบุว่าต้นทุนค่าไฟฟ้ามีผลตอบแทนร้อยละ 7 ดังนั้น 2 การไฟฟ้าจึงเสนอว่า กฟผ ควรจะมีผลตอบแทนจากการเกลี่ยค่าไฟฟ้าประมาณร้อยละ 7.5-8 ส่วน กฟภ.-กฟน. ควรจะอยู่ที่ประมาณร้อยละ 5.1-5.2 เนื่องจาก กฟผ ยังสามารถมีผลตอบแทนการลงทุนจากธุรกิจเสริมอื่นๆ อีกร้อยละ 1 ได้อย่างไม่มีปัญหา เช่น ธุรกิจเคเบิลใยแก้ว ธุรกิจซ่อมบำรุงโรงไฟฟ้า ธุรกิจลอจิสติกส์ เป็นต้น
ส่วนความคืบหน้าการสรรหาคณะกรรมการกำกับดูแลกิจการไฟฟ้า (REGULATOR) จำนวน 7 คนนั้น นายวิเศษ จูภิบาล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน กล่าวว่า การสรรหาคณะกรรมการทั้ง 7 คน กล่าวว่า เป็นไปด้วยความยากลำบาก เพราะคุณสมบัติค่อนข้างเข้มงวด เช่น เมื่อเข้ามาเป็นกรรมการแล้วจะต้องไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับธุรกิจพลังงาน ต้องเป็นบุคคลที่มีความรู้ความสามารถที่ดีด้านพลังงาน แต่เงินเดือนกรรมการได้รับ 150,000 บาทต่อเดือน นับว่าค่อนข้างต่ำเมื่อเทียบกับการทำงานในธุรกิจพลังงาน ในขณะที่งานที่ต้องดำเนินการนั้นเป็นงานที่ต้องมีความรับผิดชอบสูง เพราะจะต้องติดตามทั้งเรื่องการจัดทำแผนพัฒนาพลังงานไฟฟ้าระยะยาว (พีดีพี) เพื่อให้มีไฟฟ้าเพียงพอต่อความต้องการใช้ในระยะยาว และเรื่องการเปิดประกวดราคาสำหรับผู้ประกอบการไฟฟ้าภาคเอกชน (ไอพีพี) ในอนาคต
อย่างไรก็ตาม คณะกรรมการกำกับดูแลกิจการไฟฟ้าจำเป็นต้องสรรหาให้เกิดขึ้นอย่างแน่นอน เพราะจะเป็นคณะกรรมการที่ดูแลภาพรวมธุรกิจไฟฟ้าที่จะให้เกิดความเป็นธรรมทั้งผู้บริโภค ผู้ผลิตไฟฟ้า และเกิดความมั่นคงของระบบไฟฟ้า อย่างไรก็ตาม การสรรหากรรมการก็จะดำเนินการควบคู่กับการกระจายหุ้นของ บมจ.กฟผ โดยไม่จำเป็นที่จะต้องสรรหาก่อนการชี้แจงต่อนักลงทุน (โรดโชว์) หุ้น กฟผ เพราะคาดว่าสิ่งที่นักลงทุนต้องการความชัดเจนคือเรื่องโครงสร้างค่าไฟฟ้าที่คณะรัฐมนตรีเห็นชอบแล้วที่ค่าไฟฟ้าฐานจะไม่ปรับขึ้นในช่วง 3 ปีข้างหน้า แต่ค่าไฟฟ้าอัตโนมัติ (เอฟที) จะเปลี่ยนแปลงตามเชื้อเพลิง
“REGULATOR อาจจะเกิดขึ้นก่อนหรือหลังกระจายหุ้น กฟผ แล้วก็ได้ แต่กระทรวงพลังงานจะเร่งสรรหาให้เร็วที่สุด แต่ยอมรับว่าหายากจริงๆ” นายวิเศษ กล่าว
แหล่งข่าวจากการไฟฟ้าฝ่ายจำหน่ายทั้งการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) และการไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) ระบุว่าการกระจายหุ้นบริษัท กฟผ จำกัด (มหาชน) ยังติดขัดในเรื่องการเกลี่ยรายได้ 3 การไฟฟ้า หรือการตกลงเกี่ยวกับค่าไฟฟ้าขายส่ง โดยที่ผ่านมาฝ่ายจำหน่ายไม่เห็นด้วยกับแนวคิดของกระทรวงพลังงานที่จะผลักดันให้ กฟผ ได้รับผลตอบแทนการลงทุนสูงที่สุด เพื่อให้หุ้นของ กฟผ เป็นที่น่าสนใจของนักลงทุน แม้มีการประชุม 3 การไฟฟ้า หลายครั้งแต่ กฟน.-กฟภ.ไม่เห็นด้วย โดยต้องการให้ผลตอบแทนใกล้เคียงกันที่ประมาณร้อยละ 6 เพราะหาก กฟผ ได้ผลตอบแทนที่สูง ขณะที่ 2 การไฟฟ้าที่เหลือได้ต่ำเกินไปก็จะส่งผลต่อรายได้ใน 3 ปีข้างหน้าที่ได้ต่ำเกินไป ไม่เพียงพอต่อการลงทุนบริการประชาชน กระทบต่อความเชื่อมั่นของระบบไฟฟ้า การลงทุนเพื่อบริการสาธารณะ และที่สำคัญจะกระทบต่อการกระจายหุ้นของ 2 การไฟฟ้า ในอนาคต
“ล่าสุดผู้บริหารกระทรวงพลังงาน และกระทรวงการคลัง ได้เข้าพบนายสุจริต ปัจฉิมนันท์ ปลัดกระทรวงมหาดไทย ขอความร่วมมือเพื่อให้สรุปการเกลี่ยค่าไฟฟ้าโดยเร็วที่สุดเพราะในเร็วๆ นี้ กฟผ จะโรดโชว์นักลงทุน แต่นายสุจริต ยังไม่ได้ตกลง โดยขอมาดูรายละเอียดก่อน” แหล่งข่าวระบุ
แหล่งข่าวระบุด้วยว่า หลักเกณฑ์ที่กระทรวงพลังงานเสนอคือ กฟผ ได้ผลตอบแทนร้อยละ 8.7 กฟภ.-กฟน.ได้ผลตอบแทนร้อยละ 4.5 ทั้งที่ ผลตอบแทนตามรายงานงบประมาณของ กฟผ (book) ระบุว่าต้นทุนค่าไฟฟ้ามีผลตอบแทนร้อยละ 7 ดังนั้น 2 การไฟฟ้าจึงเสนอว่า กฟผ ควรจะมีผลตอบแทนจากการเกลี่ยค่าไฟฟ้าประมาณร้อยละ 7.5-8 ส่วน กฟภ.-กฟน. ควรจะอยู่ที่ประมาณร้อยละ 5.1-5.2 เนื่องจาก กฟผ ยังสามารถมีผลตอบแทนการลงทุนจากธุรกิจเสริมอื่นๆ อีกร้อยละ 1 ได้อย่างไม่มีปัญหา เช่น ธุรกิจเคเบิลใยแก้ว ธุรกิจซ่อมบำรุงโรงไฟฟ้า ธุรกิจลอจิสติกส์ เป็นต้น
ส่วนความคืบหน้าการสรรหาคณะกรรมการกำกับดูแลกิจการไฟฟ้า (REGULATOR) จำนวน 7 คนนั้น นายวิเศษ จูภิบาล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน กล่าวว่า การสรรหาคณะกรรมการทั้ง 7 คน กล่าวว่า เป็นไปด้วยความยากลำบาก เพราะคุณสมบัติค่อนข้างเข้มงวด เช่น เมื่อเข้ามาเป็นกรรมการแล้วจะต้องไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับธุรกิจพลังงาน ต้องเป็นบุคคลที่มีความรู้ความสามารถที่ดีด้านพลังงาน แต่เงินเดือนกรรมการได้รับ 150,000 บาทต่อเดือน นับว่าค่อนข้างต่ำเมื่อเทียบกับการทำงานในธุรกิจพลังงาน ในขณะที่งานที่ต้องดำเนินการนั้นเป็นงานที่ต้องมีความรับผิดชอบสูง เพราะจะต้องติดตามทั้งเรื่องการจัดทำแผนพัฒนาพลังงานไฟฟ้าระยะยาว (พีดีพี) เพื่อให้มีไฟฟ้าเพียงพอต่อความต้องการใช้ในระยะยาว และเรื่องการเปิดประกวดราคาสำหรับผู้ประกอบการไฟฟ้าภาคเอกชน (ไอพีพี) ในอนาคต
อย่างไรก็ตาม คณะกรรมการกำกับดูแลกิจการไฟฟ้าจำเป็นต้องสรรหาให้เกิดขึ้นอย่างแน่นอน เพราะจะเป็นคณะกรรมการที่ดูแลภาพรวมธุรกิจไฟฟ้าที่จะให้เกิดความเป็นธรรมทั้งผู้บริโภค ผู้ผลิตไฟฟ้า และเกิดความมั่นคงของระบบไฟฟ้า อย่างไรก็ตาม การสรรหากรรมการก็จะดำเนินการควบคู่กับการกระจายหุ้นของ บมจ.กฟผ โดยไม่จำเป็นที่จะต้องสรรหาก่อนการชี้แจงต่อนักลงทุน (โรดโชว์) หุ้น กฟผ เพราะคาดว่าสิ่งที่นักลงทุนต้องการความชัดเจนคือเรื่องโครงสร้างค่าไฟฟ้าที่คณะรัฐมนตรีเห็นชอบแล้วที่ค่าไฟฟ้าฐานจะไม่ปรับขึ้นในช่วง 3 ปีข้างหน้า แต่ค่าไฟฟ้าอัตโนมัติ (เอฟที) จะเปลี่ยนแปลงตามเชื้อเพลิง
“REGULATOR อาจจะเกิดขึ้นก่อนหรือหลังกระจายหุ้น กฟผ แล้วก็ได้ แต่กระทรวงพลังงานจะเร่งสรรหาให้เร็วที่สุด แต่ยอมรับว่าหายากจริงๆ” นายวิเศษ กล่าว