ศูนย์วิจัยกสิกรไทยค้านมาตรการรัฐหากจะออกประกาศห้ามส่งออกโมลาส หรือกากน้ำตาล เพื่อให้มีเอทานอลภายในประเทศเพียงพอ เพราะหวั่นจะฉุดรายได้ระบบอุตสาหกรรมอ้อย-น้ำตาล ลดลง และส่งผลถึงรายได้ชาวไร่ที่กำลังมีปัญหาหนี้ที่มีวงเงินสูงถึง 18,000 ล้านบาท
บริษัท ศูนย์วิจัยกสิกรไทย จำกัด รายงานว่า ปัจจุบันกากน้ำตาลได้ทวีบทบาทความสำคัญเพิ่มมากขึ้น นอกจากใช้เป็นวัตถุดิบในภาคอุตสาหกรรมการผลิตอาหารและเครื่องดื่มต่าง ๆ ประมาณ 1 ล้านตันแล้ว ไทยยังถือเป็นประเทศผู้ส่งออกกากน้ำตาลรายใหญ่อันดับหนึ่งของโลก โดยมีการส่งออกกากน้ำตาลไปยังตลาดต่างประเทศในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา เฉลี่ยปีละประมาณ 1.4-1.5 ล้านตัน คิดเป็นมูลค่าเฉลี่ยต่อปีกว่า 50 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ผลจากราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้นยังส่งผลให้มีการนำกากน้ำตาลไปใช้ประโยชน์ในด้านการผลิตเอทานอล เพื่อใช้ผสมกับน้ำมันเบนซินเป็นพลังงานทางเลือกที่เรียกว่าแก๊สโซฮอล์ ที่ราคาในประเทศต่ำกว่าน้ำมันเบนซินออกเทน 95 ถึงลิตรละ 1.50 บาท อีกทั้งยังช่วยลดการนำเข้าน้ำมันจากต่างประเทศได้อีกด้วย ส่งผลให้ปริมาณความต้องการกากน้ำตาลในประเทศเพิ่มขึ้นเป็นประมาณ 1.53 ล้านตันต่อปี
ปัจจัยดังกล่าว ส่งผลให้ภาครัฐมีแนวคิดที่จะห้ามการส่งออกกากน้ำตาลเพื่อสงวนไว้ใช้ในประเทศ ภายหลังจากที่ผู้ผลิตเอทานอลเรียกร้องขอปรับราคาเอทานอลที่จำหน่ายให้กับโรงกลั่นน้ำมันให้สอดคล้องกับราคากากน้ำตาลที่ปรับตัวสูงขึ้น อย่างไรก็ตาม ประเด็นดังกล่าวทางฝ่ายโรงงานน้ำตาลมีความเห็นว่า หากควบคุมการส่งออกจะทำให้ราคากากน้ำตาลปรับตัวลดลง และส่งผลกระทบต่อรายได้ของระบบอ้อยและน้ำตาลทรายซึ่งยังมีภาระหนี้เงินกู้ระหว่างกองทุนอ้อยและน้ำตาลทรายกับสถาบันการเงินถึงประมาณ 18,000 ล้านบาท
สำหรับคู่แข่งทางด้านการส่งออกกากน้ำตาลที่สำคัญของไทยในภูมิภาคเอเชีย ได้แก่ ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย และออสเตรเลีย เป็นต้น โดยมูลค่าการส่งออกกากน้ำตาลของไทยได้ปรับตัวลดลงมาเป็นลำดับ จาก 62.2 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ในปี 2545 ลงมาเหลือ 46.4 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และ 41.6 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ในปี 2546 และ 2547 ตามลำดับ ซึ่งสาเหตุหลักเกิดจากราคากากน้ำตาลที่ปรับตัวลดลง ดังจะเห็นได้จากราคาส่งออกกากน้ำตาลของไทยเฉลี่ยในปี 2545 ซึ่งอยู่ที่ 45.78 ดอลลาร์สหรัฐต่อตัน ลดลงมาเหลือเพียง 34.96 ดอลลาร์สหรัฐต่อตัน และ 27.72 ดอลลาร์สหรัฐต่อตัน ในปี 2546 และ 2547 ตามลำดับ อย่างไรก็ตาม ผลจากปัญหาภัยแล้งที่เกิดขึ้นทั่วโลก ส่งผลให้ปริมาณผลผลิตกากน้ำตาลปรับตัวลดลง ประกอบกับความต้องการกากน้ำตาลเพื่อใช้ในภาคอุตสาหกรรมต่าง ๆ โดยเฉพาะการผลิตเอทานอลมีสูง ผลักดันให้ราคากากน้ำตาลทั่วโลกปรับตัวสูงขึ้นด้วย โดยในช่วง 7 เดือนแรก ปี 2548 ไทยมีการส่งออกกากน้ำตาลปริมาณ 1.02 ล้านตัน คิดเป็นมูลค่า 54.8 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 107.6 ในขณะที่ราคาส่งออกกากน้ำตาลก็ปรับเพิ่มขึ้นเป็นเฉลี่ย 53.84 ดอลลาร์สหรัฐต่อตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 120.7 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย เห็นว่า ประเด็นการควบคุมการส่งออกกากน้ำตาลมาจากปัญหาภัยแล้งที่เกิดขึ้นทั่วประเทศ ส่งผลให้ปริมาณผลผลิตอ้อยลดลงจากปีก่อน ๆ มาก และเป็นที่น่าสังเกตว่า ประเด็นปัญหาเกี่ยวกับกากน้ำตาลนั้น มีทีท่าว่าจะต่อเนื่องไปในปี 2549 ภายหลังจากที่มีการคาดการณ์ว่า ปริมาณผลผลิตอ้อยในประเทศจะได้รับผลกระทบจากปัญหาภัยแล้งเช่นเดียวกับปี 2548 ซึ่งปัจจัยดังกล่าว จะสร้างความกดดันแก่ทั้งฝ่ายภาครัฐเอง รวมทั้งฝ่ายอุตสาหกรรมน้ำตาลเป็นอย่างมาก ดังนั้น เพื่อเป็นการแก้ไขข้อขัดแย้งเช่นเดียวกับที่เป็นอยู่ในปัจจุบันไม่ให้เกิดขึ้นอีกในอนาคต ภาครัฐควรมีการวางแผนร่วมกันระหว่างผู้ประกอบการเอทานอลกับชาวไร่อ้อยและโรงงานน้ำตาลถึงปริมาณความต้องการกากน้ำตาลในระยะยาวว่าเป็นเท่าใด พร้อมกับเร่งส่งเสริมการเพิ่มผลผลิตอ้อยให้สอดคล้องกัน ซึ่งจะช่วยให้มีปริมาณกากน้ำตาลเพียงพอใช้ในประเทศโดยไม่ต้องมีมาตรการควบคุมการส่งออกกากน้ำตาลออกมาบังคับ
บริษัท ศูนย์วิจัยกสิกรไทย จำกัด รายงานว่า ปัจจุบันกากน้ำตาลได้ทวีบทบาทความสำคัญเพิ่มมากขึ้น นอกจากใช้เป็นวัตถุดิบในภาคอุตสาหกรรมการผลิตอาหารและเครื่องดื่มต่าง ๆ ประมาณ 1 ล้านตันแล้ว ไทยยังถือเป็นประเทศผู้ส่งออกกากน้ำตาลรายใหญ่อันดับหนึ่งของโลก โดยมีการส่งออกกากน้ำตาลไปยังตลาดต่างประเทศในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา เฉลี่ยปีละประมาณ 1.4-1.5 ล้านตัน คิดเป็นมูลค่าเฉลี่ยต่อปีกว่า 50 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ผลจากราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้นยังส่งผลให้มีการนำกากน้ำตาลไปใช้ประโยชน์ในด้านการผลิตเอทานอล เพื่อใช้ผสมกับน้ำมันเบนซินเป็นพลังงานทางเลือกที่เรียกว่าแก๊สโซฮอล์ ที่ราคาในประเทศต่ำกว่าน้ำมันเบนซินออกเทน 95 ถึงลิตรละ 1.50 บาท อีกทั้งยังช่วยลดการนำเข้าน้ำมันจากต่างประเทศได้อีกด้วย ส่งผลให้ปริมาณความต้องการกากน้ำตาลในประเทศเพิ่มขึ้นเป็นประมาณ 1.53 ล้านตันต่อปี
ปัจจัยดังกล่าว ส่งผลให้ภาครัฐมีแนวคิดที่จะห้ามการส่งออกกากน้ำตาลเพื่อสงวนไว้ใช้ในประเทศ ภายหลังจากที่ผู้ผลิตเอทานอลเรียกร้องขอปรับราคาเอทานอลที่จำหน่ายให้กับโรงกลั่นน้ำมันให้สอดคล้องกับราคากากน้ำตาลที่ปรับตัวสูงขึ้น อย่างไรก็ตาม ประเด็นดังกล่าวทางฝ่ายโรงงานน้ำตาลมีความเห็นว่า หากควบคุมการส่งออกจะทำให้ราคากากน้ำตาลปรับตัวลดลง และส่งผลกระทบต่อรายได้ของระบบอ้อยและน้ำตาลทรายซึ่งยังมีภาระหนี้เงินกู้ระหว่างกองทุนอ้อยและน้ำตาลทรายกับสถาบันการเงินถึงประมาณ 18,000 ล้านบาท
สำหรับคู่แข่งทางด้านการส่งออกกากน้ำตาลที่สำคัญของไทยในภูมิภาคเอเชีย ได้แก่ ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย และออสเตรเลีย เป็นต้น โดยมูลค่าการส่งออกกากน้ำตาลของไทยได้ปรับตัวลดลงมาเป็นลำดับ จาก 62.2 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ในปี 2545 ลงมาเหลือ 46.4 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และ 41.6 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ในปี 2546 และ 2547 ตามลำดับ ซึ่งสาเหตุหลักเกิดจากราคากากน้ำตาลที่ปรับตัวลดลง ดังจะเห็นได้จากราคาส่งออกกากน้ำตาลของไทยเฉลี่ยในปี 2545 ซึ่งอยู่ที่ 45.78 ดอลลาร์สหรัฐต่อตัน ลดลงมาเหลือเพียง 34.96 ดอลลาร์สหรัฐต่อตัน และ 27.72 ดอลลาร์สหรัฐต่อตัน ในปี 2546 และ 2547 ตามลำดับ อย่างไรก็ตาม ผลจากปัญหาภัยแล้งที่เกิดขึ้นทั่วโลก ส่งผลให้ปริมาณผลผลิตกากน้ำตาลปรับตัวลดลง ประกอบกับความต้องการกากน้ำตาลเพื่อใช้ในภาคอุตสาหกรรมต่าง ๆ โดยเฉพาะการผลิตเอทานอลมีสูง ผลักดันให้ราคากากน้ำตาลทั่วโลกปรับตัวสูงขึ้นด้วย โดยในช่วง 7 เดือนแรก ปี 2548 ไทยมีการส่งออกกากน้ำตาลปริมาณ 1.02 ล้านตัน คิดเป็นมูลค่า 54.8 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 107.6 ในขณะที่ราคาส่งออกกากน้ำตาลก็ปรับเพิ่มขึ้นเป็นเฉลี่ย 53.84 ดอลลาร์สหรัฐต่อตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 120.7 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย เห็นว่า ประเด็นการควบคุมการส่งออกกากน้ำตาลมาจากปัญหาภัยแล้งที่เกิดขึ้นทั่วประเทศ ส่งผลให้ปริมาณผลผลิตอ้อยลดลงจากปีก่อน ๆ มาก และเป็นที่น่าสังเกตว่า ประเด็นปัญหาเกี่ยวกับกากน้ำตาลนั้น มีทีท่าว่าจะต่อเนื่องไปในปี 2549 ภายหลังจากที่มีการคาดการณ์ว่า ปริมาณผลผลิตอ้อยในประเทศจะได้รับผลกระทบจากปัญหาภัยแล้งเช่นเดียวกับปี 2548 ซึ่งปัจจัยดังกล่าว จะสร้างความกดดันแก่ทั้งฝ่ายภาครัฐเอง รวมทั้งฝ่ายอุตสาหกรรมน้ำตาลเป็นอย่างมาก ดังนั้น เพื่อเป็นการแก้ไขข้อขัดแย้งเช่นเดียวกับที่เป็นอยู่ในปัจจุบันไม่ให้เกิดขึ้นอีกในอนาคต ภาครัฐควรมีการวางแผนร่วมกันระหว่างผู้ประกอบการเอทานอลกับชาวไร่อ้อยและโรงงานน้ำตาลถึงปริมาณความต้องการกากน้ำตาลในระยะยาวว่าเป็นเท่าใด พร้อมกับเร่งส่งเสริมการเพิ่มผลผลิตอ้อยให้สอดคล้องกัน ซึ่งจะช่วยให้มีปริมาณกากน้ำตาลเพียงพอใช้ในประเทศโดยไม่ต้องมีมาตรการควบคุมการส่งออกกากน้ำตาลออกมาบังคับ