รมว.คมนาคมสั่งกรมการขนส่งทางบกสรุปแผนการพัฒนาโครงข่ายขนส่งเพื่อแก้ปัญหาจราจรภายใน 1 เดือน โดยในระยะที่ 1 สั่งจัดรถเมล์โดยสาร จำนวน 35 สายทาง ครอบคลุมระยะทาง 500 กิโลเมตร ทั่วเมืองเชียงใหม่ งบประมาณลงทุน 700 ล้านบาท ในระยะที่ 2 เร่งรัดแผนก่อสร้างในแนวรถไฟฟ้า 3 สายทาง ที่รอความชัดเจนจะเป็นระบบรถไฟฟ้าหรือรถเมล์ด่วนพิเศษ (BRT)
นายพงษ์ศักดิ์ รักตพงศ์ไพศาล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ได้เดินทางตรวจราชการจังหวัดเชียงใหม่ พร้อมหัวหน้าส่วนราชการในสังกัด ประกอบด้วย สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) กรมการขนส่งทางบก กรมทางหลวง กรมทางหลวงชนบท และกรมขนส่งทางน้ำและพาณิชยนาวี เพื่อติดตามเร่งรัดการพัฒนาระบบขนส่งในจังหวัดเชียงใหม่ เพื่อแก้ไขปัญหาจราจรภายในตัวเมือง และรองรับการจัดงานท่องเที่ยวสำคัญ โดยจังหวัดเชียงใหม่จะเปิดแหล่งท่องเที่ยว ไนท์ ซาฟารี ในปลายปี 2548 และงานพันธุ์พืชสวนโลก ที่ จ.เชียงใหม่จะเป็นเจ้าภาพในต้นปี 2549
ทั้งนี้ ในการแก้ไขปัญหาจราจรระยะสั้น ที่ปัจจุบันมีปัญหา 3 ด้าน คือ การขาดระบบขนส่งสาธารณะที่ดี ปัญหาจราจรติดขัด และปัญหามลภาวะ ดังนั้น เพื่อเป็นการแก้ปัญหา ได้ให้นโยบายแก่ นายปิยะพันธ์ จำปาสุต อธิบดีกรมการขนส่งทางบก ให้ทำการสรุปแผนในการศึกษาแก้ปัญหาจราจร โดยการนำรถเมล์สาธารณะที่มีคุณภาพมาวิ่งรับส่งประชาชน ตามโครงข่ายที่ได้มีการว่าจ้างเอกชนศึกษาไว้ ประกอบด้วย เส้นทางรถโดยสาร 35 สายทาง ครอบคลุมเขตเทศบาล และพื้นที่รอบนอก 500 กิโลเมตร ลงทุนในวงเงิน 700 ล้านบาท เพื่อรองรับการจัดงานท่องเที่ยวสำคัญใน 2 งาน โดยขอให้ผลศึกษาแล้วเสร็จภายใน 1 เดือน โดยการศึกษานั้นขอให้ครอบคลุมถึงการจัดองค์กรขึ้นมาบริหารการเดินรถ
อย่างไรก็ตาม ประเด็นสำคัญ คือ เมื่อภาครัฐจ่ายเงินลงทุนให้แต่หน่วยงานดังกล่าว ต้องสามารถเลี้ยงตัวเองได้ ไม่เป็นภาระให้ภาครัฐต้องจ่ายเงินชดเชยผลขาดทุนในอนาคต รวมทั้งองค์กรดังกล่าว ต้องสามารถแก้ปัญหา การคัดค้านนำรถเมล์มาวิ่งให้บริการ ของกลุ่มรถ 2 แถวแดง โดยให้หาแนวทางดึงผู้ประกอบการขับรถมาร่วมในโครงการด้วย สำหรับการแก้ปัญหาในระยะยาวนั้น ให้ สนข.เดินหน้าแผนศึกษาที่ได้ทำไว้เดิม ในการก่อสร้างโครงข่ายระบบราง 3 สาย 5 ทิศทาง ที่จะครอบคลุมตั้งแต่ศูนย์ราชการ เมืองชั้นใน ไนท์ บาร์ซา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ แหล่งท่องเที่ยวใหม่ เช่นไนท์ซาฟารี จนถึงอำเภอหางดง ระยะทาง 35 กิโลเมตร งบประมาณลงทุน 6,000 ล้านบาท และในระยะที่ 2 ที่มีระบบรางควบคู่กับระบบรถบีอาร์ที อีก 35 กิโลเมตร งบประมาณลงทุนอีก 6,000 ล้านบาท โดยแผนพัฒนาทั้งหมดจะมีระยะเวลาตั้งแต่ 5 - 20 ปี
“ในเบื้องต้นเห็นว่า การขนส่งในจังหวัดเชียงใหม่มีความจำเป็น และขอให้ทำพร้อมกันทั้ง 3 สายทาง ในส่วนการพัฒนาโครงสร้างรองรับ และให้ศึกษาอีกครั้งว่าจะใช้ระบบราง หรือบีอาร์ทีในการขนส่งอีกครั้ง หลังจากนี้ ขอให้ทำการศึกษาแผนรายละเอียดในเรื่องผลตอบแทนการเงิน การลงทุน สิ่งแวดล้อมและความเห็นของประชาชน ควบคู่กับการออกแบบรายละเอียด หรือดีเทล ดีไซน์ และขอให้ สนข. รายงานให้ทราบเป็นระยะๆ” นายพงษ์ศักดิ์ กล่าว
สำหรับรายงานผลศึกษาจำนวนประชากร ที่เกี่ยวข้องกับระบบขนส่งที่ สนข. ได้ทำไว้ ภายใน 10 ปีข้างหน้า ปริมาณการสัญจรของประชาชนในจังหวัดเชียงใหม่จะเพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่า มีประชากรใช้ระบบขนส่งเพิ่มขึ้นจาก 3.5 ล้านคน เป็นกว่า 7 ล้านคนต่อปี และจะทำให้การจราจรในเขตเมืองเข้าสู่ภาวะวิกฤติ และจำเป็นที่ภาครัฐจะต้องถ่ายโอนประชาชน จากระบบขนส่งอื่นๆ ไปสู่ระบบขนส่งสาธารณะ ที่ปัจจุบันมีการใช้งานอยู่ร้อยละ 8 ให้มีสัดส่วนไม่น้อยกว่าร้อยละ 30 ภายใน 10 ปีข้างหน้า
นายพงษ์ศักดิ์ รักตพงศ์ไพศาล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ได้เดินทางตรวจราชการจังหวัดเชียงใหม่ พร้อมหัวหน้าส่วนราชการในสังกัด ประกอบด้วย สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) กรมการขนส่งทางบก กรมทางหลวง กรมทางหลวงชนบท และกรมขนส่งทางน้ำและพาณิชยนาวี เพื่อติดตามเร่งรัดการพัฒนาระบบขนส่งในจังหวัดเชียงใหม่ เพื่อแก้ไขปัญหาจราจรภายในตัวเมือง และรองรับการจัดงานท่องเที่ยวสำคัญ โดยจังหวัดเชียงใหม่จะเปิดแหล่งท่องเที่ยว ไนท์ ซาฟารี ในปลายปี 2548 และงานพันธุ์พืชสวนโลก ที่ จ.เชียงใหม่จะเป็นเจ้าภาพในต้นปี 2549
ทั้งนี้ ในการแก้ไขปัญหาจราจรระยะสั้น ที่ปัจจุบันมีปัญหา 3 ด้าน คือ การขาดระบบขนส่งสาธารณะที่ดี ปัญหาจราจรติดขัด และปัญหามลภาวะ ดังนั้น เพื่อเป็นการแก้ปัญหา ได้ให้นโยบายแก่ นายปิยะพันธ์ จำปาสุต อธิบดีกรมการขนส่งทางบก ให้ทำการสรุปแผนในการศึกษาแก้ปัญหาจราจร โดยการนำรถเมล์สาธารณะที่มีคุณภาพมาวิ่งรับส่งประชาชน ตามโครงข่ายที่ได้มีการว่าจ้างเอกชนศึกษาไว้ ประกอบด้วย เส้นทางรถโดยสาร 35 สายทาง ครอบคลุมเขตเทศบาล และพื้นที่รอบนอก 500 กิโลเมตร ลงทุนในวงเงิน 700 ล้านบาท เพื่อรองรับการจัดงานท่องเที่ยวสำคัญใน 2 งาน โดยขอให้ผลศึกษาแล้วเสร็จภายใน 1 เดือน โดยการศึกษานั้นขอให้ครอบคลุมถึงการจัดองค์กรขึ้นมาบริหารการเดินรถ
อย่างไรก็ตาม ประเด็นสำคัญ คือ เมื่อภาครัฐจ่ายเงินลงทุนให้แต่หน่วยงานดังกล่าว ต้องสามารถเลี้ยงตัวเองได้ ไม่เป็นภาระให้ภาครัฐต้องจ่ายเงินชดเชยผลขาดทุนในอนาคต รวมทั้งองค์กรดังกล่าว ต้องสามารถแก้ปัญหา การคัดค้านนำรถเมล์มาวิ่งให้บริการ ของกลุ่มรถ 2 แถวแดง โดยให้หาแนวทางดึงผู้ประกอบการขับรถมาร่วมในโครงการด้วย สำหรับการแก้ปัญหาในระยะยาวนั้น ให้ สนข.เดินหน้าแผนศึกษาที่ได้ทำไว้เดิม ในการก่อสร้างโครงข่ายระบบราง 3 สาย 5 ทิศทาง ที่จะครอบคลุมตั้งแต่ศูนย์ราชการ เมืองชั้นใน ไนท์ บาร์ซา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ แหล่งท่องเที่ยวใหม่ เช่นไนท์ซาฟารี จนถึงอำเภอหางดง ระยะทาง 35 กิโลเมตร งบประมาณลงทุน 6,000 ล้านบาท และในระยะที่ 2 ที่มีระบบรางควบคู่กับระบบรถบีอาร์ที อีก 35 กิโลเมตร งบประมาณลงทุนอีก 6,000 ล้านบาท โดยแผนพัฒนาทั้งหมดจะมีระยะเวลาตั้งแต่ 5 - 20 ปี
“ในเบื้องต้นเห็นว่า การขนส่งในจังหวัดเชียงใหม่มีความจำเป็น และขอให้ทำพร้อมกันทั้ง 3 สายทาง ในส่วนการพัฒนาโครงสร้างรองรับ และให้ศึกษาอีกครั้งว่าจะใช้ระบบราง หรือบีอาร์ทีในการขนส่งอีกครั้ง หลังจากนี้ ขอให้ทำการศึกษาแผนรายละเอียดในเรื่องผลตอบแทนการเงิน การลงทุน สิ่งแวดล้อมและความเห็นของประชาชน ควบคู่กับการออกแบบรายละเอียด หรือดีเทล ดีไซน์ และขอให้ สนข. รายงานให้ทราบเป็นระยะๆ” นายพงษ์ศักดิ์ กล่าว
สำหรับรายงานผลศึกษาจำนวนประชากร ที่เกี่ยวข้องกับระบบขนส่งที่ สนข. ได้ทำไว้ ภายใน 10 ปีข้างหน้า ปริมาณการสัญจรของประชาชนในจังหวัดเชียงใหม่จะเพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่า มีประชากรใช้ระบบขนส่งเพิ่มขึ้นจาก 3.5 ล้านคน เป็นกว่า 7 ล้านคนต่อปี และจะทำให้การจราจรในเขตเมืองเข้าสู่ภาวะวิกฤติ และจำเป็นที่ภาครัฐจะต้องถ่ายโอนประชาชน จากระบบขนส่งอื่นๆ ไปสู่ระบบขนส่งสาธารณะ ที่ปัจจุบันมีการใช้งานอยู่ร้อยละ 8 ให้มีสัดส่วนไม่น้อยกว่าร้อยละ 30 ภายใน 10 ปีข้างหน้า