รมว.พลังงานสั่ง กฟผ.บริหารต้นทุนค่าไฟฟ้าให้เหมาะสม โดยหาเชื้อเพลิงอื่นผลิตไฟฟ้าแทนน้ำมันเตาที่มีราคาแพง เพื่อลดต้นทุนในการผลิตไฟฟ้าหลังโครงสร้างค่าไฟฟ้าผันแปรอัตโนมัติ (เอฟที) ใหม่ จะแยกอัตราแลกเปลี่ยนออกจากค่าเอฟที แต่ยืนยันไม่ใช่การลอยตัวค่าไฟฟ้า พร้อมปฏิเสธข่าวปรับค่าไฟฟ้าอีก 20 สตางค์ต่อหน่วยในเดือนตุลาคมนี้
นายวิเศษ จูภิบาล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เปิดเผยถึงข่าวการปรับค่าไฟฟ้าหลังการเปลี่ยนแปลงสูตรค่าเอฟทีว่า ยังไม่ได้รับรายงานเกี่ยวกับการปรับค่าไฟฟ้าอีกหน่วยละ 20 สตางค์ในเดือนตุลาคมนี้ แต่ค่าไฟฟ้าจะปรับขึ้นลงตามค่าเอฟทีที่มีการเปลี่ยนแปลงทุก 4 เดือน โดยมีคณะอนุกรรมการกำกับสูตรการปรับอัตราค่าเอฟทีเป็นผู้พิจารณา ซึ่งค่าไฟฟ้าขึ้นอยู่กับต้นทุนน้ำมันเชื้อเพลิง และล่าสุดได้นำอัตราแลกเปลี่ยน อัตราเงินเฟ้อ แยกออกจากค่าเอฟที เพื่อไม่ให้เป็นภาระต่อประชาชน เนื่องจากเห็นว่าอัตราแลกเปลี่ยนเป็นเรื่องของธุรกิจ จึงไม่ควรนำมากำหนดเป็นต้นทุนค่าไฟฟ้า และยืนยันว่าวิธีดังกล่าวไม่ใช่การลอยตัวค่าไฟฟ้าแต่อย่างใด และไม่ใช่การปรับฐานค่าไฟฟ้า ส่วนต้นทุนน้ำมันเชื้อเพลิงในกระบวนการผลิตไฟฟ้าได้สั่งการให้ บมจ.กฟผ. บริหารต้นทุนให้เหมาะสม โดยเฉพาะน้ำมันเตาที่มีราคาแพงอาจจะต้องหาเชื้อเพลิงอื่นทดแทน อาทิ ก๊าซเอ็นจีวี
ทั้งนี้ ในวันนี้ (27 ส.ค.) บริษัท กฟผ. จำกัด (มหาชน) ได้เปิดตัวฉลากประหยัดไฟเบอร์ 5 (2006) ซึ่งเป็นฉลากรุ่นใหม่ ที่จะเริ่มใช้ในปี 2549 โดยจะใช้กับเครื่องปรับอากาศและตู้เย็นก่อนจะขยายไปให้ครอบคลุมอุปกรณ์ไฟฟ้าชนิดอื่น คาดว่าจะประหยัดไฟฟ้าได้ปีละ 1,400 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากสลากเบอร์ 5 รุ่นเดิมที่ประหยัดได้ 1,200 ล้านบาทต่อปี พร้อมกันนี้ นายวิเศษ ได้มอบสลากประหยัดเบอร์ 5 ใหม่ให้ผู้ผลิตไฟฟ้าจำนวน 65 ราย ที่ทดสอบอุปกรณ์ผ่านมาตรฐานการประหยัดไฟ โดยสินค้าจะเริ่มวางจำหน่ายต้นปี 2549 ส่วนกิจกรรมรณรงค์ บมจ.กฟผ. ได้จัดงานมหกรรมครอบครัวเบอร์ 5 ระหว่างวันที่ 27-28 สิงหาคม ที่อิมแพค เมืองทองธานี โดยเน้นให้เยาวชนมีจิตสำนึกในการประหยัดพลังงาน
นายวิเศษ จูภิบาล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เปิดเผยถึงข่าวการปรับค่าไฟฟ้าหลังการเปลี่ยนแปลงสูตรค่าเอฟทีว่า ยังไม่ได้รับรายงานเกี่ยวกับการปรับค่าไฟฟ้าอีกหน่วยละ 20 สตางค์ในเดือนตุลาคมนี้ แต่ค่าไฟฟ้าจะปรับขึ้นลงตามค่าเอฟทีที่มีการเปลี่ยนแปลงทุก 4 เดือน โดยมีคณะอนุกรรมการกำกับสูตรการปรับอัตราค่าเอฟทีเป็นผู้พิจารณา ซึ่งค่าไฟฟ้าขึ้นอยู่กับต้นทุนน้ำมันเชื้อเพลิง และล่าสุดได้นำอัตราแลกเปลี่ยน อัตราเงินเฟ้อ แยกออกจากค่าเอฟที เพื่อไม่ให้เป็นภาระต่อประชาชน เนื่องจากเห็นว่าอัตราแลกเปลี่ยนเป็นเรื่องของธุรกิจ จึงไม่ควรนำมากำหนดเป็นต้นทุนค่าไฟฟ้า และยืนยันว่าวิธีดังกล่าวไม่ใช่การลอยตัวค่าไฟฟ้าแต่อย่างใด และไม่ใช่การปรับฐานค่าไฟฟ้า ส่วนต้นทุนน้ำมันเชื้อเพลิงในกระบวนการผลิตไฟฟ้าได้สั่งการให้ บมจ.กฟผ. บริหารต้นทุนให้เหมาะสม โดยเฉพาะน้ำมันเตาที่มีราคาแพงอาจจะต้องหาเชื้อเพลิงอื่นทดแทน อาทิ ก๊าซเอ็นจีวี
ทั้งนี้ ในวันนี้ (27 ส.ค.) บริษัท กฟผ. จำกัด (มหาชน) ได้เปิดตัวฉลากประหยัดไฟเบอร์ 5 (2006) ซึ่งเป็นฉลากรุ่นใหม่ ที่จะเริ่มใช้ในปี 2549 โดยจะใช้กับเครื่องปรับอากาศและตู้เย็นก่อนจะขยายไปให้ครอบคลุมอุปกรณ์ไฟฟ้าชนิดอื่น คาดว่าจะประหยัดไฟฟ้าได้ปีละ 1,400 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากสลากเบอร์ 5 รุ่นเดิมที่ประหยัดได้ 1,200 ล้านบาทต่อปี พร้อมกันนี้ นายวิเศษ ได้มอบสลากประหยัดเบอร์ 5 ใหม่ให้ผู้ผลิตไฟฟ้าจำนวน 65 ราย ที่ทดสอบอุปกรณ์ผ่านมาตรฐานการประหยัดไฟ โดยสินค้าจะเริ่มวางจำหน่ายต้นปี 2549 ส่วนกิจกรรมรณรงค์ บมจ.กฟผ. ได้จัดงานมหกรรมครอบครัวเบอร์ 5 ระหว่างวันที่ 27-28 สิงหาคม ที่อิมแพค เมืองทองธานี โดยเน้นให้เยาวชนมีจิตสำนึกในการประหยัดพลังงาน