กรมทรัพย์สินทางปัญญาจัดสัมมนาให้ความรู้แก่ผู้ประกอบการโรงงานและเจ้าของลิขสิทธิ์ในส่วน พ.ร.บ.การผลิตผลิตภัณฑ์ซีดี ซึ่งจะเริ่มบังคับใช้วันที่ 29 สิงหาคม 2548 เป็นต้นไป เชื่อมี พ.ร.บ.ดังกล่าวแล้ว จะทำให้การละเมิดลิขสิทธิ์ลดลง เพราะมีหลักเกณฑ์ที่จะควบคุมการผลิตซีดีชัดเจน และมีบทลงโทษหนักหากเข้าข่ายกระทำผิด
กรมทรัพย์สินทางปัญญา จัดสัมมนาให้ความรู้แก่ผู้ประกอบการโรงงานและเจ้าของลิขสิทธิ์ในการปฏิบัติตาม พ.ร.บ.การผลิตผลิตภัณฑ์ซีดี พ.ศ.2548 ที่จะเริ่มมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 29 สิงหาคม 2548 เป็นต้นไป โดยมีผู้ประกอบการเข้าร่วมกว่า 400 คน ซึ่งนายบรรยงค์ ลิ้มประยูรวงศ์ รองอธิบดีกรมทรัพย์สินทางปัญญา เปิดเผยว่า พ.ร.บ.ดังกล่าวจะทำให้การละเมิดลิขสิทธิ์ซีดีและดีวีดีลดลง เพราะ พ.ร.บ. จะควบคุมทั้งโรงงานผลิตซีดี สารโพลิคาบอเนต ตั้งแต่ 750 กิโลกรัมขึ้นไป เนื่องจากเป็นวัตถุดิบสำคัญในการผลิตซีดี และควบคุมเจ้าของลิขสิทธิ์ โดยทั้งหมดจะต้องยื่นขออนุญาตต่อกรมทรัพย์สินทางปัญญาเพื่อรับรหัส (โค้ด) ก่อนเข้าสู่กระบวนการผลิต โดยรหัสที่ได้รับไปนั้น จะต้องปรากฏอยู่ในโรงงานและบนแผ่นซีดี เพื่อตรวจสอบแหล่งที่มาของซีดีแผ่นนั้น ๆ อีกทั้งโรงงานยังต้องทำบัญชีจำนวนการผลิตด้วย ไม่เช่นนั้นจะถือว่ามีความผิด
ทั้งนี้ ปัจจุบันมีโรงงานผลิตซีดีที่ขึ้นทะเบียนไว้ 43 แห่ง รวมเครื่องจักร 160 เครื่อง แต่หลังจาก พ.ร.บ.ใหม่มีผลบังคับใช้ ผู้ผลิตซีดีและดีวีดีรายเดิมต้องยื่นเรื่องขออนุญาตใหม่ภายใน 30 วัน คือ ภายในวันที่ 27 กันยายนนี้ ส่วนผู้ประกอบการรายใหม่สามารถยื่นขอได้โดยทันที หากเครื่องจักรมีการโอน จำหน่าย หรือเปลี่ยนการครอบครองต้องแจ้งภายใน 7 วัน
รองอธิบดีกรมทรัพย์สินทางปัญญา ระบุว่า การฝ่าฝืน พ.ร.บ.ดังกล่าว จะมีโทษจำคุกตั้งแต่ 6 เดือน – 5 ปี และปรับตั้งแต่ 10,000 บาท ถึง 1 ล้านบาท ตามประเภทของความผิด อาทิ โทษของการไม่แจ้งการครอบครองเครื่องจักร มีโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี ปรับไม่เกิน 200,000 บาท ขณะที่โทษปลอมแปลงรหัสผู้อื่นมีโทษจำคุกตั้งแต่ 6 เดือน ถึง 5 ปี และปรับตั้งแต่ 100,000 บาท ถึง 1 ล้านบาท และจะเพิ่มโทษแบบทวีคูณหากมีการทำผิดซ้ำ
กรมทรัพย์สินทางปัญญา จัดสัมมนาให้ความรู้แก่ผู้ประกอบการโรงงานและเจ้าของลิขสิทธิ์ในการปฏิบัติตาม พ.ร.บ.การผลิตผลิตภัณฑ์ซีดี พ.ศ.2548 ที่จะเริ่มมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 29 สิงหาคม 2548 เป็นต้นไป โดยมีผู้ประกอบการเข้าร่วมกว่า 400 คน ซึ่งนายบรรยงค์ ลิ้มประยูรวงศ์ รองอธิบดีกรมทรัพย์สินทางปัญญา เปิดเผยว่า พ.ร.บ.ดังกล่าวจะทำให้การละเมิดลิขสิทธิ์ซีดีและดีวีดีลดลง เพราะ พ.ร.บ. จะควบคุมทั้งโรงงานผลิตซีดี สารโพลิคาบอเนต ตั้งแต่ 750 กิโลกรัมขึ้นไป เนื่องจากเป็นวัตถุดิบสำคัญในการผลิตซีดี และควบคุมเจ้าของลิขสิทธิ์ โดยทั้งหมดจะต้องยื่นขออนุญาตต่อกรมทรัพย์สินทางปัญญาเพื่อรับรหัส (โค้ด) ก่อนเข้าสู่กระบวนการผลิต โดยรหัสที่ได้รับไปนั้น จะต้องปรากฏอยู่ในโรงงานและบนแผ่นซีดี เพื่อตรวจสอบแหล่งที่มาของซีดีแผ่นนั้น ๆ อีกทั้งโรงงานยังต้องทำบัญชีจำนวนการผลิตด้วย ไม่เช่นนั้นจะถือว่ามีความผิด
ทั้งนี้ ปัจจุบันมีโรงงานผลิตซีดีที่ขึ้นทะเบียนไว้ 43 แห่ง รวมเครื่องจักร 160 เครื่อง แต่หลังจาก พ.ร.บ.ใหม่มีผลบังคับใช้ ผู้ผลิตซีดีและดีวีดีรายเดิมต้องยื่นเรื่องขออนุญาตใหม่ภายใน 30 วัน คือ ภายในวันที่ 27 กันยายนนี้ ส่วนผู้ประกอบการรายใหม่สามารถยื่นขอได้โดยทันที หากเครื่องจักรมีการโอน จำหน่าย หรือเปลี่ยนการครอบครองต้องแจ้งภายใน 7 วัน
รองอธิบดีกรมทรัพย์สินทางปัญญา ระบุว่า การฝ่าฝืน พ.ร.บ.ดังกล่าว จะมีโทษจำคุกตั้งแต่ 6 เดือน – 5 ปี และปรับตั้งแต่ 10,000 บาท ถึง 1 ล้านบาท ตามประเภทของความผิด อาทิ โทษของการไม่แจ้งการครอบครองเครื่องจักร มีโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี ปรับไม่เกิน 200,000 บาท ขณะที่โทษปลอมแปลงรหัสผู้อื่นมีโทษจำคุกตั้งแต่ 6 เดือน ถึง 5 ปี และปรับตั้งแต่ 100,000 บาท ถึง 1 ล้านบาท และจะเพิ่มโทษแบบทวีคูณหากมีการทำผิดซ้ำ