สึนามิป่วนตลาดแก้ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อส่อเค้าสะดุด ครึ่งปีแรกโต5% เคาน์เตอร์เพนเร่งขยายช่องทางจำหน่ายเจาะโรงพยาบาล คลินิค เพิ่มโปรดักส์ไลน์ส่งออก ทุ่ม 10 ล้านบาทพัฒนารูปแบบสเปรย์ หนีสินค้านอกเลียนแบบตีตลาด สิ้นปีหวังแชร์ 55% กวาดรายได้ 400 ล้านบาท
นายทรงวุฒิ ศักดิ์ชลาธร ผู้อำนวยการแผนกเวชภัณฑ์และร้านขายยา บริษัท บริสตอล-ไมเยอร์ สควิบบ์ (ประเทศไทย) จำกัด เปิดเผยว่า แนวโน้มตลาดผลิตภัณฑ์ยาทาแก้ปวดเมื่อยและอักเสบของกล้ามเนื้อมูลค่า 800 ล้านบาท ปีนี้คาดว่าจะเติบโตหลักเดียว จากครึ่งปีแรกโต 5% เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมาโต 10% ส่งผลให้ตลาดหลังจากที่ประเมินไว้ว่าภายใน 2-3 ปี จะพุ่งถึง 2,000 ล้านบาทเหลือเพียง 1,000 ล้านบาท ทั้งนี้เป็นเพราะผลพวงจากสึนามิ ส่งผลให้จำนวนนักท่องเที่ยวลดลง
ขณะเดียวกันเพื่อรักษาฐานลูกค้ากลุ่มนักท่องเที่ยวจากจีน สิงคโปร์ ฮ่องกง ไต้หวัน ในปีนี้บริษัทฯได้ทำการตลาดกับบริษัททัวร์มากขึ้น ในเบื้องต้นได้ทำโบร์ชัวภาษาจีน เพื่อสื่อสารและประชาสัมพันธ์ได้ง่ายมากขึ้น คาดว่าสิ้นปีนี้จะรักษารายได้จากลูกค้าจากต่างประเทศไว้เท่าเดิม 30%
พร้อมกันนี้บริษัทฯยังได้เตรียมขยายช่องทางจำหน่ายสินค้า ผ่านโรงพยาบาล,คลินิคเกี่ยวกับโรคกระดูก ทั่วประเทศ ซึ่งคาดว่าในอีก 6 เดือน จึงเริ่มนำสินค้าเข้าไปจำหน่ายได้ โดยปัจจุบันนี้เคาน์เตอร์เพนวางจำหน่ายครอบคลุมร้านขายยา 60% จากจำนวนร้านค้าขายยาในรูปแบบเทรดดิชันนัล 5,000 แห่ง โดยบริษัทมีรายได้ 85-90% ขณะที่เชนร้านขายยาในโมเดิร์นเทรดโดยรวม 400 แห่ง แต่เป็นช่องทางมีอัตราการเติบโตสูง 20% บริษัทมีรายได้ 10-15%
บริษัทฯได้ทุ่มงบวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ 10 ล้านบาท เพื่อเปิดตัวซับแบรนด์ของ “ เคาน์เตอร์เพน ครีม” รูปแบบสเปรย์ลงสู่ตลาดในปีหน้านี้ เจาะกลุ่มเป้าหมายทั่วไปที่ต้องการความสะดวกสบาย ขณะเดียวกันยังเป็นสร้างเซกเมนต์ใหม่ เพื่อหนีสินค้าลอกเลียนแบบ ซึ่งปัจจุบันมีมากกว่า 10 แบรนด์ ที่ใช้กลยุทธ์ราคาถูกกว่า 30-50% เข้ามาตีตลาดเคาน์เตอร์เพน
ในปีนี้ บริษัทฯได้วางแผนทำตลาดต่างประเทศในเชิงรุกมากขึ้น โดยเตรียมนำผลิตภัณฑ์เคาน์เตอร์เพน คูล เจล และเคาน์เตอร์เพน พลัส ส่งออกไปยังประเทศอาเซียน หลังจากก่อนหน้านี้มีสินค้าเดียว คือ เคาน์เตอร์เพน ครีม ที่ส่งออกไปยังต่างประเทศ นอกจากนี้ยังได้ขยายตลาดส่งออกที่ปากีสถาน และอินเดีย ซึ่งคาดว่ารายได้จากการส่งออกจะโต 100% จากปัจจุบันมีรายได้ภายในประเทศ 80% ส่วนอีก 20% เป็นรายได้จากการส่งออก
ล่าสุดได้จัดงาน “วันรวมพลคนรักแอโรบิก ติวเข้มให้ครูนำเต้น” เพื่อประชาสัมพันธ์กลุ่มเคาน์เตอร์เพน พลัส เจาะกลุ่มเป้าหมายอายุ 35-70 ปีหรือผู้ออกกำลังกายอย่างหนัก ซึ่งปีนี้บริษัทใช้งบการตลาด 60% จาก 30 ล้านบาท เพื่อประชาสัมพันธ์เคาน์เตอร์เพน พลัสเป็นหลัก ซึ่งล่าสุดได้เปิดตัวขนาดใหม่ 15 กรัม ราคา 107 บาท เพื่อกระตุ้นให้เกิดการทดลองใช้
ผลประกอบการครึ่งปีแรกทำได้ 170-180 ล้านบาท แต่ทั้งปีตั้งเป้ามีรายได้ 400 ล้านบาท หรือมีอัตราการเติบโต 15% จากปีที่ผ่านมามีรายได้ 350 ล้านบาท แบ่งเป็นรายได้จากเคาน์เตอร์เพน สูตรร้อน 250 ล้านบาท เคาน์เตอร์เพนคูล 220 ล้านบาท และเคาน์เตอร์เพน พลัส 30 ล้านบาท ขณะที่ส่วนแบ่งสิ้นปีนี้ตั้งเป้าเพิ่มจาก 50% เป็น 55% และหลังจากเปิดตัวชนิดสเปรย์ลงสู่ตลาดผลักดันส่วนแบ่งเป็น 60%
นายทรงวุฒิ ศักดิ์ชลาธร ผู้อำนวยการแผนกเวชภัณฑ์และร้านขายยา บริษัท บริสตอล-ไมเยอร์ สควิบบ์ (ประเทศไทย) จำกัด เปิดเผยว่า แนวโน้มตลาดผลิตภัณฑ์ยาทาแก้ปวดเมื่อยและอักเสบของกล้ามเนื้อมูลค่า 800 ล้านบาท ปีนี้คาดว่าจะเติบโตหลักเดียว จากครึ่งปีแรกโต 5% เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมาโต 10% ส่งผลให้ตลาดหลังจากที่ประเมินไว้ว่าภายใน 2-3 ปี จะพุ่งถึง 2,000 ล้านบาทเหลือเพียง 1,000 ล้านบาท ทั้งนี้เป็นเพราะผลพวงจากสึนามิ ส่งผลให้จำนวนนักท่องเที่ยวลดลง
ขณะเดียวกันเพื่อรักษาฐานลูกค้ากลุ่มนักท่องเที่ยวจากจีน สิงคโปร์ ฮ่องกง ไต้หวัน ในปีนี้บริษัทฯได้ทำการตลาดกับบริษัททัวร์มากขึ้น ในเบื้องต้นได้ทำโบร์ชัวภาษาจีน เพื่อสื่อสารและประชาสัมพันธ์ได้ง่ายมากขึ้น คาดว่าสิ้นปีนี้จะรักษารายได้จากลูกค้าจากต่างประเทศไว้เท่าเดิม 30%
พร้อมกันนี้บริษัทฯยังได้เตรียมขยายช่องทางจำหน่ายสินค้า ผ่านโรงพยาบาล,คลินิคเกี่ยวกับโรคกระดูก ทั่วประเทศ ซึ่งคาดว่าในอีก 6 เดือน จึงเริ่มนำสินค้าเข้าไปจำหน่ายได้ โดยปัจจุบันนี้เคาน์เตอร์เพนวางจำหน่ายครอบคลุมร้านขายยา 60% จากจำนวนร้านค้าขายยาในรูปแบบเทรดดิชันนัล 5,000 แห่ง โดยบริษัทมีรายได้ 85-90% ขณะที่เชนร้านขายยาในโมเดิร์นเทรดโดยรวม 400 แห่ง แต่เป็นช่องทางมีอัตราการเติบโตสูง 20% บริษัทมีรายได้ 10-15%
บริษัทฯได้ทุ่มงบวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ 10 ล้านบาท เพื่อเปิดตัวซับแบรนด์ของ “ เคาน์เตอร์เพน ครีม” รูปแบบสเปรย์ลงสู่ตลาดในปีหน้านี้ เจาะกลุ่มเป้าหมายทั่วไปที่ต้องการความสะดวกสบาย ขณะเดียวกันยังเป็นสร้างเซกเมนต์ใหม่ เพื่อหนีสินค้าลอกเลียนแบบ ซึ่งปัจจุบันมีมากกว่า 10 แบรนด์ ที่ใช้กลยุทธ์ราคาถูกกว่า 30-50% เข้ามาตีตลาดเคาน์เตอร์เพน
ในปีนี้ บริษัทฯได้วางแผนทำตลาดต่างประเทศในเชิงรุกมากขึ้น โดยเตรียมนำผลิตภัณฑ์เคาน์เตอร์เพน คูล เจล และเคาน์เตอร์เพน พลัส ส่งออกไปยังประเทศอาเซียน หลังจากก่อนหน้านี้มีสินค้าเดียว คือ เคาน์เตอร์เพน ครีม ที่ส่งออกไปยังต่างประเทศ นอกจากนี้ยังได้ขยายตลาดส่งออกที่ปากีสถาน และอินเดีย ซึ่งคาดว่ารายได้จากการส่งออกจะโต 100% จากปัจจุบันมีรายได้ภายในประเทศ 80% ส่วนอีก 20% เป็นรายได้จากการส่งออก
ล่าสุดได้จัดงาน “วันรวมพลคนรักแอโรบิก ติวเข้มให้ครูนำเต้น” เพื่อประชาสัมพันธ์กลุ่มเคาน์เตอร์เพน พลัส เจาะกลุ่มเป้าหมายอายุ 35-70 ปีหรือผู้ออกกำลังกายอย่างหนัก ซึ่งปีนี้บริษัทใช้งบการตลาด 60% จาก 30 ล้านบาท เพื่อประชาสัมพันธ์เคาน์เตอร์เพน พลัสเป็นหลัก ซึ่งล่าสุดได้เปิดตัวขนาดใหม่ 15 กรัม ราคา 107 บาท เพื่อกระตุ้นให้เกิดการทดลองใช้
ผลประกอบการครึ่งปีแรกทำได้ 170-180 ล้านบาท แต่ทั้งปีตั้งเป้ามีรายได้ 400 ล้านบาท หรือมีอัตราการเติบโต 15% จากปีที่ผ่านมามีรายได้ 350 ล้านบาท แบ่งเป็นรายได้จากเคาน์เตอร์เพน สูตรร้อน 250 ล้านบาท เคาน์เตอร์เพนคูล 220 ล้านบาท และเคาน์เตอร์เพน พลัส 30 ล้านบาท ขณะที่ส่วนแบ่งสิ้นปีนี้ตั้งเป้าเพิ่มจาก 50% เป็น 55% และหลังจากเปิดตัวชนิดสเปรย์ลงสู่ตลาดผลักดันส่วนแบ่งเป็น 60%