กรมทางหลวงเชื่อกรณีต้องจ่ายชดเชยร้อยละ 100 รายได้ที่ลดลงให้แก่ บริษัท ทางยกระดับดอนเมือง จำกัด หรือดอนเมือง โทลล์เวย์ จะใช้ระยะเวลาเพียง 1-2 ปี หลังการเจรจาตรึงค่าผ่านทาง 20 บาทตลอดสายยังไม่ได้ข้อยุติ เพราะมั่นใจว่าการเปิดใช้ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิจะทำให้ปริมาณรถยนต์ในผิวจราจรถนนวิภาวดีรังสิตที่จะลดลง 50,000 คัน และกดดันให้เอกชนลดราคาเองในที่สุด
นายเทิดศักดิ์ เศรษฐมานพ อธิบดีกรมทางหลวง เปิดเผยว่าแม้การเจรจากับดอนเมืองโทลล์เวย์จะยังไม่ได้ข้อยุติร่วมกันที่จะจัดเก็บค่าผ่านทาง 20 บาทตลอดสายไปอีก 5 ปี แต่ทั้ง 2 ฝ่าย ได้ตกลงที่จะเลื่อนกำหนดการลดค่าผ่านทางออกไปอีก 1 เดือน คือจากวันที่ 19 สิงหาคมนี้ ไปถึงวันที่ 18 กันยายนแน่นอนแล้ว เพื่อรอผลการเจรจาส่วนอื่นต่อไป
สำหรับการเจรจาตรึงค่าผ่านทางไปอีก 5 ปี ความคืบหน้าล่าสุด นายเทิดศักดิ์กล่าวว่ายังไม่สามารถตกลงกันได้ แม้ว่าดอนเมือง โทลเวย์จะขอลดอายุการขยายเวลาสัมปทาน ซึ่งปัจจุบันเหลืออีก 17 ปี และดอนเมือง โทลล์เวย์ ขอขยายไปอีก 18 ปี เพื่อแลกกับการลดค่าผ่านทาง ล่าสุดบริษัทได้ขอขยายอายุสัมปทานไปแค่ 8 ปี แต่ภาครัฐเห็นว่ายังเป็นข้อเรียกร้องที่สูงเกินไป ในขณะที่ราคาหุ้นที่บริษัทจะเสนอขายคืนสัมปทานให้แก่ภาครัฐ ในจำนวนหุ้น 450 ล้านหุ้น ราคาหุ้นละ 8 บาท ก็เป็นราคาที่สูง เนื่องจากตามการวิเคราะห์ทั้งในแง่ทรัพย์สินและประมาณการรายได้ในอนาคต หุ้นของดอนเมือง โทลล์เวย์จะมีมูลค่าแค่หุ้นละ 2 บาท ข้อเสนอทั้งหมดจึงถือว่าไม่เป็นธรรมกับภาครัฐ
อธิบดีกรมทางหลวงกล่าวอีกว่า ทางออกที่ดีที่สุดคือการจ่ายชดเชยส่วนต่างรายได้ให้กับดอนเมือง โทลล์เวย์ ที่ลดลงจากการจัดเก็บในราคาปกติ 30-43 บาทตามระยะทาง ลงเหลือ 20 บาทตลอดสาย ซึ่งจะเป็นการจ่ายชดเชยร้อยละ 100 ในวงเงินปีละประมาณ 150 ล้านบาท โดยจะนำเงินที่กรมทางหลวงเคยจัดเก็บในเส้นทางดังกล่าวระยะละ 10 บาท จากช่วงอนุสรณ์สถานถึงรังสิตมาจ่ายชดเชย ซึ่งขณะนี้กองทุนมีเงินกว่า 8,000 ล้านบาท โดยเชื่อว่าการจ่ายชดเชยจะใช้ระยะเวลาเพียง 1-2 ปีเท่านั้น ไม่ต้องถึง 5 ปี เนื่องจากในอนาคตเมื่อท่าอากาศยานสุวรรณภูมิเปิดใช้ในกลางปี 2549 และการปรับปรุงผิวจราจรบริเวณปากทางลาดพร้าวแล้วเสร็จ ไม่เป็นภาระต่อการใช้ทางยกระดับ ที่สำคัญคือจะมีประชาชนเปลี่ยนไปใช้เส้นทางเดินทางสู่ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิใหม่ หรือเปลี่ยนเส้นทางจากถนนวิภาวดีรังสิตไปถนนบางนา-ตราด และเส้นทางอื่นๆ ทดแทน เชื่อว่าจะทำให้ปริมาณการจราจรของถนนวิภาวดีรังสิตลดลงวันละ 50,000 คัน จากปัจจุบัน 200,000 คัน โดยการจราจรที่เบาบางจะทำให้ประชาชนบางส่วนอาจไม่จำเป็นต้องใช้ทางยกระดับในการเดินทางผ่านถนนเส้นดังกล่าว ซึ่งเมื่อถึงเวลานั้นหากเอกชนยังไม่ต้องการลดค่าผ่านทางเพื่อจูงใจผู้ใช้อีก ก็เป็นเรื่องของบริษัทจะตัดสินใจเอง
นายเทิดศักดิ์ เศรษฐมานพ อธิบดีกรมทางหลวง เปิดเผยว่าแม้การเจรจากับดอนเมืองโทลล์เวย์จะยังไม่ได้ข้อยุติร่วมกันที่จะจัดเก็บค่าผ่านทาง 20 บาทตลอดสายไปอีก 5 ปี แต่ทั้ง 2 ฝ่าย ได้ตกลงที่จะเลื่อนกำหนดการลดค่าผ่านทางออกไปอีก 1 เดือน คือจากวันที่ 19 สิงหาคมนี้ ไปถึงวันที่ 18 กันยายนแน่นอนแล้ว เพื่อรอผลการเจรจาส่วนอื่นต่อไป
สำหรับการเจรจาตรึงค่าผ่านทางไปอีก 5 ปี ความคืบหน้าล่าสุด นายเทิดศักดิ์กล่าวว่ายังไม่สามารถตกลงกันได้ แม้ว่าดอนเมือง โทลเวย์จะขอลดอายุการขยายเวลาสัมปทาน ซึ่งปัจจุบันเหลืออีก 17 ปี และดอนเมือง โทลล์เวย์ ขอขยายไปอีก 18 ปี เพื่อแลกกับการลดค่าผ่านทาง ล่าสุดบริษัทได้ขอขยายอายุสัมปทานไปแค่ 8 ปี แต่ภาครัฐเห็นว่ายังเป็นข้อเรียกร้องที่สูงเกินไป ในขณะที่ราคาหุ้นที่บริษัทจะเสนอขายคืนสัมปทานให้แก่ภาครัฐ ในจำนวนหุ้น 450 ล้านหุ้น ราคาหุ้นละ 8 บาท ก็เป็นราคาที่สูง เนื่องจากตามการวิเคราะห์ทั้งในแง่ทรัพย์สินและประมาณการรายได้ในอนาคต หุ้นของดอนเมือง โทลล์เวย์จะมีมูลค่าแค่หุ้นละ 2 บาท ข้อเสนอทั้งหมดจึงถือว่าไม่เป็นธรรมกับภาครัฐ
อธิบดีกรมทางหลวงกล่าวอีกว่า ทางออกที่ดีที่สุดคือการจ่ายชดเชยส่วนต่างรายได้ให้กับดอนเมือง โทลล์เวย์ ที่ลดลงจากการจัดเก็บในราคาปกติ 30-43 บาทตามระยะทาง ลงเหลือ 20 บาทตลอดสาย ซึ่งจะเป็นการจ่ายชดเชยร้อยละ 100 ในวงเงินปีละประมาณ 150 ล้านบาท โดยจะนำเงินที่กรมทางหลวงเคยจัดเก็บในเส้นทางดังกล่าวระยะละ 10 บาท จากช่วงอนุสรณ์สถานถึงรังสิตมาจ่ายชดเชย ซึ่งขณะนี้กองทุนมีเงินกว่า 8,000 ล้านบาท โดยเชื่อว่าการจ่ายชดเชยจะใช้ระยะเวลาเพียง 1-2 ปีเท่านั้น ไม่ต้องถึง 5 ปี เนื่องจากในอนาคตเมื่อท่าอากาศยานสุวรรณภูมิเปิดใช้ในกลางปี 2549 และการปรับปรุงผิวจราจรบริเวณปากทางลาดพร้าวแล้วเสร็จ ไม่เป็นภาระต่อการใช้ทางยกระดับ ที่สำคัญคือจะมีประชาชนเปลี่ยนไปใช้เส้นทางเดินทางสู่ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิใหม่ หรือเปลี่ยนเส้นทางจากถนนวิภาวดีรังสิตไปถนนบางนา-ตราด และเส้นทางอื่นๆ ทดแทน เชื่อว่าจะทำให้ปริมาณการจราจรของถนนวิภาวดีรังสิตลดลงวันละ 50,000 คัน จากปัจจุบัน 200,000 คัน โดยการจราจรที่เบาบางจะทำให้ประชาชนบางส่วนอาจไม่จำเป็นต้องใช้ทางยกระดับในการเดินทางผ่านถนนเส้นดังกล่าว ซึ่งเมื่อถึงเวลานั้นหากเอกชนยังไม่ต้องการลดค่าผ่านทางเพื่อจูงใจผู้ใช้อีก ก็เป็นเรื่องของบริษัทจะตัดสินใจเอง