พีน่า เฮาส์ชะลอแผนรุกต่างประเทศ หันมาเน้นบุกธุรกิจในประเทศแทนทั้งนำเข้าแบรนด์ใหม่, ปรับภาพลักษณ์แบรนด์เดิม พร้อมรุกช่องทางเอาท์เล็ตเพื่อกระจายสินค้ามากขึ้น ล่าสุดเปิดเอาท์เล็ตสาขา 3 ที่ชะอำ ชูคอนเซ็ปต์สินค้าพรีเมียมราคาถูก เตรียมติดต่อโรงแรมย่านชะอำและหัวหินนำรถชัทเทิล บัสรับ-ส่งนักท่องเที่ยว เผยเสนอททท.ให้เอาท์เล็ตเป็นแหล่งดึงดูดนักท่องเที่ยว ปีหน้าเตรียมขยายเอาท์เล็ตไปภาคเหนือและอีสาน
นายสุพจน์ ตันติจิรสกุล ประธานกรรมการ บริษัท พีน่า เฮาส์ จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า แผนการรุกตลาดต่างประเทศของบริษัทฯจากเดิมมีแผนรุกตลาดเอเชียและตะวันออกกลาง แต่ขณะนี้แผนดังกล่าวต้องชะลอไปก่อน เนื่องจากบริษัทฯดูแลธุรกิจได้ไม่ทั่วถึงและการไปบุกต่างประเทศจะต้องมีความพร้อมในด้านต่างๆทั้งบุคลากรและแผนการตลาด เป็นต้น โดยปัจจุบันตลาดต่างประเทศที่บริษัทฯเข้าไปทำตลาดอย่างจริงจังคือ สิงคโปร์ซึ่งบริษัทฯมีสำนักงานตั้งอยู่ด้วย เป็นช่องทางการขายสินค้า อาทิ แบรนด์วอร์เนอร์ ,พีน่า และยู-โฟ ตามห้างสรรพสินค้าชื่อดังของสิงคโปร์ รวมถึงแผนเข้าตลาดหลักทรัพย์ฯก็ต้องชะลอตัวไปก่อน เนื่องจากบริษัทฯยังไม่มีความพร้อม
ส่วนแผนการลงทุนธุรกิจในประเทศของเครือพีน่าเฮาส์ฯ ต่อจากนี้ไปจะเป็นการลงทุนที่เสริมไลน์ธุรกิจทั้งการเปิดตัวแบรนด์ใหม่ , การปรับภาพลักษณ์แบรนด์ในเครือพีน่าเฮาส์ใหม่ ,ธุรกิจรีสอร์ท รวมถึงการเปิดเอาท์เล็ต ซึ่งนับว่าเป็นช่องทางที่จำเป็นของแบรนด์ต่างๆในการระบายสินค้าออก ซึ่งแบรนด์ต่างๆเริ่มให้ความสำคัญตรงจุดนี้ อาทิ ไนกี้ ที่มาร่วมเปิดร้านในพรีเมียมเอาท์เล็ตมอลล์เป็นครั้งแรกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และแบรนด์ลาคอส เป็นต้น
นายสุพจน์ กล่าวด้วยว่า บริษัทฯเพิ่งเปิดตัวโครงการ “พรีเมียม เอาท์เล็ต มอลล์” ที่ชะอำ จ.เพชรบุรีไปเมื่อเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา ภายใต้งบลงทุน 200 ล้านบาท โดยแบ่งพื้นที่บริการออกเป็น 2 ส่วน ได้แก่ ส่วนเอาท์เล็ต ที่รวมสินค้าแบรนด์เนมทั้งในและต่างประเทศกว่า 200 แบรนด์จากบริษัทคู่ค้า 60 แห่ง มีพื้นที่ขายกว่า 12,000 ตร.ม.
ส่วนซันเดย์ มาร์เก็ต เป็นตลาดลักษณะที่คล้ายกับจตุจักร แต่จะเน้นขายอาหารเป็นหลัก โดยจะเริ่มเปิดบริการในเดือนตุลาคมนี้และเปิดเฉพาะวันเสาร์และอาทิตย์ นอกจากนี้ยังต้องการโปรโมทอาหารไทย โดยจะทำเป็นศูนย์รวมของกินและร้านฟู้ดส์คอร์ทในช่วงซัมเมอร์ปีหน้า
“หลังจากเปิดบริการมา 2 เดือนผลตอบรับของลูกค้าดีเกินคาด โดยเฉพาะวันอาทิตย์จะดีสุด ซึ่งรถที่เข้ามาจอดกว่า 5,000 คัน กลุ่มลูกค้าที่เข้ามาในเอาท์เล็ตแบ่งเป็นลูกค้าท้องถิ่น 30% กรุงเทพฯ 50% และทัวร์ริส 20% โดยบริษัทฯมีแผนติดต่อกับโรงแรมต่างๆในการทำรถชัทเทิล บัสของศูนย์ฯไว้คอยบริการลูกค้าในโรงแรม เริ่มแรกเตรียมรถให้บริการ 3 คัน ซึ่งขณะนี้มีการติดต่อโรงแรมไว้ประมาณ 7 แห่ง เช่น วิรันดา,รีเจ้นท์ เป็นต้น คาดว่าจะเริ่มให้ใช้บริการได้ในเดือนตุลาคมนี้ ”
ทั้งนี้บริษัทฯมองถึงโอกาสทางการตลาด ด้วยสภาพเศรษฐกิจในปัจจุบันที่ผู้บริโภคจะใช้จ่ายอย่างคุ้มค่ามากขึ้น ซึ่ง ช่องทางแบบเอาท์เล็ตจึงเป็นทางเลือกหนึ่งที่ตอบโจทย์ลูกค้าที่ชอบสินค้าแบรนด์เนมและมีราคาถูก รวมถึงมีแผนร่วมกับการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยในการให้พรีเมียม เอาท์เล็ตเป็นสถานที่หรือจุดดึงดูดสำหรับนักท่องเที่ยวต่างชาติให้เข้ามาใช้บริการหรือพักผ่อน
ส่วนเอาท์เล็ต มอลล์อีก 2 แห่ง คือ ที่สมุย จะเป็นรูปแบบชอปปิ้งพลาซ่าและรีสอร์ต ภายใต้ชื่อ “อัยรา บีช โฮเต็ล แอนด์ พลาซ่า” มีพื้นที่ 6 ไร่ และจำนวนห้องพักระดับ 3 ดาวขึ้นไปจำนวน 69 ห้อง ส่วนสาขาที่พัทยา บริษัทฯมีแผนรีโนเวตและขยายพื้นที่การขายเพิ่ม รวมถึงการนำสินค้าแบรนด์เนมเข้ามาขายมากขึ้น จากปัจจุบันมีสัดส่วนเป็นโลคอล แบรนด์ 60% และอินเตอร์ แบรนด์ 40% คาดว่าจะเริ่มดำเนินการช่วงปลายปีนี้ รวมถึงปีหน้าเตรียมขยายสาขาเอาท์เล็ตเพิ่ม โดยเล็งไว้แหล่งท่องเที่ยวทางภาคเหนือ เช่น เชียงใหม่ หรือภาคอีสาน เป็นต้น ส่วนแผนการเดิมที่จะเปิดเอาท์เล็ตที่ภูเก็ตต้องชะลอไปก่อนหลังจากเจอเหตุการณ์สึนามิถล่ม 6 จังหวัดภาคใต้ของไทย
ปัจจุบันแบรนด์เสื้อผ้าของบริษัทฯมีหลายแบรนด์ อาทิ พีน่า เฮาส์ ,ไอเท็ม ,เทน แอนด์ โค และกาล็อป เป็นต้น ขณะที่จำนวนร้านค้าของเครือพีน่ามีทั้งหมด 166 ชอป ซึ่งตรงนี้ได้เปรียบรายอื่นตรงที่ช่องทางการขายในการนำแบรนด์ใหม่ๆเข้ามาทำตลาดได้ง่าย
นายสุพจน์ ตันติจิรสกุล ประธานกรรมการ บริษัท พีน่า เฮาส์ จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า แผนการรุกตลาดต่างประเทศของบริษัทฯจากเดิมมีแผนรุกตลาดเอเชียและตะวันออกกลาง แต่ขณะนี้แผนดังกล่าวต้องชะลอไปก่อน เนื่องจากบริษัทฯดูแลธุรกิจได้ไม่ทั่วถึงและการไปบุกต่างประเทศจะต้องมีความพร้อมในด้านต่างๆทั้งบุคลากรและแผนการตลาด เป็นต้น โดยปัจจุบันตลาดต่างประเทศที่บริษัทฯเข้าไปทำตลาดอย่างจริงจังคือ สิงคโปร์ซึ่งบริษัทฯมีสำนักงานตั้งอยู่ด้วย เป็นช่องทางการขายสินค้า อาทิ แบรนด์วอร์เนอร์ ,พีน่า และยู-โฟ ตามห้างสรรพสินค้าชื่อดังของสิงคโปร์ รวมถึงแผนเข้าตลาดหลักทรัพย์ฯก็ต้องชะลอตัวไปก่อน เนื่องจากบริษัทฯยังไม่มีความพร้อม
ส่วนแผนการลงทุนธุรกิจในประเทศของเครือพีน่าเฮาส์ฯ ต่อจากนี้ไปจะเป็นการลงทุนที่เสริมไลน์ธุรกิจทั้งการเปิดตัวแบรนด์ใหม่ , การปรับภาพลักษณ์แบรนด์ในเครือพีน่าเฮาส์ใหม่ ,ธุรกิจรีสอร์ท รวมถึงการเปิดเอาท์เล็ต ซึ่งนับว่าเป็นช่องทางที่จำเป็นของแบรนด์ต่างๆในการระบายสินค้าออก ซึ่งแบรนด์ต่างๆเริ่มให้ความสำคัญตรงจุดนี้ อาทิ ไนกี้ ที่มาร่วมเปิดร้านในพรีเมียมเอาท์เล็ตมอลล์เป็นครั้งแรกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และแบรนด์ลาคอส เป็นต้น
นายสุพจน์ กล่าวด้วยว่า บริษัทฯเพิ่งเปิดตัวโครงการ “พรีเมียม เอาท์เล็ต มอลล์” ที่ชะอำ จ.เพชรบุรีไปเมื่อเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา ภายใต้งบลงทุน 200 ล้านบาท โดยแบ่งพื้นที่บริการออกเป็น 2 ส่วน ได้แก่ ส่วนเอาท์เล็ต ที่รวมสินค้าแบรนด์เนมทั้งในและต่างประเทศกว่า 200 แบรนด์จากบริษัทคู่ค้า 60 แห่ง มีพื้นที่ขายกว่า 12,000 ตร.ม.
ส่วนซันเดย์ มาร์เก็ต เป็นตลาดลักษณะที่คล้ายกับจตุจักร แต่จะเน้นขายอาหารเป็นหลัก โดยจะเริ่มเปิดบริการในเดือนตุลาคมนี้และเปิดเฉพาะวันเสาร์และอาทิตย์ นอกจากนี้ยังต้องการโปรโมทอาหารไทย โดยจะทำเป็นศูนย์รวมของกินและร้านฟู้ดส์คอร์ทในช่วงซัมเมอร์ปีหน้า
“หลังจากเปิดบริการมา 2 เดือนผลตอบรับของลูกค้าดีเกินคาด โดยเฉพาะวันอาทิตย์จะดีสุด ซึ่งรถที่เข้ามาจอดกว่า 5,000 คัน กลุ่มลูกค้าที่เข้ามาในเอาท์เล็ตแบ่งเป็นลูกค้าท้องถิ่น 30% กรุงเทพฯ 50% และทัวร์ริส 20% โดยบริษัทฯมีแผนติดต่อกับโรงแรมต่างๆในการทำรถชัทเทิล บัสของศูนย์ฯไว้คอยบริการลูกค้าในโรงแรม เริ่มแรกเตรียมรถให้บริการ 3 คัน ซึ่งขณะนี้มีการติดต่อโรงแรมไว้ประมาณ 7 แห่ง เช่น วิรันดา,รีเจ้นท์ เป็นต้น คาดว่าจะเริ่มให้ใช้บริการได้ในเดือนตุลาคมนี้ ”
ทั้งนี้บริษัทฯมองถึงโอกาสทางการตลาด ด้วยสภาพเศรษฐกิจในปัจจุบันที่ผู้บริโภคจะใช้จ่ายอย่างคุ้มค่ามากขึ้น ซึ่ง ช่องทางแบบเอาท์เล็ตจึงเป็นทางเลือกหนึ่งที่ตอบโจทย์ลูกค้าที่ชอบสินค้าแบรนด์เนมและมีราคาถูก รวมถึงมีแผนร่วมกับการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยในการให้พรีเมียม เอาท์เล็ตเป็นสถานที่หรือจุดดึงดูดสำหรับนักท่องเที่ยวต่างชาติให้เข้ามาใช้บริการหรือพักผ่อน
ส่วนเอาท์เล็ต มอลล์อีก 2 แห่ง คือ ที่สมุย จะเป็นรูปแบบชอปปิ้งพลาซ่าและรีสอร์ต ภายใต้ชื่อ “อัยรา บีช โฮเต็ล แอนด์ พลาซ่า” มีพื้นที่ 6 ไร่ และจำนวนห้องพักระดับ 3 ดาวขึ้นไปจำนวน 69 ห้อง ส่วนสาขาที่พัทยา บริษัทฯมีแผนรีโนเวตและขยายพื้นที่การขายเพิ่ม รวมถึงการนำสินค้าแบรนด์เนมเข้ามาขายมากขึ้น จากปัจจุบันมีสัดส่วนเป็นโลคอล แบรนด์ 60% และอินเตอร์ แบรนด์ 40% คาดว่าจะเริ่มดำเนินการช่วงปลายปีนี้ รวมถึงปีหน้าเตรียมขยายสาขาเอาท์เล็ตเพิ่ม โดยเล็งไว้แหล่งท่องเที่ยวทางภาคเหนือ เช่น เชียงใหม่ หรือภาคอีสาน เป็นต้น ส่วนแผนการเดิมที่จะเปิดเอาท์เล็ตที่ภูเก็ตต้องชะลอไปก่อนหลังจากเจอเหตุการณ์สึนามิถล่ม 6 จังหวัดภาคใต้ของไทย
ปัจจุบันแบรนด์เสื้อผ้าของบริษัทฯมีหลายแบรนด์ อาทิ พีน่า เฮาส์ ,ไอเท็ม ,เทน แอนด์ โค และกาล็อป เป็นต้น ขณะที่จำนวนร้านค้าของเครือพีน่ามีทั้งหมด 166 ชอป ซึ่งตรงนี้ได้เปรียบรายอื่นตรงที่ช่องทางการขายในการนำแบรนด์ใหม่ๆเข้ามาทำตลาดได้ง่าย