ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ระบุการขยายสาขาของธนาคารพาณิชย์ในช่วงปี 48-49 จะเติบโตได้ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 10 แต่สาขาส่วนใหญ่จะมีขนาดเล็ก เพื่อเข้าถึงลูกค้าได้มากขึ้น โดยธนาคารพาณิชย์ไทยขนาดใหญ่จะเป็นกลุ่มที่ขยายสาขามากที่สุด เพื่อเข้าถึงกลุ่มลูกค้ารายย่อยที่เป็นกลุ่มหลักในปัจจุบัน
บริษัท ศูนย์วิจัยกสิกรไทย จำกัด รายงานว่า ภายหลังการเกิดวิกฤตเศรษฐกิจ ธนาคารพาณิชย์ต้องเผชิญกับสภาพคล่องส่วนเกิน การเพิ่มขึ้นของหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล) และผลประกอบการที่ถดถอย ส่งผลไปยังการปรับโครงสร้างธุรกิจที่มุ่งเน้นธุรกิจรายย่อยเพิ่มขึ้น นำไปสู่การปรับเปลี่ยนจำนวน ขนาด และรูปแบบของสาขา รวมถึงวัฒนธรรมการแข่งขันเพื่อเข้าหาลูกค้าของธนาคารพาณิชย์เพิ่มมากขึ้นกว่าในอดีต โดยสาขาธนาคารพาณิชย์มีขนาดเล็กลงเพื่อช่วยลดต้นทุนและเพิ่มศักยภาพการเข้าถึงลูกค้ารายย่อยในแหล่งชุมชนเมืองได้ดีกว่า โดยกลุ่มธนาคารที่มีการขยายสาขาย่อยโดดเด่นที่สุด ได้แก่ กลุ่มธนาคารพาณิชย์ไทย โดยเฉพาะธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่ ซึ่งสอดคล้องกับการตอบรับการแข่งขันในตลาดสินเชื่อรายย่อยที่เข้มข้นในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา
นอกจากนี้ การแข่งขันในตลาดสินเชื่อรายย่อยได้นำธนาคารพาณิชย์ไปสู่การให้บริการทางอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อเพิ่มรายได้ค่าธรรมเนียม และเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารต้นทุน โดยแนวโน้มที่เห็นค่อนข้างชัดเจน ได้แก่ การขยายตู้ ATM ซึ่งเพิ่มขึ้นอย่างเด่นชัดในปี 2545 เนื่องจากธนาคารพาณิชย์เล็งเห็นโอกาสทางธุรกิจในหลักการเดียวกันกับการขยายสาขา ธนาคารพาณิชย์หลายแห่งจึงพยายามติดตั้ง ATM ในพื้นที่ศักยภาพก่อนเพื่อความได้เปรียบ
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดว่า สาขาในระบบธนาคารพาณิชย์จะเติบโตเพิ่มขึ้นไม่ต่ำกว่าร้อยละ 10 ในปี 2548 – 2549 ท่ามกลางภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัว โดยการเร่งขยายสาขาอย่างเข้มข้นจะกระจุกตัวกับธนาคารพาณิชย์เอกชนขนาดใหญ่บางแห่งเท่านั้น โดยเฉพาะการขยายสาขาย่อยและการขยายเครื่อง ATM เนื่องจากคาดว่ากลุ่มธนาคารดังกล่าวยังคงต้องการสร้างเครือข่ายและเพิ่มรายได้จากค่าธรรมเนียมในพื้นที่ศักยภาพ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในการส่งเสริมแบรนด์ของธนาคาร เพื่อรองรับการเป็น Universal Bank และเพื่อเตรียมพร้อมในการแข่งขันกับสถาบันการเงินต่างชาติ ภายใต้กรอบข้อตกลงเปิดเสรีทางการเงิน ขณะที่ธนาคารพาณิชย์ที่มีขนาดเล็กกว่า ได้แก่ ธนาคารพาณิชย์ลูกครึ่ง และธนาคารพาณิชย์เอกชนขนาดกลางที่ไม่อาจสร้างเครือข่ายได้ทันธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่ อาจต้องหากลยุทธ์อื่นเพิ่มเติมนอกเหนือจากการขยายสาขา เพื่อให้เข้าถึงลูกค้ารายย่อยได้เพิ่มขึ้น นอกจากนี้ การทยอยเพิ่มสาขาของสถาบันการเงินแห่งใหม่ หลังการปรับสถานะตามแผนแม่บทเพื่อพัฒนาสถาบันการเงิน ก็มีส่วนต่อการเพิ่มขึ้นของจำนวนสาขาในระบบโดยรวม ในระยะ 1-2 ปีข้างหน้าด้วย
บริษัท ศูนย์วิจัยกสิกรไทย จำกัด รายงานว่า ภายหลังการเกิดวิกฤตเศรษฐกิจ ธนาคารพาณิชย์ต้องเผชิญกับสภาพคล่องส่วนเกิน การเพิ่มขึ้นของหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล) และผลประกอบการที่ถดถอย ส่งผลไปยังการปรับโครงสร้างธุรกิจที่มุ่งเน้นธุรกิจรายย่อยเพิ่มขึ้น นำไปสู่การปรับเปลี่ยนจำนวน ขนาด และรูปแบบของสาขา รวมถึงวัฒนธรรมการแข่งขันเพื่อเข้าหาลูกค้าของธนาคารพาณิชย์เพิ่มมากขึ้นกว่าในอดีต โดยสาขาธนาคารพาณิชย์มีขนาดเล็กลงเพื่อช่วยลดต้นทุนและเพิ่มศักยภาพการเข้าถึงลูกค้ารายย่อยในแหล่งชุมชนเมืองได้ดีกว่า โดยกลุ่มธนาคารที่มีการขยายสาขาย่อยโดดเด่นที่สุด ได้แก่ กลุ่มธนาคารพาณิชย์ไทย โดยเฉพาะธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่ ซึ่งสอดคล้องกับการตอบรับการแข่งขันในตลาดสินเชื่อรายย่อยที่เข้มข้นในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา
นอกจากนี้ การแข่งขันในตลาดสินเชื่อรายย่อยได้นำธนาคารพาณิชย์ไปสู่การให้บริการทางอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อเพิ่มรายได้ค่าธรรมเนียม และเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารต้นทุน โดยแนวโน้มที่เห็นค่อนข้างชัดเจน ได้แก่ การขยายตู้ ATM ซึ่งเพิ่มขึ้นอย่างเด่นชัดในปี 2545 เนื่องจากธนาคารพาณิชย์เล็งเห็นโอกาสทางธุรกิจในหลักการเดียวกันกับการขยายสาขา ธนาคารพาณิชย์หลายแห่งจึงพยายามติดตั้ง ATM ในพื้นที่ศักยภาพก่อนเพื่อความได้เปรียบ
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดว่า สาขาในระบบธนาคารพาณิชย์จะเติบโตเพิ่มขึ้นไม่ต่ำกว่าร้อยละ 10 ในปี 2548 – 2549 ท่ามกลางภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัว โดยการเร่งขยายสาขาอย่างเข้มข้นจะกระจุกตัวกับธนาคารพาณิชย์เอกชนขนาดใหญ่บางแห่งเท่านั้น โดยเฉพาะการขยายสาขาย่อยและการขยายเครื่อง ATM เนื่องจากคาดว่ากลุ่มธนาคารดังกล่าวยังคงต้องการสร้างเครือข่ายและเพิ่มรายได้จากค่าธรรมเนียมในพื้นที่ศักยภาพ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในการส่งเสริมแบรนด์ของธนาคาร เพื่อรองรับการเป็น Universal Bank และเพื่อเตรียมพร้อมในการแข่งขันกับสถาบันการเงินต่างชาติ ภายใต้กรอบข้อตกลงเปิดเสรีทางการเงิน ขณะที่ธนาคารพาณิชย์ที่มีขนาดเล็กกว่า ได้แก่ ธนาคารพาณิชย์ลูกครึ่ง และธนาคารพาณิชย์เอกชนขนาดกลางที่ไม่อาจสร้างเครือข่ายได้ทันธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่ อาจต้องหากลยุทธ์อื่นเพิ่มเติมนอกเหนือจากการขยายสาขา เพื่อให้เข้าถึงลูกค้ารายย่อยได้เพิ่มขึ้น นอกจากนี้ การทยอยเพิ่มสาขาของสถาบันการเงินแห่งใหม่ หลังการปรับสถานะตามแผนแม่บทเพื่อพัฒนาสถาบันการเงิน ก็มีส่วนต่อการเพิ่มขึ้นของจำนวนสาขาในระบบโดยรวม ในระยะ 1-2 ปีข้างหน้าด้วย