ปตท. ร่อนหนังสือเชิญชวนผู้ผลิตแอลเอ็นจีเสนอโครงการจำหน่ายเพื่อให้ทันแผนนำเข้าปี 54 โดยมีเม็ดเงินลงทุนอย่างต่ำ 500 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และกำหนดราคาผูกติดกับน้ำมันไม่เกินร้อยละ 30-40 เพื่อลดความด้านเสี่ยงต้นทุน ด้านกระทรวงพลังงานดัน กฟผ.ร่วมทุนด้วย เพื่อให้เป็นไปตามนโยบายพันธมิตรองค์กรพลังงานร่วมทุน
นายจิตรพงษ์ กว้างสุขสถิตย์ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ กลุ่มธุรกิจก๊าซธรรมชาติ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า ขณะนี้ได้ส่งจดหมายเชิญชวนไปยังผู้ผลิตก๊าซธรรมชาติเหลว (แอลเอ็นจี) ในประเทศเป้าหมายที่ไทยจะนำเข้า ได้แก่ รัสเซีย อิหร่าน มาเลเซีย กาตาร์ และออสเตรเลีย เพื่อให้เสนอโครงการส่งออกมายังไทยเพื่อให้เป็นไปตามเป้าหมายที่ไทยวางแผนจะเริ่มนำเข้าในปี 2554 และเพิ่มปริมาณนำเข้า 5 ล้านตันต่อปี ในปี 2558 โดย ปตท.อาจจะนำเข้าจาก 2-3 แหล่ง เพื่อให้มีความมั่นคงในการจัดหา ซึ่งแอลเอ็นจีเป็นเชื้อเพลิงที่มีความจำเป็น เนื่องจากปริมาณก๊าซในอ่าวไทยเริ่มลดน้อยลง และไทยต้องการสงวนไว้ใช้ในอนาคต ในขณะที่แอลเอ็นจีจะเป็นเชื้อเพลิงสำคัญที่จะนำเข้ามาใช้ผลิตกระแสไฟฟ้ารองรับอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจในอนาคต
สำหรับเงื่อนไขหลักของการเจราจาคือราคาแอลเอ็นจีจะต้องไม่ผูกติดกับน้ำมันทั้งหมด เพื่อที่จะหลีกเลี่ยงผลกระทบราคาน้ำมันแพง โดยอาจจะใช้สูตรใกล้เคียงกับราคาก๊าซในอ่าวไทยคือผูกติดกับราคาน้ำมันประมาณร้อยละ 30-40 ซึ่งพิสูจน์ให้เห็นแล้วว่าเป็นผลดีต่อผู้บริโภคในปัจจุบันที่ค่าไฟฟ้าไม่ได้ปรับแพงขึ้นมากนัก การเข้าไปรับซื้อ ปตท.จะมีการเจรจาให้ บริษัท ปตท. สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) (ปตท.สผ.) บริษัทในเครือของ ปตท. เข้าไปร่วมทุนสำรวจและผลิตแหล่งก๊าซในประเทศนั้นด้วย ขณะเดียวกันก็อาจจะชักชวนบริษัทนั้น ๆ เข้ามาร่วมทุนสร้างคลังก๊าซแอลเอ็นจีในไทยที่จะก่อสร้างที่จังหวัดระยอง เม็ดเงินคาดว่าจะไม่ต่ำกว่า 500 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือ 20,000 ล้านบาท
ส่วนสาเหตุที่ต้องใช้เงินลงทุนสูงเนื่องจากต้องสร้างคลังเก็บแอลเอ็นจีในอุณหภูมิติดลบ 160 องศาเซลเซียส โดยการสร้างคลังดังกล่าว บริษัท กฟผ จำกัด (มหาชน) จะเข้ามาร่วมทุนด้วย เพราะเป็นผู้ใช้ก๊าซรายใหญ่ และเป็นไปตามนโยบายของกระทรวงพลังงาน
“กระทรวงพลังงานมีนโยบายให้บริษัทในประเทศเป็นพันธมิตรทางธุรกิจร่วมกันนอกจากจะลงทุนในประเทศแล้วยังลงทุนในต่างประเทศอีกด้วย โดยจะเห็นได้ว่าโครงการไหนที่ ปตท.เข้าไปเจรจาก็จะนำ ปตท.สผ.ไปลงทุนด้วย ทั้งนี้ เพื่อสรรหาแหล่งสำรองพลังงาน สร้างความมั่นคงด้านพลังงานแก่ไทย ส่วนการลงทุนในไทย ปตท.ก็ได้ร่วมทุนกับ กฟผ และการไฟฟ้านครหลวงทำโครงการโรงไฟฟ้าต่าง ๆ ด้วย” นายจิตรพงษ์ กล่าว
นายจิตรพงษ์ กว้างสุขสถิตย์ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ กลุ่มธุรกิจก๊าซธรรมชาติ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า ขณะนี้ได้ส่งจดหมายเชิญชวนไปยังผู้ผลิตก๊าซธรรมชาติเหลว (แอลเอ็นจี) ในประเทศเป้าหมายที่ไทยจะนำเข้า ได้แก่ รัสเซีย อิหร่าน มาเลเซีย กาตาร์ และออสเตรเลีย เพื่อให้เสนอโครงการส่งออกมายังไทยเพื่อให้เป็นไปตามเป้าหมายที่ไทยวางแผนจะเริ่มนำเข้าในปี 2554 และเพิ่มปริมาณนำเข้า 5 ล้านตันต่อปี ในปี 2558 โดย ปตท.อาจจะนำเข้าจาก 2-3 แหล่ง เพื่อให้มีความมั่นคงในการจัดหา ซึ่งแอลเอ็นจีเป็นเชื้อเพลิงที่มีความจำเป็น เนื่องจากปริมาณก๊าซในอ่าวไทยเริ่มลดน้อยลง และไทยต้องการสงวนไว้ใช้ในอนาคต ในขณะที่แอลเอ็นจีจะเป็นเชื้อเพลิงสำคัญที่จะนำเข้ามาใช้ผลิตกระแสไฟฟ้ารองรับอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจในอนาคต
สำหรับเงื่อนไขหลักของการเจราจาคือราคาแอลเอ็นจีจะต้องไม่ผูกติดกับน้ำมันทั้งหมด เพื่อที่จะหลีกเลี่ยงผลกระทบราคาน้ำมันแพง โดยอาจจะใช้สูตรใกล้เคียงกับราคาก๊าซในอ่าวไทยคือผูกติดกับราคาน้ำมันประมาณร้อยละ 30-40 ซึ่งพิสูจน์ให้เห็นแล้วว่าเป็นผลดีต่อผู้บริโภคในปัจจุบันที่ค่าไฟฟ้าไม่ได้ปรับแพงขึ้นมากนัก การเข้าไปรับซื้อ ปตท.จะมีการเจรจาให้ บริษัท ปตท. สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) (ปตท.สผ.) บริษัทในเครือของ ปตท. เข้าไปร่วมทุนสำรวจและผลิตแหล่งก๊าซในประเทศนั้นด้วย ขณะเดียวกันก็อาจจะชักชวนบริษัทนั้น ๆ เข้ามาร่วมทุนสร้างคลังก๊าซแอลเอ็นจีในไทยที่จะก่อสร้างที่จังหวัดระยอง เม็ดเงินคาดว่าจะไม่ต่ำกว่า 500 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือ 20,000 ล้านบาท
ส่วนสาเหตุที่ต้องใช้เงินลงทุนสูงเนื่องจากต้องสร้างคลังเก็บแอลเอ็นจีในอุณหภูมิติดลบ 160 องศาเซลเซียส โดยการสร้างคลังดังกล่าว บริษัท กฟผ จำกัด (มหาชน) จะเข้ามาร่วมทุนด้วย เพราะเป็นผู้ใช้ก๊าซรายใหญ่ และเป็นไปตามนโยบายของกระทรวงพลังงาน
“กระทรวงพลังงานมีนโยบายให้บริษัทในประเทศเป็นพันธมิตรทางธุรกิจร่วมกันนอกจากจะลงทุนในประเทศแล้วยังลงทุนในต่างประเทศอีกด้วย โดยจะเห็นได้ว่าโครงการไหนที่ ปตท.เข้าไปเจรจาก็จะนำ ปตท.สผ.ไปลงทุนด้วย ทั้งนี้ เพื่อสรรหาแหล่งสำรองพลังงาน สร้างความมั่นคงด้านพลังงานแก่ไทย ส่วนการลงทุนในไทย ปตท.ก็ได้ร่วมทุนกับ กฟผ และการไฟฟ้านครหลวงทำโครงการโรงไฟฟ้าต่าง ๆ ด้วย” นายจิตรพงษ์ กล่าว