นายกสมาคมโรงแรมไทยเร่งผู้ประกอบการโรงแรม ปรับมาตรฐานเข้าสู่ระบบติดดาว พร้อมรับมือเปิดเสรีเอฟทีเอ เดินหน้าจัดมาตรฐานผ่านโครงการในมูลนิธิพัฒนามาตรฐานและบุคลากรในอุตสาหกรรมบริการและการท่องเที่ยว ล่าสุดมอบรางวัล 3 ดาวกับโรงแรมแกรนด์ อยุธยา โฮเต็ล ด้านผู้บริหารโรงแรมเผยรางวัลมาตรฐานดาวช่วยทำตลาดง่ายขึ้น
นายมังกร พิรมย์พานิช รองกรรมการผู้จัดการ โรงแรม แกรนด์ อยุธยา โฮเต็ล เปิดเผยว่า การที่โรงแรม แกรนด์ อยุธยาฯ ได้ผ่านการรับรองมาตรฐานโรงแรมระดับ 3 ดาว จากมูลนิธิพัฒนามาตรฐานและบุคลากรในอุตสาหกรรมบริการและการท่องเที่ยว ถือเป็นการประสบความสำเร็จของการดำเนินธุรกิจไปอีกหนึ่งขั้น ซึ่งตรงนี้จะช่วยเพิ่มศักยภาพทางด้านการแข่งขัน และเป็นสิ่งการันตีกับลูกค้าผู้เข้ามาใช้บริการได้เป็นอย่างดีโดยไม่ต้องใช้คำอธิบายใดๆ เพราะเกณฑ์การให้ดาวที่มูลนิธิฯ มอบให้มีมาตรฐานระดับสากลเป็นที่ยอมรับอยู่แล้ว
สำหรับแผนการดำเนินธุรกิจ ขณะนี้บริษัทฯ กำลังอยู่ระหว่างการขยายกิจการ โดยกำลังก่อสร้างอาคารโรงแรมเพิ่มอีก 1 อาคาร ในบริเวณใกล้เคียงกับอาคารเดิม ใช้เงินลงทุนประมาณ 100 ล้านบาท ส่วนหนึ่งเป็นเงินกู้จากสถาบันการเงินในประเทศ คาดว่าจะแล้วเสร็จ และเปิดใช้ในปี 2549 อาคารดังกล่าวจะมีห้องพัก 78 ห้อง ซึ่งเมื่อรวมกับของเดิม คือแกรนด์ อยุธยา โฮเต็ล ซึ่งมีห้องพักอยู่แล้ว 122 ห้อง จะทำให้บริษัทเรามีห้องพักรวมเป็น 200 ห้อง
ทั้งนี้อัตราเข้าพักเฉลี่ยของแกรนด์ อยุธยา โฮเต็ล เฉลี่ยอยู่ที่ 60-70% จะไม่มีช่วงโลว์ซีซัน หรือไฮซีซัน เนื่องจากอยุธยาเป็นจังหวัดที่อยู่ใกล้กรุงเทพฯ ดังนั้นลูกค้าส่วนใหญ่จะเป็นนักธุรกิจและกรุ๊ปทัวร์จากต่างจังหวัดและต่างประเทศ โดยลูกค้าหลัก 90% จะเป็นชาวญี่ปุ่น ในที่นี้ 40% เป็นนักท่องเที่ยว อีก 60% เป็นนักธุรกิจ เนื่องจากอยุธยามีนิคมอุตสาหกรรมถึง 4 แห่ง ได้แก่ นิคมอุตสาหกรรมโรจน นิคมอุตสาหกรรมไฮเทค นิคมอุตสาหกรรมบางปะอิน และนิคมอุตสาหกรรมสหรัตนนคร
อย่างไรก็ตาม ยอมรับว่าธุรกิจโรงแรมใน จ.อยุธยา เริ่มที่จะมีการแข่งขันและทำตลาดได้ลำบาก เพราะเป็น จ.ที่ใกล้กรุงเทพฯ ดังนั้นตลาดคนไทยจึงไม่นิยมมาค้างคืน ขณะที่ปัจจุบันมีจำนวนโรงแรมเฉพาะในตัวจังหวัดมากกว่า 1,000 ห้อง เพิ่มขึ้นจากเมื่อ 10 ปีก่อนมาก ดังนั้นการปรับขึ้นราคาห้องพักจึงลำบาก ต้องพิจารณาจากดีมานด์ ส่วนโรงแรมส่วนใหญ่เจ้าของจะบริหารเอง ที่ผ่านมาเคยมีเชนเข้ามาบริหารบ้างแต่ก็ต้องถอนตัวออกไปเพราะติดปัญหาดังกล่าว สำหรับแกรนด์ อยุธยาฯ การทำตลาดส่วนหนึ่งคือออกโรดโชว์กับการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.)
สำหรับโครงการจัดมาตรฐานดาวให้กับโรงแรม นายชนินทร์ โทณวณิก นายกสมาคมโรงแรมไทย และประธานกรรมการมูลนิธิพัฒนามาตรฐานและบุคลากรในอุตสาหกรรมการบริการและการท่องเที่ยว กล่าวว่าเพื่อต้องการปรับระดับมาตรฐานโรงแรมไทยให้ขึ้นสู่ระดับมาตรฐานสากล เป็นการปรับตัวเข้าสู่การแข่งขันในเวทีโลก จากการเตรียมเปิดเสรีเอฟทีเอในอุตสาหกรรมบริการที่จะมีขึ้นอีก 2-3 ปีข้างหน้า ขณะเดียวกันก็สอดรับกับนโยบายของรัฐบาล ที่จะผลักดันไทยให้เป็นศูนย์กลางการท่องเที่ยวแห่งเอเชีย
ชวนผู้ประกอบการเร่งเข้าระบบมาตรฐาน
นายชนินทร์กล่าวอีกว่า มาตรฐานการพิจารณาของคณะกรรมการจะมีเกณฑ์ตัดสินเป็นระดับสากล และเพิ่มในส่วนของมาตรฐานบริการเข้าไปด้วย เพราะถือเป็นเอกลักษณ์ของประเทศไทย ซึ่งคณะกรรมการผู้ประเมินและตัดสินจะมาจากหลายหน่วยงาน ได้แก่ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สมาคมโรงแรมไทย สมาคมไทยธุรกิจการท่องเที่ยว (แอตต้า) ตัวแทนจากมหาวิทยาลัยที่มีหลักสูตรการสอนวิชาการโรงแรม และสมาคมที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวในประเทศไทย เป็นต้น
ปัจจุบัน มีโรงแรมที่เข้าร่วมขอรับรองมาตรฐานเพียง 17% ของจำนวนโรงแรมที่ขึ้นทะเบียนเป็นสมาชิกของโรงแรมไทย ดังนั้นจึงต้องการให้ผู้ประกอบการโรงแรมทั่วประเทศมีการตื่นตัวและเร่งปรับมาตรฐานบริการเพื่อขอใบรับรองมาตรฐานให้มากขึ้น เพื่อเป็นการยกระดับมาตรฐานอุตสาหกรรมโรงแรมไทยทั่วประเทศ
นายมังกร พิรมย์พานิช รองกรรมการผู้จัดการ โรงแรม แกรนด์ อยุธยา โฮเต็ล เปิดเผยว่า การที่โรงแรม แกรนด์ อยุธยาฯ ได้ผ่านการรับรองมาตรฐานโรงแรมระดับ 3 ดาว จากมูลนิธิพัฒนามาตรฐานและบุคลากรในอุตสาหกรรมบริการและการท่องเที่ยว ถือเป็นการประสบความสำเร็จของการดำเนินธุรกิจไปอีกหนึ่งขั้น ซึ่งตรงนี้จะช่วยเพิ่มศักยภาพทางด้านการแข่งขัน และเป็นสิ่งการันตีกับลูกค้าผู้เข้ามาใช้บริการได้เป็นอย่างดีโดยไม่ต้องใช้คำอธิบายใดๆ เพราะเกณฑ์การให้ดาวที่มูลนิธิฯ มอบให้มีมาตรฐานระดับสากลเป็นที่ยอมรับอยู่แล้ว
สำหรับแผนการดำเนินธุรกิจ ขณะนี้บริษัทฯ กำลังอยู่ระหว่างการขยายกิจการ โดยกำลังก่อสร้างอาคารโรงแรมเพิ่มอีก 1 อาคาร ในบริเวณใกล้เคียงกับอาคารเดิม ใช้เงินลงทุนประมาณ 100 ล้านบาท ส่วนหนึ่งเป็นเงินกู้จากสถาบันการเงินในประเทศ คาดว่าจะแล้วเสร็จ และเปิดใช้ในปี 2549 อาคารดังกล่าวจะมีห้องพัก 78 ห้อง ซึ่งเมื่อรวมกับของเดิม คือแกรนด์ อยุธยา โฮเต็ล ซึ่งมีห้องพักอยู่แล้ว 122 ห้อง จะทำให้บริษัทเรามีห้องพักรวมเป็น 200 ห้อง
ทั้งนี้อัตราเข้าพักเฉลี่ยของแกรนด์ อยุธยา โฮเต็ล เฉลี่ยอยู่ที่ 60-70% จะไม่มีช่วงโลว์ซีซัน หรือไฮซีซัน เนื่องจากอยุธยาเป็นจังหวัดที่อยู่ใกล้กรุงเทพฯ ดังนั้นลูกค้าส่วนใหญ่จะเป็นนักธุรกิจและกรุ๊ปทัวร์จากต่างจังหวัดและต่างประเทศ โดยลูกค้าหลัก 90% จะเป็นชาวญี่ปุ่น ในที่นี้ 40% เป็นนักท่องเที่ยว อีก 60% เป็นนักธุรกิจ เนื่องจากอยุธยามีนิคมอุตสาหกรรมถึง 4 แห่ง ได้แก่ นิคมอุตสาหกรรมโรจน นิคมอุตสาหกรรมไฮเทค นิคมอุตสาหกรรมบางปะอิน และนิคมอุตสาหกรรมสหรัตนนคร
อย่างไรก็ตาม ยอมรับว่าธุรกิจโรงแรมใน จ.อยุธยา เริ่มที่จะมีการแข่งขันและทำตลาดได้ลำบาก เพราะเป็น จ.ที่ใกล้กรุงเทพฯ ดังนั้นตลาดคนไทยจึงไม่นิยมมาค้างคืน ขณะที่ปัจจุบันมีจำนวนโรงแรมเฉพาะในตัวจังหวัดมากกว่า 1,000 ห้อง เพิ่มขึ้นจากเมื่อ 10 ปีก่อนมาก ดังนั้นการปรับขึ้นราคาห้องพักจึงลำบาก ต้องพิจารณาจากดีมานด์ ส่วนโรงแรมส่วนใหญ่เจ้าของจะบริหารเอง ที่ผ่านมาเคยมีเชนเข้ามาบริหารบ้างแต่ก็ต้องถอนตัวออกไปเพราะติดปัญหาดังกล่าว สำหรับแกรนด์ อยุธยาฯ การทำตลาดส่วนหนึ่งคือออกโรดโชว์กับการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.)
สำหรับโครงการจัดมาตรฐานดาวให้กับโรงแรม นายชนินทร์ โทณวณิก นายกสมาคมโรงแรมไทย และประธานกรรมการมูลนิธิพัฒนามาตรฐานและบุคลากรในอุตสาหกรรมการบริการและการท่องเที่ยว กล่าวว่าเพื่อต้องการปรับระดับมาตรฐานโรงแรมไทยให้ขึ้นสู่ระดับมาตรฐานสากล เป็นการปรับตัวเข้าสู่การแข่งขันในเวทีโลก จากการเตรียมเปิดเสรีเอฟทีเอในอุตสาหกรรมบริการที่จะมีขึ้นอีก 2-3 ปีข้างหน้า ขณะเดียวกันก็สอดรับกับนโยบายของรัฐบาล ที่จะผลักดันไทยให้เป็นศูนย์กลางการท่องเที่ยวแห่งเอเชีย
ชวนผู้ประกอบการเร่งเข้าระบบมาตรฐาน
นายชนินทร์กล่าวอีกว่า มาตรฐานการพิจารณาของคณะกรรมการจะมีเกณฑ์ตัดสินเป็นระดับสากล และเพิ่มในส่วนของมาตรฐานบริการเข้าไปด้วย เพราะถือเป็นเอกลักษณ์ของประเทศไทย ซึ่งคณะกรรมการผู้ประเมินและตัดสินจะมาจากหลายหน่วยงาน ได้แก่ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สมาคมโรงแรมไทย สมาคมไทยธุรกิจการท่องเที่ยว (แอตต้า) ตัวแทนจากมหาวิทยาลัยที่มีหลักสูตรการสอนวิชาการโรงแรม และสมาคมที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวในประเทศไทย เป็นต้น
ปัจจุบัน มีโรงแรมที่เข้าร่วมขอรับรองมาตรฐานเพียง 17% ของจำนวนโรงแรมที่ขึ้นทะเบียนเป็นสมาชิกของโรงแรมไทย ดังนั้นจึงต้องการให้ผู้ประกอบการโรงแรมทั่วประเทศมีการตื่นตัวและเร่งปรับมาตรฐานบริการเพื่อขอใบรับรองมาตรฐานให้มากขึ้น เพื่อเป็นการยกระดับมาตรฐานอุตสาหกรรมโรงแรมไทยทั่วประเทศ